Monday, 13 August 2007
ป้ายโฆษณา ป้องกันกรณีพิพาท
ระเบียบว่าด้วยข้อบังคับการติดตั้งโครงสร้าง และป้ายโฆษณา ป้องกันกรณีพิพาท ? ป้ายบังกัน ?
หมวดที่ 1 คำนิยามของคำว่า ? ป้ายโฆษณา ? ในกรณีพิพาทของป้ายบังกัน
1. ป้ายโฆษณา คือ แผ่นภาพ หรือ ข้อความ หรือ แผ่นภาพพร้อมข้อความ หรือ โลโก้ , ชื่อ , สัญลักษณ์ , เครื่องหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมองเห็น ซึ่งมีขนาดป้ายตั้งแต่ 1.20 เมตร X 1.20 เมตร หรือมากกว่า 1.50 ตารางเมตรขึ้นไป
2. การมองเห็นในที่นี้จะเรียกว่า ? ทิศทางการมองเห็นป้ายโฆษณา ? ในที่นี้ถ้าป้ายโฆษณาอยู่กลางแจ้ง หมายถึงผู้ที่ มองเห็นเมื่อโดยสารอยู่ในยานพาหนะ เช่น
- รถยนต์ อันมีผู้ขับขี่ รวมถึงผู้โดยสาร
- ผู้โดยสารในรถไฟ
- ผู้โดยสารในรถไฟฟ้า
3. โครงป้ายโฆษณา และป้ายโฆษณาที่ผู้ประกอบการจัดทำ หรือก่อสร้างขึ้นในสถานที่ดังต่อไปนี้
3.1. บนพื้นดิน
3.2. บนดาดฟ้าอาคาร
3.3. บริเวณตัวอาคารที่มีส่วนของโครงสร้าง และป้ายโฆษณาที่ยื่นล้ำจากตัวอาคาร
4. โครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณา ที่เจ้าของจัดทำขึ้นเพื่อ
4.1. เพื่อโฆษณาสินค้า หรือโฆษณาธุรกิจของตนเอง
4.2. เพื่อมีไว้ประกอบธุรกิจให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือจากการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
5. โครงป้ายโฆษณา ที่ผู้ประกอบการเช่ามาจากเจ้าของโครงสร้าง ซึ่งเป็นเจ้าของอาคาร
6. โครงป้ายโฆษณา ที่ผู้ประกอบการเข้าถือกรรมสิทธิ์ และนำมาประกอบธุรกิจให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือนำมาประกอบธุรกิจการจัดหา , นายหน้า , ตัวแทน และ / หรือการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
หมวดที่ 2
คำนิยามของคำว่า ? ป้ายโฆษณา ? ที่ไม่อยู่ในกรณีพิพาทของป้ายบังกัน
1. โครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณาที่เจ้าของอาคารจริง เป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อโฆษณาสินค้า , โลโก้ และธุรกิจของตนเอง ซึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่า
1.1. อาคาร หรือที่ดิน ที่ทำการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณา เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) จริง
1.2. โลโก้ , สินค้า ที่โฆษณาเป็นธุรกิจของผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) จริง โดยมีหุ้นส่วนในธุรกิจนั้นๆ เกินกว่า 50 %
1.3. ผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) ต้องทำการโฆษณาโลโก้ , สินค้า ได้เฉพาะสินค้า และธุรกิจของตนเองตาม ข้อ 1.2. ห้ามมิให้ทำการโฆษณาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือนำมาประกอบธุรกิจการจัดหา , นายหน้า , ตัวแทนหรือการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
2. เจ้าของอาคารจริง ซึ่งเป็นเจ้าของโครงสร้าง และป้ายโฆษณาในธุรกิจตัวเอง ตามข้อ 1. หากจะทำการก่อสร้างโครงป้าย และป้ายโฆษณาขึ้นมาแล้วทำให้ผู้ประกอบการซึ่งมีป้ายอยู่ใกล้เคียง และเสียผลประโยชน์จากทิศทางการมองเห็นป้ายสมควรที่จะบอกกล่าวให้ผู้ประกอบการนั้นๆ เกิดความเข้าใจ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน และมีโอกาสร่วมมือกันต่อไปในอนาคต
หมวดที่ 3
หลักการพิจารณา กรณีพิพาท ? ป้ายบังกัน ? 1. ให้ถือไว้ก่อนว่า ถ้าผู้ประกอบการฝ่ายใด ทำการก่อสร้างโครงสร้างป้ายโฆษณาขึ้นก่อน เป็นฝ่ายถูก 50 %
2. หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ทำการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณาทีหลัง และมีข้ออ้างดังต่อไปนี้
2.1. เช่า หรือติดต่อ หรือเซ็นสัญญาสถานที่นั้นๆ นานแล้วแต่ยังไม่ได้สร้างเพราะเหตุผลใดๆ ก็ตาม
2.2. กำลังเตรียมการก่อสร้าง , เตรียมวัสดุ อุปกรณ์
2.3. กำลังเสนอสถานที่นั้นๆ ให้กับสินค้า
2.4. กำลังขออนุญาตจากทางหน่วยงานราชการ
2.5. หรืออื่นๆ ให้ข้ออ้างนี้ เป็นข้ออ้างที่เป็นฝ่ายถูกเพียง 20 %
