Monday, 13 August 2007

ต้องเป็นที่หนึ่ง ให้ได้ <บัณฑิต อึ้งรังษี>

ต้องเป็นที่หนึ่ง ให้ได้ <บัณฑิต อึ้งรังษี>

ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ (Conduct Your Dreams)
บัณฑิต อึ้งรังษี วาทยากรไทยชื่อก้องโลกคนแรกของไทยคนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคา 2513 ปัจจุบันอายุ 34 ปี เป็นชาวอำเภอหาดใหญ่โดยกำเนิด บัณฑิตเริ่มก้าวเข้าสู่แวดวงดนตรีครั้งแรกเมื่อสมัยที่ยังเป็นนักเรียน ด้วยอายุเพียง 13 ปี โดยการเล่นกีตาร์คลาสสิก ระหว่างที่เรียนอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ, อัสสัมชัญพานิชย์ และตามด้วยการเรียนต่อที่เอแบค (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) จนอายุได้ 18 ปี บัณฑิตได้ไปชมการแสดงคอนเสิร์ต New York Philharmonic Orchestra (ปี พ.ศ.2531) โดยสุบิน เมห์ธา วาทยกรชาวอินเดียที่มาเปิดการแสดงในกรุงเทพฯ "สุบิน เมธา" หรือบางคนก็เรียกว่า "สุบิน เมตตา" เชื้อสายอินเดีย สัญชาติอเมริกัน มีกิจวัตร ที่ต้องทำให้ท่าน เดินทางมาเมืองไทยทุกปี คือ "กินข้าวเหนียวมะม่วง" มีอยู่ปีหนึ่ง ซึ่งพิเศษสุดสักยี่สิบปีก่อน คุณสุบินมาเป็นวาทยกรให้กับวงนิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิค ออเคสตรา ในกรุงเทพฯ เพื่อนของผมคนหนึ่งซึ่งยังเป็นเด็กมัธยมปลาย อยากฟังมากแต่ไม่มีเงินซื้อบัตร เลยไปยืนอยู่หน้าหอประชุมที่เปิดการแสดง รอจนพักครึ่ง จะมีแขกรับเชิญส่วนหนึ่งกลับบ้าน เพราะฟังเพลงไม่เป็น เพื่อนผมก็จะไปขอบัตรจากคนพวกนี้ แล้วก็เข้าไปฟัง อ้างอิงจาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004sep16p3.htm ….นับตั้งแต่วินาทีนั้นที่วงออเคสตราเริ่มบรรเลงเพลง เปรียบเสมือนจุดประกายให้บัณฑิตก็ค้นพบตัวเองและตัดสินใจโดยทันทีว่าเขาต้องการที่จะเป็นวาทยกรผู้อำนวยเพลงระดับโลกให้ได้!!“วาทยกร” หรือ Conductor คือ คนที่ตีความหมายของบทเพลง ซึ่งจะเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี เพราะนักดนตรีนั้นจะเห็นเฉพาะตำแหน่งของตัวเอง ดังนั้นวาทยกรจึงมีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกร เป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรีพร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรีได้ด้วย เสมือนผู้กำกับภาพยนตร์ หากผู้กำกับฯไม่เก่ง ผลงานที่ออกมาก็คงไม่ดี เช่นเดียวกันกับวาทยกร ถ้าไม่สามารถควบคุมวงดนตรีได้ งานนั้นก็ล่มบันได 39 ขั้นสู่ความสำเร็จ ยกตัวอย่างไม่เรียงลำดับเช่นข้อ 1 ฝันให้ใหญ่...