Monday 13 August 2007
Individual Style Production House The Film Factory
พงศ์ไพบูลย์ สิทธิคู The Film Factory
Individual Style Production House The Film Factory จัดเป็น Production House ที่ยืนระยะมากว่า 15 ปี แต่มีการเติบโตแบบพิเศษเฉพาะตัว ...ผู้กำกับซึ่งเปรียบเสมือน Product ของ Production House แห่งนี้จะมี Individual Style ของตัวเองที่แข็งแกร่งมาก แข็งแกร่งกว่า Brand Film Factory เองเสียอีก คอลัมน์ Ad & Pr. Inc. ในฉบับนี้จึงเข้าไปพูดคุยกับคุณพงศ์ไพบูลย์ สิทธิคู หรือที่ในวงการเรียกกันว่า พี่หนัง ผู้ก่อตั้ง Production House แห่งนี้ขึ้นมาพร้อมกับทิศทางทางด้านธุรกิจ Production House ที่จะเป็นไปในอนาคต...
Film Factory ก่อนที่จะมาเป็นบริษัท Film Factory นั้น คุณพงศ์ไพบูลย์ จัดได้ว่าเป็น ครีเอทีฟคนแรกๆ ในวงการที่กระโดดมาเป็นผู้กำกับหนังโฆษณา ด้วยการเริ่มเป็นครีเอทีฟในเอเยนซี แคนยอน ต่อมาก็มาเป็นครีเอทีฟที่ เจ.วอลเตอร์ ธอมสัน ก่อนที่จะจับพลัดจับผลูมาเป็นผู้กำกับนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์กล่าวว่า ในยุคหนึ่งเมื่อสมัยที่ผมเป็นครีเอทีฟ การทำหนังหรือถ่ายหนังโปรโมชั่นแถมของซึ่งเป็นหนังที่มีงบประมาณน้อย คือใช้กันแค่ 3-4 เดือนแล้วก็ทิ้ง ไม่ได้มีงบประมาณเยอะ ก็จะถ่ายด้วยวิดีโอกัน สมัยนั้นมันมี VPC ก็เป็นแค่ Post Production House อยู่ และเราก็ใช้สำหรับถ่ายพวกวิดีโอ โปรดักชั่นทั้งหลาย... ผมด้วยความที่ ไม่ได้คิดอะไรคิดเพียงว่า หนังเล็กๆ แบบนี้เราไม่อยากให้เขากำกับ ผมก็กำกับเอง และพอดีคุณแดง (ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง ฟิล์มแฟคฯ) ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่เจฯ ก็เป็นตากล้องมาก่อน รู้เรื่องถ่ายหนังรู้จักเรื่องไลท์ติ้ง ส่วนผมมากำกับแล้วกัน ก็กำกับงานตัวเองนั่นแหละ ทำแล้วก็สนุกดีไม่ได้มีอะไรยากเย็น แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมากคือ เราก็ได้อย่างใจที่เราต้องการ แล้วตอนนั้นโปรดักชั่นของหนังโปรโมชั่นมันก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ในช่วงนั้น แล้วก็พอดีผมมาทำแคมเปญลักส์ จะ Relaunce แคมเปญใหญ่จะใช้ดารา 3 คนมาประกบกัน มีคุณจินตรา คุณใหม่ คุณจารุณี เราก็มองหาผู้กำกับอะไรที่มันฉีกแหวกแนวไปจากเดิมๆ เผอิญได้ไปเห็นหนังสือ 4A ของฮ่องกงที่ลงผลงานของผู้กำกับโฆษณาเห็นงานหลายชิ้นของผู้กำกับ Louis Ng (หลุยส์ อึง) แห่งบริษัท Film Factory ที่ฮ่องกงก็จ้างเขามากำกับและก็เริ่มสนิทกัน พอเขามากำกับหนังเรื่องที่ 2 ก็เริ่มสนิทมากขึ้นแล้วก็ให้เขาวิจารณ์หนังที่เรากำกับ เวลาทำหนังโปรโมชั่นเรื่องต่อไปเราจะได้แก้ไข...เขาเอากลับไปดูที่ฮ่องกงก็บอกว่าคุณทำได้เลยนะคุณมีเซนส์ของผู้กำกับ น่าจะเปิดบริษัททำโปรดักชั่นเฮ้าส์ นั่นคือการเริ่มต้นธุรกิจ ก็เลยมาเปิดเป็น Film Factory ประเทศไทย ในยุคนั้นจะมี Production House ดังๆ อยู่หลายเจ้าไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่คือ สยามสตูดิโอ, P&C, AV Craft, Gray Scale โดย Film Factory ก็เริ่มดำเนินงานซึ่งในช่วงแรกๆ ที่เปิดนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์ เล่าว่า ผมไม่ใช่นักธุรกิจ ช่วงแรกที่เปิดจะถ่าย Pack Shot ก็ต้องเอากระโจมมากางเต็นท์ เพราะไม่มีโรงถ่าย ร้อนก็ร้อน แอร์ก็ไม่มี มุดกันอยู่ในนั้น ไฟถ่ายหนังก็ร้อน มีพนักงานอยู่ 7 คน เริ่มแรกๆ ก็ไปสิงสถิตอยู่ที่แมคโดนัลด์ อัมรินทร์ พลาซ่า นั่งแล้วก็โทรศัพท์ติดต่อเอเยนซีและคนที่รู้จักแล้วก็เริ่มของานเขามาทำ ก็โชคดีที่มีคนที่รู้จักกันเก่าๆ โยนงานมาให้ทำ เช่น บางกอกโพสต์เรื่องแรกก่อนชุดภุชงค์ ฟิล์มสีฟูจิ ชุดเด็กนักเรียนจะลาจากกันแล้วมาถ่ายรูปที่ระลึก งานพอออกไป 2-3 เรื่องแรกแล้วมีคนถามถึงติดกัน 3 เรื่องมันก็เริ่มติดตลาด คนก็เริ่มหา ช่วงปีแรกๆเราก็ทำเต็มที่เรียกศรัทธาก่อน ไม่ค่อยได้กำไรหรอก ช่วงสร้างชื่อเราก็ยอมที่จะทำให้ ปีแรกๆก็ค่อนข้างเหนื่อย Frameอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Film Factory เติบโตมาได้อย่างมั่นคงก็อาจเป็นเพราะวิธีคิดงาน เพราะเริ่มต้นกันมาจากสายครีเอทีฟโฆษณา ... สมัยก่อนมันยังไม่มีการตีโจทย์ สมัยผมเป็นครีเอทีฟไปหาโปรดักชั่นเฮ้าส์ในยุคนั้น ยกเว้นสยามสตูดิโอที่คุณคฑา สุทัศน์ ณ อยุธยา แกช่วยคิดซึ่งเป็นที่เดียว แต่เฮ้าส์ อื่นๆ คุณต้องไปแบบมีเฟรมซึ่งต้องแม่นมากๆ เพราะเขาจะถ่ายตามเฟรมเลย Storyboard นี่คือ Blue Print เลยนะ เขาแปะ Storyboard คุณข้างฝาเลย ถ่ายเฟรมนี้เสร็จก็ขีดกาเลย...