3. จากกรณีพิจารณา ตามข้อ 1, 2 แล้ว ให้ถือว่าระยะห่างของโครงป้ายโฆษณาจากโครงคู่กรณีดังต่อไปนี้
3.1. กรณีที่โครงป้ายโฆษณาที่ก่อสร้างขึ้นก่อนมีความยาวของป้ายเท่าไรก็ตาม ระยะห่างของโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิมต้องไม่น้อยกว่า 5 เท่า ของความยาวของป้ายเดิม ตัวอย่างเช่น ป้ายเดิมมีความยาวของป้าย 20 เมตร ระยะห่างโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิม ในทิศทางการมองเห็นป้ายไม่น้อยกว่า 100 เมตร ( 25 คูหา ) ตัวอย่างเช่น ป้ายเดิมมีความยาวของป้าย 12 เมตร ระยะห่างโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิม ในทิศทางการมองเห็นป้ายไม่น้อยกว่า 60 เมตร ( 15 คูหา ) ทั้งนี้ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หรือเรียกว่าทั้งสองด้านของโครงป้ายโฆษณา ในกรณีที่โครงสร้างนั้นๆ ก่อสร้างตั้งฉากกับแนวถนน
3.2. กรณีโครงป้ายโฆษณาก่อสร้างไม่ตั้งฉากกับถนน ให้ถือว่าด้านที่มีมุมองศาน้อยไม่เกิน 45 องศา เป็นด้านหน้า ผู้ประกอบการอื่น สามารถก่อสร้างโครงป้ายใกล้เคียงได้จากด้านหลังของป้ายเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของความยาวของป้ายเดิม
4. กรณีที่มี 2 ป้าย ซ้อนกันอยู่ในตำแหน่งทิศทางการมองเห็นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 ป้ายใช้ประโยชน์ได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ป้ายแรกอยู่บนพื้นดินป้ายที่สองอยู่บนดาดฟ้าอาคาร หากกรณีที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอาคารขึ้นมาทำให้ป้ายแรกไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในขณะที่ป้ายที่สองสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่ ป้ายแรกไม่มีสิทธิ์ในการต่อเติมเสริมโครงสร้างให้สูงขึ้นมาได้ให้ถือว่าป้ายแรกสิ้นสุดในการใช้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
หมวดที่ 4
เมื่อมีกรณีพิพาท ? ป้ายบังกัน ? ระหว่างผู้ประกอบการ
1. ให้คู่กรณีตกลงกันเองด้วยเหตุผล ( อาจใช้เหตุผลของสมาคมป้ายเป็นข้อกำหนดในการเจรจาก็ได้ ) แล้ให้คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งผลที่สามารถตกลงกันได้ โดยลงนามทั้งสองฝ่ายแล้วนำสำเนามองให้กับทางสมาคมฯ เพื่อแจ้งสมาชิกทั่วไปทราบ
2. กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เข้าร้องต่อนายกสมาคมฯ เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการ โดยพยายามรวบรวมหลักฐานดังต่อไปนี้ 2.1. หลักฐานการเช่าที่ดิน หรืออาคาร
2.2. ใบขออนุญาตจากทางราชการ
2.3. ใบอนุญาตจากทางราชการ
2.4. รูปถ่ายก่อนการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา
2.5. รูปถ่ายหลังการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา ( หลังจากเกิดเหตุพิพาท )
2.6. รูปถ่ายหลังเกิดเหตุพิพาทโดยถ่ายเป็นระยะดังนี้
- สถานที่เกิดเหตุจริงในมุมกว้าง
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 10, 20, 30, 40, และ 50 เมตร
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270, และ 300 เมตร
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 300, 500, และ 1,000 เมตร
หมายเหตุ :
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 1 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านขวาสุดของช่องทาง
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 2 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของช่องทางขวามือ
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 3 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของช่องทางกลางของการเดินรถ
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 4 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของทางที่ 2 จากขวา
หมวดที่ 5
การนำข้อพิพาทเข้าพิจารณาหาข้อยุติเมื่อมีกรณี ? ป้ายบังกัน ?
