Monday, 13 August 2007

Surround Sound Products

ผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตด้วยระบบเสียงรอบทิศทาง

(Surround Sound Products)
....ระบบเสียงรอบทิศทางที่ใช้ในภาพยนตร์ดูเหมือนว่าจะถูกใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพกับความสามารถที่ระบบมีอยู่ มีภาพยนตร์แนว Action เท่านั้นที่ได้ใช้ระบบเสียงรอบทิศทาง มากกว่าภาพยนตร์แนวอื่นๆ ....มีการนำระบบเสียงรอบทิศทางมาใช้กับภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งในเรื่องของเวลาที่สั้น และกระชับ แต่ยังมีการผลิตงานลักษณะนี้ออกมาน้อย อาจเป็นเพราะมีโรงภาพยนตร์ที่จะฉายเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และบางจังหวัดเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์ 1. การโฆษณาด้วยระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound Advertising)2. เพลงระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound Songs)

การโฆษณาด้วยระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound Advertising)
....เพื่อให้ต้นทุนการผลิตถูกลง โดยการที่ภาพและเสียงไม่ต้องสัมพันธ์กัน (ไม่ต้องทำ Synchronization) อาจจะนำเสนอในรูปแบบเพลงประกอบภาพ เน้นไปที่การนำเสนอเสียงรอบทิศทางเป็นหลัก (เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งเท่านั้น มิได้เห็นความสำคัญของภาพลดน้อยลงไป)
สายผลิตภัณฑ์ (Product Line)1. สำหรับกลุ่มสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ และกลุ่มผู้ผลิต VDO2. สำหรับกลุ่มงาน presentation หรือ กลุ่มอื่นที่สนใจ
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)จุดแข็ง1. ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงช่วยให้เพิ่มโรงฉายได้ และใช้นำเสนอนอกเหนือจากโรงภาพยนตร์ได้ 2. เสียงเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ทำให้สร้างความสนใจกับผู้ชมได้ เช่นเดียวกับ เรื่องผีๆ 3. ต้นทุนการผลิตงานเสียง ต่ำกว่าการผลิตงานภาพ ถึงแม้ว่าจะเพิ่มงานด้านเสียงเข้าไป ต้นทุนก็จะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก4. ระบบเสียงรอบทิศทาง 5.1 ช่องเสียง เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสามารถที่จะทำประโยชน์ได้อีก นอกเหนือจากที่ได้ใช้กันอยู่ เปรียบเหมือน พลทหารปืนกล ที่ยิงปืนที่ละนัด แทนที่จะยิงเป็นชุด เนื่องจากจะช่วยรัฐบาลประหยัดตามนโยบายหารสอง (ในที่นี้ยังไม่ได้กล่าวถึงระบบเสียง 7.1 ช่องเสียง ซึ่งเป็นที่สุดของระบบเสียงรอบทิศทางในเวลานี้)
โอกาส 1. ยังมีผู้ผลิตน้อยราย (เช่น โฆษณาของ ซัมซุง และ เป็บซี่) มีที่ว่างให้ทำตลาดได้อีกมาก2. บรรยากาศในโรงภาพยนตร์เอื้อต่อการเร้าอารมณ์ผู้ชม ด้วยงานโฆษณา
จุดอ่อน1. เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด ยังไม่เป็นที่รู้จัก ต้องใช้งบประมาณและเวลาไปกับการประชาสัมพันธ์สินค้าในระยะแรก
อุปสรรค1. กลุ่มเป้าหมายเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม ตลาดอาจจะเล็กไปไม่คุ้มกับการลงทุน 2. ค่าลิขสิทธิ์ของระบบเสียงรอบทิศทาง (ระบบ Dolby Digital หรือ DTS) ที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น3. ต้องติดตั้งระบบเสียงรอบทิศทางเพิ่ม ในจุดที่ต้องการใช้งาน
กลุ่มเป้าหมาย (Target Groups)1. กลุ่มบริษัทที่ใช้สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์2. กลุ่มบริษัทที่จัดทำงาน presentation3. กลุ่มอื่นที่สนใจ เช่น ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม ฯลฯ4. กลุ่มผู้ผลิต VDO ตัวอย่างเช่น การบรรจุโฆษณาเสียงรอบทิศทาง ลงไปที่หัวแผ่น และท้ายแผ่น DVD ซึ่งสนับสนุนระบบเสียง 5.1 อยู่แล้ว

