Sunday, 5 August 2007
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดูโฆษณาเป็นชีวิตจิตใจ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดูโฆษณาเป็นชีวิตจิตใจ ชอบดูมากเสียยิ่งกว่าละครน้ำเหม็นๆหลังข่าวแล้วหละก็ คุณคงจำโฆษณาท็อปฮิตเหล่านี้ได้ “นิเชา-ห้าห่วงหายห่วง” “ไอ้ฤทธิ์ กินแบล๊ค” … คงพอจะเดาออกแล้วใช่ไหมครับว่า “ทำมาหากิน” ฉบับเดือนกรกฎาคม จะไปดูเส้นทางการทำมาหากินของใครกัน...ใช่แล้วครับ วันนี้เราจะมาพูดคุยกับ คุณสมชาย ชีวสุทธานนท์ หรือ ตี๋ แม็ทชิ่ง
จุดเริ่มต้น
“ตัวผมเองมาจากครอบครัวธรรมดาๆ ครอบครัวหนึ่ง เป็นครอบครัวของคนชนชั้นกลาง ทางบ้านไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร หนำซ้ำคุณพ่อยังเคยถูกฟ้องล้มละลาย จากการไปค้ำประกันเช็คให้กับเพื่อน ก็เลยทำให้ท่านต้องหลบหนีไป ซึ่งตอนนั้นครอบครัวผมลำบากมา อยากจะลาออกจากโรงเรียน หารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัว แต่ก็คงเป็นเพราะโชคดี หรืออาจเป็นเพราะเราตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม เรียกได้ว่าที่โรงเรียนมีงานอะไรเราทำหมด ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชย์พระนคร จึงไม่ยอมให้ลาออก แถมยังช่วยหาทุนการศึกษาให้ด้วย จนสามารถเรียนจบระดับ ปวส. พอจบก็ได้เข้าทำงาน กับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ โปรดักชั่น”
“ตอนที่ทำอยู่ที่ เอ.วี.คราฟท์ ได้เงินเดือน 2,300 บาท รวมกับพี่สาวที่มีเงินเดือน 4 พันบาท รวมกัน 6,300 บาท แต่ต้องเลี้ยงน้องอีก 4 คน ซึ่งไม่พอแน่ ผมจึงต้องทำทุกอย่าง ทั้งทำงานล่วงเวลา เบิกค่ารถมาก็ไม่ขึ้นรถ แต่ใช้เดินกลับบ้านก็มี ข้าวกลางวันไม่กิน กินน้ำก๊อก เพราะต้องประหยัดเงินมากๆ เมื่อหิวมากๆ ก็ไปคุ้ยข้าวที่คนอื่นเค้ากินเหลือไว้ ทำอย่างนี้เป็นปี เพื่อเหลือเงินให้น้องๆ ได้เรียนหนังสือ”
จุดพลิกผัน
“ส่วนเรื่องงาน ตอนนั้นเห็นคนอื่นๆ ได้รับรางวัลต่างๆ บนเวที ผมก็อยากขึ้นบ้าง ประกอบกับช่วงนั้นบริษัท เริ่มระส่ำระสาย คนมีฝีมือเริ่มลาออก ผมเองก็ย้ายไปทำงานที่บริษัท ฟาร์อีสท์ ทำอยู่ได้ 2 ปี น้องๆ เรียนจบกันหมด ก็เกิดความคิดอยากจะทำอะไร เป็นของตัวเองบ้าง จึงลาออกจากงาน มาทำโปรดักชั่น เฮ้าส์ หรือเป็นผู้ผลิตหนังโฆษณา ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่กำกับ เป็นโปรดิวเซอร์ และพากย์เอง ซึ่งตอนเริ่มต้นนั้น ใช้เงินเพียง 3-4 หมื่นบาท เพราะตอนนั้นเราเองก็ไม่ค่อยมีเงิน แต่ทำเพราะอยากทำ”
ก่อร่างสร้างตัว
“ในช่วง 5 ปีแรก เราค่อนข้างลำบาก เพราะเริ่มต้นจากศูนย์ จากไม่มีอะไรเลย แค่เม็ดเงินไม่เกิน 3-4 หมื่นบาทเท่านั้น เราจึงเหนื่อยมาก เพราะธุรกิจของเรา มันจับต้องอะไรไม่ได้ เวลาไปคุยกับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อ ขอสนับสนุนทางการเงินจึงยาก เพราะไม่มี อะไรไปบอกได้ว่า เราจะสามารถผลิตอะไรได้อัตราเท่านี้ หรือในจำนวนปริมาณเท่านั้น เราจึงต้องเริ่มต้นซื้อ อุปกรณ์สะสมของเราเอง ทำงานขาดทุนบ้าง แต่ก็ยอมแลกกับประสบการณ์ และผลงาน และเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าวงการโฆษณา ค่อนข้างแข่งขันการดุเดือด การที่น้องใหม่จะแทรกตัวเข้ามา จึงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากธุรกิจนี้ บริษัทรุ่นพี่จะมีโอกาสมากกว่า การเข้ามาของน้องใหม่อย่างเรา ไม่สามารถจะเข้าไปในธุรกิจนี้ดื้อๆ ได้ เราต้องวางกลยุทธ์ให้ดีพอ”
“ช่วงนั้น ถูกโกงบ้าง เป็นหนี้เป็นสินกว่า 2 ล้านบาทบ้าง แต่ด้วยความตั้งใจ และรักการทำงานอาชีพนี้ จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติมาได้ จนกระทั่งได้งานที่เป็นชิ้นเป็นอัน ครั้งแรกเมื่อราวปี 2533 จากบริษัท ดีดีบี ดีทแฮม ของ ม.ร.ว.ธีรเดช รัชนี โดยเป็นหนังโฆษณา “เครื่องซักผ้ามิตซูบิชิ รุ่นมิสเตอร์มาราธอน”
เริ่มเป็นตัวเป็นตน
“ตอนนั้นคิดแต่ว่า เราจะต้องทำให้หนังโฆษณา ติดตาคนมากที่สุด และต้องไม่ใช่การทำหนังพื้นๆ ทั่วไปที่มีอยู่ในตลาด คำว่า “ติดตาคน” แรกๆ เราไม่รู้ด้วยว่าจะทำวิธีไหน แต่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกหรือนิสัยส่วนตัว เป็นคนอารมณ์ขัน มีมุขตลอด มันเลยทำให้ถ่ายทอดหนังโฆษณา ออกมาแหวกแนว และแตกต่างจากตลาด ในสมัยนั้น แม้ว่าจะเจ๊งตลอด”
“ในยุคนั้นไม่มีใครทำหนัง โฆษณาแนวสนุก เล่นมุขสอดแทรกเข้าไป และนำประโยชน์ของสินค้า มาพัฒนาให้แน่นขึ้น ไม่ค่อยมีคนทำกัน อาจมีบ้างแต่ไม่แน่น และจะเป็นหนังแนวใช้ ภาพสวยงาม ไม่มีไอเดียใส่เข้าไป แต่เมื่อเราต้องการสร้างจุดต่าง เป็นตัวของเราเอง เราจึงต้องลองทำขึ้นมา แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม”
“จากคนทำงาน 2-3 คน ก็กลายเป็น 10 คน 20 คน 30 คน โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อองค์กรโตขึ้น ก็ต้องมีทีมงานบริหาร หรือแมเนจเม้นท์ เพราะองค์กรโตขึ้น หากไม่มีทีมบริหาร ก็จะโตไม่ได้ ผมจึงมานั่งบริหาร แล้วหาผู้กำกับแทน เพราะถ้าทั้งทำทั้งกำกับหนัง และงานบริหารด้วย คงไม่มีอะไรดีขึ้นสักอย่าง เลยตัดสินใจ หาคนที่หัวอกเดียวกันกับเรา หรือมีแนวคิดเดียวกัน ก็ได้ “มั้ม” (สุธน เพ็ชรสุวรรณ ) ซึ่งทำงานด้านครีเอทีฟมาเป็นผู้กำกับ”
“เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 ผลงานเป็นที่ยอมรับ ช่วงนั้นครีเอทีฟไดเรคเตอร์ เอเยนซี่หลายราย เริ่มมองหาความแปลกใหม่มากขึ้น เจ้าของสินค้าเขาต้องการ สร้างความแตกต่าง เราจึงมีโอกาสได้ทำหนัง เรื่องนิเชาออกมา คนก็ฮือฮาว่าใครทำ ด้วยความที่ตลก และไม่น่าจะเป็นคนไทยทำ เพราะหนังเรื่องนี้ไปถ่ายทำ ที่แอฟริกาใต้เลย งานนี้ขาดทุนก็ยอม แต่เราก็ได้รางวัล และคนก็ถามกันมาก ในช่วงนั้นบางคอลัมน์เขียนวิจารณ์ หนังเด็ดในรอบเดือน หนังของเราก็ติดอันดับขึ้นมา ทำให้เรทติ้งเริ่มดีขึ้น”
