Monday, 13 August 2007
เดี๋ยวนี้ Art เค้าเรียนอะไรกัน
การเรียนการสอน
พี่ขอตัดเข้าไปตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก่อนละกันนะ ในคณะต่างๆเหล่านี้เค้าก็จะมีการเรียนการสอนที่ค่อนข้างคล้ายกัน คือในช่วงปีสองปีแรกก็จะเป็นการเรียนฝึกฝนทักษะ วิชาดรออิ้งก็จะวาดกันตั้งแต่วัตถุสิ่งของใกล้ตัวจนไปถึงวิชากายวิภาค มีเรียนจิตรกรรมพื้นฐาน การ Paint สีน้ำ ได้ออกนอกสถานที่่ ไปวาดที่ต่างๆได้ฝึกฝนทักษะการออกแบบทั้งด้วยมือ และด้วยคอมพิวเตอร์ในขั้นพื้นฐาน ในปีต้นๆก็มีกิจกรรมเยอะ งานเยอะมีรับน้อง และเป็นช่วงเปลี่ยนจากวัยมัธยมที่มีคุณครูคอยจู้จี้มาเป็นวัยเรียนที่อิสระ ไม่มีใครควบคุม ดังนั้นปีต้นๆน้องควรจะ Balance ระหว่างกิจกรรมกับการเรียนให้ดี เกรดจึงจะออกมาสวยและใช้ชีวิตมหาลัยอย่างมีความสุข
ส่วนในปีโตๆคือปีสามและปีสี่ก็จะเริ่มมีวิชาเฉพาะสาขาที่ตนเองสนใจ คือบางที่ก็มีวิชาอนิเมชั่น (animation) หรือวิชาโฆษณา (advertising) หรือพวกการออกแบบตัวอักษรขั้นสูง (advance typography) จากนั้นพอปลายปีสามขึ้นปีสี่ก็จะมีวิชาวิจัยทางศิลปะและการออกแบบ (design research)ซึ่งก็จะได้ใช้ประโยชน์ตอนทำวิทยานิพนธ์ทางศิลปะ หรือที่เรียกว่า Thesis นั่นเอง ช่วงนี้ก็จะเป็นตัวตััดสินชะตาชีวิตในระดับนึงเหมือนกันว่าจะเรียนจบหรือไม่จบ หรือจะได้งานที่ดีหรือเปล่า
ส่วนวิชาคำนวณ ไม่มีครับ หรือบางที่มีก็น้อยมาก ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนเหมือนตอนมัธยมครับ (โดยมากไม่ชอบ)
==========================================================================
ระดับความยากในการเรียน
ขึ้นชื่อว่าเรียนก็ยากทั้งนั้นแหละ แต่การันตีว่าใครชอบออกแบบจริงๆแล้วคณะแบบนี้เป็นคณะที่ีเรียนสนุก
จริงอยู่ การเรียนวิชาพวกนี้ระดับความเครียดมักจะไม่ค่อยมากเท่ากับสายวิทยาศาสตร์หรือสายคำนวณแต่การเรียนวิชานี้จะต้องหมั่นหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เนต หรือร้านหนังสือต่างประเทศหรืองานนิทรรศการหรือ event ต่างๆ เช่นงานประกวดโฆษณา หรืองานออกแบบระดับมหาวิทยาลัยไม่เช่นนั้นเราจะตามคนอื่นไม่ทัน
อย่างที่บอกไป แม้่ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนเครียด ไม่ได้เรียนแล้วหน้าบูดหน้าบึ้ง และดูเหมือนว่าจะอยู่กับสิ่งที่สวยงามก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่เราหยุดคิด หยุดตามโลก หยุดหาความรู้ เราก็จะอยู่ไม่ได้เมื่อเราจบไปประกอบอาชีพแล้ว และความเครียดก็จะเพิ่มมากขึ้น
พวกเราตอนเรียนจะเรียนสนุก แต่เมื่อจบไปทำงาน จะต้องรักษาเวลา ทำงานให้ทัน คิดให้ออกในเวลาที่กำหนดเราก็จะไปเครียดกันก็ตอนนั้นแหละ
ต้องยอมรับอยู่ข้อนึงว่าประเทศไทย ระดับการเคารพในวิชาชีพยังไม่มีมากเท่าที่ควร คนที่ไม่ได้จบทางด้านออกแบบมาโดยตรงก็สามารถทำงานทางด้านนี้ได้ ถ้าเค้ามีความสามารถเพียงพอ (ส่วนมาก-ไม่ดีเท่าคนที่จบตรง)ดังนั้นอาชีพทางสายนี้ จึงจำเป็นต้องจบไปแล้วไปอยู่ในบริษัทหรือองค์กรที่เหมาะสม ถึงจะเติบโตทางหน้าที่การงานได้อย่างมีความสุข ซึ่งพี่ก็จะแนะนำในข้างล่างต่อไปนะครับ ว่าทำที่ไหนถึงจะดี
==========================================================================
อาชีพการงาน
ก่อนที่พี่จะพูดเรื่องการเตรียมตัวสอบ พี่คิดว่าการทำความรู้จักกับสาขาที่เรากำลังจะเรียนเป็นสิ่งที่ควรรู้ก่อนดังนั้นพี่ก็จะเล่าหน้าที่การงานให้ฟังว่า จบไปสามารถทำอะไรได้บ้าง
อาชีพของพวกเราคล้ายๆกับว่าปิดทองหลังพระ และดูเหมือนว่าจะมีรากฐานฝังลึกอยู่กับผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุประมาณ 45-60 ว่า พวกเราเป็นศิลปินใส้แห้ง วันๆวาดรูปและรับเขียนป้าย ทำงานโรงพิมพ์ดังนั้นพี่ก็จะขอเล่าให้ฟังละกัน จะได้ไปอธิบายให้อาก๋งอาม่า หรือป่าป๊าหม่าม๊าเข้าใจได้มากขึ้นว่าเราจะจบไปทำอะไรได้บ้างใส้แห้งจริงหรือไม่
จากประสบการณ์การทำงานของพี่ อาชีพการงานของสายนี้จะแยกออกเป็น 3 สายหลักๆคือ จริงๆแล้วคนอื่นอาจจะไม่ได้แบ่งแบบนี้
1. สาย Creative เน้นคิดงาน และสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ สนุกๆมันส์ๆ2. สาย Production เน้นทำงานผลิตงาน เป็นผู้มีฝีมือและทักษะการ Present เป็นเยี่ยม หาตัวจับยากและมีคิวจองให้ทำ จองยาวข้ามปี3. สาย IT และมัลติมีเดีย
==========================================================================
อ่ะมาเริ่มกันที่ครีเอทีฟ (Creative) กันก่อนนะ
สายนี้ก็โดยมากจะอยู่ตามเอเยนซี่โฆษณา (Advertising Agency) ซึ่งการที่จะเข้าเป็นครีเอทีฟในบริษัทโฆษณานั้นค่อนข้างยาก และต้องผ่านการคัดตัวและเวทีประกวดงานระดับมหาวิทยาลัยอย่าง B.A.D (Bangkok Advertising Association) มาบ้างแล้ว หรือไม่ก็เป็นผู้มีไอเดียแหวกแนวตลอดเวลาในเอเยนซี่ก็จะแยกออกครีเอทีฟออกเป็นสองประเภทคือ
- อาร์ตไดเรกเตอร์ (art director)เป็นอาชีพที่จัดว่า เก๋ไก๋สไลด์เดอร์มากๆ มีคนอยากเป็นมาก แต่ตำแหน่งน้อยนิดไม่ค่อยจะรับใครใหม่ๆเท่าไหร่ เพราะเงินเดือนดี แต่ทำงานหนักเป็นวัวเป็นควาย บางทีก็กลับบ้านตีสองตีสาม หรือข้ามคืนก็เคยมี อาร์ตไดเรกเตอร์เค้าจะทำงานเป็นคนคิดโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ ทำบิลบอร์ดเก๋ๆ ยกตัวอย่างเช่นเบียร์ไฮเนเก้นที่จะมีอะไรเก๋ๆออกมาตลอดเวลา และที่เป็นไฮไลท์คือต้องคิดหนังโฆษณาทีวี (TVC) ช่วงเวลาที่คิดหนังนี่แหละมันส์ที่สุด จะมีแก๊กตลกๆ เจ็บๆ ซึ้งๆออกมาเยอะแยะแล้วแต่โจทย์ที่ลูกค้าให้มา อาร์ตไดไม่ได้เป็นคนคิดคนเดียวนะ เค้าจะต้องคิดงานคู่กับก๊อปป้ไรท์เตอร์(copywriter) ที่จบมาทางสายนิเทศศาสตร์นั่นแหละ ทำงานคู่กันเสมอๆ แยกกันไม่ออก
อาร์ตไดจะต้องออกไปกับกองถ่ายฯ จะต้องคุยกับผู้กำกับเพื่อแลกไอเดียอันบรรเจิด และคุยกะช่างภาพมืฉกาจเพื่อทำให้งานออกมาดี อาร์ตไดจะต้องควบคุมทุกๆอย่างเพื่อให้งานชิ้นนึงออกมาได้ดีและสมบูรณ์ที่สุดเหมือนกับที่ไปโม้ไว้กับลูกค้าในวันขาย Sketch งานครั้งแรก
ที่ีสำคัญคืออาร์ตได จะมีการอัพค่าตัวขึ้นไปได้อีกจากการหมั่นคิดงานดีๆส่งประกวด ซึ่งเวทีสำหรับคนโฆษณาก็มี B.A.D Awards (Bangkok Advertising Association) หรือ Adman หรือเวทีเก่าแบบTACT Awards และเวทีระดับเอเชียที่มีการจัดกันที่พัทยาทุกปีอย่าง AD FEST Asia หรืองานใหญ่แถบภูมิภาคแบบ Media Asian หรืองานระดับโลกอย่าง Cannes Lions หรือฝั่ง U.K คือ D&AD หรือฝั่งอเมริกาแบบ CILO Awards เป็นต้น
การเตรียมตัวเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ก็ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบติดตามข่าวสารวงการออกแบบและโฆษณา ชอบดูโฆษณาและต้องหมั่นประกวดงานเพื่อพัฒนาความคิด และสะสม portfolio ที่ดีๆไว้ตอนสมัครงานและที่สำคัญช่วงฝึกงานพยายยามหาทางเข้าไปฝึกในเอเยนซี่ให้ได้
- กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ (Graphic Designer) เป็นอาชีพที่ยังสามารถแยกออกเป็นหลายหมวดอีกในที่นี้พี่จะขอแยกออกเป็นสองอย่างละกันครับ คือ graphic ที่ทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณา และgraphic ที่ทำงานอยู่ตาม graphic house จะพูดถึงพวกแรก พวกนี้จะทำงานคล้ายกับอาร์ตได แต่จะกระจุกกระจิกและต้องทำพวก product หรือ package ด้วยเป็นบางครั้ง ซึ่งก็สนุกไปอีกแบบนึงลักษณะของกราฟฟิคจะคล้ายับอาร์ตไดแต่จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องคิดหนังทำหนังแต่พวกนี้จะลงลึกไปออกแบบสื่อต่างๆเช่นงาน exhibits หรืองานสิ่งพิมพ์ หรือเวบมัลติมีเดียสำหรับกราฟฟิคโดยเฉพาะบริษัทโฆษณาต้องออกไปนอกสถานที่บ่อยๆ ออกไปหาลูกค้า ออกไปกำกับช่างภาพ ออกไปทำรีทัชภาพ และสุดท้ายควบคุมการออก Artwork ให้ลูกค้าซึ่งสนุกมากๆ ทำให้เราไม่หยุดนิ่ง ได้เจอคน ได้เจออะไรใหม่ๆตลอดเวลา
สำหรับการเตรียมตัวเป็นกราฟฟิค ขึ้นอยู่กับเว่าเราจะสมัครในบริษัทโฆษณาหรือเปล่า ถ้าอยากก็ต้องดูให้ดีเพราะบริษัทโฆษณาบางที่ก็มีโครงสร้างให้กราฟฟิคทำงาน support art director ซึ่งพี่ไม่แนะนำให้ทำบริษัทแบบนี้ ลองหาบริษัทที่มี Graphic ที่แยกทีมออกมาต่างหากจะดีกว่าหรือถ้าเราอยากเข้ากราฟฟิคเฮาส์ก็ลองศึกษาว่าบริษัทที่เราจะเข้านี่มีชื่อเสียงในวงการออกแบบหรือเปล่า ของประเทศไทยก็มีที่ดีๆน่าทำอยู่หลายที่เหมือนกันครับ
ทีนี้พี่ก็จะพูดถึงสาย Production House บ้าง
สายโปรดักชั่นนี้โดยมาก็จะทำงานให้กับเอเยนซี่ (Agency) เสียส่วนมาก โปรดักชั่นนี้ก็ยังแยกออกได้ย่อยๆอีกคือ
Image Retoucher / Photographer (ตกแต่งภาพและช่างภาพ)Editing Studio (สตูดิโอตัดต่อ)Animation Studio (สตูดิโอทำอนิเมชั่น)Illustrator Artist (นักเขียนและออกแบบภาพประกอบเรื่อง)ตอนนี้ฟังดูอาจจะยังงงๆเอาเป็นว่าสาขาที่ย่อยมากๆพี่ขอข้ามไปก่อนละกันครับ เดี๋ยวจะยาวทีนี้ก็มาถึงตำแหน่งหน้าที่การงานว่าจะทำอะไรได้บ้างในสายงานทางด้านโปรดักต์ชั่นเฮาส์
- Computer Artist ที่ทำงานกับบริษัทรีทัชภาพ ขอเล่าก่อนละกันครับว่ารีทัชภาพนี่ไม่ใช่แค่ตกแต่งภาพตามร้านถ่ายรูปนะครับ มันไม่ใช่แค่นั้น งานของบริษัทโฆษณาที่ออกเป็นอาร์ตเวิร์คในแต่ละวันนั้นมหาศาล การที่จะต้องมีคนที่ทำหน้าที่นี่หรือเรียกว่า รีทัชเชอร์(Retoucher) ซึ่งรีทัชเชอร์จะทำหน้าทีตกแต่งภาพตามที่อาร์ไดเรกเตอร์ หรือกราฟฟิคทำมาให้ ซึ่งเราจะเห็นได้อย่างง่ายๆก็คือพวกโปสเตอร์หนัง หรืองานโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ งานพวกนี้ไม่ใช่มีค่าตอบแทนน้อยๆนะครับเพราะคนที่จะทำงานทางด้านนี้ได้จะต้องมีผู้มีความรู็ทางด้าน Drawing มากพอสมควรจึงจะสามารถตกแต่งภาพออกมาได้อย่างสมจริง สายงานทางด้านนี้กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ มีงานจากต่างประเทศเข้ามาให้ทำเป็นจำนวนมากน้องคงจะงง ว่างานแต่งภาพมันจะมากอะไรขนาดนั้น แต่พี่ขอบบอกว่ามากๆๆๆๆ ครับ เพราะปัจจุบันการถ่ายภาพงานโฆษณาได้เปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิตอลหมดแล้วครับ ดังนั้นงานถ่ายภาพเมื่อถ่ายเสร็จเค้าก็จะต้องไปทำให้สวยที่สุดดังนั้นก็ไม่พ้นพวก Retouch House ปัจจุบันในประเทศไทยที่ดังๆมีอยู่ประมาณเกือบ 10 ที่ มีสตูดิโอถ่ายภาพมีพนักงานมากกว่า 50 คนในบางแห่ง
การจะเตรียมตัวเป็นรีทัชเชอร์จะต้องดรออิ้งเก่งมีพื้นฐานแสงเงาแน่น มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและหมั่นดูงานโฆษณาดูโปสเตอร์หนังและเป็นผู้ตามกระแสวงการออกแบบตลอดเวลาครับ
- Computer Artist ที่ทำงานกับเอเยนซี่อันนี้ก็จะคล้ายๆกับอันข้างบน เพียงแต่ว่าทำงานในบริษัทโฆษณา โดยมากจะไม่ได้ปิดงานใหญ่ๆเอง แต่จะให้พวกด้านบนทำจะเป็นคนที่คอย Support ความคิดของครีเอทีฟ และต้องมีความรู้ทางด้านการจัดวางหนังสือ และการเขียนภาพด้วยโปรแกรมIllustrator ด้วยนอกเหนือจากการแต่งภาพ ในบางครั้งต้องมีการทำภาพสามมิติด้วย เรียกว่าความรู้เฉพาะโปรแกรมและทักษะอาจจะไม่เท่ากับพวกรีทัชเชอร์ แต่ความรู้รอบตัวต้องมากกว่าและสามารถตอบสนองความคิดของครีเอทีฟได้มากกว่า
สำหรับการเตรียมตัวก็เหมือนข้างบนนะครับ
- Animator / CG Artistคงเป็นอาชีพที่น้องๆหลายคนอยากจะทำนะครับ การจะเป็น animator อาจจะไม่ต้องจบมาตรงสายเสียทีเดียวแต่อาจจะต้องมีความสนใจทางด้านโปรแกรม 3 มิติ (3D) พอสมควร โดยมากรุ่นเก่าจะจบมาทางสายทางด้านนี้แล้วอาศัยความสนใจส่วนตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ปัจจุบันในประเทศก็มีการเรียนการสอนทางด้านนี้ เพียงแต่ในมหาวิทยาลัยของรัฐอาจจะยังไม่มีมากเท่าที่ควร เนื่องจากติดขัดเรื่องเงินทุนในการซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทีนี้ย้อนกลับมาที่ลักษณะการทำงาน โดยส่วนมาก เค้าก็จะแยกกันระหว่างคน ออกแบบตัวการ์ตูนคนปั้นโมเดล คนใส่วัสดุจัดแสง และคนทำอนิเมชั่นในขั้นตอนทำให้มันเคลื่อนไหว และยังมีคนตัดต่อและใส่เอฟฟเกต์ในขั้นสิ้นสุดด้วย น้องๆจะเห็นว่าหนังอนิเมชั่นไม่ได้ออกมาง่ายๆ หนังเรื่องนึงจะต้องประกอบไปด้วยคนหลายคนหากว่าน้องเป็นคนที่ขอบทำหนังสั้น น้องๆก็ควรจะคำนึงถึงเนื้อเรื่องด้วย เพราะเนื้อเรื่องเป็นตัวสำคัญในการตัดสินว่าหนังเรื่องนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ ในที่นี้พี่แนะนำน้องที่อยากจะเป็นอนิเมเตอร์หรือสนใจทางสายงานด้านนี้ให้หาเวลานอกในการฝึกฝนทักษะ และก็ควรจะเรียนรู้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ที่อาจารย์สอนในมหาลัยไปด้วยพร้อมๆกัน เพราะสังเกตหนังสั้น หรือหังโฆษณาเมือง CANNES (คานส์) หนังที่ได้รางวัลก็มักจะเป็นหนังที่มีแก๊กหรือไอเดียเด็ดๆ
