Sunday, 5 August 2007
"ตี๋ แม็ทชิ่ง" เขาฝันที่จะสร้าง "มูฟวี่ ทาวน์" (Movie Town)
"ตี๋ แม็ทชิ่ง" เขาฝันที่จะสร้าง "มูฟวี่ ทาวน์" (Movie Town) เมืองถ่ายหนังของเมืองไทย พร้อมสรรพสิ่งบันเทิง ครบวงจรสมบูรณ์แบบ รวมมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท เหมือนกับยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ ของสหรัฐอเมริกา ทำให้เป็น "วัน สต็อป ช้อป" (One Stop Shop) หรือศูนย์กลางที่ดีที่สุด ในการผลิตภาพเคลื่อนไหว ของภูมิภาคเอเชียที่มีคุณภาพ
ต้องเฝ้ารอดู ฝันอันยิ่งใหญ่ของตี๋กับ "ยูนิเวอร์แซล เมืองไทย"
หากยังคงจำกันได้ ครั้งหนึ่งเราเคยสนุก กับนักแสดงนำตัวดำๆ เชยๆ ซื่อๆ ชื่อ "นิเชา" กับภาพยนตร์โฆษณา กระเบื้องตราห้าห่วง พร้อมสโลแกนติดปาก "ห้าห่วงทนหายห่วง"
ถัดมาเป็นภาพของ ชายผู้ยิ่งใหญ่กลุ่มหนึ่ง ลงจากเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปเอาเรื่อง "ไอ้ฤทธิ์" หนุ่มลูกทุ่งซื่อๆ นายหนึ่งโทษฐาน ที่บังอาจกินเหล้าฝรั่ง หลังลูกน้องตัวแสบยุว่า "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค (ฝรั่ง)"
แต่ความจริงปรากฏว่าเป็น "แบล็คแค็ท" เหล้ายี่ห้อใหม่ของไทย ลูกน้องจอมฟ้อง จึงถูกรุมสกรัมไปตามระเบียบ
นี่คือตัวอย่างของเรื่องราว หนังโฆษณาที่สอดแทรก อารมณ์ความสนุก และมุขตลกเข้าไป จนกลายเป็นความแปลกใหม่ ของวงการหนังโฆษณา เมื่อราว 5-6 ปีก่อน
"สมชาย ชีวสุทธานนท์" หรือ "ตี๋ แม็ทชิ่ง" คือผู้อยู่เบื้องหลัง "ไอเดีย" มันๆ อุดมด้วยมุขตลก ด้วยความช่างคิดช่างฝัน และต้องการ "ปฏิวัติ" แนวคิดเดิมๆ ของหนังโฆษณา พร้อมกับเสนอ เรื่องราวด้วยการสร้าง "จุดต่าง" และสื่อภาพให้ "ติดตา" กลุ่มคนดูโทรทัศน์ ของเมืองไทยสมัยนั้น
จากจุดเด่นดังกล่าว ทำให้ "แม็ทชิ่ง สตูดิโอ" บริษัทสร้างภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งตี๋ก่อตั้งขึ้น ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "โปรดักชั่น เฮ้าส์" อันดับ 1 ของเมืองไทย และถูกจัดอันดับจาก "The Gunn Report " ให้เป็นบริษัทผลิต ภาพยนต์โฆษณาที่กวาดรางวัล สูงสุดเป็นอันดับ 5 จากธุรกิจโฆษณา "ทั่วโลก"
ขณะที่ "สุธน เพ็ชรสุวรรณ" ผู้กำกับของแม็ทชิ่ง สตูดิโอ ก็คว้ารางวัลสูงสุด เป็นอันดับ 4 ของโลกอีกด้วย
ทั้งๆ ที่ "แม็ทชิ่ง สตูดิโอ" เป็นโปรดักส์ชั่น เฮ้าส์ ที่มีอายุได้เพียง 11 ปีเศษ เกิดจากการก่อตั้ง ด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 3-4 หมื่นบาท และผ่านประสบการณ์ "เจ๊ง" มาแล้ว
"ขายฝัน" จุดเกิด "ตี๋ แม็ทชิ่ง"
ก่อนที่จะเป็น "ตี๋ แม็ทชิ่ง" ในวันนี้ ตี๋บอกว่า เขามาจากครอบครัว ชนชั้นกลาง ทางบ้านไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร ระหว่างที่เขากำลังเรียน อยู่ที่พาณิชยการพระนคร ต่อมาครอบครัวเกิดปัญหาเนื่องจากพ่อ ถูกฟ้องล้มละลาย จากการไปค้ำประกันเช็ค ให้กับเพื่อน จึงจำเป็นต้องหลบหนี
จุดนี้เองที่พลิกผันชีวิตของเขา หลังขาดเสาหลักของครอบครัว ตี๋และพี่น้องรวม 7 คนต้องเผชิญชีวิตกันตามลำพัง เขาอยากลาออก จากการเรียนเพื่อช่วยครอบครัว แต่ด้วยความที่เป็นเด็กกิจกรรม และไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ผู้อำนวยการวิทยาลัย ไม่ยอมให้ลาออก และช่วยหาทุนการศึกษา ให้จนเขาสามารถเรียนจบระดับปวส.