ใหญ่สุดๆ (Imagination is power)คุณบัณฑิตบอกว่า "ผมบอกได้เลยว่า ชีวิตที่เดินอย่างเชื่อมั่นและมีเป้าหมายนั้น เป็นชีวิตที่ """มันส์""" มาก" ถ้าได้อ่านประวัติของคุณบัณฑิต จะทราบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่ชาวเอเชียผิวเหลือง ผมดำ จะยืนท่ามกลางฝรั่งตาน้ำข้าว หรือเป็นผู้นำวงดนตรีที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ถ้าเขาไม่มีความสามารถโดดเด่นในเรื่องงานและไม่เก่งเรื่องคน "เหมือนยิงปืนนัดเดียว จะต้องโดน มีคนยืนต่อแถวผมอีกเยอะ" "ถ้าผมเก่งเท่ากับคนในประเทศของเขาแล้วเขาจะเลือกผมได้อย่างไร"ข้อ 2 มนุษย์จะพัฒนาการไปตามอย่างที่ตนคิด (As a man thinks, he is) "บัณฑิต" ยกตัวอย่างการวิ่ง 1 ไมล์ สมัยก่อนไม่มีมนุษย์คนใดวิ่ง 1 ไมล์ได้ต่ำกว่า 4 นาที และแล้ววันที่ 6 พฤษภาคม 2507 "โรเจอร์ แบนนิสเตอร์" นักวิ่งชาวอังกฤษก็สามารถวิ่ง 1 ไมล์ได้ในเวลาเพียง 3 นาที 59 วินาทีนิตยสารฟอร์บส์ ประกาศเลยว่านี่คือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์กีฬาโลก แต่จากนั้นไม่กี่สัปดาห์ก็มีคนทำสถิติแบบเดียวกับ "แบนนิสเตอร์" ได้ ถามว่าทำไมที่ผ่านมาถึงไม่มีคนทำได้คำตอบก็คือเพราะ "ความคิด" ของคนเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิมที่เคยเชื่อว่าด้วยข้อจำกัดทางร่างกายของมนุษย์ "เราทำไม่ได้" เปลี่ยนมาเป็น "เราทำได้" เพราะมีคนเคยทำได้แล้ว เราจึงเชื่อว่าเราทำได้ข้อ 3 ใช้หัวใจเลือกอนาคต (Do what you love, and the money will follow) "ถ้าคุณเลือกทางสายอาชีพที่คุณไม่ได้ชอบ คุณจะต้องทนทรมานอยู่กับมัน 8 หมื่นชั่วโมงชั่วระยะเวลาของชีวิตการทำงาน ในขณะที่ถ้าคุณทำสิ่งที่ตนรักในชีวิตนี้คุณไม่เรียกว่าต้องทำงานเลย และไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนที่ทำในสิ่งที่ตนรักจะประสบความสำเร็จกว่าคนที่ทำสิ่งที่ตนไม่ชอบ การทำในสิ่งที่ตนรักทำให้ศักยภาพในตัวของคุณได้มีโอกาสแสดงออกเต็มที่" ข้อ 4 เรียนรู้อย่างรวดเร็ว เพื่อเอาชนะ (Super-learning) โดยการศึกษาชีวิต ของบุคคลผู้ที่เรายกขึ้นมาเป็นโมเดล เรียนรู้สิ่งที่จะทำอย่างละเอียด มีความตั้งใจอย่างแท้จริงการหางานโดยใช้ resume อย่างเดียวนั้น เป็นเรื่องที่เสียเวลาและไม่มีประสิทธิผล งานที่ดีๆ ที่เป็นที่ต้องการมากๆ ส่วนใหญ่เขาจะไม่จ้างจาก resume นายจ้างจะเลือกจากคนที่รู้จัก โดยการถามจากคนที่เชื่อใจ หรือให้บริษัท Headhunter หาให้ท่ามกลาง Resume เป็นร้อยๆ พันๆ ใบ สิ่งที่นายจ้างพยายามจะทำก็คือ คัดมันออก ไม่ใช่ คัดมันเข้า"งานที่ดีมักจะมาจากการที่คนเรา รู้จัก อาจจะเป็นเจ้านายหรือมีคนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า