และการจะเตรียมตัวเป็นอนิเมเตอร์ พี่ก็แนะนำให้หาความรู้นอกห้องเรียน ซีดีหรือดีวีดีสอน MAYA หรือ 3ds MAX Lightwave / Cinema4 หรือกระทั้งวิดีโอสอนการตัดต่ออย่าง Final Cut Pro และ After Effects ก็มีเยอะมีค่อนข้างเยอะหาได้ง่ายครับ หรือจะไปเรียนเสริมนอกเวลาก็ได้ และก็ทำเก็บไว้เป็น Port เพื่อสมัครฝึกงานในบริษัทเหล่านี้ในช่วงปีสามครับ ก็จะเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดในการเข้าวงการครับ
- Illustrator Artistอาชีพนักวาดภาพ ออกแบบภาพประกอบ หรือเขียนสตอรรี่บอร์ดประกอบงานโฆษณา (Story Board)นักวาดภาพนั้น แน่นอนก็จะต้องเป็นผู้มีทักษะในการวาดรูปค่อนข้างมาก รักการ์ตูน ช่างสังเกต ขี้เล่นสำหรับอาชีพนี้ ปัจจุบั้นก็แยกได้ออกเป็น 2 อย่างคือ ทำงานอิสระ กับทำงานประจำนักวาดภาพที่ประจำในบริษัทโฆษณา เค้าจะต้องมีความสามารถรอบด้าน คือต้องวาดจากคอมพิวเตอร์ก็ได้และวาดมือลงสีมาร์คเกอร์ (Marker Color) หรือสีอื่นๆก็ได้
สุดท้ายที่จะพูดก็จะเป็นสายงานไฮเทค แน่นอน ต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันแน่ๆคนที่จะทำงานทางด้านนี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่รังเกียจคอมพิวเตอร์ ต้องมีความเชี่ยวชาญและพอรู้เรื่องโปรแกรมมาบ้างเล็กๆน้อยๆ สำหรับสายงานทางด้านนี้ เวลาน้องจะเข้าไปทำก็ควรจะลองๆสืบดูว่า งานหรือบริษัทที่เรากำลังจะไปทำเค้าเน้นทางด้านไหน บางที่เน้นโปรแกรมมิ่ง บางที่เน้นออกแบบ เน้นไอเดีย บางที่เน้นเท่ากัน ก็ลองเลือกดูนะครับว่าเราอยากทำงานที่เน้นไปทางด้านไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเป็นหลัก
Multimedia Designer / Web Graphic Designer / Interface Designer
สามคำข้างบนก็พอจะครอบคลุมได้พอสมควรแล้วนะครับ จริงๆยังมีอีกเยอะลักษณะการทำงานก็แล้วแต่บริษัทที่เราจะไปสมัคร คนที่ออกแบบทางสาย IT นี้จะไม่ค่อยมีผู้ช่วยแบบสายโฆษณา เราจะต้องปิดงานด้วยตัวเองในบางครั้ง อย่างเช่นถ้าเราทำ FLASHเราก็ต้องปิดงานด้วยตัวเอง ไม่มี Artist มาปิดงานให้เราแบบสายงานโฆษณาคนที่จะทำงานสายนี้จะต้องมีความสามารถทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ การทำอนิเมชั่น การตัดต่อเสียงและโปรแกรมมิ่งเล็กๆน้อยๆ ปัจจุบั้นเราจะออกแบบชนิด Offline ก็ไม่ได้แล้วจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านอินเตอร์เนต และเทคโนโลยีแฟลชและ JAVA บ้างพอสมควร
สำหรับน้องท่ีจะเข้าทำงานทางสายนี้พี่จะแนะนำคร่าวๆนะครับ ว่ามีบริษัทลักษณะไหนบ้าง- บริษัทที่เป็นเครือหรือแผนกย่อยของบริษัทโฆษณา ในแผนกนี้จะต้องออกแบบทำ web หรีือ media ใหม่ๆ Direct Marketing และจะมีการจัดวางตำแหน่งคล้ายๆพวกครีเอทีฟ และมีคนช่วยทำงานให้ บริษัทโฆษณาจะให้เงินเดือนปานกลาง แต่จะได้ความรู้ทางด้านมาร์เกตติ้งติดตัวไปด้วย เพราะจะค่อนข้างใกล้ชิดกับพวกมาร์เกตติ้ง
- บริษัทที่ออกแบบพวกมัลติมีเดียและเวบโดยเฉพาะ บริษัทลักษณะนี้ เราจะต้องมีความสามารถในการออกแบบและความรู้รอบทางด้านโปรแกรมพอสมควรซึ่งเวลาจะเข้าไปทำควจะศึกษาว่าลักษณะงานเน้นไปในทางไหน ออกแบบหรือเน้นโปรแกรม
- บรืิษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทเหล่านี้จะให้เราเข้าไปพัฒนา Graphic User Interface (GUI) หรือที่เค้าเรียกกันว่าหน้าตาของตัวโปรแกรม ซึ่งแน่นนอน เค้าเน้นโปรแกรมอยู่แล้ว
เวลาน้องๆจะทำงานทางสายนี้ ลองศึกษาดูให้ดีๆก่อนนะครับ เพราะบางทีทำไปนานๆเราจะลืมๆการออกแบบได้ เพราะแวดล้อมไปได้ยโปรแกรมต่างๆ เราจึ้งต้องหมั่นศึกษาหาความรู้บ่อยๆ และฐานเงินเดือนของบริษัทลักษษระนี้มักจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับนักออกแบบเท่าที่ควร แต่ก็มีบางที่เหมือนกันที่ให้ค่อนข้างมาก
สำหรับการเตรียมตัวคงไม่ต้องบอกอะไรมากนะครับ คืองานต้องดี และมีความรู้ทางด้านโปรแกรมหรือ HTML บ้างนิดๆหน่อยๆครับ
เมื่อได้รู้จักกันแล้วว่า จบไปทำอะไรได้บ้าง และมีหน้าที่การงานทำอะไรบ้างก็จะมาตอบคำภถามคาใจน้องๆว่า "หางานยากหรือไม่" อันนี้พี่ก็จะขอตอบจากประสบการณ์นะครับว่าอย่างงานโฆษณา แม้ว่าบริษัทโฆษณาที่ดังๆจะมีเยอะก็ตาม แต่บุคคลากรเค้าไม่ค่อยเยอะ โดยเฉพาะครีเอทีฟ หรือกราฟฟิคเพราะเค้าไม่จำเป็นต้องจ้างเยอะ ครีเอทีฟมีหน้าที่คิดงานให้แหวก คิดให้ใหม่เสมอๆ ดังนั้นเค้าจะไม่จ้างเยอะและค่อนข้างที่จะรับคนยาก อย่างบริษัทที่เคยทำอยู่ บางครั้งมีการสมัครเรื่อยๆ เกือบ 200-300 คน (รับคนเดียว) แต่ก็ไม่รับเสียทีและก็เป็นธรรมดาครับที่บริษัทดังๆจะรับคนยาก
สาขางานอื่นๆก็เหมือนๆกันครับ ดังนั้นนอกจากสอบเข้าไปได้แล้วยังต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาอีกด้วย ถึงจะอยู่ในโลกของการออกแบบได้อย่างมีความสุข
==========================================================================
สำหรับการเตรียมตัว พี่จะขอพูดคร่าวๆละกันนะครับ เอาไว้ไปดูรายละเอียดวิชาสอบกันดีกว่า
การเตรียมตัวเข้าสาขาทางนี้ แน่นอนจะต้องมีวิชาการออกแบบและวาดเส้น ซึ่งวิชาและทักษะดังกล่าว ไม่สามารถวัดได้ว่าคนไหนจะต้องฝึกเท่าไหร่ คนไหนต้องฝึกอีกมาก คนไหนทำไม่สวย อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆในการฝึกฝนน้องๆที่จะเข้าสายงานทางนี้ พี่แนะนำเลยว่า website หรือร้านหนังสืออย่าง Asia Book หรือ Kinokuniya เป็นแหล่งความรู้ที่ดีมากๆ ยังมีร้านหนังสือดีๆที่น่าไปดูอีกคือ Basheer ที่ H1 ซอยทองหล่อ เลย Playground เข้าไปอีกหน่อยจริงๆใน Playground ก็มีนะครับ และยิ่งดีเข้าไปอีกที่มีศูนย์การออกแบบที่ Emporium ขึ้นมาอีก แหล่งความรู้เหล่านี้มีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่ว่าน้องจะเลือกดูหรือเปล่า
และสำหรับน้องที่ไม่มีโอกาสได้ติวกับพี่ๆตามมหาวิทยาลัยหรือตามสถาบันสอนศิลปะ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนของพี่ www.artstu1.comก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ทันเค้าเพราะน้องสามารถหาหนังสือหัดวาดเส้นมาหัดได้เอง ซึ่งมีหนังสือดีๆอยู่หลายเล่ม เมื่อซื้อมาแล้วน้องก็อาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝน และที่สำคัญหาอาจารย์สอนศิลปะเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูก็จะดีมากๆ
จริงๆก็ไม่ต้องกลัวมากเพราะในเวบมีอยู่มากมายครับ ลองใช้ Google หาดูสิครับ มีเพียบ..........ที่สำคัญหมั่นหาข้อสอบเก่าๆมาดูและทดลองทำดูครับจะช่วยได้มากๆครับ
ระบบการสอบและวิชาการสอบ ซึ่งลักษณะการสอบในปัจจุบันจะสามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่มคือ