1. การที่มีสมาชิกร้องขอให้ทางสมาคมฯ ช่วยดำเนินการ ถึงแม้ว่าสมาชิกที่ร้องขอนั้นไม่ได้มีส่วนได้มีส่วนเสียเกี่ยว
กับกรณีพิพาทนั้นๆ โดยให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรนำเข้าที่ประชุม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาภาพพจน์ของวงการป้ายโฆษณา
2. การที่มีกรณีพิพาท แต่ผู้ร้องขอให้ทางสมาคมฯ ช่วยดำเนินการนั้นมิใช่สมาชิก ให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรนำเข้าที่ประชุม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาภาพพจน์ของวงการป้ายโฆษณา
3. ต้องมีคู่กรณีของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ของกรณีพิพาทเสนอต่อนายกสมาคมฯ เพื่อนำเข้าที่ประชุมพิจารณา
- โดยเตรียมหลักฐานตามหมวด 4 ข้อ 2
- คู่กรณีจะต้องเข้าร่วมชี้แจงต่อคณะกรรมการ ( กรณีคู่กรณีเป็นสมาชิกทั้งสองฝ่าย )
- คู่กรณีจะต้องเข้าร่วมชี้แจงต่อคณะกรรมการ ( หากคู่กรณีเป็นสมาชิกเพียงฝ่ายเดียว ทางสมาคมฯ จะทำหนังสือ หรือติดต่อให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิก เข้าร่วมชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา )
- หากคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับคำเชิญจากสมาคมฯ แล้วไม่มาร่วมชี้แจง ทางคณะกรรมการสมาคมฯ จะพิจารณาจากหลักฐานและเหตุผล และข้อยุติของคณะกรรมการจะแจ้งให้คู่กรณีที่ไม่มาร่วมชี้แจงให้ทราบภายใน 7 วัน นับจากวันได้ข้อยุติ สำหรับคู่กรณีที่ไม่ได้มาร่วมชี้แจงนั้น สามารถร้องขอให้สมาคมฯ พิจารณาใหม่ได้แต่ไม่เกิน 15 วัน นับจากวันได้ข้อยุติซึ่งหลังจาก 15 วันแล้ว ให้ถือข้อยุติของสมาคมฯ เป็นตัวกำหนด
- การประชุมพิจารณา ประกอบด้วย
1. องค์ประชุมต้องไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด 25 ท่าน
2. การลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมเป็นฝ่ายถูก
3. อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายยุติข้อพิพาท เป็นผู้ทำหน้าที่
- รวบรวม ศึกษา พิจารณา หลักฐานคู่กรณี
- ดำเนินการประชุม และมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ในฐานะกรรมการ 1 เสียง
4. อนุกรรมการของอุปนายกฝ่ายยุติข้อพิพาท ( ถ้ามี ) ที่มิได้เป็นกรรมการสมาคมฯ สามารถช่วยรวบรวมหลักฐานสอบถามประสานงาน ให้ข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการสมาคมฯ ได้ แต่ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้
5. นายกสมาคมฯ ไม่สามารถที่จะลงคะแนนเสียงในเบื้องต้นได้ ยกเว้นกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันทั้งสองฝ่ายจึงให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้ออกคะแนนเสียงตัดสิน
หมวดที่ 6
ข้อยุติ และบทสรุป ( ลงโทษ ) กรณี ? ป้ายบังกัน ? เมื่อได้ข้อยุติจากการประชุมพิจารณาของคณะกรรมการแล้ว แบ่งเป็นสองกรณีคือ
1. คู่กรณีฝ่ายผิดยอมรับ และสามารถทำตามมติของที่ประชุม ให้นายกสมาคมฯ รับทราบ และแจ้งต่อสมาชิกให้ทราบ
2. หากคู่กรณีฝ่ายผิดไม่ยอมรับผิด ทั้งที่มติที่ประชุมชี้ออกมาแล้วว่าเป็นฝ่ายผิด ให้นายกสมาคมฯ ดำเนินการดังนี้