เพราะฉะนั้นมันถึงได้ว่าเฮ้าส์สมัยก่อนจึงเหมือนกับว่ามีราคาประมูล เพราะเขาตีราคาเหมือนว่าต้องใช้เสาเข็มกี่ต้นต้องใช้ปูนกี่ถุง เพราะทุกเฮ้าส์จะตีราคาตาม Storyboard หมดเลย ลูกค้าก็จะเลือกเอาเจ้าไหนถูกกว่ากัน ไม่มีการเอาบอร์ดมาตีโจทย์เพื่อทำเรื่องให้มันดีขึ้น มันจะไม่มีขั้นตอนแบบนั้น พอมาเป็นผมซึ่งว่าไปแล้ว Film Factory เป็นเจ้าแรกๆ เลยที่นำ Shooting Board มาให้กับลูกค้า ซึ่งแต่ก่อนจะงงกันมากเลยเพราะเขาไม่เคยเห็นกันสำหรับ Shooting Board จากโปรดักชั่นเฮ้าส์ ซึ่งสิ่งนี้ผมคิดว่าการที่เป็นผู้กำกับ และก็ได้มาจากสายครีเอทีฟมันก็ทำให้รู้จักวิธีคิดพื้นฐานแบบโฆษณา...แต่อย่างไรก็ตามครีเอทีฟเจ้าของความคิดงานก็ยังต้องเป็นผู้ควบคุม Concept แต่ผู้กำกับ ยังไงก็ยังเป็นแค่คนทำ Execution ตราบใดที่เรายังไม่ได้แตกคอนเซ็ปต์ของครีเอทีฟที่เขาวางไว้ ... แต่ถ้าคอนเซ็ปต์แน่น คอนเซ็ปต์ดี ถึงแม้เนื้อเรื่องมาไม่ค่อยดีไม่สนุก มันก็สามารถทำให้สนุกได้ง่ายเพราะมันมีโจทย์และวัตถุประสงค์ที่พูดชัดเจน แต่คอนเซ็ปต์มาหลวมมันอาจจะคิดยากแล้ว... การกำกับหนังมันก็ไม่ยากหรอก ผมไม่ได้เรียน Film School มา เรียนแต่กราฟิกดีไซน์ และผู้กำกับที่นี่ส่วนมากก็ไม่เคยเรียน Film School ตอนแรกอาจดูยากมีหลายแผนกวุ่นวายแต่พอลงมาทำจริงๆ มันไม่ยาก มันยากอยู่ที่คิด ตอนคิดน่ะยาก คิดอย่างไรให้หนังมัน Out Standing นั่นอันดับหนึ่งของการคิดความคิดสร้างสรรค์ ทีนี้พอเราเป็นครีเอทีฟของเอเยนซีมาก่อนมันทำให้ได้เปรียบตรงนี้เพราะเรารู้วิธีคิด...วิธีคิดแบบคนโฆษณาเขาคิด... การที่ผมได้รู้จักกับคุณ Louis ทำให้เราได้ทัศนคติอย่างหนึ่งก็คือเราไม่ได้คิดว่าบิลลิ่งเราจะเป็นเท่าไหร่ ผู้กำกับแต่ละคนเราจะพูดเสมอ คนเราถ้าจะทำอะไรมันต้องสนุกเมื่อสนุกงานก็จะออกมาดี แล้วคุณทำไปซักพักหนึ่งคุณก็จะถูกจัดอยู่ใน แคทิกอรีประเภทหนึ่ง เช่นหนังสบู่ หนังแชมพู ก็อาจจะรวยเร็วแต่ถ้าคุณไม่ได้ชอบมันมันก็จะได้อยู่แค่ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ผิดนะ บางคนอาจจะชอบกำกับหนังแชมพู ทำแล้วออกมาได้ดี ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบ ซึ่งผมก็ทำไม่ได้อย่างเขาเพราะผมไม่ได้ชอบ ...เพราะฉะนั้นระบบที่นี่จะไม่มีการโยนงานให้ ผู้กำกับคนนี้ไม่ว่างเอาคนอื่นไหม ที่นี่จะไม่มี ผู้กำกับแต่ละคนก็จะมีความสามารถความถนัดไม่เหมือนกันIndividual ผู้กำกับแต่ละท่านใน Film Factory ล้วนแล้วแต่สร้างชื่อจนแข็งแกร่งกลายเป็น Individual Style ที่แข็งแกร่งในวงการและของแต่ละคนไปแล้ว เริ่มจากคุณหนัง พงศ์ไพบูลย์เองก็จะเก่งในเรื่องหนัง Emotional คุณวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ก็จะเก่งในหนังแนวเหมือนกับหนังใหญ่เรื่อง ฟ้าทะลายโจร หรือแนวสุกี้เอ็มเคก็ทำได้ ส่วนคุณต้อม เป็นเอก รัตนเรือง (ผู้กำกับหนังใหญ่เรื่องตลก 69) ก็จะเป็นแนวโมเดิร์นหน่อย คุณไมเคิล วอร์ ก็จะมีสไตล์ของตัวเองมายาวนานในวงการโฆษณาไทย และยังมีอีก 2 ท่านที่แยกออกไปสร้าง Individual Style ของตัวเองที่บริษัทใหม่ คือคุณป๋อง มงคล นิรันดร์พงศ์ และคุณเปา ธนพงษ์ ทรัพย์เหลือหลาย Individual Style Production House คือทุกคนมีสไตล์ของตัวเอง มีรูปโฉมที่ชัดเจนใน Film Factory เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็รับผิดชอบในคุณภาพของงานของตัวเองเพราะรักแล้วก็จะทำมันออกมาได้อย่างดีที่สุดอยู่แล้ว โปรดิวเซอร์มีสิทธิ์เอางานมาให้ผู้กำกับคนนั้นดูแต่โปรดิวเซอร์ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปบังคับให้ผู้กำกับคนนั้นทำงานได้ ถ้า ผู้กำกับคนนั้นบอกว่างานนั้นไม่ใช่ทิศทางของเขา ที่นี่ลูกค้ามาก็จะตรงไปหาผู้กำกับนั้นๆ เลย ไม่ได้มาหาเซ็นเตอร์แล้วแจกงาน เรียกว่าถ้าเอาชื่อ Film Factory ออกก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย..เป็นเพราะ Film Factory แข็งขึ้นมาด้วย Individual Brand ของผู้กำกับเองในแต่ละคน พอมีใครเข้ามาเสริมในรั้วชายคานี้มันก็ต้องมาจาก Individual Brand ของตัวเองซึ่งแข็งมากๆ ดังนั้นถ้าจะเกิดก็ต้องไปสร้าง Individual Brand ของตัวเองมาก่อนซึ่งเขามีโอกาสมากกว่าจะสร้างที่ Film Factory คือผู้กำกับถ้าเขาเก่งจริงได้รับการทำงานซัก 2-3 เรื่องเดี๋ยวมันก็ไหลมาแล้ว...เอเยนซีเขาเดินมาหาเราเพราะเขาอยากใช้เรามากกว่า...ผู้กำกับต้องสร้างตัวเองเพื่อให้เอเยนซีอยากมาใช้คุณ ถามว่ามันลำบากสำหรับผู้กำกับใหม่ในการให้เอเยนซีลองของใหม่ ... ไม่ลำบากผมพูดเสมอ เหมือนคุณเล่นปาเป้าเขาให้ลูกดอกคุณ 3 ดอก หมดแล้วหมดกัน ใน 3 ดอกนี่คุณต้องเข้าเป้าสักดอกหนึ่ง ใน 3 เรื่องต้องเห็นผลเพราะถ้าไม่เห็นผลมันจะมีผู้กำกับระดับเดียวกับคุณอีกเป็นร้อยเลยนะในตลาดตอนนี้เพราะฉะนั้นคุณต้องทำให้เห็นผลใน 3 ดอก คุณแน่จริง 3 เรื่องนี่ต้องเห็นผลได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยความแข็งแรงของ Individual Style ที่ลูกค้าเลือกเป็นการเฉพาะเจาะจงทำให้ผู้กำกับใหม่ไฟแรงภายใต้ชายคาของ Film Factory จึงมีโอกาสน้อยที่จะได้พิสูจน์ฝีมือ Change จากความแข็งแรงของ Individual Style ของผู้กำกับ ประกอบกับการมองธุรกิจตามปรัชญาและการทำงานของคุณพงศ์ไพบูลย์จึงได้เกิดบริษัทอีกบริษัทแยกขาดออกไปต่างหากนั่นก็คือ Good Boy ซึ่งคุณพงศ์ไพบูลย์ให้เหตุผลว่า อันดับแรกผมคิดว่า เราใหญ่เกินไปหรือเปล่า 40 คนในความคิดผมถือว่าอืดอาดแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าอายุขัยของการทำอะไรสักอย่าง ความเชื่องช้าความอุ้ยอ้ายของบริษัทที่ใหญ่ขึ้นแล้วมันมีตัวอย่างให้เห็นให้ดูแล้วว่าพอบริษัทยิ่งใหญ่ขึ้นปั๊บ การตัดสินใจมาจากคนๆ เดียว ยังไม่มีคนไหนที่มารับการตัดสินใจปลีกย่อยได้ มันก็จะทำให้บริษัทเชื่องช้า แทนที่จะกระจายให้แต่ละฝ่ายได้ตัดสินใจ ผิดก็เป็นครู ไป แทนที่จะมารอฟังคำตอบและการตัดสินใจจากคนๆเดียวซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ ผมก็ว่ามันก็เริ่มมีปัญหา .. อันดับต่อมาการขยายธุรกิจหรือการจะทำอะไร ผมไม่ได้มองในแง่ของการไปจับตลาดล่าง Good Boy นี่ก็ไม่ใช่บริษัทลูก เพราะผมคิดว่ามันถึงเวลาที่แต่ละฝ่ายออกไปทำการตัดสินใจกันเอง ผมก็เริ่มเข้าสู่วงจรเหมือนเฮ้าส์สมัยก่อนแล้ว ผมเริ่มกลายเป็นปูชนียบุคคลแล้ว เด็กๆ ก็เริ่มจะไม่ค่อยมาคุยกับผมเท่าไหร่ เจเนอเรชั่นแก๊ปมันก็มากขึ้น เขามีความเกรงอกเกรงใจผมมากขึ้น ถ้าเราไม่รู้จักการปรับตัวเดี๋ยวมันไม่ทัน ผมไม่ทราบว่าเฮ้าส์อื่นเขาคิดอย่างไรในการที่เขามีบริษัทลูก แต่ผมคิดอีกแบบว่าการทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีการปรับตัว...แต่ไม่ใช่บริษัทลูกหรือบริษัทในเครือ รากอาจจะมาจากฟิล์มแฟคฯแต่การตัดสินใจต่างๆเขาทำเอง 100% มีสิทธิ์ขาด เหมือนการแบ่งตัวออกมาแต่ไม่ใช่การขยายตัวภายใต้ร่มธงฟิล์มแฟคฯ ...เพราะฟิล์มแฟคฯไม่ได้เข้าไปถือหุ้นไม่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทใน Good Boy ถ้าจะเข้าไปถือก็เป็นส่วนตัวส่วนบุคคลไป Good Boy เขาก็ Run งานของเขาไป ประเด็นต่อมาคือผู้กำกับ ผมมีผู้กำกับอยู่ส่วนหนึ่ง ผมเกรงว่าถ้าอยู่ Film Factory และถ้าเผื่อเราไปอีกซักระยะหนึ่งนั้น การได้งานสมัยนี้มันไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ผมเพิ่งมาเปิดใหม่ๆ เพราะสมัยนั้นการลองผิดลองถูกมันยังไม่เท่าไหร่ ผู้กำกับสมัยนั้นมันก็ยังน้อยด้วย ทางเลือกใหม่ๆ ก็ยังน้อย อยากจะลองคนนั้นคนนี้ทำได้ง่ายกว่า แต่ตอนนี้ ผู้กำกับเกิดใหม่มันเยอะมาก อัตราการที่เขาจะเข้ามาหาผู้กำกับใหม่ๆ นั้นมันไม่มีใครกล้าเสี่ยง...