[A] กลุ่มที่สอบปฏิบัติเพียงวิชาเดียว (ความถนัดทางนิเทศศิลป์ ค่าน้ำหนัก 35% เกณฑ์ 40 คะแนน) ได้แก่- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ / ภาพถ่าย / ภาพยนตร์และวิดีโอ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง (สองสาขาสุดท้ายมีสอบภาคสมทบ)- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ พระจอมเกล้าฯธนบุรี (หลักสูตรนานาชาติ) มีสอบตรง- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ฯลฯ (มีสอบตรง+โควต้า)
ลักษณะข้อสอบจะมีข้อย่อยๆแยกออกไปให้ Drawing เขียน StoryBoard ทำ Illustration หรือออกแบบโปสเตอร์และออกแบบลวดลายเน้นทักษะ+ไอเดีย และความเร็วในการทำพอสมควร เพราะมีแค่ 3 ชั่วโมงแต่ต้องทำหลายข้อ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[B] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติสองวิชา รายละเอียดลองดูที่ http://www.decorate.su.ac.th/คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ศิลปากร มีสอบตรงเท่านั้น มี 2 รอบ เน้นทักษะมากๆต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมาก แบ่งเป็นสองวิชาคือ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ และออกแบบนิเทศศิลป์
ลักษณะข้อสอบ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ ให้วาดเส้นหน้าคน หรือมือ หรือของใกล้ตัว บางปีเคยออกให้วาดจากรูปภาพ เน้นทักษะมากๆออกแบบนิเทศศิลป์ ให้ออกแบบโปสเตอร์ และโลโก้ หรือออกแบบตัวอักษรประกอบโปสเตอร์ ฯลฯ เน้นทักษะการออกแบบและนำเสนองานมากๆเกณฑ์อยู่ที่ 50 คะแนนครับ สำหรับ ระดับคะแนนที่ปลอดภัยในการสอบติดคือ 80-85 ขึ้นไปครับ (ได้ค่อนข้างยากครับ โดยเฉพาะ Drawing)
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[C] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติ 1 วิชา และสอบทฤษฎีศิลปะ 1 วิชาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ มหาสารคาม (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะสถาปัตย์ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ม.นเรศวร ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ ม.เชียงใหม่ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสื่อสาร มศว ประสานมิตร (สอบตรงอย่างเดียว ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎี และ PORTFOLIO)รายละเอียด www.swu.ac.th
ลักษณะข้อสอบปฏิบัตินฤมิตศิลป์ (ค่าน้ำหนัก 20%) 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น วาดเส้นสร้างสรรค์ เน้นหน้าคน และมือ หรือของอื่นๆ โดยโจทย์จะเป็นลักษณะใกล้เคียงกับโจทย์ของลูกค้าที่ให้ทำในบริษัทโฆษณา โดยสามารถวาดลักษณะ Surrealism ได้ตามต้องการ แต่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องของแสงเงา และอีกส่วนนึงคือออกแบบ เน้นโจทย์ที่สื่อสารถึงอารมณ์ และเน้นการออกแบบลวดลาย หรือบางครั้งก็มีทั้งโปสเตอร์และภาพประกอบ คล้ายๆลาดกระบัง ทฤษฎีนฤมิตศืลป์ (ค่าน้ำหนัก 15%) มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตกประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์
ส่วนแนวข้อสอบตรงของ มศว จะเปลี่ยนไปทุกๆปี เน้นการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมี PORTFOLIO ด้วยส่วนทฤษฎีศิลปะเน้นคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและอนิเมชั่นด้วยนอกเหนือจากประวัติศาสตร์ศิลป์เล็กๆน้อยๆ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[D] กลุ่มที่มีวิชาปฏิบัติและทฤษฎีอยู่ในข้อสอบเดียวกันคณะครุศาสตร์ ศิลปะศึกษา จุฬาฯ คือเรียนไปไม่ได้ต้องเป็นครูอย่างเดียวนะครับ ทำงานออกแบบก็ได้ครับไม่ปัญหา จะต่างกับพวกที่เรียนศิลปกรรมก็แค่มีวิชาครูและต้องฝึกสอน และใช้เวลาเรียน 5 ปี ใช้วิชาสอบคือ ความรู้ความถนัดทางศิลป์ ค่าน้ำหนัก 10% รวมกับวิชาความถนัดทางวิชาชีพครูและวิชาเลือกสอบ ANET รวมเป็น 30%
ลักษณะข้อสอบแบ่งเป็นทฤษฎี 40-50 ข้อ มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์แต่เน้นของไทย และชอบออกรูปภาพของพระพุทธรูปและเจดีย์และของไทยๆ ตลอดจนรูปของศิลปินดังๆ และมีความรู้ทางจิตรกรรมและความรู้รอบตัวอย่างเช่นศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรมด้วย
ส่วนปฏิบัติจะให้ทำบนกระดาษแผ่นเล็กๆมีตั้งแต่วาดเส้น ออกแบบ sketch design หรือออกแบบโปสเตอร์ โลโก้ ฯลฯ
จากที่ได้ดูมาข้างต้นนั้น พี่ก็อยากจะบอกว่าน้องๆควรเลือกคณะเผื่อๆไว้ด้วย ไม่ควรเลือกคณะเดียวเพราะอุบัติเหตุในการสอบมีตลอดเวลา เช่นสีหก ไอเดียไม่ออก ทำไม่ได้ ตื่นเต้น ทำผิดโจทย์ ท้องเสียวันสอบ เก็งผิดโจทย์ ออกในสิ่งที่ไม่ถนัดปวดหัวปวดท้องวันสอบ ดังนั้นควรจะเตรียมตัวเอาไว้เผื่อๆดูคณะอื่นที่อื่นไว้บ้าง
นี่แหละคณะที่พี่บอกไปข้างบน อันไหนเค้ามีสอบตรงอันไหนเค้าสอบไม่ตรงกัน แนะนำให้สอบๆไปให้หมดเลยครับ
นอกเหนือจากการสอบแอดมิดชั่นแล้วยังมีการสอบโคงต้าพิเศษ สอบตรงพิเศษ สอบภาคสมทบ เหล่านี้ น้องๆต้องคอยติดตามจากเวบไซท์ของมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเอง หรือในเวบเด็กดีนี่แหละครับ จะไปหวังให้คณุแนะแนวคอยเอาข่าวมาให้เรามันก็ไม่ไหวครับ เพราะบางทีครูก็งานเยอะครับ และอีกอย่าง คณะเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมในการสอบเข้ามากเท่าพวกสายวิศวะ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
จริงๆ ข้อมูลที่พี่รวบรวมมาให้ข้างต้นก็แค่สำหรับน้องๆที่อยากจะทำงานทางสายนิเทศศิลป์แค่นั้น ส่วนน้องที่สนใจทางด้านอื่นๆ ก็คอยพี่ๆเค้าอัพเดทกันต่อไปครับ หรือถ้าพี่มีเวลาพอก็จะรวบรวมมาให้อีก จากข้างต้น ก็หวังว่าพอจะให้ความกระจ่างบ้างนะครับไม่มากก็น้อย ซึ่งข้อมูลบางอย่างน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกในการสอบครั้งหน้า
สุดท้ายนี้ พี่ก็ขอฝากให้น้องๆ ม.4-5 ได้รีบทำความรู้จักกับสาขาเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเราต้องการจะเรียนหรือไม่ชอบหรือไม่ จะได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกฝนค่อนข้างมาก ส่วนรายละเอียดอื่นๆถ้ามีอะไรอัพเดท แก้ไข พี่จะพยายยามหามาให้ครับ
ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ
writer : พี่ยอดpiyawat_n@hotmail.com
Link: http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=designdotexe&id=000401