ความชอบ และความใฝ่ฝัน อยากเข้าสู่อาชีพทำหนังโฆษณา เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ที่เขาเรียนวิชาเอกโฆษณา และได้มีโอกาสฝึกงาน กับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ โปรดักชั่น หลังเรียนจบ เขาก็เลือกทำงาน กับบริษัทแห่งนี้เป็นครั้งแรก
แม้ว่าจะมีงานทำ และได้เงินเดือน แต่ชีวิตของตี๋ก็ยังต้องลำบาก และอดๆ อยากๆ เพราะต้องหาเลี้ยงคนทั้งบ้าน
ตี๋เคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร "Open" ตอนหนึ่งว่า "ตอนนั้นกินเงินเดือน 2,300 บาท รวมกับพี่สาวที่มีเงินเดือน 4 พันบาท รวมกัน 6,300 บาท แต่ต้องเลี้ยงน้องอีก 4 คน
ผมต้องทำทุกอย่าง ทั้งทำงานล่วงเวลา เบิกค่ารถมาก็ไม่ขึ้นรถ แต่ใช้เดินกลับบ้านก็มี ข้าวกลางวันไม่กิน กินน้ำก๊อก เพราะต้องประหยัดเงินมากๆ เมื่อหิวมากๆ ก็ไปคุ้ยข้าวที่คนอื่นเค้ากินเหลือไว้ ทำอย่างนี้เป็นปี เพื่อเหลือเงินให้น้องๆ ได้เรียนหนังสือ"
ร่วมงานกับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ 4 ปี จากที่ได้เห็นคนอื่นๆ ได้รับรางวัลต่างๆ บนเวที ตี๋บอกว่า เขาก็อยากขึ้นบ้าง ประกอบกับช่วงนั้นบริษัท เริ่มระส่ำระสาย คนมีฝีมือเริ่มลาออก และมีเอเยนซี่ชักชวน ให้เขาไปทำงานด้วยทั้งบริษัทไทย และฝรั่ง แต่เขาเลือกที่จะไปอยู่กับบริษัท ฟาร์อีสท์ บริษัทของคนไทย เพราะรู้ตัวว่าภาษาอังกฤษ ไม่ค่อยดีนัก
"ผมทำงานกับฟาร์อีสท์ได้ 2 ปี น้องๆ เรียนจบกันหมด ก็เกิดความคิดอยากจะทำอะไร เป็นของตัวเองบ้าง จึงลาออกจากงาน มาทำโปรดักชั่น เฮ้าส์ หรือเป็นผู้ผลิตหนังโฆษณา ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่กำกับ เป็นโปรดิวเซอร์ และพากย์เอง"
เริ่มต้นจาก "ศูนย์"
ในช่วงบุกเบิกบริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ ซึ่งเกิดจากคนสองคน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันก่อตั้ง โดยอีกรายนั้นคือ ตากล้องมือดีของเมืองไทย ดอม (ฐนิสสพงษ์ ศศินมานพ ) ตี๋บอกว่า เขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย
"ในช่วง 5 ปีแรก เราค่อนข้างลำบาก เพราะเริ่มต้นจากศูนย์ จากไม่มีอะไรเลย แค่เม็ดเงินไม่เกิน 3-4 หมื่นบาทเท่านั้น เราจึงเหนื่อยมาก เพราะธุรกิจของเรา มันจับต้องอะไรไม่ได้ และเป็นธุรกิจขายฝัน ธุรกิจที่ขายบนแผ่นกระดาษ ขายบนสตอรี่ บอร์ด
ไปคุยกับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อ ขอสนับสนุนทางการเงินจึงยาก เพราะไม่มีแอสเซท อะไรไปบอกได้ว่า คุณสามารถผลิตอะไรได้อัตราเท่านี้ หรือในจำนวนปริมาณเท่านั้น
เราจึงต้องเริ่มต้นซื้อ อุปกรณ์สะสมของเราเอง ทำงานขาดทุนบ้าง แต่ก็ยอมแลกกับประสบการณ์ และผลงาน "
ตี๋บอกว่า เขาประสบกับเหตุการณ์ ทั้งที่ถูกโกงบ้าง เป็นหนี้เป็นสินกว่า 2 ล้านบาทบ้าง แต่ด้วยความตั้งใจ และรักการทำงานอาชีพนี้ จึงทำให้เขาผ่านพ้นวิกฤติมาได้ จนกระทั่งได้งานที่เป็นชิ้นเป็นอัน ครั้งแรกเมื่อราวปี 2533 จากบริษัท ดีดีบี ดีทแฮม ของ ม.ร.ว.ธีรเดช รัชนี โดยเป็นหนังโฆษณา "เครื่องซักผ้ามิตซูบิชิ รุ่นมิสเตอร์มาราธอน"
และเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าวงการโฆษณา ค่อนข้างแข่งขันการดุเดือด การที่น้องใหม่จะแทรกตัวเข้ามา จึงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากธุรกิจนี้ บริษัทรุ่นพี่จะมีโอกาสมากกว่า