2.1. แจ้งให้สมาชิกทราบทุกท่าน ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.2. แจ้งให้นายกสมาคมโฆษณา , กรรมการสมาคมโฆษณารับทราบ ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.3. แจ้งต่อบริษัทตัวแทนโฆษณารับทราบ ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.4. แจ้งต่อสื่อมวลชน ถึงผลการพิจารณากรณีพิพาท พร้อมรูปถ่าย ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.5. จัดพิมพ์ลงในวารสารของสมาคมฯ ที่เผยแพร่
2.6 แจ้งให้ฝ่ายที่ไม่ยอมรับผิดว่า สมาคมฯ จะไม่รับทราบ และพิจารณาผลต่อเนื่องจากเหตุพิพาทครั้งนี้ไม่ว่าจะ
เป็นคู่กรณีเดิม หรือคู่กรณีใหม่ และทางสมาคมฯ จะนำเสนอผลต่อเนื่องให้สมาชิก , สมาคมโฆษณา , บริษัท
ตัวแทนโฆษณา , สื่อมวลชนทุกสาขา และลงในวารสารสมาคมฯ ให้ทราบต่อไปทุกครั้งที่เกิดเหตุต่อเนื่อง
หมวดที่ 7
ข้อแนะนำกรณี ? ป้ายบังกัน ?
1. หลีกเลี่ยงการติดต่อ , จัดหา , และเช่าสถานที่ ที่มีลักษณะเสี่ยงต่อการเกิดกรณีพิพาท
2. เมื่อต้องการจะก่อสร้างโครงป้ายที่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นกรณีพิพาทหรือไม่ให้พยายามให้เหตุผลสอบถามผู้ประกอบการ
ที่ดำเนินการอยู่ก่อนว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ทั้งนี้พึงระลึกถึง ? ระเบียบว่าด้วยข้อบังคับการติดตั้งโครงสร้าง และป้ายโฆษณา ? ฉบับนี้ เพราะได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบจากคณะกรรมการสมาคมฯ แล้ว
3. ให้ผู้ประกอบการ ตระหนักถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
4. ให้ผู้ประกอบการ ตระหนักถึงหลักเศรษฐศาสตร์ ( Demand and Supply ) ปัญหาที่อาจเกิดคือ Over Supply
5. ให้ผู้ประกอบการ หรือสมาชิก ที่ทำธุรกิจด้านนี้อยู่พึงตระหนักเสมอถึง จรรยาบรรณในอาชีพ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลในวงการตลอดเวลา อีกทั้งนึกถึง คุณธรรม , จริยธรรม และพยายามอย่านึกเหตุผลที่จะเข้าข้างตนเองมากเกินไป โดยพยายามนึกถึง ใจเขา ใจเรา ในฐานะบุคคลในวงการเดียวกัน ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตงานข้างหน้าอาจนำมาสู่ความร่วมมือกันเพื่อความเติบโตในธุรกิจในภาคนี้
หมวดที่ 1 คำนิยามของคำว่า ? ป้ายโฆษณา ? ในกรณีพิพาทของป้ายบังกัน
1. ป้ายโฆษณา คือ แผ่นภาพ หรือ ข้อความ หรือ แผ่นภาพพร้อมข้อความ หรือ โลโก้ , ชื่อ , สัญลักษณ์ , เครื่องหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมองเห็น ซึ่งมีขนาดป้ายตั้งแต่ 1.20 เมตร X 1.20 เมตร หรือมากกว่า 1.50 ตารางเมตรขึ้นไป
2. การมองเห็นในที่นี้จะเรียกว่า ? ทิศทางการมองเห็นป้ายโฆษณา ? ในที่นี้ถ้าป้ายโฆษณาอยู่กลางแจ้ง หมายถึงผู้ที่ มองเห็นเมื่อโดยสารอยู่ในยานพาหนะ เช่น
- รถยนต์ อันมีผู้ขับขี่ รวมถึงผู้โดยสาร
- ผู้โดยสารในรถไฟ
- ผู้โดยสารในรถไฟฟ้า
3. โครงป้ายโฆษณา และป้ายโฆษณาที่ผู้ประกอบการจัดทำ หรือก่อสร้างขึ้นในสถานที่ดังต่อไปนี้
3.1. บนพื้นดิน
3.2. บนดาดฟ้าอาคาร
3.3. บริเวณตัวอาคารที่มีส่วนของโครงสร้าง และป้ายโฆษณาที่ยื่นล้ำจากตัวอาคาร
4. โครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณา ที่เจ้าของจัดทำขึ้นเพื่อ
4.1. เพื่อโฆษณาสินค้า หรือโฆษณาธุรกิจของตนเอง
