Friday 3 August 2007

Thai Movie News

"จีทีเอช" ประกาศความพร้อมยกชั้นขึ้นเจ้าตลาดภาพยนตร์ไทย เปิดแผนเชิงรุกกวาดส่วนแบ่งตลาด 40% ด้วยแผนผลิตปีละ 8-10 เรื่อง ประเดิมปีแรก 9 เรื่อง คาดทำรายได้ 700 ล้านบาท พร้อมเข้า ตลาดหลักทรัพย์ได้ใน 3 ปี "ไพบูลย์" มั่นใจ 3 ปีแรก ทำกำไร 100 ล้านบาท หลังจากสร้างความฮือฮา ในวงการภาพยนตร์ต่อเนื่องมาแล้วระยะหนึ่ง ล่าสุดค่ำวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา บริษัทบันเทิงน้องใหม่ในนาม บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด (จีทีเอช) ก็จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ขึ้น นับเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์รายใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุด เนื่องจากก่อกำเนิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ 3 บริษัทบันเทิงชื่อดัง นำด้วยพี่ใหญ่แห่งวงการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งถือหุ้นใหญ่ 51%, บริษัท ไท เอ็นเตอร์เท็นเมนท์ จำกัด ถือหุ้น 30%, บริษัท หับ โห้ หิ้น บางกอก ถือหุ้น 19% เริ่มต้นธุรกิจในฐานะบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหม่ ซึ่งมีความพร้อมมากที่สุดรายหนึ่ง จากเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท นายวิสูตร พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไทย หับ จำกัด หรือจีทีเอช บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ครบวงจร กล่าวถึง เป้าหมายแผนงานในเชิงธุรกิจว่า บริษัทจะ มีการผลิตภาพยนตร์สู่ตลาดหนังไทยปีละ 8-10 เรื่อง โดยขณะนี้ มีโครงการสร้างภาพยนตร์ทั้งหมดรวม 9 เรื่อง มีแบรนด์ "แฮปปี้ ดีพร้อมท์" โทรศัพท์แบบเติมเงิน จากค่ายดีแทค เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก คาดว่าในปีแรกของการดำเนินงานจะทำรายได้ 700 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการฉายภาพยนตร์ราว 400 ล้านบาท และรายได้จากการขายสาย และขายลิขสิทธิ์วีซีดี, ดีวีดีอีก รวมทั้งสปอนเซอร์อื่นๆ อีก 300 ล้านบาท ภาพยนตร์ของ "จีทีเอช" จะเริ่มออกสู่ตลาดในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ได้แก่ เรื่องสายล่อฟ้า ซึ่งเป็นโครงการร่วมสร้างกับบริษัท แมงป่อง มีผู้กำกับ คือ นายยุทธเลิศ สิปปภาค จากนั้น วันที่ 2 ธ.ค.2546 จะเป็นภาพยนตร์เรื่อง "แจ๋ว" ผู้กำกับ คือนายยงยุทธ ทองกองทุน และช่วงปีใหม่ 2548 จะเป็นภาพยนตร์เรื่อง บุปผาราตรี 2 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้เป็นต้นไป จะมีภาพยนตร์บางส่วนที่จีทีเอชเป็นผู้จัดจำหน่ายให้ อยู่ในโปรแกรม ที่จะเข้าฉาย ได้แก่ เจ้าสาวผัดไท, หมอเจ็ด, พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว, ธิดาช้าง และชัตเตอร์กดติดวิญญาณนายวิสูตร กล่าวว่า จากแผนการวางตลาดภาพยนตร์ไทยอย่างต่อเนื่องปีละ 8-10 เรื่อง จะทำให้บริษัทมีส่วนแบ่ง การตลาดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย 40% ในปี 2548 โดยคาดว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย จะมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรายหลักที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ได้แก่ บริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ของนายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ "เสี่ยเจียง" นายกสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย มีส่วนแบ่งการตลาดราว 35% ใกล้เคียงกับส่วนแบ่งรายได้จากภาพยนตร์ของ 3 ค่าย ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส, ไท เอ็นเตอร์เท็นเม้นท์ และหับ โห้ หิ้น ฟิล์ม ก่อนรวมเป็นจีทีเอช ขณะที่ค่ายภาพยนตร์อื่นๆ จะมีส่วนแบ่งตลาด รายละประมาณ 10% "ตลาดหนังไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวแบบขึ้นๆ ลงๆ ถ้าหากผู้ผลิตยังสามารถผลิตหนังป้อนออก สู่ตลาดได้ปีละ 50 เรื่อง