Monday 13 August 2007

แฮปปี้ โทรศัพท์แบบเติมเงินจากดีแทค

แฮปปี้ โทรศัพท์แบบเติมเงินจากดีแทค ร่วมกับบริษัทชั้นนำ ได้แก่ “Blind” , Alternate Bangkok Council of Design ( ABCD ), Love Space , smallroom, Y&R และ แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน) และ นิตยสารสุดสัปดาห์ จัดโครงการสร้างสรรค์ภายใต้ชื่อ “Happy ไม่ใช่เล่น Awards” เปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงไอเดียสร้างสรรค์ โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้นจากมืออาชีพ เจ้าของผลงานสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งภาพยนตร์โฆษณา เพลง Jingle หรือเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา นิตยสาร ออกแบบบัตรเติมเงินรวมถึงของที่ระลึกประเภทต่าง ๆ โดยงานนี้ได้รับการต้อนรับจากนิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศ ที่พร้อมใจสมัครเข้ามากว่า 1,500 ทีม และจำนวนผู้เข้าฟังการอบรมความรู้เบื้องต้นกว่า 4,000 คนจากทั่วประเทศ โดยทีมงานเปิดหลักสูตรให้เรียนจากประสบการณ์จริง จากพี่ ๆ ในวงการโฆษณา วงการออกแบบและนิตยสาร ซึ่งต่างเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในวงการต่าง ๆ โดยจุดมุ่งหมายของการเข้าชั้นเรียนลัดครั้งนี้คือการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกแบบผลงานเพื่อส่งประกวด “Happy ไม่ใช่เล่น Awards” แถมยังได้เก็บเกี่ยวสาระในการอบรมครั้งนี้ ไปใช้ในสายงานต่อไปในอนาคตอีกด้วย ในช่วงแรก เป็นหน้าที่ของ “ พี่ป๋อง ” วัชรพงษ์ ศิริพากย์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น มาเล่าถึงที่มาของ แบรนด์ “Happy” เพื่อให้น้อง ๆ นักศึกษาได้ออกแบบและทำผลงาน ให้ตรงกับภาพลักษณ์ของ “Happy” พี่ป๋องเล่าถึงภาพรวมของตลาดมือถือ ว่าก่อนหน้านี้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง จึงเกิดการเสนอทางเลือกให้ผู้ใช้บริการ ด้วยการใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินแทนการจ่ายค่าบริการแบบรายเดือน ซึ่งต่อมาตัวเลขของผู้ใช้โทรศัพท์แบบเติมเงิน เพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เพราะจุดเด่นที่ชัดเจนคือ ความสะดวกและอิสระในการใช้บริการ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้เอง ทำให้ขณะนี้มีตัวเลขผู้ใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินทั่วประเทศสูงถึง 14 ล้านคน“ แฮปปี้ ” จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์แบบเติมเงิน ด้วยการทำโปรโมชั่นให้ผู้ใช้สามารถเลือกโทรในราคาประหยัด ในเวลา 4 ช่วง ที่เลือกได้เอง ภายใต้สัญลักษณ์ “Smile icon” หรือรอยยิ้มสีแดง จากนั้นก็มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบัตรเติมเงินได้ง่าย ๆ จากรถไอศกรีมเนสท์เล่ รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการตลาด ตอกย้ำความรู้สึกดี เรียบง่าย อมยิ้ม และมองโลกในแง่ดี และมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฮปปี้ กับลูกค้าและประชาชนทั่วไป