ผมลองมาวิเคราะห์ว่าหรือชื่อ ฟิล์มแฟคฯ จะค้ำคอ ผู้กำกับใหม่หรือเปล่า เพราะผู้กำกับหลักๆ ของที่นี่ เป็น Individual Style ที่แข็งมากๆ คนลูกค้าเดิน เข้ามา ฟิล์มแฟคฯ เนี่ยเขาบอกได้ทันทีเลยว่า จะเลือกใคร ถ้าลูกค้าเกิดมาเจาะจงผม เกิดผมไม่มีคิวนั้น ขนาดเป็นคุณต้อม เป็นเอก หรือคุณวิศิษฏ์ เอง เขายังไม่เอาเลยนะ เขาไปเลย ประสาอะไรกับถ้าผมจะไปบอกว่าผมมีผู้กำกับใหม่ของผมว่าง ลูกค้าเขาจะมาสนใจ แล้วเราก็เลยคิดอีกไอเดียว่าลองดูถ้าเป็นคนเดิมแต่เปลี่ยนยี่ห้อล่ะมันจะช่วยไหม...เพราะผู้กำกับใหม่ๆ ไฟแรงถ้าขาดงานไปนานๆ มันจะเฉาเอาได้ แล้วเขาก็ได้งานกันจริงๆขนาดยังไม่ได้เปิดตัว Good Boy เป็นกิจจะลักษณะก็มีงานเข้ามาเยอะพอสมควรเลย ผมก็แปลกใจเหมือนกันผู้กำกับคนเดียวกันหน้าตานี้เลยพอเปลี่ยนยี่ห้อก็มีงานเข้าเลย อาจจะเป็นเพราะ Film Factory มันไปผูกกับ Individual ของผม Individual ของวิศิษฏ์ และ Individual ของเป็นเอก ไปหมดแล้ว แข็งเสียจนถ้าเป็นคนอื่นเขาไม่รับเลย พอออกมาเป็น Good Boy ลูกค้าเริ่มกล้ามาลองใช้ก่อนเพราะว่าพอมาฟิล์มแฟคฯนั้น อิมเมจของฟิล์มแฟคฯเห็นเขาว่ากันว่าแพง ผมก็ไม่ทราบว่าที่อื่นโค้ดราคากันเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่าเขาว่ากันว่าแพง พอมันแพงลูกค้าก็เลยไม่คิดที่จะใช้ผู้กำกับใหม่ จะใช้แต่ Individual ที่แข็งแกร่งและมีชื่อ แต่พอมาเป็น Good Boy เขาไม่มีอิมเมจแพงไง เขาโค้ดราคาตามภาวะธุรกิจและการแข่งขันของเขาและอยู่ในช่วงแรกของการสร้างชื่อ ลูกค้าก็เลยกล้ามาลอง อย่างคุณป๋อง มงคล นิรันดร์พงศ์ นั้นพอเขากำกับหนังไปสัก 2-3 เรื่องมันได้รับผลตอบรับที่ดี คนก็อยากกลับมาใช้ใหม่ รวมไปจนถึงคุณเปา ธนพงษ์ ทรัพย์เหลือหลาย
Growth เมื่อมามองทางด้านอัตราการเติบโตของฟิล์มแฟคฯนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์กลับไม่ได้เร่งรีบเท่าไหร่นัก ตอนนี้บริษัทก็มีอยู่ 40 คน แล้วก็มีเท่านี้มาหลายปีแล้ว ผมไม่คิดว่าจะทำให้มันใหญ่ไปกว่านี้แล้ว ผมไม่เคยเลย์ออฟพนักงานและก็จ้างพนักงานเพิ่มเฉลี่ยไปกว่านี้...ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมันก็มีผลกระทบบ้าง แต่ก็ไม่มากเช่นในปีแรกที่วิกฤต ก็อาจจะประหยัดกันหน่อย ไม่มีโบนัสหรือขึ้นเงินเดือน ก็แค่ปีเดียวเอง เรื่องอัตราการเติบโตของธุรกิจนั้น ไม่มีใครเถียงว่าไม่ชอบเงิน เปรียบเหมือนคนต้องกินข้าว ถ้าคุณหิวข้าวมาคุณอย่ากินเร็วคุณค่อยๆ กินอย่างประณีต แต่คุณจะกินได้นาน คุณกินเร็วเดี๋ยวคุณก็จุก คุณกินต่อไม่ได้แล้ว ... เราไปเรื่อยๆ ในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วมันจะเกิดการพัฒนา งานออกมาดี อย่างไรก็กินไม่หมด... คำจำกัดความของฟิล์มแฟคฯถ้าเป็นคนก็คือคนที่อยากทำงาน อยากทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจ อยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วก็สนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ บางครั้งคุณเลือก Storyboard ไม่ได้เป็น Bread & Butter เราก็ต้องทำแต่เราก็ควรจะต้องมันส์กับลูกค้าด้วย ลูกค้าถึงจะได้อรรถรสที่คุณมาใช้บริการผมอย่างดีที่สุดสมกับค่าบริการ แต่ผมก็ต้องสร้างอารมณ์ของผมให้ตอบสนองลูกค้าที่เขาจ่ายสตางค์ เรารับงานต่างประเทศบ้างแต่ไม่มากเพราะว่าเราไม่ได้มีคอนเน็กชั่น เราไม่ได้ดิ้นรนมากเพราะว่ามันเหนื่อยแล้วไม่มีความสุข มันเครียดนะผมว่า จะอยู่ไปอีกซักกี่ปี เอาสบายๆ ดีกว่า เครียดกับการคิดงานแล้วยังต้องมานั่งเครียดกับตัวเลขอีก ผมก็ไม่ไหวล่ะ ตอนนี้ Film Factory มีผู้กำกับอยู่ 4 คน แต่ชอบไปถ่ายหนังไทย เรารับทำให้กับไฟว์สตาร์บ้าง เราเป็นผู้ถูกว่าจ้างแต่ไม่ได้เป็นคนลงทุนเพราะมันไม่ได้ทำกำไรอะไรให้เท่าไหร่ เป็นส่วนหนึ่งในการปลดปล่อยและสร้างสรรค์งานของ ผู้กำกับเรามากกว่า หมุนวนกันอยู่ 4 คน อีก 2 คนเขาก็ไปสร้างบ้านใหม่กันเพิ่มเติม คือ Good Boy เพราะบ้านหลังนี้มันถูกตกแต่งมาเรียบร้อยหมดแล้วเฟอร์นิเจอร์เต็มไปหมด ยากที่เขาจะตบแต่งมันเพิ่มเติม ทางเดียวก็คือสร้างบ้านใหม่และตบแต่งบ้านและดูซิว่าลูกค้าจะมาบ้านเขาไหม ซึ่งก็ประสบความสำเร็จที่ดี แค่ 2-3 เดือนกว่ามานี่เอง และนี่คือเส้นทางของ The Film Factory ในช่วงที่อุตสาหกรรม Production House ในบ้านเราที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่โตขึ้น....
