Monday, 13 August 2007
พรานทะเลต่อยอดเรื่องสุขภาพกับหนังโฆษณาชุด “Cheerful”
พรานทะเลต่อยอดเรื่องสุขภาพกับหนังโฆษณาชุด “Cheerful”
หลังจากออกหนังโฆษณา มาต่อเนื่อง ในการสร้าง Brand พรานทะเล มาตั้งแต่ต้นปี เริ่มตั้งแต่หนัง Teaser Ad เปิดตัว มาถึงหนังบอกเล่าเรื่องความสด คือปลาเก๋าคุยกะปลากะพง ตามด้วยการสร้าง Brand Experience กับหนังโฆษณาแอนิเมชั่นเพลงที่บอกกล่าวถึงความเป็นมาของความสดใหม่ และตามด้วยหนังโฆษณาที่เน้นให้เห็นถึงความสะดวกสบายในชุดที่มีผู้หญิงออกมาร้องเรียกปลาเก๋า แล้วปลาก็โดดลงหม้อแบบง่ายดาย และก็มาถึงหนังเรื่องที่ 5 Cheerful ซึ่งเป็นการต่อยอดมาบอกถึงสุขภาพ …ผลงานของ เอเยนซีโฆษณา J.W.T ประสบความสำเร็จในการสร้าง Cinderella Branding มาแล้วจากกระดาษ ดั๊บเบิ้ลเอ ...ต่อภาพแคมเปญ คุณพินิต ฉันทประทีป Deputy Chairman and Chief Creative Officer แห่ง J.W.T กล่าวว่า “สำหรับครีเอทีฟแล้ว Category นี้ (Frozen Seafood) ถือว่าน่าสนใจเพราะเป็นช่องว่างที่เรายังไม่เคยทำในเรื่องของโฆษณา ในแง่ของครีเอทีฟเอง สิ่งที่เราเคยทำมาแล้วในอดีตคือโฆษณา Double A ก็เป็น Category ที่ยังไม่มีการทำโฆษณาเช่นกัน นี่จึงเป็นแบรนด์ที่ 2 ที่ท้าทายทางเอเยนซีมาก เราอยากปั้นแบรนด์นี้ให้เป็นอันดับ 1 ให้คนจดจำแล้วก็อยากให้ประสบความสำเร็จ เราไปศึกษาแล้วก็พบกับลูกค้าที่โรงงาน เราพยายามขุดคุ้ยตรงประเด็นนี้ว่าจะ Communicate อย่างไรให้คนหันมาสนใจ ผมว่าเบสิกแล้ว พวกเราคงทานอาหารซีฟู้ดส์และคุ้นเคยในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจู่ๆ จะมีแบรนด์โผล่ขึ้นมาในตลาดก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เรามีของสดกันอยู่แล้ว เดินเข้าไปในตลาดเราก็ซื้อได้ ตรงนี้เราต้องมาตอกย้ำว่าทำยังไงให้ Consumer หันมาสนใจซื้อแบรนด์พรานทะเล” คุณสุรัติ โตมรศักดิ์ Associate Creative Director กล่าวเพิ่มเติมว่า “พรานทะเลเป็นโปรดักต์ใหม่ แล้วก็ต้องละลายความเชื่อเก่า เราจะเล่ายังไงว่าของเรานั้นสดเหมือนกันแต่ของเราอยู่ในซอง ฉะนั้นเราต้องเล่าที่มาของสิ่งเหล่านี้ นี่คือโจทย์ว่า หนึ่งคือสด สองมีที่มาอย่างไร ทำไมถึงมาอยู่ในซอง ทีนี้ถ้ามาเล่าเฉยๆ มันก็ไม่มีใครดู ก็เลยคิดกันในทีมว่ามันต้องมีอะไรซักอย่างที่ทำให้คนสัมผัสได้ เราก็พบว่าเรามีตัวละครของเราอยู่แล้ว ทำไมเราไม่ใช้ เริ่มจากปลาเก๋าที่ดูเป็นนักเลงหน่อย แล้วก็มีปลากะพงที่ Character