เพลง ระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound Songs)
สายผลิตภัณฑ์ (Product Line)1. เพลงสำหรับสถานบันเทิง 2. เพลงสำหรับนักเล่นเครื่องเสียง และโฮมเธียเตอร์ หรือผู้ฟังทั่วไป
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)จุดแข็ง1. ในรูปแบบของ ดิสโกเทคเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound Discotheque) เป็นรูปแบบธุรกิจที่สามารถรับมือกับต้นทุนที่สูงได้2. ในรูปแบบของ เพลงเสียงรอบทิศทาง จะเป็นรูปแบบของเพลงแห่งอนาคต3. ระบบเสียงรอบทิศทาง 5.1 ช่องเสียง เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสามารถที่จะทำประโยชน์ได้อีก นอกเหนือจากที่ได้ใช้กันอยู่
โอกาส1. ด้วยระบบแสง และบรรยากาศในสถานบันเทิง เอื้อต่อเพลงแบบเสียงรอบทิศทางเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับเพลงในแนว Techno Dance ถ้าได้จับคู่กับระบบเสียงรอบทิศทางจะเป็นคู่ที่เหมาะสมมาก ระบบ Stereo ดูจะไม่คู่ควรกับเธอแล้ว คงต้องอาศัยแม่สื่อ (ผู้ผลิต) ช่วยให้ทั้งคู่ได้พบรักกัน2. กลุ่มนักเล่นเครื่องเสียง เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจกับเวทีเสียงเป็นอย่างมาก และกลุ่มเป้าหมายที่มี เครื่องโฮมเธียเตอร์ จะเป็นกลุ่มที่ทำให้เกิด ตลาดมหาชน (Mass Marketing) ได้ คือในอนาคต เครื่องโฮมเธียเตอร์ อาจจะมีในทุกครัวเรือน เหมือนอย่างที่ Bill Gate เคยมองว่าโต๊ะทำงานทุกตัวจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีแทบจะทุกบ้านแล้ว ถ้าจะเพิ่มชุดลำโพงเสียงรอบทิศทาง และ Hardware สำหรับถอดรหัสระบบ 5.1 ซึ่งราคาไม่สูงมากนัก (ประมาณ 4,000-5,000 บาท) เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ก็สามารถดูหนังและฟังเพลงในระบบเสียงรอบทิศทางได้แล้ว
จุดอ่อน1. เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด ยังไม่เป็นที่รู้จัก ต้องใช้งบประมาณและเวลาไปกับการประชาสัมพันธ์สินค้าในระยะแรก
อุปสรรค1. ต้องติดตั้งระบบเสียงรอบทิศทางเพิ่มในสถานบันเทิงนั้นๆ ซึ่งไม่ง่ายนักที่สถานบันเทิงนั้น จะตัดสินใจลงทุนเพิ่มในส่วนนี้ ถ้าไม่เห็นความเป็นไปได้ทางธุรกิจ 2. ค่าลิขสิทธิ์ของระบบเสียงรอบทิศทาง (ระบบ Dolby Digital หรือ DTS) ที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย (Target Groups)1. สถานบันเทิงต่างๆ เช่น ดิสโกเทค, ห้องจัดเลี้ยง จัดประชุม ต่างๆ2. กลุ่มนักเล่นเครื่องเสียง และโฮมเธียเตอร์ เป็นกลุ่มคนทำงานอายุ 30 ปีขึ้นไป3. กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เป็นตลาดที่ใหญ่กว่าทุกกลุ่ม
การประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ทั้งสองรูปแบบ....จัดให้มีการแถลงข่าวเพื่อเปิดตัวสินค้า ทั้งสองรูปแบบพร้อมกันในโรงภาพยนตร์ หรืออาจจะติดตั้งระบบเสียงรอบทิศทางในห้องแถลงข่าว เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่จะต้องติดตั้งระบบเพิ่มในสถานที่ของตนเองได้เห็นว่า จะเหมาะสมกับธุรกิจของตนหรือไม่....จัดให้มีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับตัวสินค้า เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ และเห็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวสินค้า (Product Awareness) ....ในส่วนของ เพลงระบบเสียงรอบทิศทาง จะเน้นการทำตลาดไปที่กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก่อน และกลุ่มโฮมเธียเตอร์ ตามลำดับ