Sunday, 5 August 2007
โฆษณากับเพศที่ 3 ทำเมื่อไหร่ก็ดัง?
โฆษณากับเพศที่ 3 ทำเมื่อไหร่ก็ดัง?
อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2548โฆษณาอารมณ์ขัน (humour) เชื่อขนมกินได้ว่าร้อยทั้งร้อยจะเป็นที่จดจำของผู้บริโภค หากมุกไม่แป้ก เป็น sick sense of humour เสียก่อน แต่จะเป็นที่ชื่นชอบด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของทัศนคติของแต่ละบุคคล...ลางเนื้อชอบลางยา สามารถ i-mobile เป็นอีกแบรนด์ที่สร้างสรรค์งานโฆษณาในเชิงขบขันมาโดยตลอด และไหว้วานให้ Bangkok Showcase รับผิดชอบการสร้างแบรนด์และโฆษณา ล่าสุดกับ TVC ชุด “Gay or Not?” ซึ่งทีมงานบอกว่าอารมณ์สนุกสนาน เปื้อนยิ้ม เป็น personality ของแบรนด์ i-mobile หากเทียบกับคนก็คือ Hue Grant ดาราหนุ่ม playboy จาก Hollywood ซึ่งหล่อ ดูดี แต่ขี้เล่น ตลก ลามกนิดๆ จุดขายของ i-mobile 602 คือสามารถเป็น handy drive และ MP3 ได้ด้วย เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2547 ที่ผ่านมาด้วยราคาประมาณ 7,000 บาท เหตุที่เป็น house-brand ราคาจึงต่ำกว่าเมื่อเทียบคุณสมบัติตัวต่อตัวกับแบรนด์อินเตอร์อย่าง Nokia หรือ Samsung และเพื่อการหมายมั่นปั้นมือให้ i-mobile เป็น fashion mobile และหวังสร้างกระแสให้ มือถือ เป็นเรื่องของ lifestyle ที่ต้อง update อยู่ตลอดเวลา จึงไม่ตั้งราคาไว้สูงนัก “เราสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ i-mobile ให้สนุกสนาน มีสีสัน และเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือเป็น fashion product ที่สามารถเปลี่ยนได้บ่อยๆ ปีหนึ่งอาจจะ 2 -4 ครั้ง” “เราต้องการสื่อถึง function หลักของสินค้าเลย คือเป็น MP3 Phone ดังนั้นเพลงจึงเป็นตัวเอกของเรื่อง ตอนแรกเสนอลูกค้าไปหลายแนวทางเหมือนกัน เรานึกถึงเพลงดังๆ หลายเพลง และสุดท้ายเราเลือกเพลงที่มีอิทธิพลต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็มาลงตัวที่ I will survive ซึ่งชัดเจนว่าเป็นเพลงสำหรับกลุ่มเกย์ แต่เราก็คิดไว้ว่าถ้าไม่ได้ลิขสิทธิ์เพลง I will survive ก็น่าจะเป็น YMCA แต่ perception มันจะอ่อนลงมาเยอะ โชคดีที่ทางสามารถฯ เขาเคยติดต่อขอลิขสิทธิ์เนื้อร้อง ทำนอง เพื่อมา mix บางส่วนและขับร้องใหม่ แต่ไม่ใช่ original version ของ Gloria Glaynor” ชูเกียรติ ครูทรงธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายสรรค์ บอก I will survive ได้รับการสถาปนาเป็นเพลงชาติเกย์อันดับ 1 เนื่องจากตามสถานเริงรมย์ยามค่ำคืน แค่ดนตรี intro ชายแอบ ไม่แอบ ต่างแสดงพลัง สะบัดลีลาพลิ้วไหว ระรื่นรับคำนับเพลงนี้กันแทบจะถ้วนทั่ว “เราไม่ได้ชูเกย์แล้วทำให้ตลก เราชูเพลงที่คนรู้จักและเข้าใจง่าย นำเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วมาทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น นักแสดงเป็นผู้ชายแท้ๆ แม้จะมีคนสอนท่าเต้นให้แต่ก็บ้างที่เขาคิดเองเต้นเองสดๆ เลย