ค่อนข้างจะอ่อนแอ เอ๊ะ ทำไมเราไม่เอา 2 ตัวนี้มาคุยกัน แล้วก็จะเล่าถึงความสด อย่างที่เรียกง่ายๆ ว่า สดยังไม่ทันขาดคำ ก็คือคุยกันอยู่ยังไม่ทันเสร็จเลยถูกแช่แข็งมาโผล่ที่บ้านคนซื้อแล้วก็ยังคุยกันต่อ นี่คือที่มาที่เราเล่าถึงเรื่องความสดแรกๆ สำหรับเรื่องต่อมาเป็นการเล่าให้ฟังว่า พรานทะเลมีที่มาอย่างไรก่อนที่จะมาโดน Freeze ในซอง ซึ่งเราก็เล่าผ่านอะไรบางอย่างที่คิดว่าคนจะสัมผัสและก็อินกับเราได้ นั่นก็คือเพลงซึ่งเป็นอาวุธอย่างหนึ่งที่น่าใช้สำหรับคนฟัง มันน่าจะเป็นเพลงเพราะๆ แล้วก็ภาพสบายๆ แบบแอนิเมชั่น เพราะถ้ามันเป็นภาพจริงของเรือที่ออกไปจับปลา มันก็คงไม่น่าดูเพราะเหมือนสารคดี เราก็เลยคิดว่ามันน่าจะเป็นแอนิเมชั่นที่น่ารักคล้ายๆ มิวสิกวิดีโอเพื่อให้คนดูสัมผัสถึงที่มา ซึ่งเรื่องที่ 2 นี้ก็จะมีประเด็นในการพูดเช่นกัน ชุดแรกก็คือความสด ซึ่งเราอยากให้คอนซูเมอร์ไว้วางใจในความสดกับแบรนด์พรานทะเล หนังเรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องของ Brand Experience เพราะแบรนด์พรานทะเลไม่ใช่ว่าจู่ๆ วันนี้พรุ่งนี้ทำขึ้นมาขาย จริงๆ เบื้องหลังเราเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องของทะเล เรื่องของความสด อันนี้จึงเป็น Review Experience ว่าเราผ่านร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำมา เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอาหารทะเลแช่แข็ง ที่มีมานานแต่เรายังไม่ได้บอก อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราอยากให้คอนซูเมอร์ไว้วางใจเรา ก็เลยนำเสนอผ่านเพลงเล่าเรื่องราว ...เรื่องที่ 3 ที่มีผู้หญิงเรียกเก๋า เก๋า เก๋า แล้วปลากระโดดขึ้นมา อันนั้นก็อีกประเด็นหนึ่งที่เราอยากทำต่อเนื่องเสนอเป็น Message ที่ 3 ว่ามันเป็นเรื่องสะดวกเพราะทุกวันนี้คนมีเวลาน้อย อยากกลับบ้านไปกินซีฟู้ดส์ทั้งทีก็ต้องเหนื่อยจนไม่มีอารมณ์จะกิน แต่ของเราแค่กดปุ่มง่ายนิดเดียว แต่ในเรื่องเราไม่ได้อธิบายขนาดนั้น จะมีเปรียบเทียบนิดหน่อยว่าคนตกปลาจริงๆ ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ปลาสดซักตัว สู้เดี๋ยวนี้ไม่ได้เคาะหม้อทีนึงก็มาเลย ตรงนี้ก็เปรียบเปรยนิดนึง ก็เน้นความสด สะดวก แล้วก็ซัพพอร์ตโดย Experience ของแบรนด์พรานทะเล อันนี้ก็เป็นแต่ละช่วงแต่ละตอนของแบรนด์ช่วงครึ่งปีแรก” Cheerful ทางลูกค้าให้โจทย์กับ JWT ว่าการจะออกโฆษณาชุดต่อไป