"การเข้ามาของน้องใหม่อย่างเรา ไม่สามารถจะเข้าไปในธุรกิจนี้ดื้อๆ ได้ เราต้องวางกลยุทธ์ให้ดีพอ"
สร้างจุดต่าง หวังให้ชื่อ "ติดตา"
กลยุทธ์ของตี๋ แม็ทชิ่ง ก็คือ การใช้จุดต่างที่แปลกไป จากหนังโฆษณายุคเดิม และสร้างหนังให้มีเรื่องราว ที่ติดตาคนดูให้ได้
"ตอนนั้นคิดแต่ว่า เราจะต้องทำให้หนังโฆษณา ติดตาคนมากที่สุด และต้องไม่ใช่การทำหนังพื้นๆ ทั่วไปที่มีอยู่ในตลาด
คำว่า "ติดตาคน" แรกๆ เราไม่รู้ด้วยว่าจะทำวิธีไหน แต่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกหรือนิสัยส่วนตัว เป็นคนอารมณ์ขัน มีมุขตลอด มันเลยทำให้ถ่ายทอดหนังโฆษณา ออกมาแหวกแนว และแตกต่างจากตลาด ในสมัยนั้น แม้ว่าจะเจ๊งตลอด"
ในยุคแรกๆ เขาบอกว่าเป็นผู้กำกับเอง มีดอมเป็นตากล้อง และเป็นหุ้นส่วน เขาเริ่มจาก ทำหนังแนวสนุก เล่นมุขสอดแทรกเข้าไป และนำประโยชน์ของสินค้า มาพัฒนาให้แน่นขึ้น
"ในยุคนั้นไม่มีใครทำหนัง โฆษณาแนวนี้อย่างจริงจัง อาจมีบ้างแต่ไม่แน่น และจะเป็นหนังแนวใช้ ภาพสวยงาม ไม่มีไอเดียใส่เข้าไป แต่เมื่อเราต้องการสร้างจุดต่าง เป็นตัวของเราเอง เราจึงต้องลองทำขึ้นมา แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม"
หลังจากผ่านจุดนั้นไปได้ราว 3 ปี ตี๋บอกว่ามีคนเริ่มรู้จักแม็ทชิ่งมากขึ้น เริ่มมีถามถึงว่า หนังนี้มาจากไหน? ใครทำ?
"จากคนทำงาน 2-3 คน ก็กลายเป็น 10 คน 20 คน 30 คน โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อองค์กรโตขึ้น ก็ต้องมีทีมงานบริหาร หรือแมเนจเม้นท์ เพราะองค์กรโตขึ้น หากไม่มีทีมบริหาร ก็จะโตไม่ได้ ผมจึงมานั่งบริหาร แล้วหาผู้กำกับแทน
เพราะถ้าทั้งทำทั้งกำกับหนัง และงานบริหารด้วย คงไม่มีอะไรดีขึ้นสักอย่าง เลยตัดสินใจช้อปคน หาคนที่หัวอกเดียวกันกับเรา หรือมีแนวคิดเดียวกัน ก็ได้ "มั้ม" (สุธน เพ็ชรสุวรรณ ) ซึ่งทำงานด้านครีเอทีฟมาเป็นผู้กำกับ"
ในช่วงแรกที่เปลี่ยนตัวผู้กำกับใหม่ เกิดการสะดุดอยู่พักหนึ่ง โดยไม่มีงานเข้ามาเลยช่วง 6 เดือนแรกของการเข้ามาร่วมงาน แต่หลังจากนั้นผลงานของเขา ก็เข้าตากรรมการเมื่อได้งาน โฆษณาชิ้นหนึ่ง
เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 ผลงานเป็นที่ยอมรับ เมื่อได้โฆษณาชุดโฆษณากระเบื้อง ตราห้าห่วง ที่มีตัวแสดงนำเป็น "นิเชา" บริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากหนังชุดนี้
"ช่วงนั้นครีเอทีฟไดเรคเตอร์ เอเยนซี่หลายราย เริ่มมองหาความแปลกใหม่มากขึ้น เพราะสินค้า 3 ยี่ห้อไปอยู่ด้วย เราดูไม่ออกกันเลย เพราะเหมือนกันไปหมด เจ้าของสินค้าเขาก็ย่อมต้องการ สร้างความแตกต่าง เราจึงมีโอกาสได้ทำหนัง เรื่องนิเชาออกมา
คนก็ฮือฮาว่าใครทำ ด้วยความที่ตลก และไม่น่าจะเป็นคนไทยทำ เพราะหนังเรื่องนี้ไปถ่ายทำ ที่แอฟริกาใต้เลย งานนี้ขาดทุนก็ยอม แต่เราก็ได้รางวัล และคนก็ถามกันมาก ในช่วงนั้นบางคอลัมน์เขียนวิจารณ์ หนังเด็ดในรอบเดือน หนังของเราก็ติดอันดับขึ้นมา ทำให้เรทติ้งเริ่มดีขึ้น"
แนวหนังโฆษณาของสุธน จะเน้นความเป็นธรรมชาติ และสวยงามในตัวเองมันเอง และมีจุดเด่นอยู่ที่การเล่าเรื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นหนังสไตล์ของแม็ทชิ่ง ที่ต้องการให้คนสามารถจำหนังได้ทั้งหมด