พี่ขอตัดเข้าไปตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก่อนละกันนะ ในคณะต่างๆเหล่านี้เค้าก็จะมีการเรียนการสอนที่ค่อนข้างคล้ายกัน คือในช่วงปีสองปีแรกก็จะเป็นการเรียนฝึกฝนทักษะ วิชาดรออิ้งก็จะวาดกันตั้งแต่วัตถุสิ่งของใกล้ตัวจนไปถึงวิชากายวิภาค มีเรียนจิตรกรรมพื้นฐาน การ Paint สีน้ำ ได้ออกนอกสถานที่่ ไปวาดที่ต่างๆได้ฝึกฝนทักษะการออกแบบทั้งด้วยมือ และด้วยคอมพิวเตอร์ในขั้นพื้นฐาน ในปีต้นๆก็มีกิจกรรมเยอะ งานเยอะมีรับน้อง และเป็นช่วงเปลี่ยนจากวัยมัธยมที่มีคุณครูคอยจู้จี้มาเป็นวัยเรียนที่อิสระ ไม่มีใครควบคุม ดังนั้นปีต้นๆน้องควรจะ Balance ระหว่างกิจกรรมกับการเรียนให้ดี เกรดจึงจะออกมาสวยและใช้ชีวิตมหาลัยอย่างมีความสุข
ส่วนในปีโตๆคือปีสามและปีสี่ก็จะเริ่มมีวิชาเฉพาะสาขาที่ตนเองสนใจ คือบางที่ก็มีวิชาอนิเมชั่น (animation) หรือวิชาโฆษณา (advertising) หรือพวกการออกแบบตัวอักษรขั้นสูง (advance typography) จากนั้นพอปลายปีสามขึ้นปีสี่ก็จะมีวิชาวิจัยทางศิลปะและการออกแบบ (design research)ซึ่งก็จะได้ใช้ประโยชน์ตอนทำวิทยานิพนธ์ทางศิลปะ หรือที่เรียกว่า Thesis นั่นเอง ช่วงนี้ก็จะเป็นตัวตััดสินชะตาชีวิตในระดับนึงเหมือนกันว่าจะเรียนจบหรือไม่จบ หรือจะได้งานที่ดีหรือเปล่า
ส่วนวิชาคำนวณ ไม่มีครับ หรือบางที่มีก็น้อยมาก ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนเหมือนตอนมัธยมครับ (โดยมากไม่ชอบ)
==========================================================================
ระดับความยากในการเรียน
ขึ้นชื่อว่าเรียนก็ยากทั้งนั้นแหละ แต่การันตีว่าใครชอบออกแบบจริงๆแล้วคณะแบบนี้เป็นคณะที่ีเรียนสนุก
จริงอยู่ การเรียนวิชาพวกนี้ระดับความเครียดมักจะไม่ค่อยมากเท่ากับสายวิทยาศาสตร์หรือสายคำนวณแต่การเรียนวิชานี้จะต้องหมั่นหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เนต หรือร้านหนังสือต่างประเทศหรืองานนิทรรศการหรือ event ต่างๆ เช่นงานประกวดโฆษณา หรืองานออกแบบระดับมหาวิทยาลัยไม่เช่นนั้นเราจะตามคนอื่นไม่ทัน
อย่างที่บอกไป แม้่ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนเครียด ไม่ได้เรียนแล้วหน้าบูดหน้าบึ้ง และดูเหมือนว่าจะอยู่กับสิ่งที่สวยงามก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่เราหยุดคิด หยุดตามโลก หยุดหาความรู้ เราก็จะอยู่ไม่ได้เมื่อเราจบไปประกอบอาชีพแล้ว และความเครียดก็จะเพิ่มมากขึ้น
พวกเราตอนเรียนจะเรียนสนุก แต่เมื่อจบไปทำงาน จะต้องรักษาเวลา ทำงานให้ทัน คิดให้ออกในเวลาที่กำหนดเราก็จะไปเครียดกันก็ตอนนั้นแหละ
ต้องยอมรับอยู่ข้อนึงว่าประเทศไทย ระดับการเคารพในวิชาชีพยังไม่มีมากเท่าที่ควร คนที่ไม่ได้จบทางด้านออกแบบมาโดยตรงก็สามารถทำงานทางด้านนี้ได้ ถ้าเค้ามีความสามารถเพียงพอ (ส่วนมาก-ไม่ดีเท่าคนที่จบตรง)ดังนั้นอาชีพทางสายนี้ จึงจำเป็นต้องจบไปแล้วไปอยู่ในบริษัทหรือองค์กรที่เหมาะสม ถึงจะเติบโตทางหน้าที่การงานได้อย่างมีความสุข ซึ่งพี่ก็จะแนะนำในข้างล่างต่อไปนะครับ ว่าทำที่ไหนถึงจะดี
==========================================================================
อาชีพการงาน
ก่อนที่พี่จะพูดเรื่องการเตรียมตัวสอบ พี่คิดว่าการทำความรู้จักกับสาขาที่เรากำลังจะเรียนเป็นสิ่งที่ควรรู้ก่อนดังนั้นพี่ก็จะเล่าหน้าที่การงานให้ฟังว่า จบไปสามารถทำอะไรได้บ้าง
อาชีพของพวกเราคล้ายๆกับว่าปิดทองหลังพระ และดูเหมือนว่าจะมีรากฐานฝังลึกอยู่กับผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุประมาณ 45-60 ว่า พวกเราเป็นศิลปินใส้แห้ง วันๆวาดรูปและรับเขียนป้าย ทำงานโรงพิมพ์ดังนั้นพี่ก็จะขอเล่าให้ฟังละกัน จะได้ไปอธิบายให้อาก๋งอาม่า หรือป่าป๊าหม่าม๊าเข้าใจได้มากขึ้นว่าเราจะจบไปทำอะไรได้บ้างใส้แห้งจริงหรือไม่
จากประสบการณ์การทำงานของพี่ อาชีพการงานของสายนี้จะแยกออกเป็น 3 สายหลักๆคือ จริงๆแล้วคนอื่นอาจจะไม่ได้แบ่งแบบนี้
1. สาย Creative เน้นคิดงาน และสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ สนุกๆมันส์ๆ2. สาย Production เน้นทำงานผลิตงาน เป็นผู้มีฝีมือและทักษะการ Present เป็นเยี่ยม หาตัวจับยากและมีคิวจองให้ทำ จองยาวข้ามปี3. สาย IT และมัลติมีเดีย
==========================================================================
อ่ะมาเริ่มกันที่ครีเอทีฟ (Creative) กันก่อนนะ
สายนี้ก็โดยมากจะอยู่ตามเอเยนซี่โฆษณา (Advertising Agency) ซึ่งการที่จะเข้าเป็นครีเอทีฟในบริษัทโฆษณานั้นค่อนข้างยาก และต้องผ่านการคัดตัวและเวทีประกวดงานระดับมหาวิทยาลัยอย่าง B.A.D (Bangkok Advertising Association) มาบ้างแล้ว หรือไม่ก็เป็นผู้มีไอเดียแหวกแนวตลอดเวลาในเอเยนซี่ก็จะแยกออกครีเอทีฟออกเป็นสองประเภทคือ
- อาร์ตไดเรกเตอร์ (art director)เป็นอาชีพที่จัดว่า เก๋ไก๋สไลด์เดอร์มากๆ มีคนอยากเป็นมาก แต่ตำแหน่งน้อยนิดไม่ค่อยจะรับใครใหม่ๆเท่าไหร่ เพราะเงินเดือนดี แต่ทำงานหนักเป็นวัวเป็นควาย บางทีก็กลับบ้านตีสองตีสาม หรือข้ามคืนก็เคยมี อาร์ตไดเรกเตอร์เค้าจะทำงานเป็นคนคิดโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ ทำบิลบอร์ดเก๋ๆ ยกตัวอย่างเช่นเบียร์ไฮเนเก้นที่จะมีอะไรเก๋ๆออกมาตลอดเวลา และที่เป็นไฮไลท์คือต้องคิดหนังโฆษณาทีวี (TVC) ช่วงเวลาที่คิดหนังนี่แหละมันส์ที่สุด จะมีแก๊กตลกๆ เจ็บๆ ซึ้งๆออกมาเยอะแยะแล้วแต่โจทย์ที่ลูกค้าให้มา อาร์ตไดไม่ได้เป็นคนคิดคนเดียวนะ เค้าจะต้องคิดงานคู่กับก๊อปป้ไรท์เตอร์(copywriter) ที่จบมาทางสายนิเทศศาสตร์นั่นแหละ ทำงานคู่กันเสมอๆ แยกกันไม่ออก
อาร์ตไดจะต้องออกไปกับกองถ่ายฯ จะต้องคุยกับผู้กำกับเพื่อแลกไอเดียอันบรรเจิด และคุยกะช่างภาพมืฉกาจเพื่อทำให้งานออกมาดี อาร์ตไดจะต้องควบคุมทุกๆอย่างเพื่อให้งานชิ้นนึงออกมาได้ดีและสมบูรณ์ที่สุดเหมือนกับที่ไปโม้ไว้กับลูกค้าในวันขาย Sketch งานครั้งแรก
ที่ีสำคัญคืออาร์ตได จะมีการอัพค่าตัวขึ้นไปได้อีกจากการหมั่นคิดงานดีๆส่งประกวด ซึ่งเวทีสำหรับคนโฆษณาก็มี B.A.D Awards (Bangkok Advertising Association) หรือ Adman หรือเวทีเก่าแบบTACT Awards และเวทีระดับเอเชียที่มีการจัดกันที่พัทยาทุกปีอย่าง AD FEST Asia หรืองานใหญ่แถบภูมิภาคแบบ Media Asian หรืองานระดับโลกอย่าง Cannes Lions หรือฝั่ง U.K คือ D&AD หรือฝั่งอเมริกาแบบ CILO Awards เป็นต้น
การเตรียมตัวเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ก็ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบติดตามข่าวสารวงการออกแบบและโฆษณา ชอบดูโฆษณาและต้องหมั่นประกวดงานเพื่อพัฒนาความคิด และสะสม portfolio ที่ดีๆไว้ตอนสมัครงานและที่สำคัญช่วงฝึกงานพยายยามหาทางเข้าไปฝึกในเอเยนซี่ให้ได้
- กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ (Graphic Designer) เป็นอาชีพที่ยังสามารถแยกออกเป็นหลายหมวดอีกในที่นี้พี่จะขอแยกออกเป็นสองอย่างละกันครับ คือ graphic ที่ทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณา และgraphic ที่ทำงานอยู่ตาม graphic house จะพูดถึงพวกแรก พวกนี้จะทำงานคล้ายกับอาร์ตได แต่จะกระจุกกระจิกและต้องทำพวก product หรือ package ด้วยเป็นบางครั้ง ซึ่งก็สนุกไปอีกแบบนึงลักษณะของกราฟฟิคจะคล้ายับอาร์ตไดแต่จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องคิดหนังทำหนังแต่พวกนี้จะลงลึกไปออกแบบสื่อต่างๆเช่นงาน exhibits หรืองานสิ่งพิมพ์ หรือเวบมัลติมีเดียสำหรับกราฟฟิคโดยเฉพาะบริษัทโฆษณาต้องออกไปนอกสถานที่บ่อยๆ ออกไปหาลูกค้า ออกไปกำกับช่างภาพ ออกไปทำรีทัชภาพ และสุดท้ายควบคุมการออก Artwork ให้ลูกค้าซึ่งสนุกมากๆ ทำให้เราไม่หยุดนิ่ง ได้เจอคน ได้เจออะไรใหม่ๆตลอดเวลา
สำหรับการเตรียมตัวเป็นกราฟฟิค ขึ้นอยู่กับเว่าเราจะสมัครในบริษัทโฆษณาหรือเปล่า ถ้าอยากก็ต้องดูให้ดีเพราะบริษัทโฆษณาบางที่ก็มีโครงสร้างให้กราฟฟิคทำงาน support art director ซึ่งพี่ไม่แนะนำให้ทำบริษัทแบบนี้ ลองหาบริษัทที่มี Graphic ที่แยกทีมออกมาต่างหากจะดีกว่าหรือถ้าเราอยากเข้ากราฟฟิคเฮาส์ก็ลองศึกษาว่าบริษัทที่เราจะเข้านี่มีชื่อเสียงในวงการออกแบบหรือเปล่า ของประเทศไทยก็มีที่ดีๆน่าทำอยู่หลายที่เหมือนกันครับ
ทีนี้พี่ก็จะพูดถึงสาย Production House บ้าง
สายโปรดักชั่นนี้โดยมาก็จะทำงานให้กับเอเยนซี่ (Agency) เสียส่วนมาก โปรดักชั่นนี้ก็ยังแยกออกได้ย่อยๆอีกคือ
Image Retoucher / Photographer (ตกแต่งภาพและช่างภาพ)Editing Studio (สตูดิโอตัดต่อ)Animation Studio (สตูดิโอทำอนิเมชั่น)Illustrator Artist (นักเขียนและออกแบบภาพประกอบเรื่อง)ตอนนี้ฟังดูอาจจะยังงงๆเอาเป็นว่าสาขาที่ย่อยมากๆพี่ขอข้ามไปก่อนละกันครับ เดี๋ยวจะยาวทีนี้ก็มาถึงตำแหน่งหน้าที่การงานว่าจะทำอะไรได้บ้างในสายงานทางด้านโปรดักต์ชั่นเฮาส์
- Computer Artist ที่ทำงานกับบริษัทรีทัชภาพ ขอเล่าก่อนละกันครับว่ารีทัชภาพนี่ไม่ใช่แค่ตกแต่งภาพตามร้านถ่ายรูปนะครับ มันไม่ใช่แค่นั้น งานของบริษัทโฆษณาที่ออกเป็นอาร์ตเวิร์คในแต่ละวันนั้นมหาศาล การที่จะต้องมีคนที่ทำหน้าที่นี่หรือเรียกว่า รีทัชเชอร์(Retoucher) ซึ่งรีทัชเชอร์จะทำหน้าทีตกแต่งภาพตามที่อาร์ไดเรกเตอร์ หรือกราฟฟิคทำมาให้ ซึ่งเราจะเห็นได้อย่างง่ายๆก็คือพวกโปสเตอร์หนัง หรืองานโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ งานพวกนี้ไม่ใช่มีค่าตอบแทนน้อยๆนะครับเพราะคนที่จะทำงานทางด้านนี้ได้จะต้องมีผู้มีความรู็ทางด้าน Drawing มากพอสมควรจึงจะสามารถตกแต่งภาพออกมาได้อย่างสมจริง สายงานทางด้านนี้กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ มีงานจากต่างประเทศเข้ามาให้ทำเป็นจำนวนมากน้องคงจะงง ว่างานแต่งภาพมันจะมากอะไรขนาดนั้น แต่พี่ขอบบอกว่ามากๆๆๆๆ ครับ เพราะปัจจุบันการถ่ายภาพงานโฆษณาได้เปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิตอลหมดแล้วครับ ดังนั้นงานถ่ายภาพเมื่อถ่ายเสร็จเค้าก็จะต้องไปทำให้สวยที่สุดดังนั้นก็ไม่พ้นพวก Retouch House ปัจจุบันในประเทศไทยที่ดังๆมีอยู่ประมาณเกือบ 10 ที่ มีสตูดิโอถ่ายภาพมีพนักงานมากกว่า 50 คนในบางแห่ง
การจะเตรียมตัวเป็นรีทัชเชอร์จะต้องดรออิ้งเก่งมีพื้นฐานแสงเงาแน่น มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและหมั่นดูงานโฆษณาดูโปสเตอร์หนังและเป็นผู้ตามกระแสวงการออกแบบตลอดเวลาครับ
- Computer Artist ที่ทำงานกับเอเยนซี่อันนี้ก็จะคล้ายๆกับอันข้างบน เพียงแต่ว่าทำงานในบริษัทโฆษณา โดยมากจะไม่ได้ปิดงานใหญ่ๆเอง แต่จะให้พวกด้านบนทำจะเป็นคนที่คอย Support ความคิดของครีเอทีฟ และต้องมีความรู้ทางด้านการจัดวางหนังสือ และการเขียนภาพด้วยโปรแกรมIllustrator ด้วยนอกเหนือจากการแต่งภาพ ในบางครั้งต้องมีการทำภาพสามมิติด้วย เรียกว่าความรู้เฉพาะโปรแกรมและทักษะอาจจะไม่เท่ากับพวกรีทัชเชอร์ แต่ความรู้รอบตัวต้องมากกว่าและสามารถตอบสนองความคิดของครีเอทีฟได้มากกว่า
สำหรับการเตรียมตัวก็เหมือนข้างบนนะครับ
- Animator / CG Artistคงเป็นอาชีพที่น้องๆหลายคนอยากจะทำนะครับ การจะเป็น animator อาจจะไม่ต้องจบมาตรงสายเสียทีเดียวแต่อาจจะต้องมีความสนใจทางด้านโปรแกรม 3 มิติ (3D) พอสมควร โดยมากรุ่นเก่าจะจบมาทางสายทางด้านนี้แล้วอาศัยความสนใจส่วนตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ปัจจุบันในประเทศก็มีการเรียนการสอนทางด้านนี้ เพียงแต่ในมหาวิทยาลัยของรัฐอาจจะยังไม่มีมากเท่าที่ควร เนื่องจากติดขัดเรื่องเงินทุนในการซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทีนี้ย้อนกลับมาที่ลักษณะการทำงาน โดยส่วนมาก เค้าก็จะแยกกันระหว่างคน ออกแบบตัวการ์ตูนคนปั้นโมเดล คนใส่วัสดุจัดแสง และคนทำอนิเมชั่นในขั้นตอนทำให้มันเคลื่อนไหว และยังมีคนตัดต่อและใส่เอฟฟเกต์ในขั้นสิ้นสุดด้วย น้องๆจะเห็นว่าหนังอนิเมชั่นไม่ได้ออกมาง่ายๆ หนังเรื่องนึงจะต้องประกอบไปด้วยคนหลายคนหากว่าน้องเป็นคนที่ขอบทำหนังสั้น น้องๆก็ควรจะคำนึงถึงเนื้อเรื่องด้วย เพราะเนื้อเรื่องเป็นตัวสำคัญในการตัดสินว่าหนังเรื่องนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ ในที่นี้พี่แนะนำน้องที่อยากจะเป็นอนิเมเตอร์หรือสนใจทางสายงานด้านนี้ให้หาเวลานอกในการฝึกฝนทักษะ และก็ควรจะเรียนรู้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ที่อาจารย์สอนในมหาลัยไปด้วยพร้อมๆกัน เพราะสังเกตหนังสั้น หรือหังโฆษณาเมือง CANNES (คานส์) หนังที่ได้รางวัลก็มักจะเป็นหนังที่มีแก๊กหรือไอเดียเด็ดๆ
และการจะเตรียมตัวเป็นอนิเมเตอร์ พี่ก็แนะนำให้หาความรู้นอกห้องเรียน ซีดีหรือดีวีดีสอน MAYA หรือ 3ds MAX Lightwave / Cinema4 หรือกระทั้งวิดีโอสอนการตัดต่ออย่าง Final Cut Pro และ After Effects ก็มีเยอะมีค่อนข้างเยอะหาได้ง่ายครับ หรือจะไปเรียนเสริมนอกเวลาก็ได้ และก็ทำเก็บไว้เป็น Port เพื่อสมัครฝึกงานในบริษัทเหล่านี้ในช่วงปีสามครับ ก็จะเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดในการเข้าวงการครับ