นั้นอยากให้พูดเรื่องสุขภาพให้มากที่สุด ทำอย่างไรที่จะให้ผู้บริโภคซึ่งเชื่อว่าทุกคนรักสุขภาพหันมาสนใจ พรานทะเลนอกจากจะเป็นอาหารหลักแล้วยังเป็นอาหารที่ทานแล้วมีสุขภาพดีด้วย ทำให้ร่างกายไม่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลหรือไตรกรีเซอไรด์ ก็เป็นโจทย์ว่าทำยังไงให้ผู้บริโภคหันมาทานอาหารซีฟู้ดส์ แล้วบอกให้เขารู้ว่าอาหารคือ อาหารเพื่อสุขภาพ นี่คือโจทย์หลักของพรานทะเลคุณพินิต กล่าวว่า “นี่เป็นโจทย์ที่ยิ่งดีใหญ่ เพราะเป็น Message ที่มีความน่าสนใจในเชิงครีเอทีฟ มันเป็นประเด็นที่ทุกคนคุ้นเคยและยอมรับในใจว่าปลากินแล้วมีประโยชน์ ฉะนั้นจึงค่อนข้างจะเป็น Message ที่ง่ายเพียงแต่ในขั้นตอนของการทำภาพยนตร์โฆษณา เราจะทำยังไงให้มันน่าสนใจ มีเรื่องมีราวนิดนึง ซึ่งสิ่งที่เราทำมาตั้งแต่ 2-3 เรื่องแรกจะผ่านตัวละครอย่างปลาเก๋าปลากะพงแดง แต่คราวนี้ Message ที่เราต้องการนำเสนอคือ ปลากินแล้วยืดอายุเพื่อชีวิตยืนยาว เพราะฉะนั้นจะทำยังไงเพื่อให้รู้ว่าปลากินแล้วดี ก็เลยคิดว่า คราวนี้เราลองแซวนิดนึงในเรื่องของคนที่ทานหมูทานเนื้อ ลองดูซิว่าหมูหรือวัวเขาจะรู้สึกยังไง ”เรื่องจึงออกมาว่าเมื่อยามเช้าแสนสดใสที่ฟาร์มแห่งหนึ่ง ขณะที่หมูแม่ลูกอ่อนกำลังให้นมลูกๆ ฝูงวัวกำลังเล็มหญ้าอ่อน ทันใดนั้นทั้งหมดก็แสดงอาการดีใจแบบออกนอกหน้า เมื่อเห็นรถส่งปลาของพรานทะเลแล่นผ่านหน้าฟาร์มไป เล่นเอาแม่หมูถึงกับตะลึง กระโจนพรวดออกมาด้วยความดีใจสุดขีด ทำเอาบรรดาลูกๆ ที่นอนดูดนมอยู่กระเด็นกระดอนไปคนละทิศละทาง วัวหนุ่มบางตัวถึงกับสำลักหญ้าคายพรวดออกมาเพราะแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองว่าจะมีปลาเก๋ากับกะพงแดงมารับบทเลี้ยงปากเลี้ยงท้องประชาชนแทน ทำให้บรรดาหมูและวัวยังโลดเต้นกับชีวิตต่อไปได้อีกนาน แม่หมูและวัวจึงเริ่มฉลองด้วยการเต้นอย่างเมามันส์ บ้างออกลีลาดิสโก้สุดเปรี้ยว บ้างเต้นพร้อมกันทำตัวเป็นบอยแบนด์ เพื่อขอบคุณคุณค่าของปลาจากพรานทะเลที่ยืดเวลาให้ทุกชีวิตProductionทางทีมงานไม่สามารถเอาวัวเป็นๆ มาดิ้นได้หรือเอาหมูน้ำหนักร้อยกว่าโลมายืน 2 ขาได้ จึงมีคนใส่ชุดหมูกับชุดวัว ไปถ่ายเป็นไกด์ สำหรับขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้คือ ไปถ่ายโลเกชั่นที่เนินเขาแถวสระบุรี แล้วก็นำคนใส่ชุดทั้งวัวและหมูไปแสดงในโลเกชั่นจริงที่เป็นทุ่งหญ้าเป็นไกด์ เพื่อที่จะดูการเคลื่อนไหวของขาของแขนหรือของหน้า