"เพราะมันมีความคิดอันเดียว (Single Mind Idea) อยู่ในนั้น เนื่องจากเราไม่สามารถ จะไปยัดเยียดอะไรให้คนดู ได้มากขนาดนั้น นี่คือ ความดื้อด้านของแม็ทชิ่ง แต่เป็นความดื้อด้าน ก็ส่งผลให้แม็ทชิ่งมายืนอยู่ตรงนี้ได้"
หลังจากผลงานกระเบื้อง ตราห้าห่วง ได้รับการยอมรับ หลายๆ เอเยนซี่ก็เริ่มหันมามอง และป้อนงานหนังโฆษณาเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งก็ล้วนแต่ต้องการ ให้บริษัทเข้าไปพัฒนา เนื่องจากลูกค้าเห็นความต่าง ของแม็ทชิ่งกับที่อื่นๆ
ตี๋เปรียบเปรยให้ฟังว่า "อย่างร้านอาหาร ผมอยากจะกินยำวุ้นเส้น แต่กุ๊กแนะนำว่า ยำสามกรอบอร่อยกว่า แม้ว่าสองอย่างจะให้ความรู้สึก ของยำเหมือนกัน แต่ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
คล้ายกับการที่เราพยายาม ใส่สีสันเข้าไป นั่นคือจุดเด่นของเรา หลังๆ นี่ในการทำธุรกิจเรา เราเป็นผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างเดินเข้ามา จ่ายเรา 5 บาท เขาก็ต้องการผลลัพธ์ กลับไปมากกว่า 5 บาทอยู่แล้ว ก็คือ Value Added หรือการเพิ่มมูลค่า"
"แบล็คแค็ท" ผลงานสร้างชื่อ
โฆษณาชุดกระเบื้องตราห้าห่วง ทำให้ชื่อของแม็ทชิ่ง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น แต่ที่ทำให้แม็ทชิ่ง ดังระเบิด และเป็นที่ภาคภูมิใจของทีมงานก็คือ หนังโฆษณาชุด "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค" ด้วยไอเดียแปลกแหวก และปลุกกระแสความตื่นตัว ให้กับแวดวงหนังโฆษณาในสมัยนั้น
ผลงานชิ้นนี้ได้กลายเป็น ผลงานชิ้นเอกให้กับแม็ทชิ่ง สตูดิโอ และไปกวาดรางวัลมากมายทั่วโลก
"หนังโฆษณาชุด "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค" เราได้เต็มๆ เลยงานนี้ มันเป็นอะไรที่ได้อวอร์ดไปทั่ว ไม่ใช่เฉพาะรางวัลในประเทศไทย ที่ได้มาหมดแล้ว เรายังได้รางวัลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียน อวอร์ด คานส์ อวอร์ด
ทุกคนบอกว่ามันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเราเอาละครสั้นหนึ่งเรื่อง มาอยู่ในหนังโฆษณาเป็นมินิซีรี่ส์เล็กๆ ทำเป็นหนังไทยสั้นๆ หนึ่งเรื่อง คือใส่เรื่องเข้าไป จนคนดูแทบไม่รู้สึกเลยว่า นี่คือหนังโฆษณา แต่ทุกคนจำ หนังไอ้ฤทธิ์กินแบล็คได้หมด นั่นคือ สิ่งที่เราประสบความสำเร็จที่สุด เป็นรางวัลที่เราเหมาะสมที่จะได้จริงๆ และเราภูมิใจที่จะยอมรับรางวัลนี้มาก"
จากวันนั้นมาทำให้ยอดบิลลิ่ง และเรทติ้งของแม็ทชิ่งพุ่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่มาที่ทำให้มีชื่อเสียง ไปยังต่างประเทศ และเริ่มมีผู้สนใจเข้ามา ถ่ายทำหนังในไทย
บริษัทเองก็รับงาน จากเมืองนอกมากขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดเมืองไทยเอง ก็เริ่มมีหนังสนุกๆ มาให้ทำตลอด และแวดวงหนังโฆษณา ก็เริ่มผันแปรไปทางด้านนี้โดยปริยาย
จวบจนปัจจุบันนี้ 11 ปีที่ผ่านมา จนทุกวันนี้แม็ทชิ่ง สตูดิโอ ถูกจัดเป็นอันดับ 1 จากการวัดยอดบิลลิ่ง และในแง่ของผลงาน แต่ที่ตี๋ภูมิใจที่สุดเลยก็คือ แม็ทชิ่งถูกจัดให้เป็นอันดับ 5 ของโลกเป็นบริษัทแรกของไทยในปี 2002 และ "สุธน เพ็ชรสุวรรณ" ก็ถูกจัดให้เป็นที่ 4 ของผู้กำกับโลก โดยเป็นรางวัล ที่ได้รับติดต่อมา 3 ปีซ้อน
เป็นความสำเร็จ และความภาคภูมิใจของ คนทำหนังโฆษณา แต่สำหรับ "ตี๋ แม็ทชิ่ง" แล้ว เขาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะเขากำลังมองไปข้างหน้า