Individual Style Production House The Film Factory จัดเป็น Production House ที่ยืนระยะมากว่า 15 ปี แต่มีการเติบโตแบบพิเศษเฉพาะตัว ...ผู้กำกับซึ่งเปรียบเสมือน Product ของ Production House แห่งนี้จะมี Individual Style ของตัวเองที่แข็งแกร่งมาก แข็งแกร่งกว่า Brand Film Factory เองเสียอีก คอลัมน์ Ad & Pr. Inc. ในฉบับนี้จึงเข้าไปพูดคุยกับคุณพงศ์ไพบูลย์ สิทธิคู หรือที่ในวงการเรียกกันว่า พี่หนัง ผู้ก่อตั้ง Production House แห่งนี้ขึ้นมาพร้อมกับทิศทางทางด้านธุรกิจ Production House ที่จะเป็นไปในอนาคต...
Film Factory ก่อนที่จะมาเป็นบริษัท Film Factory นั้น คุณพงศ์ไพบูลย์ จัดได้ว่าเป็น ครีเอทีฟคนแรกๆ ในวงการที่กระโดดมาเป็นผู้กำกับหนังโฆษณา ด้วยการเริ่มเป็นครีเอทีฟในเอเยนซี แคนยอน ต่อมาก็มาเป็นครีเอทีฟที่ เจ.วอลเตอร์ ธอมสัน ก่อนที่จะจับพลัดจับผลูมาเป็นผู้กำกับนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์กล่าวว่า ในยุคหนึ่งเมื่อสมัยที่ผมเป็นครีเอทีฟ การทำหนังหรือถ่ายหนังโปรโมชั่นแถมของซึ่งเป็นหนังที่มีงบประมาณน้อย คือใช้กันแค่ 3-4 เดือนแล้วก็ทิ้ง ไม่ได้มีงบประมาณเยอะ ก็จะถ่ายด้วยวิดีโอกัน สมัยนั้นมันมี VPC ก็เป็นแค่ Post Production House อยู่ และเราก็ใช้สำหรับถ่ายพวกวิดีโอ โปรดักชั่นทั้งหลาย... ผมด้วยความที่ ไม่ได้คิดอะไรคิดเพียงว่า หนังเล็กๆ แบบนี้เราไม่อยากให้เขากำกับ ผมก็กำกับเอง และพอดีคุณแดง (ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง ฟิล์มแฟคฯ) ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่เจฯ ก็เป็นตากล้องมาก่อน รู้เรื่องถ่ายหนังรู้จักเรื่องไลท์ติ้ง ส่วนผมมากำกับแล้วกัน ก็กำกับงานตัวเองนั่นแหละ ทำแล้วก็สนุกดีไม่ได้มีอะไรยากเย็น แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมากคือ เราก็ได้อย่างใจที่เราต้องการ แล้วตอนนั้นโปรดักชั่นของหนังโปรโมชั่นมันก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ในช่วงนั้น แล้วก็พอดีผมมาทำแคมเปญลักส์ จะ Relaunce แคมเปญใหญ่จะใช้ดารา 3 คนมาประกบกัน มีคุณจินตรา คุณใหม่ คุณจารุณี เราก็มองหาผู้กำกับอะไรที่มันฉีกแหวกแนวไปจากเดิมๆ เผอิญได้ไปเห็นหนังสือ 4A ของฮ่องกงที่ลงผลงานของผู้กำกับโฆษณาเห็นงานหลายชิ้นของผู้กำกับ Louis Ng (หลุยส์ อึง) แห่งบริษัท Film Factory ที่ฮ่องกงก็จ้างเขามากำกับและก็เริ่มสนิทกัน พอเขามากำกับหนังเรื่องที่ 2 ก็เริ่มสนิทมากขึ้นแล้วก็ให้เขาวิจารณ์หนังที่เรากำกับ เวลาทำหนังโปรโมชั่นเรื่องต่อไปเราจะได้แก้ไข...เขาเอากลับไปดูที่ฮ่องกงก็บอกว่าคุณทำได้เลยนะคุณมีเซนส์ของผู้กำกับ น่าจะเปิดบริษัททำโปรดักชั่นเฮ้าส์ นั่นคือการเริ่มต้นธุรกิจ ก็เลยมาเปิดเป็น Film Factory ประเทศไทย ในยุคนั้นจะมี Production House ดังๆ อยู่หลายเจ้าไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่คือ สยามสตูดิโอ, P&C, AV Craft, Gray Scale โดย Film Factory ก็เริ่มดำเนินงานซึ่งในช่วงแรกๆ ที่เปิดนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์ เล่าว่า ผมไม่ใช่นักธุรกิจ ช่วงแรกที่เปิดจะถ่าย Pack Shot ก็ต้องเอากระโจมมากางเต็นท์ เพราะไม่มีโรงถ่าย ร้อนก็ร้อน แอร์ก็ไม่มี มุดกันอยู่ในนั้น ไฟถ่ายหนังก็ร้อน มีพนักงานอยู่ 7 คน เริ่มแรกๆ ก็ไปสิงสถิตอยู่ที่แมคโดนัลด์ อัมรินทร์ พลาซ่า นั่งแล้วก็โทรศัพท์ติดต่อเอเยนซีและคนที่รู้จักแล้วก็เริ่มของานเขามาทำ ก็โชคดีที่มีคนที่รู้จักกันเก่าๆ โยนงานมาให้ทำ เช่น บางกอกโพสต์เรื่องแรกก่อนชุดภุชงค์ ฟิล์มสีฟูจิ ชุดเด็กนักเรียนจะลาจากกันแล้วมาถ่ายรูปที่ระลึก งานพอออกไป 2-3 เรื่องแรกแล้วมีคนถามถึงติดกัน 3 เรื่องมันก็เริ่มติดตลาด คนก็เริ่มหา ช่วงปีแรกๆเราก็ทำเต็มที่เรียกศรัทธาก่อน ไม่ค่อยได้กำไรหรอก ช่วงสร้างชื่อเราก็ยอมที่จะทำให้ ปีแรกๆก็ค่อนข้างเหนื่อย Frameอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Film Factory เติบโตมาได้อย่างมั่นคงก็อาจเป็นเพราะวิธีคิดงาน เพราะเริ่มต้นกันมาจากสายครีเอทีฟโฆษณา ... สมัยก่อนมันยังไม่มีการตีโจทย์ สมัยผมเป็นครีเอทีฟไปหาโปรดักชั่นเฮ้าส์ในยุคนั้น ยกเว้นสยามสตูดิโอที่คุณคฑา สุทัศน์ ณ อยุธยา แกช่วยคิดซึ่งเป็นที่เดียว แต่เฮ้าส์ อื่นๆ คุณต้องไปแบบมีเฟรมซึ่งต้องแม่นมากๆ เพราะเขาจะถ่ายตามเฟรมเลย Storyboard นี่คือ Blue Print เลยนะ เขาแปะ Storyboard คุณข้างฝาเลย ถ่ายเฟรมนี้เสร็จก็ขีดกาเลย...