จากนั้นก็นำสิ่งเหล่านี้มาบังด้วย Computer Graphic ที่จะวาดหมูวาดวัวลงไปในโลเกชั่นเปล่าซึ่งเป็นทุ่งหญ้าหรือภูเขา หรือท่าทางการเต้นต่างๆ Computer Graphic ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะว่าทุกอย่างมาจากศูนย์หมด มาจากคอมพิวเตอร์หมดเลย สิ่งที่มาจากกล้องจริงๆ ในเรื่องนี้ก็คือ Background ที่เป็นทุ่งหญ้าและรถยนต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือทีมงานสร้างขึ้นมา โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 เดือน ในการวาด ดูตั้งแต่ Sketch เป็นลายเส้นดินสอที่เคลื่อนไหวก่อน ว่าถูกอย่างที่ทีมงานต้องการหรือไม่ เพราะว่าทุกขั้นตอนในการวาด Computer Graphic จะไม่สามารถย้อนมาแก้ไขใหม่ได้ คือวาดแล้ววาดเลย การแก้ไขจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขจริงๆ โดยการทำงานทุกขั้นตอนจะต้องมีการ Approve ตลอดเวลา คือจากลายเส้นดินสอไปเป็นลายเส้นคอมพิวเตอร์ เริ่มมีลูกตา เริ่มมีขา เริ่มมีท่าเต้น เริ่มมีชีวิต เริ่มเดินได้ นั่นคือสิ่งที่ยากในการทำคอมพิวเตอร์ ต้องถือว่าเป็น Process ที่ยากกว่าชุดปลาเก๋า เพราะว่าเรื่องนี้เป็นแอนิเมชั่นทั้งเรื่องเลย เพราะฉะนั้นก็จะวาดเป็นเฟรมมาเลยตั้งแต่ต้น เฟรมหนึ่งถึงเฟรมสุดท้ายก็ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยพยายามทำออกมาแล้วให้ดูน่ารัก ดูสดใส ดูแล้วเป็นอะไรที่ Healthy ซึ่งถ้าสังเกตได้ ทางทีมงานจะพยายามเก็บความรู้สึกเหล่านี้มาตั้งแต่ชุดปลาเก๋าจนมาถึงชุดนี้ว่าเป็นโทนเดียวกันเป็นความรู้สึกเดียวกันและทั้งหมดนี้คือหลักการและกลยุทธ์ในการสื่อสารทางการตลาดของ Brand พรานทะเล รวมไปจนถึงหนังโฆษณาชุดล่าสุดและเรื่องสุดท้ายของปีนี้ที่ต่อยอดไปใส่จุดแข็งของ Brand คือเรื่องราวของสุขภาพ สำหรับในปีหน้า คงเป็นเรื่องราวของการบอกถึงวาไรตี้ของโปรดักต์ ที่มีอยู่อย่างมากมายให้กับผู้บริโภครับรู้เป็นสเตป ต่อไป....เอเยนซีโฆษณา: เจ. วอลเตอร์ ธอมสันความยาว: 30 วินาที และ 15 วินาทีทีมงานสร้างสรรค์:* พินิต ฉันทประทีป Deputy Chairman and Chief Creative Officer* สุรัติ โตมรศักดิ์ Associate Creative Director* จุฑามาศ จันทศร Broadcast Producer* รุ่งเพ็ชร พรรณาปยุกต์ Group Account Director * วริสรา ปิยะนาค Account Directorโปรดักชั่นเฮ้าส์: บริษัท อุมบะ อุมบะ ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา: บุรินทร์ รามมณีย์บริษัทผลิตเทคนิคคอมพิวเตอร์ภาพยนตร์โฆษณา: บริษัท ดิจิตอล เมจิก เอฟเฟ็ค