ถึงวันที่เป็นหนึ่ง
“หลังจากหนังโฆษณาชุด “นิเชา” แล้ว ต่อมาก็เห็นจะเป็นหนังโฆษณาชุด “ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค” เราได้เต็มๆ เลยงานนี้ ทั้งรางวัลในประเทศไทย ที่ได้มาหมดแล้ว เรายังได้รางวัลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียน อวอร์ด คานส์ อวอร์ด ทุกคนบอกว่ามันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเราเอาละครสั้นหนึ่งเรื่อง มาอยู่ในหนังโฆษณาเป็นมินิซีรี่ส์เล็กๆ ทำเป็นหนังไทยสั้นๆ หนึ่งเรื่อง คือใส่เรื่องเข้าไป จนคนดูแทบไม่รู้สึกเลยว่า นี่คือหนังโฆษณา แต่ทุกคนจำ หนังไอ้ฤทธิ์กินแบล็คได้หมด นั่นคือ สิ่งที่เราประสบความสำเร็จที่สุด เป็นรางวัลที่เราเหมาะสมที่จะได้จริงๆ และเราภูมิใจที่จะยอมรับรางวัลนี้มาก”
ทุกวันนี้ ตี๋ แม็ทชิ่ง คือผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ “แม็ทชิ่ง สตูดิโอ” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “โปรดักชั่น เฮ้าส์” อันดับ 1 ของเมืองไทย และถูกจัดอันดับจาก “The Gunn Report” ให้เป็นบริษัทผลิต ภาพยนต์โฆษณาที่กวาดรางวัล สูงสุดเป็นอันดับ 5 จากธุรกิจโฆษณา “ทั่วโลก” ทั้งที่ ที่มีอายุได้เพียง 11 ปีเศษ แต่เขาก็ยังไม่หยุด เขายังฝันต่อไป ฝันที่จะสร้างเมืองยักษ์ “มูฟวี่ ทาวน์” เมืองถ่ายหนังของประเทศไทย ให้ก้าวไกล ก้าวทันระดับโลก.
จุดเริ่มต้น
“ตัวผมเองมาจากครอบครัวธรรมดาๆ ครอบครัวหนึ่ง เป็นครอบครัวของคนชนชั้นกลาง ทางบ้านไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร หนำซ้ำคุณพ่อยังเคยถูกฟ้องล้มละลาย จากการไปค้ำประกันเช็คให้กับเพื่อน ก็เลยทำให้ท่านต้องหลบหนีไป ซึ่งตอนนั้นครอบครัวผมลำบากมา อยากจะลาออกจากโรงเรียน หารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัว แต่ก็คงเป็นเพราะโชคดี หรืออาจเป็นเพราะเราตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม เรียกได้ว่าที่โรงเรียนมีงานอะไรเราทำหมด ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชย์พระนคร จึงไม่ยอมให้ลาออก แถมยังช่วยหาทุนการศึกษาให้ด้วย จนสามารถเรียนจบระดับ ปวส. พอจบก็ได้เข้าทำงาน กับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ โปรดักชั่น”