เพราะฉะนั้นมันถึงได้ว่าเฮ้าส์สมัยก่อนจึงเหมือนกับว่ามีราคาประมูล เพราะเขาตีราคาเหมือนว่าต้องใช้เสาเข็มกี่ต้นต้องใช้ปูนกี่ถุง เพราะทุกเฮ้าส์จะตีราคาตาม Storyboard หมดเลย ลูกค้าก็จะเลือกเอาเจ้าไหนถูกกว่ากัน ไม่มีการเอาบอร์ดมาตีโจทย์เพื่อทำเรื่องให้มันดีขึ้น มันจะไม่มีขั้นตอนแบบนั้น พอมาเป็นผมซึ่งว่าไปแล้ว Film Factory เป็นเจ้าแรกๆ เลยที่นำ Shooting Board มาให้กับลูกค้า ซึ่งแต่ก่อนจะงงกันมากเลยเพราะเขาไม่เคยเห็นกันสำหรับ Shooting Board จากโปรดักชั่นเฮ้าส์ ซึ่งสิ่งนี้ผมคิดว่าการที่เป็นผู้กำกับ และก็ได้มาจากสายครีเอทีฟมันก็ทำให้รู้จักวิธีคิดพื้นฐานแบบโฆษณา...แต่อย่างไรก็ตามครีเอทีฟเจ้าของความคิดงานก็ยังต้องเป็นผู้ควบคุม Concept แต่ผู้กำกับ ยังไงก็ยังเป็นแค่คนทำ Execution ตราบใดที่เรายังไม่ได้แตกคอนเซ็ปต์ของครีเอทีฟที่เขาวางไว้ ... แต่ถ้าคอนเซ็ปต์แน่น คอนเซ็ปต์ดี ถึงแม้เนื้อเรื่องมาไม่ค่อยดีไม่สนุก มันก็สามารถทำให้สนุกได้ง่ายเพราะมันมีโจทย์และวัตถุประสงค์ที่พูดชัดเจน แต่คอนเซ็ปต์มาหลวมมันอาจจะคิดยากแล้ว... การกำกับหนังมันก็ไม่ยากหรอก ผมไม่ได้เรียน Film School มา เรียนแต่กราฟิกดีไซน์ และผู้กำกับที่นี่ส่วนมากก็ไม่เคยเรียน Film School ตอนแรกอาจดูยากมีหลายแผนกวุ่นวายแต่พอลงมาทำจริงๆ มันไม่ยาก มันยากอยู่ที่คิด ตอนคิดน่ะยาก คิดอย่างไรให้หนังมัน Out Standing นั่นอันดับหนึ่งของการคิดความคิดสร้างสรรค์ ทีนี้พอเราเป็นครีเอทีฟของเอเยนซีมาก่อนมันทำให้ได้เปรียบตรงนี้เพราะเรารู้วิธีคิด...วิธีคิดแบบคนโฆษณาเขาคิด... การที่ผมได้รู้จักกับคุณ Louis ทำให้เราได้ทัศนคติอย่างหนึ่งก็คือเราไม่ได้คิดว่าบิลลิ่งเราจะเป็นเท่าไหร่ ผู้กำกับแต่ละคนเราจะพูดเสมอ คนเราถ้าจะทำอะไรมันต้องสนุกเมื่อสนุกงานก็จะออกมาดี แล้วคุณทำไปซักพักหนึ่งคุณก็จะถูกจัดอยู่ใน แคทิกอรีประเภทหนึ่ง เช่นหนังสบู่ หนังแชมพู ก็อาจจะรวยเร็วแต่ถ้าคุณไม่ได้ชอบมันมันก็จะได้อยู่แค่ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ผิดนะ บางคนอาจจะชอบกำกับหนังแชมพู ทำแล้วออกมาได้ดี ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบ ซึ่งผมก็ทำไม่ได้อย่างเขาเพราะผมไม่ได้ชอบ ...เพราะฉะนั้นระบบที่นี่จะไม่มีการโยนงานให้ ผู้กำกับคนนี้ไม่ว่างเอาคนอื่นไหม ที่นี่จะไม่มี ผู้กำกับแต่ละคนก็จะมีความสามารถความถนัดไม่เหมือนกันIndividual ผู้กำกับแต่ละท่านใน Film Factory ล้วนแล้วแต่สร้างชื่อจนแข็งแกร่งกลายเป็น Individual Style ที่แข็งแกร่งในวงการและของแต่ละคนไปแล้ว เริ่มจากคุณหนัง พงศ์ไพบูลย์เองก็จะเก่งในเรื่องหนัง Emotional คุณวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ก็จะเก่งในหนังแนวเหมือนกับหนังใหญ่เรื่อง ฟ้าทะลายโจร หรือแนวสุกี้เอ็มเคก็ทำได้ ส่วนคุณต้อม เป็นเอก รัตนเรือง (ผู้กำกับหนังใหญ่เรื่องตลก 69) ก็จะเป็นแนวโมเดิร์นหน่อย คุณไมเคิล วอร์ ก็จะมีสไตล์ของตัวเองมายาวนานในวงการโฆษณาไทย และยังมีอีก 2 ท่านที่แยกออกไปสร้าง Individual Style ของตัวเองที่บริษัทใหม่ คือคุณป๋อง มงคล นิรันดร์พงศ์ และคุณเปา ธนพงษ์ ทรัพย์เหลือหลาย Individual Style Production House คือทุกคนมีสไตล์ของตัวเอง มีรูปโฉมที่ชัดเจนใน Film Factory เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็รับผิดชอบในคุณภาพของงานของตัวเองเพราะรักแล้วก็จะทำมันออกมาได้อย่างดีที่สุดอยู่แล้ว โปรดิวเซอร์มีสิทธิ์เอางานมาให้ผู้กำกับคนนั้นดูแต่โปรดิวเซอร์ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปบังคับให้ผู้กำกับคนนั้นทำงานได้ ถ้า ผู้กำกับคนนั้นบอกว่างานนั้นไม่ใช่ทิศทางของเขา ที่นี่ลูกค้ามาก็จะตรงไปหาผู้กำกับนั้นๆ เลย ไม่ได้มาหาเซ็นเตอร์แล้วแจกงาน เรียกว่าถ้าเอาชื่อ Film Factory ออกก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย..เป็นเพราะ Film Factory แข็งขึ้นมาด้วย Individual Brand ของผู้กำกับเองในแต่ละคน พอมีใครเข้ามาเสริมในรั้วชายคานี้มันก็ต้องมาจาก Individual Brand ของตัวเองซึ่งแข็งมากๆ ดังนั้นถ้าจะเกิดก็ต้องไปสร้าง Individual Brand ของตัวเองมาก่อนซึ่งเขามีโอกาสมากกว่าจะสร้างที่ Film Factory คือผู้กำกับถ้าเขาเก่งจริงได้รับการทำงานซัก 2-3 เรื่องเดี๋ยวมันก็ไหลมาแล้ว...เอเยนซีเขาเดินมาหาเราเพราะเขาอยากใช้เรามากกว่า...ผู้กำกับต้องสร้างตัวเองเพื่อให้เอเยนซีอยากมาใช้คุณ ถามว่ามันลำบากสำหรับผู้กำกับใหม่ในการให้เอเยนซีลองของใหม่ ... ไม่ลำบากผมพูดเสมอ เหมือนคุณเล่นปาเป้าเขาให้ลูกดอกคุณ 3 ดอก หมดแล้วหมดกัน ใน 3 ดอกนี่คุณต้องเข้าเป้าสักดอกหนึ่ง ใน 3 เรื่องต้องเห็นผลเพราะถ้าไม่เห็นผลมันจะมีผู้กำกับระดับเดียวกับคุณอีกเป็นร้อยเลยนะในตลาดตอนนี้เพราะฉะนั้นคุณต้องทำให้เห็นผลใน 3 ดอก คุณแน่จริง 3 เรื่องนี่ต้องเห็นผลได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยความแข็งแรงของ Individual Style ที่ลูกค้าเลือกเป็นการเฉพาะเจาะจงทำให้ผู้กำกับใหม่ไฟแรงภายใต้ชายคาของ Film Factory จึงมีโอกาสน้อยที่จะได้พิสูจน์ฝีมือ Change จากความแข็งแรงของ Individual Style ของผู้กำกับ ประกอบกับการมองธุรกิจตามปรัชญาและการทำงานของคุณพงศ์ไพบูลย์จึงได้เกิดบริษัทอีกบริษัทแยกขาดออกไปต่างหากนั่นก็คือ Good Boy ซึ่งคุณพงศ์ไพบูลย์ให้เหตุผลว่า อันดับแรกผมคิดว่า เราใหญ่เกินไปหรือเปล่า 40 คนในความคิดผมถือว่าอืดอาดแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าอายุขัยของการทำอะไรสักอย่าง ความเชื่องช้าความอุ้ยอ้ายของบริษัทที่ใหญ่ขึ้นแล้วมันมีตัวอย่างให้เห็นให้ดูแล้วว่าพอบริษัทยิ่งใหญ่ขึ้นปั๊บ การตัดสินใจมาจากคนๆ เดียว ยังไม่มีคนไหนที่มารับการตัดสินใจปลีกย่อยได้ มันก็จะทำให้บริษัทเชื่องช้า แทนที่จะกระจายให้แต่ละฝ่ายได้ตัดสินใจ ผิดก็เป็นครู ไป แทนที่จะมารอฟังคำตอบและการตัดสินใจจากคนๆเดียวซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ ผมก็ว่ามันก็เริ่มมีปัญหา .. อันดับต่อมาการขยายธุรกิจหรือการจะทำอะไร ผมไม่ได้มองในแง่ของการไปจับตลาดล่าง Good Boy นี่ก็ไม่ใช่บริษัทลูก เพราะผมคิดว่ามันถึงเวลาที่แต่ละฝ่ายออกไปทำการตัดสินใจกันเอง ผมก็เริ่มเข้าสู่วงจรเหมือนเฮ้าส์สมัยก่อนแล้ว ผมเริ่มกลายเป็นปูชนียบุคคลแล้ว เด็กๆ ก็เริ่มจะไม่ค่อยมาคุยกับผมเท่าไหร่ เจเนอเรชั่นแก๊ปมันก็มากขึ้น เขามีความเกรงอกเกรงใจผมมากขึ้น ถ้าเราไม่รู้จักการปรับตัวเดี๋ยวมันไม่ทัน ผมไม่ทราบว่าเฮ้าส์อื่นเขาคิดอย่างไรในการที่เขามีบริษัทลูก แต่ผมคิดอีกแบบว่าการทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีการปรับตัว...แต่ไม่ใช่บริษัทลูกหรือบริษัทในเครือ รากอาจจะมาจากฟิล์มแฟคฯแต่การตัดสินใจต่างๆเขาทำเอง 100% มีสิทธิ์ขาด เหมือนการแบ่งตัวออกมาแต่ไม่ใช่การขยายตัวภายใต้ร่มธงฟิล์มแฟคฯ ...เพราะฟิล์มแฟคฯไม่ได้เข้าไปถือหุ้นไม่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทใน Good Boy ถ้าจะเข้าไปถือก็เป็นส่วนตัวส่วนบุคคลไป Good Boy เขาก็ Run งานของเขาไป ประเด็นต่อมาคือผู้กำกับ ผมมีผู้กำกับอยู่ส่วนหนึ่ง ผมเกรงว่าถ้าอยู่ Film Factory และถ้าเผื่อเราไปอีกซักระยะหนึ่งนั้น การได้งานสมัยนี้มันไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ผมเพิ่งมาเปิดใหม่ๆ เพราะสมัยนั้นการลองผิดลองถูกมันยังไม่เท่าไหร่ ผู้กำกับสมัยนั้นมันก็ยังน้อยด้วย ทางเลือกใหม่ๆ ก็ยังน้อย อยากจะลองคนนั้นคนนี้ทำได้ง่ายกว่า แต่ตอนนี้ ผู้กำกับเกิดใหม่มันเยอะมาก อัตราการที่เขาจะเข้ามาหาผู้กำกับใหม่ๆ นั้นมันไม่มีใครกล้าเสี่ยง...