หลังจากออกหนังโฆษณา มาต่อเนื่อง ในการสร้าง Brand พรานทะเล มาตั้งแต่ต้นปี เริ่มตั้งแต่หนัง Teaser Ad เปิดตัว มาถึงหนังบอกเล่าเรื่องความสด คือปลาเก๋าคุยกะปลากะพง ตามด้วยการสร้าง Brand Experience กับหนังโฆษณาแอนิเมชั่นเพลงที่บอกกล่าวถึงความเป็นมาของความสดใหม่ และตามด้วยหนังโฆษณาที่เน้นให้เห็นถึงความสะดวกสบายในชุดที่มีผู้หญิงออกมาร้องเรียกปลาเก๋า แล้วปลาก็โดดลงหม้อแบบง่ายดาย และก็มาถึงหนังเรื่องที่ 5 Cheerful ซึ่งเป็นการต่อยอดมาบอกถึงสุขภาพ …ผลงานของ เอเยนซีโฆษณา J.W.T ประสบความสำเร็จในการสร้าง Cinderella Branding มาแล้วจากกระดาษ ดั๊บเบิ้ลเอ ...ต่อภาพแคมเปญ คุณพินิต ฉันทประทีป Deputy Chairman and Chief Creative Officer แห่ง J.W.T กล่าวว่า “สำหรับครีเอทีฟแล้ว Category นี้ (Frozen Seafood) ถือว่าน่าสนใจเพราะเป็นช่องว่างที่เรายังไม่เคยทำในเรื่องของโฆษณา ในแง่ของครีเอทีฟเอง สิ่งที่เราเคยทำมาแล้วในอดีตคือโฆษณา Double A ก็เป็น Category ที่ยังไม่มีการทำโฆษณาเช่นกัน นี่จึงเป็นแบรนด์ที่ 2 ที่ท้าทายทางเอเยนซีมาก เราอยากปั้นแบรนด์นี้ให้เป็นอันดับ 1 ให้คนจดจำแล้วก็อยากให้ประสบความสำเร็จ เราไปศึกษาแล้วก็พบกับลูกค้าที่โรงงาน เราพยายามขุดคุ้ยตรงประเด็นนี้ว่าจะ Communicate อย่างไรให้คนหันมาสนใจ ผมว่าเบสิกแล้ว พวกเราคงทานอาหารซีฟู้ดส์และคุ้นเคยในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจู่ๆ จะมีแบรนด์โผล่ขึ้นมาในตลาดก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เรามีของสดกันอยู่แล้ว เดินเข้าไปในตลาดเราก็ซื้อได้ ตรงนี้เราต้องมาตอกย้ำว่าทำยังไงให้ Consumer หันมาสนใจซื้อแบรนด์พรานทะเล” คุณสุรัติ โตมรศักดิ์ Associate Creative Director กล่าวเพิ่มเติมว่า “พรานทะเลเป็นโปรดักต์ใหม่ แล้วก็ต้องละลายความเชื่อเก่า เราจะเล่ายังไงว่าของเรานั้นสดเหมือนกันแต่ของเราอยู่ในซอง ฉะนั้นเราต้องเล่าที่มาของสิ่งเหล่านี้ นี่คือโจทย์ว่า หนึ่งคือสด สองมีที่มาอย่างไร ทำไมถึงมาอยู่ในซอง ทีนี้ถ้ามาเล่าเฉยๆ มันก็ไม่มีใครดู ก็เลยคิดกันในทีมว่ามันต้องมีอะไรซักอย่างที่ทำให้คนสัมผัสได้ เราก็พบว่าเรามีตัวละครของเราอยู่แล้ว ทำไมเราไม่ใช้ เริ่มจากปลาเก๋าที่ดูเป็นนักเลงหน่อย แล้วก็มีปลากะพงที่ Character ค่อนข้างจะอ่อนแอ เอ๊ะ ทำไมเราไม่เอา 2 ตัวนี้มาคุยกัน