อุตสาหกรรมน่าจะไปถึงระดับ 1,500 ล้านบาท จากการที่เราตั้งจีทีเอชขึ้นมา ก็เพื่อรักษา ระดับคุณภาพและการผลิตหนังไทยให้มีความต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม" นายวิสูตรกล่าวและว่า สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในปีที่แล้ว มีมูลค่าตลาดประมาณ 800 ล้านบาท ในช่วงไตรมาสแรกของ ปีนี้รายได้ของหนังไทยลดลง 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน คาดว่าทั้งปีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะเติบโต โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท ผู้บริหารจีทีเอช กล่าวด้วยว่า อีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีการเพิ่มทุนอีก 200 ล้านบาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนในการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มทุนก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือตามแผนการดำเนินงานบริษัท ซึ่งวางเป้าหมายการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใน 3-5 ปี ด้านนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัทจีเอ็มเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวอย่างมั่นใจว่า จีทีเอช จะสามารถระดมทุนเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใน 3 ปี หรือสามารถสร้างผลกำไรได้ 100 ล้านบาท ตามกฎเกณฑ์ของก.ล.ต. นายวิสูตร ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากจีทีเอชจะผลิตภาพยนตร์ของตัวเองแล้ว นโยบายของบริษัทจะมีการเปิดกว้าง รับผู้ผลิตจากภายนอกด้วย ทั้งในลักษณะเป็นผู้กำกับ, เป็นบริษัทที่ต้องการเข้ามาร่วมทุนสร้างภาพยนตร์ ซึ่งนอกจากบริษัทแมงป่องแล้ว บริษัท ไฟว์ สตาร์ โปรดักชั่นส์ ก็มีโครงการสร้างภาพยนตร์ร่วมกัน ได้แก่ เรื่องวัยอลวน 4 และสะกดรอยชู้ ของบัณฑิต ฤทธิกล หรือเรื่องเด็กหอ ที่จีทีเอชร่วมทุนกับฟีโนมีนา โมชั่น พิคเจอร์ส เป็นต้น โดยจะมีการวางมาตรฐานการแบ่งผลประโยชน์ ในแบบสากลและยุติธรรม สำหรับโครงการร่วมทุนผลิตกับต่างประเทศ ขณะนี้ บริษัทได้มีการเจรจาอยู่กับประเทศเกาหลีและฮ่องกง ลักษณะความร่วมมือจะคล้ายกับภาพยนตร์เรื่อง อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต (THREE) ยังไม่มีการสรุป ขณะที่แนวนโยบายการขยายตลาดต่างประเทศนั้น บริษัทจะให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของจีทีเอช นับเป็นโมเดลใหม่ของอุตสาหกรรมหนังไทย ที่วางรูปแบบการเชื่อมโยงธุรกิจกับ พันธมิตรไว้อย่างน่าสนใจ ตามที่นายประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ กรรมการบริหารบริษัท ซึ่งเผยว่า จีเอ็มเอ็ม ไท หับ เป็นสตูดิโอ ที่จะดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ครบวงจร ทั้งผลิตและจัดจำหน่าย โดยจะมีบริษัทลูก คือ บริษัท เมนสตรีม พิคเจอร์ส เป็นบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ โครงการสร้างภาพยนตร์ของจีทีเอชเอง จะมีกว่า 10 โครงการที่วางโปรแกรมเข้าฉายตั้งแต่ปี 2547-2548 นอกจากนี้ ยังมีโครงการเข้าไปร่วมทุนผลิตกับโพรดักชันเฮ้าส์อื่นๆ อาทิ ภาพยนตร์เรื่องสายล่อฟ้า ได้ร่วมมือกับ บริษัท แมงป่อง จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ฟีโนมีน่า ที่สร้างภาพยนตร์เรื่องชัตเตอร์กดติดวิญญาณ เป็นต้น ทิศทางการดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ของจีทีเอช คือ การเป็นบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในตลาด (BEST LOCAL PRODUCTION) สร้างภาพยนตร์เพื่อตอบสนองผู้ชมชาวไทยเป็นหลัก และ เมื่อประสบความสำเร็จจากตลาดในประเทศ ก็จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ได้รับความสนใจจากต่างประเทศด้วย จากนั้นก็จะต่อยอดไปสู่แผนขยายตลาดในต่างประเทศ โดยการร่วมทุนกับบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ของประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีให้เห็นมากขึ้นในอนาค