Monday, 13 August 2007
Digital Ad Trend 2007
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่าใช้เวลาคิดอยู่นานสองนานนะครับ ว่าจะกล้าเขียนเรื่องนี้หรือเปล่า เนื่องจากได้อ่านข้อเขียนบทความหลายชิ้นที่กล่าวถึงแนวโน้มโฆษณาบนสื่อดิจิตอล(Digital Advertising)ซึ่งส่วนใหญ่พูดถึงออนไลน์ในปีนี้ ก็เกรงว่าจะเขียนเรื่องซ้ำน่าเบื่อไปเสีย แต่พอทาง “บิสิเนสไทย” บอกให้ทราบว่า ปีนี้เน้น “ความคิดเห็น” ได้มากขึ้น จึงค่อยผ่อนคลายสบายใจ มาลองดูกันครับ แนวโน้มปีนี้ น่าจะมีอะไรบ้างครับ
เล่นข้ามสื่อ (Cross Media or Integrated Media)
แต่ไหนแต่ไรมาเราก็มักจะเชียร์นักการตลาด ให้เห็นลักษณะเฉพาะของตัวสื่อเอง เช่นเดียวกับของทุกอย่างครับ มีจุดดีก็ต้องมีจุดด้อย เราก็อยากเห็นแคมเปญโฆษณาที่เอาจุดดีของสื่อ เช่น การเก็บฐานข้อมูล และระบุตัวตนได้ การปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในต้นทุนที่ต่ำ การแก้เกมกลางทางได้เพราะวัดผลได้เร็วแม่นยำ ฯลฯ ไปเสริมกับสื่อออฟไลน์ที่มีพลังในการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้กว้างกว่า หรืองานสร้างสรรค์ที่มีรายละเอียดมากกว่า ขนาดใหญ่กว่า ดึงดูดสายตาได้มากกว่า
ซึ่งในปี 49 ที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นเยอะขึ้นในบ้านเรา และเชื่อเหลือเกินว่าในปี 50 ซึ่งนักการตลาดหันมาชายตามองสื่อดิจิตอลมากขึ้น เราน่าจะเห็นแคมเปญข้ามสื่อมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์กับอินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ต มือถือ สื่อ Out of Home กับมือถือ หรือการจับคู่แบบอื่นๆ ตามความสร้างสรรค์
ภาพเสียงสมบูรณ์ผ่านวิดีโอ (Video Advertising)
ในภาวะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในบ้านเราโตเหมือนติดจรวด (เท่าที่ทราบเร็วที่สุดในเอเชียเลยนะครับ) เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกชม Content หรือเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ทางภาพและเสียงได้มากขึ้น และส่งผลมายังผู้ผลิต Content รวมถึงนักการตลาดที่จะเล่นกับเรื่องของวิดีโอกันอย่างสนุก จึงไม่แปลกที่เราเห็น Video Banner ปรากฏขึ้นในเว็บไซต์ชั้นนำอย่างมาก ในช่วงไตรมาสหลังของปี 49 และน่าจะเห็นเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับในปี 50 นี้
แสดงผลในอุปกรณ์หลากหลาย(Multi-Device)
นับวัน โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ ใกล้จะกลายเป็นของอย่างเดียวกันไปทุกที แต่ระหว่างกลางนี้ เราจะได้เห็นอุปกรณ์ลูกผสมเกิดขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ Smart Phone หรือ PDA ในบ้านเราที่บูมสุดๆ ในปี 49 และราคาน่าจะถูกลงด้วยในปี 50 เมื่อเป็นเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าอัตราการใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ น่าจะมากขึ้นไปด้วย ผู้ผลิต เว็บท่าและแน่นอนนักการตลาด คงเตรียมตัวรับเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน
เลิกแทงตาแต่หันมามีส่วนร่วม (Consumer Engagement)