แล้วก็จะเล่าถึงความสด อย่างที่เรียกง่ายๆ ว่า สดยังไม่ทันขาดคำ ก็คือคุยกันอยู่ยังไม่ทันเสร็จเลยถูกแช่แข็งมาโผล่ที่บ้านคนซื้อแล้วก็ยังคุยกันต่อ นี่คือที่มาที่เราเล่าถึงเรื่องความสดแรกๆ สำหรับเรื่องต่อมาเป็นการเล่าให้ฟังว่า พรานทะเลมีที่มาอย่างไรก่อนที่จะมาโดน Freeze ในซอง ซึ่งเราก็เล่าผ่านอะไรบางอย่างที่คิดว่าคนจะสัมผัสและก็อินกับเราได้ นั่นก็คือเพลงซึ่งเป็นอาวุธอย่างหนึ่งที่น่าใช้สำหรับคนฟัง มันน่าจะเป็นเพลงเพราะๆ แล้วก็ภาพสบายๆ แบบแอนิเมชั่น เพราะถ้ามันเป็นภาพจริงของเรือที่ออกไปจับปลา มันก็คงไม่น่าดูเพราะเหมือนสารคดี เราก็เลยคิดว่ามันน่าจะเป็นแอนิเมชั่นที่น่ารักคล้ายๆ มิวสิกวิดีโอเพื่อให้คนดูสัมผัสถึงที่มา ซึ่งเรื่องที่ 2 นี้ก็จะมีประเด็นในการพูดเช่นกัน ชุดแรกก็คือความสด ซึ่งเราอยากให้คอนซูเมอร์ไว้วางใจในความสดกับแบรนด์พรานทะเล หนังเรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องของ Brand Experience เพราะแบรนด์พรานทะเลไม่ใช่ว่าจู่ๆ วันนี้พรุ่งนี้ทำขึ้นมาขาย จริงๆ เบื้องหลังเราเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องของทะเล เรื่องของความสด อันนี้จึงเป็น Review Experience ว่าเราผ่านร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำมา เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอาหารทะเลแช่แข็ง ที่มีมานานแต่เรายังไม่ได้บอก อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราอยากให้คอนซูเมอร์ไว้วางใจเรา ก็เลยนำเสนอผ่านเพลงเล่าเรื่องราว ...เรื่องที่ 3 ที่มีผู้หญิงเรียกเก๋า เก๋า เก๋า แล้วปลากระโดดขึ้นมา อันนั้นก็อีกประเด็นหนึ่งที่เราอยากทำต่อเนื่องเสนอเป็น Message ที่ 3 ว่ามันเป็นเรื่องสะดวกเพราะทุกวันนี้คนมีเวลาน้อย อยากกลับบ้านไปกินซีฟู้ดส์ทั้งทีก็ต้องเหนื่อยจนไม่มีอารมณ์จะกิน แต่ของเราแค่กดปุ่มง่ายนิดเดียว แต่ในเรื่องเราไม่ได้อธิบายขนาดนั้น จะมีเปรียบเทียบนิดหน่อยว่าคนตกปลาจริงๆ ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ปลาสดซักตัว สู้เดี๋ยวนี้ไม่ได้เคาะหม้อทีนึงก็มาเลย ตรงนี้ก็เปรียบเปรยนิดนึง ก็เน้นความสด สะดวก แล้วก็ซัพพอร์ตโดย Experience ของแบรนด์พรานทะเล อันนี้ก็เป็นแต่ละช่วงแต่ละตอนของแบรนด์ช่วงครึ่งปีแรก” Cheerful ทางลูกค้าให้โจทย์กับ JWT ว่าการจะออกโฆษณาชุดต่อไป นั้นอยากให้พูดเรื่องสุขภาพให้มากที่สุด ทำอย่างไรที่จะให้ผู้บริโภคซึ่งเชื่อว่าทุกคนรักสุขภาพหันมาสนใจ พรานทะเลนอกจากจะเป็นอาหารหลักแล้วยังเป็นอาหารที่ทานแล้วมีสุขภาพดีด้วย ทำให้ร่างกายไม่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลหรือไตรกรีเซอไรด์ ก็เป็นโจทย์ว่าทำยังไงให้ผู้บริโภคหันมาทานอาหารซีฟู้ดส์ แล้วบอกให้เขารู้ว่าอาหารคือ อาหารเพื่อสุขภาพ นี่คือโจทย์หลักของพรานทะเลคุณพินิต กล่าวว่า “นี่เป็นโจทย์ที่ยิ่งดีใหญ่ เพราะเป็น Message ที่มีความน่าสนใจในเชิงครีเอทีฟ มันเป็นประเด็นที่ทุกคนคุ้นเคยและยอมรับในใจว่าปลากินแล้วมีประโยชน์ ฉะนั้นจึงค่อนข้างจะเป็น Message ที่ง่ายเพียงแต่ในขั้นตอนของการทำภาพยนตร์โฆษณา เราจะทำยังไงให้มันน่าสนใจ มีเรื่องมีราวนิดนึง ซึ่งสิ่งที่เราทำมาตั้งแต่ 2-3 เรื่องแรกจะผ่านตัวละครอย่างปลาเก๋าปลากะพงแดง แต่คราวนี้ Message ที่เราต้องการนำเสนอคือ ปลากินแล้วยืดอายุเพื่อชีวิตยืนยาว เพราะฉะนั้นจะทำยังไงเพื่อให้รู้ว่าปลากินแล้วดี ก็เลยคิดว่า คราวนี้เราลองแซวนิดนึงในเรื่องของคนที่ทานหมูทานเนื้อ ลองดูซิว่าหมูหรือวัวเขาจะรู้สึกยังไง ”เรื่องจึงออกมาว่าเมื่อยามเช้าแสนสดใสที่ฟาร์มแห่งหนึ่ง ขณะที่หมูแม่ลูกอ่อนกำลังให้นมลูกๆ ฝูงวัวกำลังเล็มหญ้าอ่อน ทันใดนั้นทั้งหมดก็แสดงอาการดีใจแบบออกนอกหน้า เมื่อเห็นรถส่งปลาของพรานทะเลแล่นผ่านหน้าฟาร์มไป เล่นเอาแม่หมูถึงกับตะลึง กระโจนพรวดออกมาด้วยความดีใจสุดขีด ทำเอาบรรดาลูกๆ ที่นอนดูดนมอยู่กระเด็นกระดอนไปคนละทิศละทาง วัวหนุ่มบางตัวถึงกับสำลักหญ้าคายพรวดออกมาเพราะแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองว่าจะมีปลาเก๋ากับกะพงแดงมารับบทเลี้ยงปากเลี้ยงท้องประชาชนแทน ทำให้บรรดาหมูและวัวยังโลดเต้นกับชีวิตต่อไปได้อีกนาน แม่หมูและวัวจึงเริ่มฉลองด้วยการเต้นอย่างเมามันส์ บ้างออกลีลาดิสโก้สุดเปรี้ยว บ้างเต้นพร้อมกันทำตัวเป็นบอยแบนด์ เพื่อขอบคุณคุณค่าของปลาจากพรานทะเลที่ยืดเวลาให้ทุกชีวิตProductionทางทีมงานไม่สามารถเอาวัวเป็นๆ มาดิ้นได้หรือเอาหมูน้ำหนักร้อยกว่าโลมายืน 2 ขาได้ จึงมีคนใส่ชุดหมูกับชุดวัว ไปถ่ายเป็นไกด์ สำหรับขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้คือ ไปถ่ายโลเกชั่นที่เนินเขาแถวสระบุรี แล้วก็นำคนใส่ชุดทั้งวัวและหมูไปแสดงในโลเกชั่นจริงที่เป็นทุ่งหญ้าเป็นไกด์ เพื่อที่จะดูการเคลื่อนไหวของขาของแขนหรือของหน้า จากนั้นก็นำสิ่งเหล่านี้มาบังด้วย Computer Graphic