ต่อมาในปี 2547 “ แฮปปี้ ” ก็ได้นำเสนอสินค้าใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง อาทิ ซิมรุ่นเล็ก บัตรเติมเงิน 50 บาท โทรทั่วโลก กับ Happy Go Inter และล่าสุดกับบริการ “ ใจดี ให้ยืม ” ก่อนจบการบรรยาย พี่ป๋องยังแอบกระซิบบอกน้อง ๆ ว่า “ ขอให้รอดูต่อไป รับรองว่าแฮปปี้จะมีบริการใจดีอื่น ๆ ตามมาเป็นแถวอย่างแน่นอน ” แถมด้วยกำลังใจดี ๆ ว่า“ อยากให้น้อง ๆ มีความสุขจากการได้ร่วมงานกัน ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ขออวยพรให้โชคดี และโชว์สิ่งที่ตัวเองคิด ให้สาธารณะชนได้รู้ว่า เราก็ไม่ใช่เล่น ๆ ” เริ่มคลาสแรก เป็นหน้าที่ของพี่ ๆ จากบริษัทโฆษณา Y&R และ แม็ทชิ่ง สตูดิโอ มืออาชีพ ผลงานเยี่ยม ได้รับรางวัลจากแวดวงโฆษณามากมาย ได้แก่ พี่ต่อ ปิยะ บุญฑริก Executive Creative Director , พี่มิ่ง เพ็ญพร โสมนัส Creative Group Head บ .Y&R จำกัด และ พี่ตุ้ย ชาญชัย ชวานนท์ ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา “ แฮปปี้ ” หลายต่อหลายเรื่อง ที่ดูเมื่อไหร่เป็นต้องอมยิ้มเมื่อนั้นพี่ ๆ ทั้งสาม ช่วยกันเล่าประสบการณ์การทำงาน รวมถึงกระบวนการทำภาพยนตร์โฆษณา เริ่มต้นจากการหากลยุทธ์ในการสื่อสาร แล้วส่งงานต่อให้ครีเอทีฟ เขียนสคริปท์ จากนั้นก็เป็นขั้นตอนการผลิต โดยเป็นหน้าที่ของ โปรดิวเซอร์ และผู้กำกับ งานนี้พี่ต่อยังเผยไต๋ให้กลยุทธ์ในการสื่อสารอย่างง่าย ๆ ที่ไม่มีในตำราเรียน นั่นคือการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และวิธีการสร้างสรรค์งานโฆษณา“ รูปแบบและวิธีการนำเสนอ จะต้องหาวิธีฉีกจากกฎเกณฑ์เดิม ๆ ของตลาด เพราะผู้ตามไม่มีวันประสบความสำเร็จได้ อีกทั้งน้อง ๆ ต้องรู้ให้ลึกถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเรื่องทัศนคติ พฤติกรรม และลักษณะนิสัย สุดท้ายต้องรู้ถึงวิสัยทัศน์และศักยภาพของสินค้า ” ตัวอย่างเช่น แบรนด์ “ แฮปปี้ ” เชื่อว่า ความสุขเป็นเหตุผลที่ทำให้มนุษย์ชาติดำรงอยู่ ไม่ว่าจะยาก ดี มี จน ทุกคนต้องการเติมความสุขให้ชีวิตเสมอ โดยมีแกนไอเดียคือ “ ความสุข พร้อมเติม ”บอกใบ้ให้คนเตรียมตัวส่งผลงานเข้าประกวดได้รู้ทันว่า ผลงานที่มีสิทธิ์อยู่ในใคณะกรรมการตัดสิน คือผลงานที่สื่อสารด้วยวิธีง่าย ๆ เข้าใจง่าย ติดดิน แต่มีความร่วมสมัย และเป็นคนมีความคิด และทั้งหมดต้องปนมากับ ความสุข ความขี้เล่น และอมยิ้ม และงานนี้ไม่ใช่เพียงแค่พูดกันเปล่า ๆ แต่พี่ ๆ ยังหอบผลงานโฆษณา ที่เป็นตัวอย่างดี ๆ มาให้น้องดูเป็นตัวกระตุ้นไอเดียเพียบ !