Monday, 13 August 2007

เปิดใจครีเอทีฟแนวคิดมาจากหนังสือต่างประเทศ

b]เปิดใจครีเอทีฟแนวคิดมาจากหนังสือต่างประเทศ เขียนโดยผู้เป็นอัมพาตโรคสมองตีบ[/b]
หนุ่มครีเอทีฟ เปิดใจโฆษณาชุด "ลูกพ่อ" เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัททำให้ลูกค้าตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เผยที่มาของภาพยนตร์มาจากหนังสือต่างประเทศ เขียนโดยผู้เป็นอัมพาตจากโรคสมองตีบ ที่เล่าเรื่องเกี่ยวชีวิตที่ใกล้ความตาย
หลังจากภาพยนตร์โฆษณาชุด "ลูกพ่อ" ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ได้ออกมาสร้างสีสันบนหน้าจอโทรทัศน์ จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวก และลบในขณะนี้ แต่อาจมีหลายคนตั้งคำถามในใจเกี่ยวกับมุมมอง ความคิดริเริ่ม และการตีโจทย์ของโฆษณาชิ้นนี้ให้แตก เพื่อสร้างกระแสและภาพลักษณ์ให้บริษัทเจ้าของสินค้า
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [b]นายกรณ์ เทพินทราภิรักษ์ OSK88?[/b] ครีเอทีฟจากบริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด เจ้าของแนวคิดภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ได้ชี้แจงว่า โจทย์ของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทไทยประกันชีวิต ภายใต้แนวคิด "แวลู ออฟ ไลฟ์" หรือคุณค่าของชีวิต ที่ทำต่อเนื่องมาทุกปี โดยในปีนี้ต้องการโฟกัสเรื่องของความเป็นสถาบันครอบครัว ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดออกไปหลายเรื่องให้ลูกค้าได้เลือก จนสุดท้ายได้เลือกแนวคิดนี้มาทำเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่กำลังออกอากาศอยู่ในขณะนี้
สำหรับที่มาของแนวคิดนี้ ได้มาจากการอ่านหนังสือต่างประเทศ ที่เขียนโดยผู้เป็นอัมพาตจากโรคสมองตีบ เล่าเรื่องเกี่ยวชีวิตที่ใกล้ความตาย โดยนักแต่งหนังสือรายนี้ได้จัดงานสัมมนา และภายในงานดังกล่าวปรากฏว่ามีแม่กับลูกชายคู่หนึ่งที่มักทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เสมอในเรื่องการแต่งตัวของลูกค้า ที่ชอบแต่งตัวแบบเซอร์ๆ สุดท้ายเมื่อลูกชายเสียชีวิต ทั้งๆ ที่ตามประเพณีของชาวตะวันตกจะใส่สูทให้กับผู้เสียชีวิต แต่แม่คนนี้กลับให้ลูกแต่งตัวเหมือนกับตอนที่มีชีวิตอยู่ เพราะตระหนักว่า ที่ผ่านมาไม่ได้รักลูกในสิ่งที่ลูกเป็น
"การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ได้ไอเดียเค้าโครงเรื่องที่ใช้ในภาพยนตร์โฆษณา โดยได้พูดคุยกับผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ดัดแปลงตัวละครจากแม่และลูกชาย มาเป็นพ่อและลูกชาย เพราะมองว่าเพศชายเป็นเพศที่ไม่ค่อยแสดงออกในเรื่องของความรักลูก หรือลูกก็ไม่ได้แสดงออกในเรื่องของความรักที่มีต่อพ่อมากพอ จนได้ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ขึ้น" นายกรณ์ กล่าว
ส่วนเนื้อหาของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ที่ได้นำเสนอภาพรถชนกันที่สื่อให้เห็นถึงความน่ากลัวนั้น เท่าที่ได้ฟังความคิดเห็นของคนทั่วไปส่วนใหญ่จะบอกว่า น่ากลัวมาก ซึ่งถือว่าโฆษณานี้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้คนทั่วไปพูดถึง อย่างไรก็ตาม ภาพรถชนกันนั้น ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกในการแต่งภาพให้ดีที่สุดแล้ว โดยจะเห็นได้จากฉากที่กระจกนาฬิกาแตกที่ดูดี และได้ภาพที่ผ่านการขัดเกลาในระดับหนึ่ง
"การที่ประชาชนออกมาพูดถึงภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จจุดหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ที่ต้องเตรียมความพร้อมให้กับคนที่เรารัก ซึ่งการทำประกันชีวิตเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้" ผู้สร้างสรรค์ผลงานโฆษณาชุดดังกล่าว