ที่จะวาดหมูวาดวัวลงไปในโลเกชั่นเปล่าซึ่งเป็นทุ่งหญ้าหรือภูเขา หรือท่าทางการเต้นต่างๆ Computer Graphic ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะว่าทุกอย่างมาจากศูนย์หมด มาจากคอมพิวเตอร์หมดเลย สิ่งที่มาจากกล้องจริงๆ ในเรื่องนี้ก็คือ Background ที่เป็นทุ่งหญ้าและรถยนต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือทีมงานสร้างขึ้นมา โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 เดือน ในการวาด ดูตั้งแต่ Sketch เป็นลายเส้นดินสอที่เคลื่อนไหวก่อน ว่าถูกอย่างที่ทีมงานต้องการหรือไม่ เพราะว่าทุกขั้นตอนในการวาด Computer Graphic จะไม่สามารถย้อนมาแก้ไขใหม่ได้ คือวาดแล้ววาดเลย การแก้ไขจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขจริงๆ โดยการทำงานทุกขั้นตอนจะต้องมีการ Approve ตลอดเวลา คือจากลายเส้นดินสอไปเป็นลายเส้นคอมพิวเตอร์ เริ่มมีลูกตา เริ่มมีขา เริ่มมีท่าเต้น เริ่มมีชีวิต เริ่มเดินได้ นั่นคือสิ่งที่ยากในการทำคอมพิวเตอร์ ต้องถือว่าเป็น Process ที่ยากกว่าชุดปลาเก๋า เพราะว่าเรื่องนี้เป็นแอนิเมชั่นทั้งเรื่องเลย เพราะฉะนั้นก็จะวาดเป็นเฟรมมาเลยตั้งแต่ต้น เฟรมหนึ่งถึงเฟรมสุดท้ายก็ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยพยายามทำออกมาแล้วให้ดูน่ารัก ดูสดใส ดูแล้วเป็นอะไรที่ Healthy ซึ่งถ้าสังเกตได้ ทางทีมงานจะพยายามเก็บความรู้สึกเหล่านี้มาตั้งแต่ชุดปลาเก๋าจนมาถึงชุดนี้ว่าเป็นโทนเดียวกันเป็นความรู้สึกเดียวกันและทั้งหมดนี้คือหลักการและกลยุทธ์ในการสื่อสารทางการตลาดของ Brand พรานทะเล รวมไปจนถึงหนังโฆษณาชุดล่าสุดและเรื่องสุดท้ายของปีนี้ที่ต่อยอดไปใส่จุดแข็งของ Brand คือเรื่องราวของสุขภาพ สำหรับในปีหน้า คงเป็นเรื่องราวของการบอกถึงวาไรตี้ของโปรดักต์ ที่มีอยู่อย่างมากมายให้กับผู้บริโภครับรู้เป็นสเตป ต่อไป....เอเยนซีโฆษณา: เจ. วอลเตอร์ ธอมสันความยาว: 30 วินาที และ 15 วินาทีทีมงานสร้างสรรค์:* พินิต ฉันทประทีป Deputy Chairman and Chief Creative Officer* สุรัติ โตมรศักดิ์ Associate Creative Director* จุฑามาศ จันทศร Broadcast Producer* รุ่งเพ็ชร พรรณาปยุกต์ Group Account Director * วริสรา ปิยะนาค Account Directorโปรดักชั่นเฮ้าส์: บริษัท อุมบะ อุมบะ ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา: บุรินทร์ รามมณีย์บริษัทผลิตเทคนิคคอมพิวเตอร์ภาพยนตร์โฆษณา: บริษัท ดิจิตอล เมจิก เอฟเฟ็ค