ฝากทิ้งทวนก่อนอำลา ว่า “ จำให้แม่น ผลงานต้อง ชัด-สด-โดน เข้าใจง่าย มีความแตกต่าง และเข้าถึงใจคน ซึ่งทั้งหมดดูเหมือนจะยาก แต่พี่ ๆ บอกว่า ขอให้คิด คิดแล้วคิดอีก แล้วผลงานดี ๆ จะบังเกิดได้แน่นอนคลาสที่สอง พี่น้ำ สิริมน ณ นคร บรรณาธิการบริหาร นิตยสารสุดสัปดาห์ อาสาน้อง ๆ ท่องสู่โลกตัวหนังสือ ภาษาสวย สอนน้อง ๆ ให้รู้วิธีการทำนิตยสาร ที่ต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นของความคิด ได้แก่ การตีโจทย์ ซึ่งมีทั้งการตีความผ่านบุคคล และเหตุการณ์ จากนั้นต้องหาแก่นของเรื่อง ขอให้จำไว้ว่า “ ไอเดียที่แข็งแรงเท่านั้น ถึงจะอยู่รอด ” ไม่ว่าจะเป็นบทความวิจารณ์ สกู๊ป หรือบทสัมภาษณ์ และสุดท้ายต้องเหยาะอรรถรสให้หนังสือ ด้วยหลากหลายกลเม็ดเด็ดพราย ทั้ง การจัดหน้า ภาพประกอบ ถ้อยคำสวย ๆ ความหมายดี เรื่องตลกขบขัน รวมทั้งรูปภาพที่อาจแทนความหมายทั้งหมดได้โดยไม่ต้องอาศัยแม้เพียงหนึ่งตัวอักษรแนะนำให้น้อง ๆ อีกเรื่อง ว่าในทีมควรจะมีความสามารถหลากหลาย และแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เช่น ถนัดถ่ายภาพ เก่งกราฟฟิคจัดหน้า ชอบเขียนหนังสือ ผลงานที่ออกมาจะได้โดยใจกรรมการ เพราะสวยดูดีครบถ้วนทุกกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์พี่น้ำเพิ่มพลังใจให้เด็กรุ่นใหม่ในชั้นเรียน ว่าอย่ากลัว อย่าท้อ “ ต้องมีหัวใจที่กล้าหาญ และมีความมุ่งหวังว่า เราจะชนะ เด็กต่างจังหวัดใช่ว่าจะเสียเปรียบเด็กกรุงเทพฯ เพราะทุกอย่างอยู่ที่ไอเดีย อยู่ที่รอยหยักของสมองคิดมากเก่งมาก ถึงเด็กกรุงเทพฯจะมีโอกาสได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ มากกว่า แต่จากประสบการณ์ประกวดหนังสือ พี่น้ำยืนยันว่าเด็กต่างจังหวัดเข้ารอบมากกว่าเด็กกรุงเทพฯ สู้เค้านะน้อง !”คลาสที่สาม พี่ต้อม ชัชวาล ขนขจี ที่ปรึกษาการออกแบบ จาก Blind กับอาจารย์ ติ๊ก สันติ ลอรัชวี ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนักออกแบบ Alternate Bangkok Council of Design ( ABCD) จูงมือกันมาให้ไอเดียการออกแบบบัตรเติมเงิน “ แฮปปี้ ” เปิดฉากสร้างความเข้าใจให้น้อง ๆ ด้วยทฤษฎีการออกแบบแน่นปึ้ก พี่ต้อมกับอาจารย์ติ๊กให้คำนิยามว่า การออกแบบคือการใช้ความคิดที่ดี แต่การออกแบบที่ดีคือการพยายามแสวงหารูปแบบของตัวเอง ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในชีวิตประจำวันของเรา มีเรื่องการออกแบบเข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์ ป้ายหน้าร้าน โลโก้ หน้าปกแมกกาซีน ซองบะหมี่ และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบ คือ รูปแบบ และการนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่นงานที่น้อง ๆ กำลังจะสร้างสรรค์เพื่อส่งเข้าประกวด คือการออกแบบบัตรเติมเงิน รูปแบบของงานชิ้นนี้ก็คือ ขนาดของบัตรเติมเงิน ซึ่งรวมองค์ประกอบอื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน มีทั้ง ภาพ ตัวอักษร การจัดวางสี วัสดุ และการผลิต ซึ่งทั้งหมดเกิดได้จากไอเดียของน้อง ๆ