ผมลองมาวิเคราะห์ว่าหรือชื่อ ฟิล์มแฟคฯ จะค้ำคอ ผู้กำกับใหม่หรือเปล่า เพราะผู้กำกับหลักๆ ของที่นี่ เป็น Individual Style ที่แข็งมากๆ คนลูกค้าเดิน เข้ามา ฟิล์มแฟคฯ เนี่ยเขาบอกได้ทันทีเลยว่า จะเลือกใคร ถ้าลูกค้าเกิดมาเจาะจงผม เกิดผมไม่มีคิวนั้น ขนาดเป็นคุณต้อม เป็นเอก หรือคุณวิศิษฏ์ เอง เขายังไม่เอาเลยนะ เขาไปเลย ประสาอะไรกับถ้าผมจะไปบอกว่าผมมีผู้กำกับใหม่ของผมว่าง ลูกค้าเขาจะมาสนใจ แล้วเราก็เลยคิดอีกไอเดียว่าลองดูถ้าเป็นคนเดิมแต่เปลี่ยนยี่ห้อล่ะมันจะช่วยไหม...เพราะผู้กำกับใหม่ๆ ไฟแรงถ้าขาดงานไปนานๆ มันจะเฉาเอาได้ แล้วเขาก็ได้งานกันจริงๆขนาดยังไม่ได้เปิดตัว Good Boy เป็นกิจจะลักษณะก็มีงานเข้ามาเยอะพอสมควรเลย ผมก็แปลกใจเหมือนกันผู้กำกับคนเดียวกันหน้าตานี้เลยพอเปลี่ยนยี่ห้อก็มีงานเข้าเลย อาจจะเป็นเพราะ Film Factory มันไปผูกกับ Individual ของผม Individual ของวิศิษฏ์ และ Individual ของเป็นเอก ไปหมดแล้ว แข็งเสียจนถ้าเป็นคนอื่นเขาไม่รับเลย พอออกมาเป็น Good Boy ลูกค้าเริ่มกล้ามาลองใช้ก่อนเพราะว่าพอมาฟิล์มแฟคฯนั้น อิมเมจของฟิล์มแฟคฯเห็นเขาว่ากันว่าแพง ผมก็ไม่ทราบว่าที่อื่นโค้ดราคากันเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่าเขาว่ากันว่าแพง พอมันแพงลูกค้าก็เลยไม่คิดที่จะใช้ผู้กำกับใหม่ จะใช้แต่ Individual ที่แข็งแกร่งและมีชื่อ แต่พอมาเป็น Good Boy เขาไม่มีอิมเมจแพงไง เขาโค้ดราคาตามภาวะธุรกิจและการแข่งขันของเขาและอยู่ในช่วงแรกของการสร้างชื่อ ลูกค้าก็เลยกล้ามาลอง อย่างคุณป๋อง มงคล นิรันดร์พงศ์ นั้นพอเขากำกับหนังไปสัก 2-3 เรื่องมันได้รับผลตอบรับที่ดี คนก็อยากกลับมาใช้ใหม่ รวมไปจนถึงคุณเปา ธนพงษ์ ทรัพย์เหลือหลาย
Growth เมื่อมามองทางด้านอัตราการเติบโตของฟิล์มแฟคฯนั้นคุณพงศ์ไพบูลย์กลับไม่ได้เร่งรีบเท่าไหร่นัก ตอนนี้บริษัทก็มีอยู่ 40 คน แล้วก็มีเท่านี้มาหลายปีแล้ว ผมไม่คิดว่าจะทำให้มันใหญ่ไปกว่านี้แล้ว ผมไม่เคยเลย์ออฟพนักงานและก็จ้างพนักงานเพิ่มเฉลี่ยไปกว่านี้...ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมันก็มีผลกระทบบ้าง แต่ก็ไม่มากเช่นในปีแรกที่วิกฤต ก็อาจจะประหยัดกันหน่อย ไม่มีโบนัสหรือขึ้นเงินเดือน ก็แค่ปีเดียวเอง เรื่องอัตราการเติบโตของธุรกิจนั้น ไม่มีใครเถียงว่าไม่ชอบเงิน เปรียบเหมือนคนต้องกินข้าว ถ้าคุณหิวข้าวมาคุณอย่ากินเร็วคุณค่อยๆ กินอย่างประณีต แต่คุณจะกินได้นาน คุณกินเร็วเดี๋ยวคุณก็จุก คุณกินต่อไม่ได้แล้ว ... เราไปเรื่อยๆ ในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วมันจะเกิดการพัฒนา งานออกมาดี อย่างไรก็กินไม่หมด... คำจำกัดความของฟิล์มแฟคฯถ้าเป็นคนก็คือคนที่อยากทำงาน อยากทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจ อยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วก็สนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ บางครั้งคุณเลือก Storyboard ไม่ได้เป็น Bread & Butter เราก็ต้องทำแต่เราก็ควรจะต้องมันส์กับลูกค้าด้วย ลูกค้าถึงจะได้อรรถรสที่คุณมาใช้บริการผมอย่างดีที่สุดสมกับค่าบริการ แต่ผมก็ต้องสร้างอารมณ์ของผมให้ตอบสนองลูกค้าที่เขาจ่ายสตางค์ เรารับงานต่างประเทศบ้างแต่ไม่มากเพราะว่าเราไม่ได้มีคอนเน็กชั่น เราไม่ได้ดิ้นรนมากเพราะว่ามันเหนื่อยแล้วไม่มีความสุข มันเครียดนะผมว่า จะอยู่ไปอีกซักกี่ปี เอาสบายๆ ดีกว่า เครียดกับการคิดงานแล้วยังต้องมานั่งเครียดกับตัวเลขอีก ผมก็ไม่ไหวล่ะ ตอนนี้ Film Factory มีผู้กำกับอยู่ 4 คน แต่ชอบไปถ่ายหนังไทย เรารับทำให้กับไฟว์สตาร์บ้าง เราเป็นผู้ถูกว่าจ้างแต่ไม่ได้เป็นคนลงทุนเพราะมันไม่ได้ทำกำไรอะไรให้เท่าไหร่ เป็นส่วนหนึ่งในการปลดปล่อยและสร้างสรรค์งานของ ผู้กำกับเรามากกว่า หมุนวนกันอยู่ 4 คน อีก 2 คนเขาก็ไปสร้างบ้านใหม่กันเพิ่มเติม คือ Good Boy เพราะบ้านหลังนี้มันถูกตกแต่งมาเรียบร้อยหมดแล้วเฟอร์นิเจอร์เต็มไปหมด ยากที่เขาจะตบแต่งมันเพิ่มเติม ทางเดียวก็คือสร้างบ้านใหม่และตบแต่งบ้านและดูซิว่าลูกค้าจะมาบ้านเขาไหม ซึ่งก็ประสบความสำเร็จที่ดี แค่ 2-3 เดือนกว่ามานี่เอง และนี่คือเส้นทางของ The Film Factory ในช่วงที่อุตสาหกรรม Production House ในบ้านเราที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่โตขึ้น....
Labels:
News : Production House 2007