โดยฝันที่จะสร้าง "มูฟวี่ ทาวน์" (Movie Town) เมืองถ่ายหนังของประเทศไทย ในทำนองเดียวกับยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ ของสหรัฐอเมริกา
พร้อมกับตัดสินใจ เดินหน้าเข้าสู่ตลาดหุ้น เพื่อเสาะหาแหล่งเงินทุน รองรับการขยายงานในอนาคต
เพราะเขาบอกว่า สิ่งที่ทำสิ่งที่คิดในขณะนี้คือ การทำงานในระดับ "โกลบอล" แล้ว
เรื่องโดย...นาฏยา ปานเฟือง
วันที่: 28/2/2003
ต้องเฝ้ารอดู ฝันอันยิ่งใหญ่ของตี๋กับ "ยูนิเวอร์แซล เมืองไทย"
หากยังคงจำกันได้ ครั้งหนึ่งเราเคยสนุก กับนักแสดงนำตัวดำๆ เชยๆ ซื่อๆ ชื่อ "นิเชา" กับภาพยนตร์โฆษณา กระเบื้องตราห้าห่วง พร้อมสโลแกนติดปาก "ห้าห่วงทนหายห่วง"
ถัดมาเป็นภาพของ ชายผู้ยิ่งใหญ่กลุ่มหนึ่ง ลงจากเฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปเอาเรื่อง "ไอ้ฤทธิ์" หนุ่มลูกทุ่งซื่อๆ นายหนึ่งโทษฐาน ที่บังอาจกินเหล้าฝรั่ง หลังลูกน้องตัวแสบยุว่า "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค (ฝรั่ง)"
แต่ความจริงปรากฏว่าเป็น "แบล็คแค็ท" เหล้ายี่ห้อใหม่ของไทย ลูกน้องจอมฟ้อง จึงถูกรุมสกรัมไปตามระเบียบ
นี่คือตัวอย่างของเรื่องราว หนังโฆษณาที่สอดแทรก อารมณ์ความสนุก และมุขตลกเข้าไป จนกลายเป็นความแปลกใหม่ ของวงการหนังโฆษณา เมื่อราว 5-6 ปีก่อน
"สมชาย ชีวสุทธานนท์" หรือ "ตี๋ แม็ทชิ่ง" คือผู้อยู่เบื้องหลัง "ไอเดีย" มันๆ อุดมด้วยมุขตลก ด้วยความช่างคิดช่างฝัน และต้องการ "ปฏิวัติ" แนวคิดเดิมๆ ของหนังโฆษณา พร้อมกับเสนอ เรื่องราวด้วยการสร้าง "จุดต่าง" และสื่อภาพให้ "ติดตา" กลุ่มคนดูโทรทัศน์ ของเมืองไทยสมัยนั้น
จากจุดเด่นดังกล่าว ทำให้ "แม็ทชิ่ง สตูดิโอ" บริษัทสร้างภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งตี๋ก่อตั้งขึ้น ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "โปรดักชั่น เฮ้าส์" อันดับ 1 ของเมืองไทย และถูกจัดอันดับจาก "The Gunn Report " ให้เป็นบริษัทผลิต ภาพยนต์โฆษณาที่กวาดรางวัล สูงสุดเป็นอันดับ 5 จากธุรกิจโฆษณา "ทั่วโลก"
ขณะที่ "สุธน เพ็ชรสุวรรณ" ผู้กำกับของแม็ทชิ่ง สตูดิโอ ก็คว้ารางวัลสูงสุด เป็นอันดับ 4 ของโลกอีกด้วย
ทั้งๆ ที่ "แม็ทชิ่ง สตูดิโอ" เป็นโปรดักส์ชั่น เฮ้าส์ ที่มีอายุได้เพียง 11 ปีเศษ เกิดจากการก่อตั้ง ด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 3-4 หมื่นบาท และผ่านประสบการณ์ "เจ๊ง" มาแล้ว
"ขายฝัน" จุดเกิด "ตี๋ แม็ทชิ่ง"
ก่อนที่จะเป็น "ตี๋ แม็ทชิ่ง" ในวันนี้ ตี๋บอกว่า เขามาจากครอบครัว ชนชั้นกลาง ทางบ้านไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร ระหว่างที่เขากำลังเรียน อยู่ที่พาณิชยการพระนคร ต่อมาครอบครัวเกิดปัญหาเนื่องจากพ่อ ถูกฟ้องล้มละลาย จากการไปค้ำประกันเช็ค ให้กับเพื่อน จึงจำเป็นต้องหลบหนี
จุดนี้เองที่พลิกผันชีวิตของเขา หลังขาดเสาหลักของครอบครัว ตี๋และพี่น้องรวม 7 คนต้องเผชิญชีวิตกันตามลำพัง เขาอยากลาออก จากการเรียนเพื่อช่วยครอบครัว แต่ด้วยความที่เป็นเด็กกิจกรรม และไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ผู้อำนวยการวิทยาลัย ไม่ยอมให้ลาออก และช่วยหาทุนการศึกษา ให้จนเขาสามารถเรียนจบระดับปวส.