ถ้าทิศทางโฆษณาบ้านเราตามรอยประเทศอื่นๆ ที่ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ปีนี้เราน่าจะเห็น Banner Ad บางชนิดน้อยลง ชนิดที่ว่านั้นคือ Banner ที่มีลักษณะทิ่มแทงสายตา เช่น Floating Ad หรือ Pop-up Ad ที่เบียดบังเนื้อหาสาระของเว็บไซต์
ก็ลองคิดดูสิครับ แม้แต่ Browser รุ่นหลังๆ หรือ Toolbar แต่ละยี่ห้อที่เราเอามาติด ก็ล้วนแต่มีระบบป้องกัน Pop-up ทั้งสิ้น น่าจะบอกนักการตลาดได้ชัดว่าเรื่องนี้คือสิ่งที่คนไม่ต้องการ แนวการโฆษณาจึงน่าจะไปให้ความสนับสนุนเว็บไซต์ในรูปแบบของ Sponsorship หรือทำบทความเชิงโฆษณา ได้มากขึ้น รวมไปถึงโฆษณาในรูปแบบแปลกๆ ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน โดยไม่ทำให้รำคาญใจ
E-mail และ SMS Marketing
ด้วยว่าสื่อดิจิตอลนี้เป็นเครื่องมืออย่างดีในการเก็บฐานข้อมูล ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่นักการตลาดจะหันมาเก็บ เก็บ เก็บ และเก็บ ชื่อ อีเมล์ เบอร์โทร ลูกค้าเอาไว้ใช้ในทางการตลาดต่อไป โดยเฉพาะเมื่อกฎ กติกา ในด้านการโฆษณาสินค้าบางจำพวกยังไม่ชัดเจน การเก็บ Opt-In อีเมล์ หรือเบอร์โทร น่าจะเป็นช่องทางที่สะดวก และเมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น การจัดส่งข้อมูลการตลาดให้ตรงกับความสนใจของแต่ละคนก็จะมีความสำคัญมากขึ้น
Google
สุดท้ายคงหนีไม่พ้นการรุกคืบเข้ามาของสามค่ายยักษ์ใหญ่ ที่หันมาเปิดบริการ Advertising Solution กันอย่างมาก แต่สำหรับคนไทยแล้วแทบทั้งหมดก็ยังใช้งาน Google และเราน่าจะเริ่มเห็นโฆษณาใน Google มากขึ้นทั้งในรูปของ Search Engine Marketing หรือแบบที่ลงในเว็บไซต์เครือข่ายพันธมิตรของ Google (ที่มีจำนวนสูงขึ้นอย่างมากเช่นกัน)
ตกหล่นเรื่องสำคัญเรื่องไหนไปบ้างหรือเปล่าครับ แนะนำกันมาได้นะครับ เผื่อจะช่วยกันขยายในบทความครั้งหน้าครับ ?
เล่นข้ามสื่อ (Cross Media or Integrated Media)
แต่ไหนแต่ไรมาเราก็มักจะเชียร์นักการตลาด ให้เห็นลักษณะเฉพาะของตัวสื่อเอง เช่นเดียวกับของทุกอย่างครับ มีจุดดีก็ต้องมีจุดด้อย เราก็อยากเห็นแคมเปญโฆษณาที่เอาจุดดีของสื่อ เช่น การเก็บฐานข้อมูล และระบุตัวตนได้ การปรับแต่งเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในต้นทุนที่ต่ำ การแก้เกมกลางทางได้เพราะวัดผลได้เร็วแม่นยำ ฯลฯ ไปเสริมกับสื่อออฟไลน์ที่มีพลังในการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้กว้างกว่า หรืองานสร้างสรรค์ที่มีรายละเอียดมากกว่า ขนาดใหญ่กว่า ดึงดูดสายตาได้มากกว่า
ซึ่งในปี 49 ที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นเยอะขึ้นในบ้านเรา และเชื่อเหลือเกินว่าในปี 50 ซึ่งนักการตลาดหันมาชายตามองสื่อดิจิตอลมากขึ้น เราน่าจะเห็นแคมเปญข้ามสื่อมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์กับอินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ต มือถือ สื่อ Out of Home กับมือถือ หรือการจับคู่แบบอื่นๆ ตามความสร้างสรรค์
ภาพเสียงสมบูรณ์ผ่านวิดีโอ (Video Advertising)
ในภาวะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในบ้านเราโตเหมือนติดจรวด (เท่าที่ทราบเร็วที่สุดในเอเชียเลยนะครับ) เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกชม Content หรือเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ทางภาพและเสียงได้มากขึ้น และส่งผลมายังผู้ผลิต Content รวมถึงนักการตลาดที่จะเล่นกับเรื่องของวิดีโอกันอย่างสนุก จึงไม่แปลกที่เราเห็น Video Banner ปรากฏขึ้นในเว็บไซต์ชั้นนำอย่างมาก ในช่วงไตรมาสหลังของปี 49 และน่าจะเห็นเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับในปี 50 นี้
แสดงผลในอุปกรณ์หลากหลาย(Multi-Device)
นับวัน โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ ใกล้จะกลายเป็นของอย่างเดียวกันไปทุกที แต่ระหว่างกลางนี้ เราจะได้เห็นอุปกรณ์ลูกผสมเกิดขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ Smart Phone หรือ PDA ในบ้านเราที่บูมสุดๆ ในปี 49 และราคาน่าจะถูกลงด้วยในปี 50 เมื่อเป็นเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าอัตราการใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ น่าจะมากขึ้นไปด้วย ผู้ผลิต เว็บท่าและแน่นอนนักการตลาด คงเตรียมตัวรับเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน
เลิกแทงตาแต่หันมามีส่วนร่วม (Consumer Engagement)
ถ้าทิศทางโฆษณาบ้านเราตามรอยประเทศอื่นๆ ที่ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ปีนี้เราน่าจะเห็น Banner Ad บางชนิดน้อยลง ชนิดที่ว่านั้นคือ Banner ที่มีลักษณะทิ่มแทงสายตา เช่น Floating Ad หรือ Pop-up Ad ที่เบียดบังเนื้อหาสาระของเว็บไซต์
ก็ลองคิดดูสิครับ แม้แต่ Browser รุ่นหลังๆ หรือ Toolbar แต่ละยี่ห้อที่เราเอามาติด ก็ล้วนแต่มีระบบป้องกัน Pop-up ทั้งสิ้น น่าจะบอกนักการตลาดได้ชัดว่าเรื่องนี้คือสิ่งที่คนไม่ต้องการ แนวการโฆษณาจึงน่าจะไปให้ความสนับสนุนเว็บไซต์ในรูปแบบของ Sponsorship หรือทำบทความเชิงโฆษณา ได้มากขึ้น รวมไปถึงโฆษณาในรูปแบบแปลกๆ ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน โดยไม่ทำให้รำคาญใจ
E-mail และ SMS Marketing
ด้วยว่าสื่อดิจิตอลนี้เป็นเครื่องมืออย่างดีในการเก็บฐานข้อมูล ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่นักการตลาดจะหันมาเก็บ เก็บ เก็บ และเก็บ ชื่อ อีเมล์ เบอร์โทร ลูกค้าเอาไว้ใช้ในทางการตลาดต่อไป โดยเฉพาะเมื่อกฎ กติกา ในด้านการโฆษณาสินค้าบางจำพวกยังไม่ชัดเจน การเก็บ Opt-In อีเมล์ หรือเบอร์โทร น่าจะเป็นช่องทางที่สะดวก และเมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น การจัดส่งข้อมูลการตลาดให้ตรงกับความสนใจของแต่ละคนก็จะมีความสำคัญมากขึ้น
สุดท้ายคงหนีไม่พ้นการรุกคืบเข้ามาของสามค่ายยักษ์ใหญ่ ที่หันมาเปิดบริการ Advertising Solution กันอย่างมาก แต่สำหรับคนไทยแล้วแทบทั้งหมดก็ยังใช้งาน Google และเราน่าจะเริ่มเห็นโฆษณาใน Google มากขึ้นทั้งในรูปของ Search Engine Marketing หรือแบบที่ลงในเว็บไซต์เครือข่ายพันธมิตรของ Google (ที่มีจำนวนสูงขึ้นอย่างมากเช่นกัน)
ตกหล่นเรื่องสำคัญเรื่องไหนไปบ้างหรือเปล่าครับ แนะนำกันมาได้นะครับ เผื่อจะช่วยกันขยายในบทความครั้งหน้าครับ ?
Labels:
Advertising Direction 2007