4.2. เพื่อมีไว้ประกอบธุรกิจให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือจากการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
5. โครงป้ายโฆษณา ที่ผู้ประกอบการเช่ามาจากเจ้าของโครงสร้าง ซึ่งเป็นเจ้าของอาคาร
6. โครงป้ายโฆษณา ที่ผู้ประกอบการเข้าถือกรรมสิทธิ์ และนำมาประกอบธุรกิจให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือนำมาประกอบธุรกิจการจัดหา , นายหน้า , ตัวแทน และ / หรือการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
หมวดที่ 2
คำนิยามของคำว่า ? ป้ายโฆษณา ? ที่ไม่อยู่ในกรณีพิพาทของป้ายบังกัน
1. โครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณาที่เจ้าของอาคารจริง เป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อโฆษณาสินค้า , โลโก้ และธุรกิจของตนเอง ซึ่งต้องพิสูจน์ได้ว่า
1.1. อาคาร หรือที่ดิน ที่ทำการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา , ป้ายโฆษณา เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) จริง
1.2. โลโก้ , สินค้า ที่โฆษณาเป็นธุรกิจของผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) จริง โดยมีหุ้นส่วนในธุรกิจนั้นๆ เกินกว่า 50 %
1.3. ผู้จัดทำ ( เจ้าของ ) ต้องทำการโฆษณาโลโก้ , สินค้า ได้เฉพาะสินค้า และธุรกิจของตนเองตาม ข้อ 1.2. ห้ามมิให้ทำการโฆษณาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการให้เช่า หรือนำมาประกอบธุรกิจการจัดหา , นายหน้า , ตัวแทนหรือการรับจ้างผลิตงานป้ายโฆษณา
2. เจ้าของอาคารจริง ซึ่งเป็นเจ้าของโครงสร้าง และป้ายโฆษณาในธุรกิจตัวเอง ตามข้อ 1. หากจะทำการก่อสร้างโครงป้าย และป้ายโฆษณาขึ้นมาแล้วทำให้ผู้ประกอบการซึ่งมีป้ายอยู่ใกล้เคียง และเสียผลประโยชน์จากทิศทางการมองเห็นป้ายสมควรที่จะบอกกล่าวให้ผู้ประกอบการนั้นๆ เกิดความเข้าใจ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน และมีโอกาสร่วมมือกันต่อไปในอนาคต
หมวดที่ 3
หลักการพิจารณา กรณีพิพาท ? ป้ายบังกัน ? 1. ให้ถือไว้ก่อนว่า ถ้าผู้ประกอบการฝ่ายใด ทำการก่อสร้างโครงสร้างป้ายโฆษณาขึ้นก่อน เป็นฝ่ายถูก 50 %
2. หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ทำการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณาทีหลัง และมีข้ออ้างดังต่อไปนี้
2.1. เช่า หรือติดต่อ หรือเซ็นสัญญาสถานที่นั้นๆ นานแล้วแต่ยังไม่ได้สร้างเพราะเหตุผลใดๆ ก็ตาม
2.2. กำลังเตรียมการก่อสร้าง , เตรียมวัสดุ อุปกรณ์
2.3. กำลังเสนอสถานที่นั้นๆ ให้กับสินค้า
2.4. กำลังขออนุญาตจากทางหน่วยงานราชการ
2.5. หรืออื่นๆ ให้ข้ออ้างนี้ เป็นข้ออ้างที่เป็นฝ่ายถูกเพียง 20 %
3. จากกรณีพิจารณา ตามข้อ 1, 2 แล้ว ให้ถือว่าระยะห่างของโครงป้ายโฆษณาจากโครงคู่กรณีดังต่อไปนี้
3.1. กรณีที่โครงป้ายโฆษณาที่ก่อสร้างขึ้นก่อนมีความยาวของป้ายเท่าไรก็ตาม ระยะห่างของโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิมต้องไม่น้อยกว่า 5 เท่า ของความยาวของป้ายเดิม ตัวอย่างเช่น ป้ายเดิมมีความยาวของป้าย 20 เมตร ระยะห่างโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิม ในทิศทางการมองเห็นป้ายไม่น้อยกว่า 100 เมตร ( 25 คูหา ) ตัวอย่างเช่น ป้ายเดิมมีความยาวของป้าย 12 เมตร ระยะห่างโครงสร้างใหม่จากโครงสร้างป้ายเดิม ในทิศทางการมองเห็นป้ายไม่น้อยกว่า 60 เมตร ( 15 คูหา ) ทั้งนี้ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หรือเรียกว่าทั้งสองด้านของโครงป้ายโฆษณา ในกรณีที่โครงสร้างนั้นๆ ก่อสร้างตั้งฉากกับแนวถนน