- Illustrator Artistอาชีพนักวาดภาพ ออกแบบภาพประกอบ หรือเขียนสตอรรี่บอร์ดประกอบงานโฆษณา (Story Board)นักวาดภาพนั้น แน่นอนก็จะต้องเป็นผู้มีทักษะในการวาดรูปค่อนข้างมาก รักการ์ตูน ช่างสังเกต ขี้เล่นสำหรับอาชีพนี้ ปัจจุบั้นก็แยกได้ออกเป็น 2 อย่างคือ ทำงานอิสระ กับทำงานประจำนักวาดภาพที่ประจำในบริษัทโฆษณา เค้าจะต้องมีความสามารถรอบด้าน คือต้องวาดจากคอมพิวเตอร์ก็ได้และวาดมือลงสีมาร์คเกอร์ (Marker Color) หรือสีอื่นๆก็ได้
สุดท้ายที่จะพูดก็จะเป็นสายงานไฮเทค แน่นอน ต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันแน่ๆคนที่จะทำงานทางด้านนี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่รังเกียจคอมพิวเตอร์ ต้องมีความเชี่ยวชาญและพอรู้เรื่องโปรแกรมมาบ้างเล็กๆน้อยๆ สำหรับสายงานทางด้านนี้ เวลาน้องจะเข้าไปทำก็ควรจะลองๆสืบดูว่า งานหรือบริษัทที่เรากำลังจะไปทำเค้าเน้นทางด้านไหน บางที่เน้นโปรแกรมมิ่ง บางที่เน้นออกแบบ เน้นไอเดีย บางที่เน้นเท่ากัน ก็ลองเลือกดูนะครับว่าเราอยากทำงานที่เน้นไปทางด้านไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเป็นหลัก
Multimedia Designer / Web Graphic Designer / Interface Designer
สามคำข้างบนก็พอจะครอบคลุมได้พอสมควรแล้วนะครับ จริงๆยังมีอีกเยอะลักษณะการทำงานก็แล้วแต่บริษัทที่เราจะไปสมัคร คนที่ออกแบบทางสาย IT นี้จะไม่ค่อยมีผู้ช่วยแบบสายโฆษณา เราจะต้องปิดงานด้วยตัวเองในบางครั้ง อย่างเช่นถ้าเราทำ FLASHเราก็ต้องปิดงานด้วยตัวเอง ไม่มี Artist มาปิดงานให้เราแบบสายงานโฆษณาคนที่จะทำงานสายนี้จะต้องมีความสามารถทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ การทำอนิเมชั่น การตัดต่อเสียงและโปรแกรมมิ่งเล็กๆน้อยๆ ปัจจุบั้นเราจะออกแบบชนิด Offline ก็ไม่ได้แล้วจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านอินเตอร์เนต และเทคโนโลยีแฟลชและ JAVA บ้างพอสมควร
สำหรับน้องท่ีจะเข้าทำงานทางสายนี้พี่จะแนะนำคร่าวๆนะครับ ว่ามีบริษัทลักษณะไหนบ้าง- บริษัทที่เป็นเครือหรือแผนกย่อยของบริษัทโฆษณา ในแผนกนี้จะต้องออกแบบทำ web หรีือ media ใหม่ๆ Direct Marketing และจะมีการจัดวางตำแหน่งคล้ายๆพวกครีเอทีฟ และมีคนช่วยทำงานให้ บริษัทโฆษณาจะให้เงินเดือนปานกลาง แต่จะได้ความรู้ทางด้านมาร์เกตติ้งติดตัวไปด้วย เพราะจะค่อนข้างใกล้ชิดกับพวกมาร์เกตติ้ง
- บริษัทที่ออกแบบพวกมัลติมีเดียและเวบโดยเฉพาะ บริษัทลักษณะนี้ เราจะต้องมีความสามารถในการออกแบบและความรู้รอบทางด้านโปรแกรมพอสมควรซึ่งเวลาจะเข้าไปทำควจะศึกษาว่าลักษณะงานเน้นไปในทางไหน ออกแบบหรือเน้นโปรแกรม
- บรืิษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทเหล่านี้จะให้เราเข้าไปพัฒนา Graphic User Interface (GUI) หรือที่เค้าเรียกกันว่าหน้าตาของตัวโปรแกรม ซึ่งแน่นนอน เค้าเน้นโปรแกรมอยู่แล้ว
เวลาน้องๆจะทำงานทางสายนี้ ลองศึกษาดูให้ดีๆก่อนนะครับ เพราะบางทีทำไปนานๆเราจะลืมๆการออกแบบได้ เพราะแวดล้อมไปได้ยโปรแกรมต่างๆ เราจึ้งต้องหมั่นศึกษาหาความรู้บ่อยๆ และฐานเงินเดือนของบริษัทลักษษระนี้มักจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับนักออกแบบเท่าที่ควร แต่ก็มีบางที่เหมือนกันที่ให้ค่อนข้างมาก
สำหรับการเตรียมตัวคงไม่ต้องบอกอะไรมากนะครับ คืองานต้องดี และมีความรู้ทางด้านโปรแกรมหรือ HTML บ้างนิดๆหน่อยๆครับ
เมื่อได้รู้จักกันแล้วว่า จบไปทำอะไรได้บ้าง และมีหน้าที่การงานทำอะไรบ้างก็จะมาตอบคำภถามคาใจน้องๆว่า "หางานยากหรือไม่" อันนี้พี่ก็จะขอตอบจากประสบการณ์นะครับว่าอย่างงานโฆษณา แม้ว่าบริษัทโฆษณาที่ดังๆจะมีเยอะก็ตาม แต่บุคคลากรเค้าไม่ค่อยเยอะ โดยเฉพาะครีเอทีฟ หรือกราฟฟิคเพราะเค้าไม่จำเป็นต้องจ้างเยอะ ครีเอทีฟมีหน้าที่คิดงานให้แหวก คิดให้ใหม่เสมอๆ ดังนั้นเค้าจะไม่จ้างเยอะและค่อนข้างที่จะรับคนยาก อย่างบริษัทที่เคยทำอยู่ บางครั้งมีการสมัครเรื่อยๆ เกือบ 200-300 คน (รับคนเดียว) แต่ก็ไม่รับเสียทีและก็เป็นธรรมดาครับที่บริษัทดังๆจะรับคนยาก
สาขางานอื่นๆก็เหมือนๆกันครับ ดังนั้นนอกจากสอบเข้าไปได้แล้วยังต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาอีกด้วย ถึงจะอยู่ในโลกของการออกแบบได้อย่างมีความสุข
==========================================================================
สำหรับการเตรียมตัว พี่จะขอพูดคร่าวๆละกันนะครับ เอาไว้ไปดูรายละเอียดวิชาสอบกันดีกว่า
การเตรียมตัวเข้าสาขาทางนี้ แน่นอนจะต้องมีวิชาการออกแบบและวาดเส้น ซึ่งวิชาและทักษะดังกล่าว ไม่สามารถวัดได้ว่าคนไหนจะต้องฝึกเท่าไหร่ คนไหนต้องฝึกอีกมาก คนไหนทำไม่สวย อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆในการฝึกฝนน้องๆที่จะเข้าสายงานทางนี้ พี่แนะนำเลยว่า website หรือร้านหนังสืออย่าง Asia Book หรือ Kinokuniya เป็นแหล่งความรู้ที่ดีมากๆ ยังมีร้านหนังสือดีๆที่น่าไปดูอีกคือ Basheer ที่ H1 ซอยทองหล่อ เลย Playground เข้าไปอีกหน่อยจริงๆใน Playground ก็มีนะครับ และยิ่งดีเข้าไปอีกที่มีศูนย์การออกแบบที่ Emporium ขึ้นมาอีก แหล่งความรู้เหล่านี้มีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่ว่าน้องจะเลือกดูหรือเปล่า
และสำหรับน้องที่ไม่มีโอกาสได้ติวกับพี่ๆตามมหาวิทยาลัยหรือตามสถาบันสอนศิลปะ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนของพี่ www.artstu1.comก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ทันเค้าเพราะน้องสามารถหาหนังสือหัดวาดเส้นมาหัดได้เอง ซึ่งมีหนังสือดีๆอยู่หลายเล่ม เมื่อซื้อมาแล้วน้องก็อาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝน และที่สำคัญหาอาจารย์สอนศิลปะเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูก็จะดีมากๆ
จริงๆก็ไม่ต้องกลัวมากเพราะในเวบมีอยู่มากมายครับ ลองใช้ Google หาดูสิครับ มีเพียบ..........ที่สำคัญหมั่นหาข้อสอบเก่าๆมาดูและทดลองทำดูครับจะช่วยได้มากๆครับ
ระบบการสอบและวิชาการสอบ ซึ่งลักษณะการสอบในปัจจุบันจะสามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่มคือ
