Monday 13 August 2007

อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 30

อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 30
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
อัจฉริยะข้ามคืน

อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 30
วันที่
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
สถานที่แข่ง
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ผู้ชนะ
ดร. อดิสร เตือนตรานนท์
คำไขรหัส[แสดง]
หินอ่อนแจ้งพระแก้ว
เฉลยรหัส[แสดง]
5101
อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 30
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ผู้เข้าแข่งขัน
2 วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์
3 อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
4 ภารกิจที่ 1
4.1 ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
5 ภารกิจที่ 2
5.1 ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
6 ภารกิจที่ 3
6.1 ผลการแข่งขัน
6.2 รหัสลับประจำสัปดาห์
7 ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม
7.1 คำถาม
7.2 ผู้ชนะ
//

[แก้] ผู้เข้าแข่งขัน
ชลนวัตภรณ์ วิภาสธาริตสกุล อายุ 35 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์และองค์กร ด้วยระบบการโปรแกรมระบบความคิดใหม่ใส่สมอง
ชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา อายุ 38 ปี ผู้กำกับหนังโฆษณา กวาดรางวัลการประกวดทั้งในและนอกประเทศมาแล้วกว่า 50 รางวัลและเดินทางพิชิต 7 สิ่งมหัศจรรย์ครบแล้วทั่วโลก
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ อายุ 32 ปี หัวหน้านักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี เจ้าของรางวัลเทคโนโลยีรุ่นใหม่ปี 2547 ผู้เขียนหนังสือขายดี"นาโนเทคโนโลยี...จิ๋วแต่แจ๋ว"
สุพร อมรจิตรานนท์ อายุ 45 ปี ผอ.ด้านการตลาด จบเกียรตินิยม 4.00 ด้าน Computer Animation จากอเมริกา และอ.พิเศษที่สอนได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงปริญญาโท
ฤทธิชัย อัศวราชันย์ อายุ 29 ปี อาจารย์ ว่าที่ดร.ด้านวิศวกรรมการเกษตรและติวเตอร์คณิตศาสตร์ ผู้ทำสถิติสอน นศ.ปวส. สอบวิศวะลาดกระบัง ติดยกห้อง
กฤษณะ เลิศวัฒนวิมล อายุ 51 ปี ไกด์หัวหน้าทัวร์ 4 ภาษา ผู้เชี่ยวชาญประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทำงานธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน
ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อายุ 22 ปี อ.คณะนิติศาสตร์ ผู้จบทุนป.ตรีด้วยเกียรตินิยม อันดับ 1 และได้ทุนต่อป.โท ที่อเมริกา 2 ใบ ด้วยวัยเพียง 22 ปี
ณรงคชนม์ ชมสา อายุ 30 ปี ผจก.ประสานงานด้านเทคนิคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บ.โทรคมนาคมระดับโลก ผู้ผ่านงานวิศวกรมาแล้วทั้งในเอเวียและยุโรป

[แก้] วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์
??? ?????

[แก้] อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
อาหารและอุปกรณ์การกิน
อุปกรณ์ส่องสว่างและคีมอเนกประสงค์
เครื่องอุปโภค
อุปกรณ์จดบันทึก
อุปกรณ์ตัด ติด ต่อ ห่อหุ้ม
โทรศัพท์มือถือที่ใช้โทรได้เพียงครั้งเดียวไม่เกิน 1 นาที
อุปกรณ์ผูกมัด
ปริศนา ที่จะใช้ในภารกิจที่ 3 ซึ่งมาในรูปของ ภาพตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อพลิกด้านหลังจะเจอตัวเลข 5 สี
ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้ มีการกล่าวถึง เนื้อเรื่อง หรือฉากจบ

[แก้] ภารกิจที่ 1
จับคู่ภาพสมุนไพร

[แก้] ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
อันดับ 1 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี 10 ครั้ง
อันดับ 2 ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล - สุพร อ.อนุบาล-ป.โท 11 ครั้ง
อันดับ 3 ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี - ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ 12 ครั้ง
อันดับ 4 กฤษณะ หัวหน้าทัวร์สแกนดิเนเวีย - ณรงคชนม์ ผจก.วิศวกรระดับนานาชาติ 16 ครั้ง (ตกรอบ)

[แก้] ภารกิจที่ 2
นับยาลูกกลอนจำลอง 12,345 เม็ด จาก 50,000 เม็ด

[แก้] ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
อันดับ 1 ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ - ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล นับได้จริง 12,425 เม็ด คลาดเคลื่อน 80 เม็ด
อันดับ 2 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี นับได้จริง 11,855 เม็ด คลาดเคลื่อน 490 เม็ด
อันดับ 3 สุพร อ.อนุบาล-ป.โท - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี นับได้จริง 10,468 เม็ด คลาดเคลื่อน 1,877 เม็ด(ตกรอบ)

[แก้] ภารกิจที่ 3
ถอดรหัส

[แก้] ผลการแข่งขัน
ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล (เข้าชิงคนที่ 1)
ดร.อดิสร หัวหน้านักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี (เข้าชิงคนที่ 2)
ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง ตกรอบ
ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ ตกรอบ

[แก้] รหัสลับประจำสัปดาห์
"หินอ่อนแจ้งพระแก้ว"
รหัสลับสัปดาห์นี้เกี่ยวข้องกับวัดที่ปรากฏบนหน้าก้อยของเหรียญกษาปณ์ไทย
หินอ่อน หมายถึงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (Marble Temple) ปรากฏบนเหรียญ 5 บาท
แจ้ง หมายถึงวัดอรุณราชวราราม (The Temple Of Dawn) ปรากฏบนเหรียญ 10 บาท
พระแก้ว หมายถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปรากฏบนเหรียญ 1 บาท
รหัสลับประจำสัปดาห์คือ 5101

[แก้] ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม

[แก้] คำถาม
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 จังหวัดคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และพนมสก ซึ่งท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างตึกหลังนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับแรมในการเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรีของ ร.5 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พักอาศัยส่วนตัวเลย ท่านได้ใช้ตึกหลังนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นคือ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเบาหวานจึงได้ใช้ตึกหลังนี้ตั้งบำเพ็ญกุศลเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งต่อมาตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลประจำจังหวัดยุคแรกของไทย ซึ่งมีด้วยกัน 19 แห่ง ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าโรงพยาบาลปราจีนบุรี ที่น่าสนใจก็คือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่เข้าใจว่ามีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่จริงมีอยู่ 2 แห่ง เเล้วตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกหลังอยู่ที่จังหวัดอะไร
คำตอบ:พระตะบอง(อยู่ที่กัมพูชา)

ผู้ชนะ
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ หัวหน้านักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี แห่ง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)สวทช.เจ้าของรางวัลเทคโนโลยีรุ่นใหม่ปี 2547 ผู้เขียนหนังสือขายดี"นาโนเทคโนโลยี...จิ๋วแต่แจ๋ว" ได้รับ สินเชื่อเงินสด เคทีซี เเคซ มูลค่า 1,000,000 บาท