และเห็นผลงานของเรา ดังนั้น ประเด็นจึงมีอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้ผลงานของเราเป็นที่รู้จัก ให้เขาเห็นผลงานเรามากขึ้น นี่เป็นเรื่องของสายสัมพันธ์ เครือข่าย ความไว้เนื้อเชื่อใจ การแนะนำบอกต่อกันมา ไม่ใช่เรื่องของกระดาษแผ่นเดียว"ข้อ 5 วางแผนเป็นเรื่องง่ายๆ (Planing) โดยการคิดและเขียนแผนที่สามารถทำได้จริง อย่างเป็นรูปธรรมไม่ใช่ฝันเลื่อนลอยข้อ 6 ฝึกซ้อมในใจ (Do within when you are without) "บัณฑิต" ยกตัวอย่างนักเปียโนจีนคนหนึ่งที่ติดคุกสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม ไม่มีเปียโนให้ฝึก เขากลัวฝีมือตกจึงฝึกซ้อมในคุกโดยใช้การวาดรูปคีย์บอร์ดบนไม้กระดาน เชื่อไหมครับว่าหลังออกจากคุก ฝีมือของนักเปียโนคนนี้ไม่ตกลงเลย "บัณฑิต" ใช้วิธีการนี้ในการฝึกฝนการควบคุมวง เพราะการเป็น "คอนดักเตอร์" นั้น การฝึกคุมวงด้วยไม้บาตองนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องเรียนโดยมีวงจริงมาให้ฝึกฝน แต่ค่าจ้างวงแพงมาก ทางมหาวิทยาลัยจึงจ้างมาแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์"บัณฑิต" บอกว่ามีวิธีการเดียวที่เขาจะเก่งกว่าเพื่อน ก็คือ ต้อง "ฝึกซ้อมในใจ" เวลาว่างระหว่างรอรถ เข้าแถว เขาก็จะฝึกในใจจินตนาการว่ามีวงอยู่ข้างหน้า จากนั้นก็เริ่มฝึกตามที่อยากจะฝึกใช้ "จินตนาการ" ในการฝึกซ้อมและพร้อมกันนั้นใช้หลักการของนโปเลียนที่จะคิดในใจถึงปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมด และหาทางแก้ก่อนที่จะเกิดขึ้นข้อ 7 รอให้เรียนจบก็สายแล้ว (Always think step ahead)ข้อ 8 อุปสรรคและความผิดหวัง (Overcoming obstacles)ความผิดหวัง การถูกปฏิเสธเป็นเรื่องธรรมดา มีเหตุผลเนื่องจากความต้องการที่ไม่ตรงกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นอย่าเลิกล้มง่ายๆอย่าถอดใจข้อ 9 กินกบตั้งแต่เช้า (Eat that frog) จงทำใจและทำสิ่งที่ยากก่อน อย่าผลัดวันประกันพรุ่งข้อ 10 โลกนี้ไม่เคยต้องยุติธรรม "บัณฑิต" ไม่เคยคาดหวังหรือบ่นว่าทำไมโลกนี้ช่างไม่ยุติธรรม ไม่ต้องตั้งคำถามว่าทำไมคนนี้หล่อ คนนี้สวย ทำไมคนนี้มีพรสวรรค์จังเลย ฯลฯ "ทำใจไว้เลยครับ โลกนี้ไม่เคยต้องยุติธรรม อย่าไปเสียเวลาคิดเลยว่าทำไม"เขายกคำของนักปราชญ์อเมริกันคนหนึ่งว่า "การตอบรับกับสถานการณ์ที่เรามีหรือเป็นอยู่สำคัญกว่าสถานการณ์ที่ชีวิตให้มา"ทิศทางของชีวิตเราอยู่ในความควบคุมของเราเอง อย่าโยนความรับผิดชอบให้ใคร เลือกเอง ลงมือเอง รับผิดชอบเองอ้างอิงจาก http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B4743264/B4743264.html