“ตอนที่ทำอยู่ที่ เอ.วี.คราฟท์ ได้เงินเดือน 2,300 บาท รวมกับพี่สาวที่มีเงินเดือน 4 พันบาท รวมกัน 6,300 บาท แต่ต้องเลี้ยงน้องอีก 4 คน ซึ่งไม่พอแน่ ผมจึงต้องทำทุกอย่าง ทั้งทำงานล่วงเวลา เบิกค่ารถมาก็ไม่ขึ้นรถ แต่ใช้เดินกลับบ้านก็มี ข้าวกลางวันไม่กิน กินน้ำก๊อก เพราะต้องประหยัดเงินมากๆ เมื่อหิวมากๆ ก็ไปคุ้ยข้าวที่คนอื่นเค้ากินเหลือไว้ ทำอย่างนี้เป็นปี เพื่อเหลือเงินให้น้องๆ ได้เรียนหนังสือ”
จุดพลิกผัน
“ส่วนเรื่องงาน ตอนนั้นเห็นคนอื่นๆ ได้รับรางวัลต่างๆ บนเวที ผมก็อยากขึ้นบ้าง ประกอบกับช่วงนั้นบริษัท เริ่มระส่ำระสาย คนมีฝีมือเริ่มลาออก ผมเองก็ย้ายไปทำงานที่บริษัท ฟาร์อีสท์ ทำอยู่ได้ 2 ปี น้องๆ เรียนจบกันหมด ก็เกิดความคิดอยากจะทำอะไร เป็นของตัวเองบ้าง จึงลาออกจากงาน มาทำโปรดักชั่น เฮ้าส์ หรือเป็นผู้ผลิตหนังโฆษณา ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่กำกับ เป็นโปรดิวเซอร์ และพากย์เอง ซึ่งตอนเริ่มต้นนั้น ใช้เงินเพียง 3-4 หมื่นบาท เพราะตอนนั้นเราเองก็ไม่ค่อยมีเงิน แต่ทำเพราะอยากทำ”
ก่อร่างสร้างตัว
“ในช่วง 5 ปีแรก เราค่อนข้างลำบาก เพราะเริ่มต้นจากศูนย์ จากไม่มีอะไรเลย แค่เม็ดเงินไม่เกิน 3-4 หมื่นบาทเท่านั้น เราจึงเหนื่อยมาก เพราะธุรกิจของเรา มันจับต้องอะไรไม่ได้ เวลาไปคุยกับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อ ขอสนับสนุนทางการเงินจึงยาก เพราะไม่มี อะไรไปบอกได้ว่า เราจะสามารถผลิตอะไรได้อัตราเท่านี้ หรือในจำนวนปริมาณเท่านั้น เราจึงต้องเริ่มต้นซื้อ อุปกรณ์สะสมของเราเอง ทำงานขาดทุนบ้าง แต่ก็ยอมแลกกับประสบการณ์ และผลงาน และเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าวงการโฆษณา ค่อนข้างแข่งขันการดุเดือด การที่น้องใหม่จะแทรกตัวเข้ามา จึงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากธุรกิจนี้ บริษัทรุ่นพี่จะมีโอกาสมากกว่า การเข้ามาของน้องใหม่อย่างเรา ไม่สามารถจะเข้าไปในธุรกิจนี้ดื้อๆ ได้ เราต้องวางกลยุทธ์ให้ดีพอ”
“ช่วงนั้น ถูกโกงบ้าง เป็นหนี้เป็นสินกว่า 2 ล้านบาทบ้าง แต่ด้วยความตั้งใจ และรักการทำงานอาชีพนี้ จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติมาได้ จนกระทั่งได้งานที่เป็นชิ้นเป็นอัน ครั้งแรกเมื่อราวปี 2533 จากบริษัท ดีดีบี ดีทแฮม ของ ม.ร.ว.ธีรเดช รัชนี โดยเป็นหนังโฆษณา “เครื่องซักผ้ามิตซูบิชิ รุ่นมิสเตอร์มาราธอน”
เริ่มเป็นตัวเป็นตน
“ตอนนั้นคิดแต่ว่า เราจะต้องทำให้หนังโฆษณา ติดตาคนมากที่สุด และต้องไม่ใช่การทำหนังพื้นๆ ทั่วไปที่มีอยู่ในตลาด คำว่า “ติดตาคน” แรกๆ เราไม่รู้ด้วยว่าจะทำวิธีไหน แต่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกหรือนิสัยส่วนตัว เป็นคนอารมณ์ขัน มีมุขตลอด มันเลยทำให้ถ่ายทอดหนังโฆษณา ออกมาแหวกแนว และแตกต่างจากตลาด ในสมัยนั้น แม้ว่าจะเจ๊งตลอด”