ความชอบ และความใฝ่ฝัน อยากเข้าสู่อาชีพทำหนังโฆษณา เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ที่เขาเรียนวิชาเอกโฆษณา และได้มีโอกาสฝึกงาน กับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ โปรดักชั่น หลังเรียนจบ เขาก็เลือกทำงาน กับบริษัทแห่งนี้เป็นครั้งแรก
แม้ว่าจะมีงานทำ และได้เงินเดือน แต่ชีวิตของตี๋ก็ยังต้องลำบาก และอดๆ อยากๆ เพราะต้องหาเลี้ยงคนทั้งบ้าน
ตี๋เคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร "Open" ตอนหนึ่งว่า "ตอนนั้นกินเงินเดือน 2,300 บาท รวมกับพี่สาวที่มีเงินเดือน 4 พันบาท รวมกัน 6,300 บาท แต่ต้องเลี้ยงน้องอีก 4 คน
ผมต้องทำทุกอย่าง ทั้งทำงานล่วงเวลา เบิกค่ารถมาก็ไม่ขึ้นรถ แต่ใช้เดินกลับบ้านก็มี ข้าวกลางวันไม่กิน กินน้ำก๊อก เพราะต้องประหยัดเงินมากๆ เมื่อหิวมากๆ ก็ไปคุ้ยข้าวที่คนอื่นเค้ากินเหลือไว้ ทำอย่างนี้เป็นปี เพื่อเหลือเงินให้น้องๆ ได้เรียนหนังสือ"
ร่วมงานกับบริษัท เอ.วี.คราฟท์ 4 ปี จากที่ได้เห็นคนอื่นๆ ได้รับรางวัลต่างๆ บนเวที ตี๋บอกว่า เขาก็อยากขึ้นบ้าง ประกอบกับช่วงนั้นบริษัท เริ่มระส่ำระสาย คนมีฝีมือเริ่มลาออก และมีเอเยนซี่ชักชวน ให้เขาไปทำงานด้วยทั้งบริษัทไทย และฝรั่ง แต่เขาเลือกที่จะไปอยู่กับบริษัท ฟาร์อีสท์ บริษัทของคนไทย เพราะรู้ตัวว่าภาษาอังกฤษ ไม่ค่อยดีนัก
"ผมทำงานกับฟาร์อีสท์ได้ 2 ปี น้องๆ เรียนจบกันหมด ก็เกิดความคิดอยากจะทำอะไร เป็นของตัวเองบ้าง จึงลาออกจากงาน มาทำโปรดักชั่น เฮ้าส์ หรือเป็นผู้ผลิตหนังโฆษณา ด้วยตัวเอง ซึ่งก็ต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่กำกับ เป็นโปรดิวเซอร์ และพากย์เอง"
เริ่มต้นจาก "ศูนย์"
ในช่วงบุกเบิกบริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ ซึ่งเกิดจากคนสองคน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันก่อตั้ง โดยอีกรายนั้นคือ ตากล้องมือดีของเมืองไทย ดอม (ฐนิสสพงษ์ ศศินมานพ ) ตี๋บอกว่า เขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย
"ในช่วง 5 ปีแรก เราค่อนข้างลำบาก เพราะเริ่มต้นจากศูนย์ จากไม่มีอะไรเลย แค่เม็ดเงินไม่เกิน 3-4 หมื่นบาทเท่านั้น เราจึงเหนื่อยมาก เพราะธุรกิจของเรา มันจับต้องอะไรไม่ได้ และเป็นธุรกิจขายฝัน ธุรกิจที่ขายบนแผ่นกระดาษ ขายบนสตอรี่ บอร์ด
ไปคุยกับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อ ขอสนับสนุนทางการเงินจึงยาก เพราะไม่มีแอสเซท อะไรไปบอกได้ว่า คุณสามารถผลิตอะไรได้อัตราเท่านี้ หรือในจำนวนปริมาณเท่านั้น
เราจึงต้องเริ่มต้นซื้อ อุปกรณ์สะสมของเราเอง ทำงานขาดทุนบ้าง แต่ก็ยอมแลกกับประสบการณ์ และผลงาน "
ตี๋บอกว่า เขาประสบกับเหตุการณ์ ทั้งที่ถูกโกงบ้าง เป็นหนี้เป็นสินกว่า 2 ล้านบาทบ้าง แต่ด้วยความตั้งใจ และรักการทำงานอาชีพนี้ จึงทำให้เขาผ่านพ้นวิกฤติมาได้ จนกระทั่งได้งานที่เป็นชิ้นเป็นอัน ครั้งแรกเมื่อราวปี 2533 จากบริษัท ดีดีบี ดีทแฮม ของ ม.ร.ว.ธีรเดช รัชนี โดยเป็นหนังโฆษณา "เครื่องซักผ้ามิตซูบิชิ รุ่นมิสเตอร์มาราธอน"
และเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าวงการโฆษณา ค่อนข้างแข่งขันการดุเดือด การที่น้องใหม่จะแทรกตัวเข้ามา จึงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากธุรกิจนี้ บริษัทรุ่นพี่จะมีโอกาสมากกว่า
"การเข้ามาของน้องใหม่อย่างเรา ไม่สามารถจะเข้าไปในธุรกิจนี้ดื้อๆ ได้ เราต้องวางกลยุทธ์ให้ดีพอ"