3.2. กรณีโครงป้ายโฆษณาก่อสร้างไม่ตั้งฉากกับถนน ให้ถือว่าด้านที่มีมุมองศาน้อยไม่เกิน 45 องศา เป็นด้านหน้า ผู้ประกอบการอื่น สามารถก่อสร้างโครงป้ายใกล้เคียงได้จากด้านหลังของป้ายเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของความยาวของป้ายเดิม
4. กรณีที่มี 2 ป้าย ซ้อนกันอยู่ในตำแหน่งทิศทางการมองเห็นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 ป้ายใช้ประโยชน์ได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ป้ายแรกอยู่บนพื้นดินป้ายที่สองอยู่บนดาดฟ้าอาคาร หากกรณีที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอาคารขึ้นมาทำให้ป้ายแรกไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในขณะที่ป้ายที่สองสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่ ป้ายแรกไม่มีสิทธิ์ในการต่อเติมเสริมโครงสร้างให้สูงขึ้นมาได้ให้ถือว่าป้ายแรกสิ้นสุดในการใช้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
หมวดที่ 4
เมื่อมีกรณีพิพาท ? ป้ายบังกัน ? ระหว่างผู้ประกอบการ
1. ให้คู่กรณีตกลงกันเองด้วยเหตุผล ( อาจใช้เหตุผลของสมาคมป้ายเป็นข้อกำหนดในการเจรจาก็ได้ ) แล้ให้คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งผลที่สามารถตกลงกันได้ โดยลงนามทั้งสองฝ่ายแล้วนำสำเนามองให้กับทางสมาคมฯ เพื่อแจ้งสมาชิกทั่วไปทราบ
2. กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เข้าร้องต่อนายกสมาคมฯ เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการ โดยพยายามรวบรวมหลักฐานดังต่อไปนี้ 2.1. หลักฐานการเช่าที่ดิน หรืออาคาร
2.2. ใบขออนุญาตจากทางราชการ
2.3. ใบอนุญาตจากทางราชการ
2.4. รูปถ่ายก่อนการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา
2.5. รูปถ่ายหลังการก่อสร้างโครงป้ายโฆษณา ( หลังจากเกิดเหตุพิพาท )
2.6. รูปถ่ายหลังเกิดเหตุพิพาทโดยถ่ายเป็นระยะดังนี้
- สถานที่เกิดเหตุจริงในมุมกว้าง
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 10, 20, 30, 40, และ 50 เมตร
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270, และ 300 เมตร
- จากระยะทิศทางการมองเห็น 300, 500, และ 1,000 เมตร
หมายเหตุ :
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 1 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านขวาสุดของช่องทาง
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 2 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของช่องทางขวามือ
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 3 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของช่องทางกลางของการเดินรถ
- กรณีเส้นทางเดินรถมี 4 ช่องทาง ให้ถ่ายรูปด้านกลางของทางที่ 2 จากขวา
หมวดที่ 5
การนำข้อพิพาทเข้าพิจารณาหาข้อยุติเมื่อมีกรณี ? ป้ายบังกัน ?