“ในยุคนั้นไม่มีใครทำหนัง โฆษณาแนวสนุก เล่นมุขสอดแทรกเข้าไป และนำประโยชน์ของสินค้า มาพัฒนาให้แน่นขึ้น ไม่ค่อยมีคนทำกัน อาจมีบ้างแต่ไม่แน่น และจะเป็นหนังแนวใช้ ภาพสวยงาม ไม่มีไอเดียใส่เข้าไป แต่เมื่อเราต้องการสร้างจุดต่าง เป็นตัวของเราเอง เราจึงต้องลองทำขึ้นมา แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม”
“จากคนทำงาน 2-3 คน ก็กลายเป็น 10 คน 20 คน 30 คน โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อองค์กรโตขึ้น ก็ต้องมีทีมงานบริหาร หรือแมเนจเม้นท์ เพราะองค์กรโตขึ้น หากไม่มีทีมบริหาร ก็จะโตไม่ได้ ผมจึงมานั่งบริหาร แล้วหาผู้กำกับแทน เพราะถ้าทั้งทำทั้งกำกับหนัง และงานบริหารด้วย คงไม่มีอะไรดีขึ้นสักอย่าง เลยตัดสินใจ หาคนที่หัวอกเดียวกันกับเรา หรือมีแนวคิดเดียวกัน ก็ได้ “มั้ม” (สุธน เพ็ชรสุวรรณ ) ซึ่งทำงานด้านครีเอทีฟมาเป็นผู้กำกับ”
“เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 ผลงานเป็นที่ยอมรับ ช่วงนั้นครีเอทีฟไดเรคเตอร์ เอเยนซี่หลายราย เริ่มมองหาความแปลกใหม่มากขึ้น เจ้าของสินค้าเขาต้องการ สร้างความแตกต่าง เราจึงมีโอกาสได้ทำหนัง เรื่องนิเชาออกมา คนก็ฮือฮาว่าใครทำ ด้วยความที่ตลก และไม่น่าจะเป็นคนไทยทำ เพราะหนังเรื่องนี้ไปถ่ายทำ ที่แอฟริกาใต้เลย งานนี้ขาดทุนก็ยอม แต่เราก็ได้รางวัล และคนก็ถามกันมาก ในช่วงนั้นบางคอลัมน์เขียนวิจารณ์ หนังเด็ดในรอบเดือน หนังของเราก็ติดอันดับขึ้นมา ทำให้เรทติ้งเริ่มดีขึ้น”
ถึงวันที่เป็นหนึ่ง
“หลังจากหนังโฆษณาชุด “นิเชา” แล้ว ต่อมาก็เห็นจะเป็นหนังโฆษณาชุด “ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค” เราได้เต็มๆ เลยงานนี้ ทั้งรางวัลในประเทศไทย ที่ได้มาหมดแล้ว เรายังได้รางวัลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียน อวอร์ด คานส์ อวอร์ด ทุกคนบอกว่ามันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเราเอาละครสั้นหนึ่งเรื่อง มาอยู่ในหนังโฆษณาเป็นมินิซีรี่ส์เล็กๆ ทำเป็นหนังไทยสั้นๆ หนึ่งเรื่อง คือใส่เรื่องเข้าไป จนคนดูแทบไม่รู้สึกเลยว่า นี่คือหนังโฆษณา แต่ทุกคนจำ หนังไอ้ฤทธิ์กินแบล็คได้หมด นั่นคือ สิ่งที่เราประสบความสำเร็จที่สุด เป็นรางวัลที่เราเหมาะสมที่จะได้จริงๆ และเราภูมิใจที่จะยอมรับรางวัลนี้มาก”
ทุกวันนี้ ตี๋ แม็ทชิ่ง คือผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ “แม็ทชิ่ง สตูดิโอ” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “โปรดักชั่น เฮ้าส์” อันดับ 1 ของเมืองไทย และถูกจัดอันดับจาก “The Gunn Report” ให้เป็นบริษัทผลิต ภาพยนต์โฆษณาที่กวาดรางวัล สูงสุดเป็นอันดับ 5 จากธุรกิจโฆษณา “ทั่วโลก” ทั้งที่ ที่มีอายุได้เพียง 11 ปีเศษ แต่เขาก็ยังไม่หยุด เขายังฝันต่อไป ฝันที่จะสร้างเมืองยักษ์ “มูฟวี่ ทาวน์” เมืองถ่ายหนังของประเทศไทย ให้ก้าวไกล ก้าวทันระดับโลก.