สร้างจุดต่าง หวังให้ชื่อ "ติดตา"
กลยุทธ์ของตี๋ แม็ทชิ่ง ก็คือ การใช้จุดต่างที่แปลกไป จากหนังโฆษณายุคเดิม และสร้างหนังให้มีเรื่องราว ที่ติดตาคนดูให้ได้
"ตอนนั้นคิดแต่ว่า เราจะต้องทำให้หนังโฆษณา ติดตาคนมากที่สุด และต้องไม่ใช่การทำหนังพื้นๆ ทั่วไปที่มีอยู่ในตลาด
คำว่า "ติดตาคน" แรกๆ เราไม่รู้ด้วยว่าจะทำวิธีไหน แต่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกหรือนิสัยส่วนตัว เป็นคนอารมณ์ขัน มีมุขตลอด มันเลยทำให้ถ่ายทอดหนังโฆษณา ออกมาแหวกแนว และแตกต่างจากตลาด ในสมัยนั้น แม้ว่าจะเจ๊งตลอด"
ในยุคแรกๆ เขาบอกว่าเป็นผู้กำกับเอง มีดอมเป็นตากล้อง และเป็นหุ้นส่วน เขาเริ่มจาก ทำหนังแนวสนุก เล่นมุขสอดแทรกเข้าไป และนำประโยชน์ของสินค้า มาพัฒนาให้แน่นขึ้น
"ในยุคนั้นไม่มีใครทำหนัง โฆษณาแนวนี้อย่างจริงจัง อาจมีบ้างแต่ไม่แน่น และจะเป็นหนังแนวใช้ ภาพสวยงาม ไม่มีไอเดียใส่เข้าไป แต่เมื่อเราต้องการสร้างจุดต่าง เป็นตัวของเราเอง เราจึงต้องลองทำขึ้นมา แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม"
หลังจากผ่านจุดนั้นไปได้ราว 3 ปี ตี๋บอกว่ามีคนเริ่มรู้จักแม็ทชิ่งมากขึ้น เริ่มมีถามถึงว่า หนังนี้มาจากไหน? ใครทำ?
"จากคนทำงาน 2-3 คน ก็กลายเป็น 10 คน 20 คน 30 คน โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อองค์กรโตขึ้น ก็ต้องมีทีมงานบริหาร หรือแมเนจเม้นท์ เพราะองค์กรโตขึ้น หากไม่มีทีมบริหาร ก็จะโตไม่ได้ ผมจึงมานั่งบริหาร แล้วหาผู้กำกับแทน
เพราะถ้าทั้งทำทั้งกำกับหนัง และงานบริหารด้วย คงไม่มีอะไรดีขึ้นสักอย่าง เลยตัดสินใจช้อปคน หาคนที่หัวอกเดียวกันกับเรา หรือมีแนวคิดเดียวกัน ก็ได้ "มั้ม" (สุธน เพ็ชรสุวรรณ ) ซึ่งทำงานด้านครีเอทีฟมาเป็นผู้กำกับ"
ในช่วงแรกที่เปลี่ยนตัวผู้กำกับใหม่ เกิดการสะดุดอยู่พักหนึ่ง โดยไม่มีงานเข้ามาเลยช่วง 6 เดือนแรกของการเข้ามาร่วมงาน แต่หลังจากนั้นผลงานของเขา ก็เข้าตากรรมการเมื่อได้งาน โฆษณาชิ้นหนึ่ง
เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 ผลงานเป็นที่ยอมรับ เมื่อได้โฆษณาชุดโฆษณากระเบื้อง ตราห้าห่วง ที่มีตัวแสดงนำเป็น "นิเชา" บริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากหนังชุดนี้
"ช่วงนั้นครีเอทีฟไดเรคเตอร์ เอเยนซี่หลายราย เริ่มมองหาความแปลกใหม่มากขึ้น เพราะสินค้า 3 ยี่ห้อไปอยู่ด้วย เราดูไม่ออกกันเลย เพราะเหมือนกันไปหมด เจ้าของสินค้าเขาก็ย่อมต้องการ สร้างความแตกต่าง เราจึงมีโอกาสได้ทำหนัง เรื่องนิเชาออกมา
คนก็ฮือฮาว่าใครทำ ด้วยความที่ตลก และไม่น่าจะเป็นคนไทยทำ เพราะหนังเรื่องนี้ไปถ่ายทำ ที่แอฟริกาใต้เลย งานนี้ขาดทุนก็ยอม แต่เราก็ได้รางวัล และคนก็ถามกันมาก ในช่วงนั้นบางคอลัมน์เขียนวิจารณ์ หนังเด็ดในรอบเดือน หนังของเราก็ติดอันดับขึ้นมา ทำให้เรทติ้งเริ่มดีขึ้น"
แนวหนังโฆษณาของสุธน จะเน้นความเป็นธรรมชาติ และสวยงามในตัวเองมันเอง และมีจุดเด่นอยู่ที่การเล่าเรื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นหนังสไตล์ของแม็ทชิ่ง ที่ต้องการให้คนสามารถจำหนังได้ทั้งหมด
"เพราะมันมีความคิดอันเดียว (Single Mind Idea) อยู่ในนั้น เนื่องจากเราไม่สามารถ จะไปยัดเยียดอะไรให้คนดู ได้มากขนาดนั้น นี่คือ ความดื้อด้านของแม็ทชิ่ง แต่เป็นความดื้อด้าน ก็ส่งผลให้แม็ทชิ่งมายืนอยู่ตรงนี้ได้"