1. การที่มีสมาชิกร้องขอให้ทางสมาคมฯ ช่วยดำเนินการ ถึงแม้ว่าสมาชิกที่ร้องขอนั้นไม่ได้มีส่วนได้มีส่วนเสียเกี่ยว
กับกรณีพิพาทนั้นๆ โดยให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรนำเข้าที่ประชุม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาภาพพจน์ของวงการป้ายโฆษณา
2. การที่มีกรณีพิพาท แต่ผู้ร้องขอให้ทางสมาคมฯ ช่วยดำเนินการนั้นมิใช่สมาชิก ให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรนำเข้าที่ประชุม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาภาพพจน์ของวงการป้ายโฆษณา
3. ต้องมีคู่กรณีของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ของกรณีพิพาทเสนอต่อนายกสมาคมฯ เพื่อนำเข้าที่ประชุมพิจารณา
- โดยเตรียมหลักฐานตามหมวด 4 ข้อ 2
- คู่กรณีจะต้องเข้าร่วมชี้แจงต่อคณะกรรมการ ( กรณีคู่กรณีเป็นสมาชิกทั้งสองฝ่าย )
- คู่กรณีจะต้องเข้าร่วมชี้แจงต่อคณะกรรมการ ( หากคู่กรณีเป็นสมาชิกเพียงฝ่ายเดียว ทางสมาคมฯ จะทำหนังสือ หรือติดต่อให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิก เข้าร่วมชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา )
- หากคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับคำเชิญจากสมาคมฯ แล้วไม่มาร่วมชี้แจง ทางคณะกรรมการสมาคมฯ จะพิจารณาจากหลักฐานและเหตุผล และข้อยุติของคณะกรรมการจะแจ้งให้คู่กรณีที่ไม่มาร่วมชี้แจงให้ทราบภายใน 7 วัน นับจากวันได้ข้อยุติ สำหรับคู่กรณีที่ไม่ได้มาร่วมชี้แจงนั้น สามารถร้องขอให้สมาคมฯ พิจารณาใหม่ได้แต่ไม่เกิน 15 วัน นับจากวันได้ข้อยุติซึ่งหลังจาก 15 วันแล้ว ให้ถือข้อยุติของสมาคมฯ เป็นตัวกำหนด
- การประชุมพิจารณา ประกอบด้วย
1. องค์ประชุมต้องไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด 25 ท่าน
2. การลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมเป็นฝ่ายถูก
3. อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายยุติข้อพิพาท เป็นผู้ทำหน้าที่
- รวบรวม ศึกษา พิจารณา หลักฐานคู่กรณี
- ดำเนินการประชุม และมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ในฐานะกรรมการ 1 เสียง
4. อนุกรรมการของอุปนายกฝ่ายยุติข้อพิพาท ( ถ้ามี ) ที่มิได้เป็นกรรมการสมาคมฯ สามารถช่วยรวบรวมหลักฐานสอบถามประสานงาน ให้ข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการสมาคมฯ ได้ แต่ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้
5. นายกสมาคมฯ ไม่สามารถที่จะลงคะแนนเสียงในเบื้องต้นได้ ยกเว้นกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันทั้งสองฝ่ายจึงให้นายกสมาคมฯ เป็นผู้ออกคะแนนเสียงตัดสิน