[A] กลุ่มที่สอบปฏิบัติเพียงวิชาเดียว (ความถนัดทางนิเทศศิลป์ ค่าน้ำหนัก 35% เกณฑ์ 40 คะแนน) ได้แก่- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ / ภาพถ่าย / ภาพยนตร์และวิดีโอ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง (สองสาขาสุดท้ายมีสอบภาคสมทบ)- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ พระจอมเกล้าฯธนบุรี (หลักสูตรนานาชาติ) มีสอบตรง- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ฯลฯ (มีสอบตรง+โควต้า)
ลักษณะข้อสอบจะมีข้อย่อยๆแยกออกไปให้ Drawing เขียน StoryBoard ทำ Illustration หรือออกแบบโปสเตอร์และออกแบบลวดลายเน้นทักษะ+ไอเดีย และความเร็วในการทำพอสมควร เพราะมีแค่ 3 ชั่วโมงแต่ต้องทำหลายข้อ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[B] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติสองวิชา รายละเอียดลองดูที่ http://www.decorate.su.ac.th/คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ศิลปากร มีสอบตรงเท่านั้น มี 2 รอบ เน้นทักษะมากๆต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมาก แบ่งเป็นสองวิชาคือ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ และออกแบบนิเทศศิลป์
ลักษณะข้อสอบ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ ให้วาดเส้นหน้าคน หรือมือ หรือของใกล้ตัว บางปีเคยออกให้วาดจากรูปภาพ เน้นทักษะมากๆออกแบบนิเทศศิลป์ ให้ออกแบบโปสเตอร์ และโลโก้ หรือออกแบบตัวอักษรประกอบโปสเตอร์ ฯลฯ เน้นทักษะการออกแบบและนำเสนองานมากๆเกณฑ์อยู่ที่ 50 คะแนนครับ สำหรับ ระดับคะแนนที่ปลอดภัยในการสอบติดคือ 80-85 ขึ้นไปครับ (ได้ค่อนข้างยากครับ โดยเฉพาะ Drawing)
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[C] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติ 1 วิชา และสอบทฤษฎีศิลปะ 1 วิชาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ มหาสารคาม (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะสถาปัตย์ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ม.นเรศวร ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ ม.เชียงใหม่ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสื่อสาร มศว ประสานมิตร (สอบตรงอย่างเดียว ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎี และ PORTFOLIO)รายละเอียด www.swu.ac.th
ลักษณะข้อสอบปฏิบัตินฤมิตศิลป์ (ค่าน้ำหนัก 20%) 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น วาดเส้นสร้างสรรค์ เน้นหน้าคน และมือ หรือของอื่นๆ โดยโจทย์จะเป็นลักษณะใกล้เคียงกับโจทย์ของลูกค้าที่ให้ทำในบริษัทโฆษณา โดยสามารถวาดลักษณะ Surrealism ได้ตามต้องการ แต่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องของแสงเงา และอีกส่วนนึงคือออกแบบ เน้นโจทย์ที่สื่อสารถึงอารมณ์ และเน้นการออกแบบลวดลาย หรือบางครั้งก็มีทั้งโปสเตอร์และภาพประกอบ คล้ายๆลาดกระบัง ทฤษฎีนฤมิตศืลป์ (ค่าน้ำหนัก 15%) มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตกประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์
ส่วนแนวข้อสอบตรงของ มศว จะเปลี่ยนไปทุกๆปี เน้นการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมี PORTFOLIO ด้วยส่วนทฤษฎีศิลปะเน้นคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและอนิเมชั่นด้วยนอกเหนือจากประวัติศาสตร์ศิลป์เล็กๆน้อยๆ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
[D] กลุ่มที่มีวิชาปฏิบัติและทฤษฎีอยู่ในข้อสอบเดียวกันคณะครุศาสตร์ ศิลปะศึกษา จุฬาฯ คือเรียนไปไม่ได้ต้องเป็นครูอย่างเดียวนะครับ ทำงานออกแบบก็ได้ครับไม่ปัญหา จะต่างกับพวกที่เรียนศิลปกรรมก็แค่มีวิชาครูและต้องฝึกสอน และใช้เวลาเรียน 5 ปี ใช้วิชาสอบคือ ความรู้ความถนัดทางศิลป์ ค่าน้ำหนัก 10% รวมกับวิชาความถนัดทางวิชาชีพครูและวิชาเลือกสอบ ANET รวมเป็น 30%
ลักษณะข้อสอบแบ่งเป็นทฤษฎี 40-50 ข้อ มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์แต่เน้นของไทย และชอบออกรูปภาพของพระพุทธรูปและเจดีย์และของไทยๆ ตลอดจนรูปของศิลปินดังๆ และมีความรู้ทางจิตรกรรมและความรู้รอบตัวอย่างเช่นศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรมด้วย
ส่วนปฏิบัติจะให้ทำบนกระดาษแผ่นเล็กๆมีตั้งแต่วาดเส้น ออกแบบ sketch design หรือออกแบบโปสเตอร์ โลโก้ ฯลฯ
จากที่ได้ดูมาข้างต้นนั้น พี่ก็อยากจะบอกว่าน้องๆควรเลือกคณะเผื่อๆไว้ด้วย ไม่ควรเลือกคณะเดียวเพราะอุบัติเหตุในการสอบมีตลอดเวลา เช่นสีหก ไอเดียไม่ออก ทำไม่ได้ ตื่นเต้น ทำผิดโจทย์ ท้องเสียวันสอบ เก็งผิดโจทย์ ออกในสิ่งที่ไม่ถนัดปวดหัวปวดท้องวันสอบ ดังนั้นควรจะเตรียมตัวเอาไว้เผื่อๆดูคณะอื่นที่อื่นไว้บ้าง
นี่แหละคณะที่พี่บอกไปข้างบน อันไหนเค้ามีสอบตรงอันไหนเค้าสอบไม่ตรงกัน แนะนำให้สอบๆไปให้หมดเลยครับ
นอกเหนือจากการสอบแอดมิดชั่นแล้วยังมีการสอบโคงต้าพิเศษ สอบตรงพิเศษ สอบภาคสมทบ เหล่านี้ น้องๆต้องคอยติดตามจากเวบไซท์ของมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเอง หรือในเวบเด็กดีนี่แหละครับ จะไปหวังให้คณุแนะแนวคอยเอาข่าวมาให้เรามันก็ไม่ไหวครับ เพราะบางทีครูก็งานเยอะครับ และอีกอย่าง คณะเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมในการสอบเข้ามากเท่าพวกสายวิศวะ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
จริงๆ ข้อมูลที่พี่รวบรวมมาให้ข้างต้นก็แค่สำหรับน้องๆที่อยากจะทำงานทางสายนิเทศศิลป์แค่นั้น ส่วนน้องที่สนใจทางด้านอื่นๆ ก็คอยพี่ๆเค้าอัพเดทกันต่อไปครับ หรือถ้าพี่มีเวลาพอก็จะรวบรวมมาให้อีก จากข้างต้น ก็หวังว่าพอจะให้ความกระจ่างบ้างนะครับไม่มากก็น้อย ซึ่งข้อมูลบางอย่างน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกในการสอบครั้งหน้า
สุดท้ายนี้ พี่ก็ขอฝากให้น้องๆ ม.4-5 ได้รีบทำความรู้จักกับสาขาเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเราต้องการจะเรียนหรือไม่ชอบหรือไม่ จะได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกฝนค่อนข้างมาก ส่วนรายละเอียดอื่นๆถ้ามีอะไรอัพเดท แก้ไข พี่จะพยายยามหามาให้ครับ
ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ
writer : พี่ยอดpiyawat_n@hotmail.com
Link: http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=designdotexe&id=000401