หลังจากผลงานกระเบื้อง ตราห้าห่วง ได้รับการยอมรับ หลายๆ เอเยนซี่ก็เริ่มหันมามอง และป้อนงานหนังโฆษณาเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งก็ล้วนแต่ต้องการ ให้บริษัทเข้าไปพัฒนา เนื่องจากลูกค้าเห็นความต่าง ของแม็ทชิ่งกับที่อื่นๆ
ตี๋เปรียบเปรยให้ฟังว่า "อย่างร้านอาหาร ผมอยากจะกินยำวุ้นเส้น แต่กุ๊กแนะนำว่า ยำสามกรอบอร่อยกว่า แม้ว่าสองอย่างจะให้ความรู้สึก ของยำเหมือนกัน แต่ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
คล้ายกับการที่เราพยายาม ใส่สีสันเข้าไป นั่นคือจุดเด่นของเรา หลังๆ นี่ในการทำธุรกิจเรา เราเป็นผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างเดินเข้ามา จ่ายเรา 5 บาท เขาก็ต้องการผลลัพธ์ กลับไปมากกว่า 5 บาทอยู่แล้ว ก็คือ Value Added หรือการเพิ่มมูลค่า"
"แบล็คแค็ท" ผลงานสร้างชื่อ
โฆษณาชุดกระเบื้องตราห้าห่วง ทำให้ชื่อของแม็ทชิ่ง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น แต่ที่ทำให้แม็ทชิ่ง ดังระเบิด และเป็นที่ภาคภูมิใจของทีมงานก็คือ หนังโฆษณาชุด "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค" ด้วยไอเดียแปลกแหวก และปลุกกระแสความตื่นตัว ให้กับแวดวงหนังโฆษณาในสมัยนั้น
ผลงานชิ้นนี้ได้กลายเป็น ผลงานชิ้นเอกให้กับแม็ทชิ่ง สตูดิโอ และไปกวาดรางวัลมากมายทั่วโลก
"หนังโฆษณาชุด "ไอ้ฤทธิ์กินแบล็ค" เราได้เต็มๆ เลยงานนี้ มันเป็นอะไรที่ได้อวอร์ดไปทั่ว ไม่ใช่เฉพาะรางวัลในประเทศไทย ที่ได้มาหมดแล้ว เรายังได้รางวัลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียน อวอร์ด คานส์ อวอร์ด
ทุกคนบอกว่ามันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเราเอาละครสั้นหนึ่งเรื่อง มาอยู่ในหนังโฆษณาเป็นมินิซีรี่ส์เล็กๆ ทำเป็นหนังไทยสั้นๆ หนึ่งเรื่อง คือใส่เรื่องเข้าไป จนคนดูแทบไม่รู้สึกเลยว่า นี่คือหนังโฆษณา แต่ทุกคนจำ หนังไอ้ฤทธิ์กินแบล็คได้หมด นั่นคือ สิ่งที่เราประสบความสำเร็จที่สุด เป็นรางวัลที่เราเหมาะสมที่จะได้จริงๆ และเราภูมิใจที่จะยอมรับรางวัลนี้มาก"
จากวันนั้นมาทำให้ยอดบิลลิ่ง และเรทติ้งของแม็ทชิ่งพุ่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่มาที่ทำให้มีชื่อเสียง ไปยังต่างประเทศ และเริ่มมีผู้สนใจเข้ามา ถ่ายทำหนังในไทย
บริษัทเองก็รับงาน จากเมืองนอกมากขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดเมืองไทยเอง ก็เริ่มมีหนังสนุกๆ มาให้ทำตลอด และแวดวงหนังโฆษณา ก็เริ่มผันแปรไปทางด้านนี้โดยปริยาย
จวบจนปัจจุบันนี้ 11 ปีที่ผ่านมา จนทุกวันนี้แม็ทชิ่ง สตูดิโอ ถูกจัดเป็นอันดับ 1 จากการวัดยอดบิลลิ่ง และในแง่ของผลงาน แต่ที่ตี๋ภูมิใจที่สุดเลยก็คือ แม็ทชิ่งถูกจัดให้เป็นอันดับ 5 ของโลกเป็นบริษัทแรกของไทยในปี 2002 และ "สุธน เพ็ชรสุวรรณ" ก็ถูกจัดให้เป็นที่ 4 ของผู้กำกับโลก โดยเป็นรางวัล ที่ได้รับติดต่อมา 3 ปีซ้อน
เป็นความสำเร็จ และความภาคภูมิใจของ คนทำหนังโฆษณา แต่สำหรับ "ตี๋ แม็ทชิ่ง" แล้ว เขาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะเขากำลังมองไปข้างหน้า
โดยฝันที่จะสร้าง "มูฟวี่ ทาวน์" (Movie Town) เมืองถ่ายหนังของประเทศไทย ในทำนองเดียวกับยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ ของสหรัฐอเมริกา
พร้อมกับตัดสินใจ เดินหน้าเข้าสู่ตลาดหุ้น เพื่อเสาะหาแหล่งเงินทุน รองรับการขยายงานในอนาคต
เพราะเขาบอกว่า สิ่งที่ทำสิ่งที่คิดในขณะนี้คือ การทำงานในระดับ "โกลบอล" แล้ว
เรื่องโดย...นาฏยา ปานเฟือง
วันที่: 28/2/2003