ทำให้ดูตลกมากกว่าการเต้นของเกย์จริงๆ ซึ่งมันจะดูมากเกินไป” ชูเกียรติและทีมงานบอกอีกว่า “คนดูเมืองไทยชอบดูโฆษณาตลกขบขัน แต่ต้องสื่อถึงตัวสินค้าได้” ซึ่งสอดรับกับผลวิจัยของ Far East DDB เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาว่า ภาพยนตร์โฆษณาที่ชื่นชอบในมุมมองของผู้บริโภคนั้น ต้องนำเสนอเรื่องน่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าถึงใจของผู้บริโภคและดูง่าย ได้ข้อคิด หากจะว่าไปแล้วไม่เฉพาะแวดวงเอเยนซี่เมืองไทยเท่านั้นที่นิยมใช้ตัวละครหรือสื่อเรื่องราวของเพศที่ 3 โดยเฉพาะ “ชายรักชาย” เมืองนอกเมืองนาโดยเฉพาะอเมริกา แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง Benetton (รวมทั้งแบรนด์ในเครือ-sisley ล้วนแล้วแต่หยิบยกมุกเกย์มาใช้อยู่เนืองๆ เสมือนเป็นหนึ่งในคัมภีร์โฆษณาเลยทีเดียว กระนั้นก็มีอีกหลายแบรนด์ (ออกอากาศต่างประเทศ) ที่เคยนำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของเกย์ที่สื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ในมิติอื่น คือ ความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย หรือแม้กระทั่งการดูถูกเหยียดหยาม ชิงชัง ผ่านโฆษณาทั้ง TVC และ print ad จนกระทั่งเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ นอกเหนือไปจาก “อารมณ์ขัน” เช่น Moschino, Bridgestone, Clavin Klein, Hyundai, 7up เป็นต้น “เพศที่ 3” ยังคงเป็นเรื่อง “ขายได้” “ขายดี” ในผลิตผลของสื่อแทบทุกแขนง เพศที่ 3 ที่ต้องผ่านการตีความอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นเพศที่ 3 ในทัศนะของการยอมรับ เฉยชา หรือเพียงถังขยะบนจอเท่านั้น Credit Client : Samart Corporation Product : iMobile by Samart- iMobile idea602 Title : Gay or Man? Medium : TVC 30 Sec/15 Sec Agency : Bangkok Showcase Executive Creative Director : ชูเกียรติ ครูทรงธรรม Art Director : โรจนะ ฉั่วสกุล Copywriter : โชคชัย ตู้ปัญญากนก Production House : Matching Studio สถานที่ถ่ายทำจำลองบรรยากาศร้านอาหารในมหานครนิวยอร์ก โดยใช้ร้าน Chi ใน H1 ทองหล่อ แทน ท่ามกลางวงสนทนาในร้านอาหาร ชายหนุ่ม 4 คนจับกลุ่มคุยกัน มองไปยังโต๊ะข้างๆ พร้อมทายกันว่า ชายมาดเท่ผู้มาพร้อมหญิงสาวเป็น Gay or Not บทพิสูจน์เริ่มขึ้นเมื่อ i-mobile MP3 Phone บรรเลงเพลงชาติเกย์ ชายหนุ่มผู้ต้องกังขาสะดุดหูกับเพลงคุ้นเคย แต่พยายามสะกดอารมณ์ภายในอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่วายนิ้วก้อยเด้ง เล็บจิกฝังในโซฟา เอนกายบิดไปมา ก่อนที่จะระเบิดความแรงออกมาอย่างสุดเหวี่ยง ความเป็นชายหลุดจากร่าง สวมวิญญาณนางโชว์คว้าเฟอร์สีชมพูเป็นอุปกรณ์ในการวาดลวดลาย ก่อนที่เพลงจะหยุดกึกลง ทำให้แฟนสาวถึงกับอึ้งตะลึงงันทำผมปิดหน้าปิดตาซะเลย เรื่องราวดำเนินต่อไป เมื่อ i-mobile 602 บรรเพลง I will survive อีกครั้ง 1 หนุ่มในก๊วนผู้มุ่งมาดจะทดสอบความเป็นเกย์ของชายอื่น กลับต้องสลัดสูททิ้ง แสดงความเปรี้ยวส่วนตัวออกมาอย่างถึงแก่น
อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2548โฆษณาอารมณ์ขัน (humour) เชื่อขนมกินได้ว่าร้อยทั้งร้อยจะเป็นที่จดจำของผู้บริโภค หากมุกไม่แป้ก เป็น sick sense of humour เสียก่อน แต่จะเป็นที่ชื่นชอบด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของทัศนคติของแต่ละบุคคล...ลางเนื้อชอบลางยา สามารถ i-mobile เป็นอีกแบรนด์ที่สร้างสรรค์งานโฆษณาในเชิงขบขันมาโดยตลอด และไหว้วานให้ Bangkok Showcase รับผิดชอบการสร้างแบรนด์และโฆษณา ล่าสุดกับ TVC ชุด “Gay or Not?” ซึ่งทีมงานบอกว่าอารมณ์สนุกสนาน เปื้อนยิ้ม เป็น personality ของแบรนด์ i-mobile หากเทียบกับคนก็คือ Hue Grant ดาราหนุ่ม playboy จาก Hollywood ซึ่งหล่อ ดูดี แต่ขี้เล่น ตลก ลามกนิดๆ จุดขายของ i-mobile 602 คือสามารถเป็น handy drive และ MP3 ได้ด้วย เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2547 ที่ผ่านมาด้วยราคาประมาณ 7,000 บาท เหตุที่เป็น house-brand ราคาจึงต่ำกว่าเมื่อเทียบคุณสมบัติตัวต่อตัวกับแบรนด์อินเตอร์อย่าง Nokia หรือ Samsung และเพื่อการหมายมั่นปั้นมือให้ i-mobile เป็น fashion mobile และหวังสร้างกระแสให้ มือถือ เป็นเรื่องของ lifestyle ที่ต้อง update อยู่ตลอดเวลา จึงไม่ตั้งราคาไว้สูงนัก “เราสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ i-mobile ให้สนุกสนาน มีสีสัน และเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าโทรศัพท์มือถือเป็น fashion product ที่สามารถเปลี่ยนได้บ่อยๆ ปีหนึ่งอาจจะ 2 -4 ครั้ง” “เราต้องการสื่อถึง function หลักของสินค้าเลย คือเป็น MP3 Phone ดังนั้นเพลงจึงเป็นตัวเอกของเรื่อง ตอนแรกเสนอลูกค้าไปหลายแนวทางเหมือนกัน เรานึกถึงเพลงดังๆ หลายเพลง และสุดท้ายเราเลือกเพลงที่มีอิทธิพลต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็มาลงตัวที่ I will survive ซึ่งชัดเจนว่าเป็นเพลงสำหรับกลุ่มเกย์ แต่เราก็คิดไว้ว่าถ้าไม่ได้ลิขสิทธิ์เพลง I will survive ก็น่าจะเป็น YMCA แต่ perception มันจะอ่อนลงมาเยอะ โชคดีที่ทางสามารถฯ เขาเคยติดต่อขอลิขสิทธิ์เนื้อร้อง ทำนอง เพื่อมา mix บางส่วนและขับร้องใหม่ แต่ไม่ใช่ original version ของ Gloria Glaynor” ชูเกียรติ ครูทรงธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายสรรค์ บอก I will survive ได้รับการสถาปนาเป็นเพลงชาติเกย์อันดับ 1 เนื่องจากตามสถานเริงรมย์ยามค่ำคืน แค่ดนตรี intro ชายแอบ ไม่แอบ ต่างแสดงพลัง สะบัดลีลาพลิ้วไหว ระรื่นรับคำนับเพลงนี้กันแทบจะถ้วนทั่ว “เราไม่ได้ชูเกย์แล้วทำให้ตลก เราชูเพลงที่คนรู้จักและเข้าใจง่าย นำเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วมาทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น นักแสดงเป็นผู้ชายแท้ๆ แม้จะมีคนสอนท่าเต้นให้แต่ก็บ้างที่เขาคิดเองเต้นเองสดๆ เลย ทำให้ดูตลกมากกว่าการเต้นของเกย์จริงๆ ซึ่งมันจะดูมากเกินไป” ชูเกียรติและทีมงานบอกอีกว่า “คนดูเมืองไทยชอบดูโฆษณาตลกขบขัน แต่ต้องสื่อถึงตัวสินค้าได้” ซึ่งสอดรับกับผลวิจัยของ Far East DDB เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาว่า ภาพยนตร์โฆษณาที่ชื่นชอบในมุมมองของผู้บริโภคนั้น ต้องนำเสนอเรื่องน่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าถึงใจของผู้บริโภคและดูง่าย ได้ข้อคิด หากจะว่าไปแล้วไม่เฉพาะแวดวงเอเยนซี่เมืองไทยเท่านั้นที่นิยมใช้ตัวละครหรือสื่อเรื่องราวของเพศที่ 3 โดยเฉพาะ “ชายรักชาย” เมืองนอกเมืองนาโดยเฉพาะอเมริกา แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง Benetton (รวมทั้งแบรนด์ในเครือ-sisley ล้วนแล้วแต่หยิบยกมุกเกย์มาใช้อยู่เนืองๆ เสมือนเป็นหนึ่งในคัมภีร์โฆษณาเลยทีเดียว กระนั้นก็มีอีกหลายแบรนด์ (ออกอากาศต่างประเทศ) ที่เคยนำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของเกย์ที่สื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ในมิติอื่น คือ ความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย หรือแม้กระทั่งการดูถูกเหยียดหยาม ชิงชัง ผ่านโฆษณาทั้ง TVC และ print ad จนกระทั่งเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ นอกเหนือไปจาก “อารมณ์ขัน” เช่น Moschino, Bridgestone, Clavin Klein, Hyundai, 7up เป็นต้น “เพศที่ 3” ยังคงเป็นเรื่อง “ขายได้” “ขายดี” ในผลิตผลของสื่อแทบทุกแขนง เพศที่ 3 ที่ต้องผ่านการตีความอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นเพศที่ 3 ในทัศนะของการยอมรับ เฉยชา หรือเพียงถังขยะบนจอเท่านั้น Credit Client : Samart Corporation Product : iMobile by Samart- iMobile idea602 Title : Gay or Man? Medium : TVC 30 Sec/15 Sec Agency : Bangkok Showcase Executive Creative Director : ชูเกียรติ ครูทรงธรรม Art Director : โรจนะ ฉั่วสกุล Copywriter : โชคชัย ตู้ปัญญากนก Production House : Matching Studio สถานที่ถ่ายทำจำลองบรรยากาศร้านอาหารในมหานครนิวยอร์ก โดยใช้ร้าน Chi ใน H1 ทองหล่อ แทน ท่ามกลางวงสนทนาในร้านอาหาร ชายหนุ่ม 4 คนจับกลุ่มคุยกัน มองไปยังโต๊ะข้างๆ พร้อมทายกันว่า ชายมาดเท่ผู้มาพร้อมหญิงสาวเป็น Gay or Not บทพิสูจน์เริ่มขึ้นเมื่อ i-mobile MP3 Phone บรรเลงเพลงชาติเกย์ ชายหนุ่มผู้ต้องกังขาสะดุดหูกับเพลงคุ้นเคย แต่พยายามสะกดอารมณ์ภายในอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่วายนิ้วก้อยเด้ง เล็บจิกฝังในโซฟา เอนกายบิดไปมา ก่อนที่จะระเบิดความแรงออกมาอย่างสุดเหวี่ยง ความเป็นชายหลุดจากร่าง สวมวิญญาณนางโชว์คว้าเฟอร์สีชมพูเป็นอุปกรณ์ในการวาดลวดลาย ก่อนที่เพลงจะหยุดกึกลง ทำให้แฟนสาวถึงกับอึ้งตะลึงงันทำผมปิดหน้าปิดตาซะเลย เรื่องราวดำเนินต่อไป เมื่อ i-mobile 602 บรรเพลง I will survive อีกครั้ง 1 หนุ่มในก๊วนผู้มุ่งมาดจะทดสอบความเป็นเกย์ของชายอื่น กลับต้องสลัดสูททิ้ง แสดงความเปรี้ยวส่วนตัวออกมาอย่างถึงแก่น