หมวดที่ 6
ข้อยุติ และบทสรุป ( ลงโทษ ) กรณี ? ป้ายบังกัน ? เมื่อได้ข้อยุติจากการประชุมพิจารณาของคณะกรรมการแล้ว แบ่งเป็นสองกรณีคือ
1. คู่กรณีฝ่ายผิดยอมรับ และสามารถทำตามมติของที่ประชุม ให้นายกสมาคมฯ รับทราบ และแจ้งต่อสมาชิกให้ทราบ
2. หากคู่กรณีฝ่ายผิดไม่ยอมรับผิด ทั้งที่มติที่ประชุมชี้ออกมาแล้วว่าเป็นฝ่ายผิด ให้นายกสมาคมฯ ดำเนินการดังนี้
2.1. แจ้งให้สมาชิกทราบทุกท่าน ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.2. แจ้งให้นายกสมาคมโฆษณา , กรรมการสมาคมโฆษณารับทราบ ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.3. แจ้งต่อบริษัทตัวแทนโฆษณารับทราบ ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.4. แจ้งต่อสื่อมวลชน ถึงผลการพิจารณากรณีพิพาท พร้อมรูปถ่าย ( เป็นลายลักษณ์อักษร )
2.5. จัดพิมพ์ลงในวารสารของสมาคมฯ ที่เผยแพร่
2.6 แจ้งให้ฝ่ายที่ไม่ยอมรับผิดว่า สมาคมฯ จะไม่รับทราบ และพิจารณาผลต่อเนื่องจากเหตุพิพาทครั้งนี้ไม่ว่าจะ
เป็นคู่กรณีเดิม หรือคู่กรณีใหม่ และทางสมาคมฯ จะนำเสนอผลต่อเนื่องให้สมาชิก , สมาคมโฆษณา , บริษัท
ตัวแทนโฆษณา , สื่อมวลชนทุกสาขา และลงในวารสารสมาคมฯ ให้ทราบต่อไปทุกครั้งที่เกิดเหตุต่อเนื่อง
หมวดที่ 7
ข้อแนะนำกรณี ? ป้ายบังกัน ?
1. หลีกเลี่ยงการติดต่อ , จัดหา , และเช่าสถานที่ ที่มีลักษณะเสี่ยงต่อการเกิดกรณีพิพาท
2. เมื่อต้องการจะก่อสร้างโครงป้ายที่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นกรณีพิพาทหรือไม่ให้พยายามให้เหตุผลสอบถามผู้ประกอบการ
ที่ดำเนินการอยู่ก่อนว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ทั้งนี้พึงระลึกถึง ? ระเบียบว่าด้วยข้อบังคับการติดตั้งโครงสร้าง และป้ายโฆษณา ? ฉบับนี้ เพราะได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบจากคณะกรรมการสมาคมฯ แล้ว
3. ให้ผู้ประกอบการ ตระหนักถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
4. ให้ผู้ประกอบการ ตระหนักถึงหลักเศรษฐศาสตร์ ( Demand and Supply ) ปัญหาที่อาจเกิดคือ Over Supply
5. ให้ผู้ประกอบการ หรือสมาชิก ที่ทำธุรกิจด้านนี้อยู่พึงตระหนักเสมอถึง จรรยาบรรณในอาชีพ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลในวงการตลอดเวลา อีกทั้งนึกถึง คุณธรรม , จริยธรรม และพยายามอย่านึกเหตุผลที่จะเข้าข้างตนเองมากเกินไป โดยพยายามนึกถึง ใจเขา ใจเรา ในฐานะบุคคลในวงการเดียวกัน ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตงานข้างหน้าอาจนำมาสู่ความร่วมมือกันเพื่อความเติบโตในธุรกิจในภาคนี้
Labels:
Advertising Direction 2007