อาจารย์ติ๊กเล่าความคิดของตัวเอง ให้น้อง ๆ คิดต่อก่อนจบการบรรยายว่า “ เมื่อผมเรียนจบ ผมพยายามเป็นนักออกแบบที่เก่ง แต่ถึงวันนี้ผมอยากเป็นเพียงแค่นักออกแบบที่ดี และออกแบบอย่างมีความสุข ”
คลาสที่สี่เป็นเรื่องของการออกแบบของที่ระลึก แนะนำโดย อ.พิชัย ตุรงคินานนท์ อาจารย์คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และ พี่อ้อ อวยพร วาตะบุตร์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเจ้าของบริษัท Love Space เริ่มต้นถึงคำว่า “ ของที่ระลึก ” ซึ่งเป็นเหมือนคำเฉพาะ แต่จริง ๆ แล้วเป็นได้ทุกอย่างสำหรับสิ่งของที่ใช้งานภายในบ้าน ใครอยากเป็นอยากมีไอเดียออกแบบของที่ระลึกเก๋ ๆ ต้องยึด 4 ประเด็นสำคัญ คือต้องค้นหาแรงบันดาลใจ ทั้งเชิงรูปธรรม คือเป็นวัตถุสิ่งของ และจับต้องได้ และเป็นนามธรรม ซึ่งหมายถึง เรื่องราว ตำนาน อารมณ์ ความรู้สึก เช่นของที่ระลึกของ “ แฮปปี้ ” ต้องเป็นชิ้นงานที่สื่อให้เกิดความรู้สึก อิ่มใจ อมยิ้ม สนุกสนาน และใช้งานได้จริง
ส่วนจะออกแบบอะไรนั้น อ.พิชัยนำทางให้ว่า ประเภทของที่ระลึก แบ่งเป็น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า และของเล่น ซึ่งน้อง ๆ ควรเลือกออกแบบของที่ระลึกที่เรียบง่าย และสื่อสารความรู้สึกได้อย่างรวดเร็ว โดยคำนึงถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รูปทรงทางศิลปะ สุนทรียภาพ ประโยชน์ใช้สอย และสามารถผลิตได้จริง
คลาสที่ห้า น้อง ๆ สนุกสนานกันเป็นพิเศษ เพราะได้พี่ ๆ จากวงอาร์มแชร์ มาร้องเพลงคลายเครียด สลับกับการบรรยายสไตล์สุดมัน ของพี่เจ เจตมนต์ มละโยธา Music Director และ พี่เจมส์ ชัยบวร ศรีลูกหว้า Assistant Music Director สองนักทำเพลงโฆษณา จากค่าย smallroom เจ้าของผลงานและเจ้าของเสียง เพลงโฆษณา “ แฮปปี้ ” ที่แสนคุ้นหูอยู่ในขณะนี้
พี่เจบรรยายเสียงนุ่ม ว่าก่อนที่น้อง ๆ จะเริ่มจรดปากกาแต่งเพลงโฆษณาหรือ Jingle เข้าประกวด ลองถามตัวเองดูว่า เคยเข้าไปในโลกของดนตรีหรือเปล่า ? ...เคยไปดูคอนเสิร์ตบ้างไหม ถ้าเคยทำทั้งสองอย่างแล้วก็น่าจะลองเล่นดนตรีดูบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจในธรรมชาติของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ส่วนขั้นตอนต่อไปต้องถามตัวเองว่าฟังเพลงมาหลากหลายแค่ไหน และสามารถแยกแยะความแตกต่าง ของรูปแบบและสไตล์การขับร้องได้หรือไม่ จากนั้นลองถามตัวเองว่าชอบแนวเพลงแบบไหน และรู้จักแนวเพลงที่ตัวเองชอบดีแค่ไหน พี่เจบอกว่าถ้าน้องชอบแนวเพลงใด ก็ควรจะศึกษาประวัติ และวิวัฒนาการของแนวเพลงนั้น ๆ และเมื่อน้อง ๆ ตอบทุกสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด เอาล่ะ...ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นแต่งเพลงกันได้แล้ว
อธิบายถึง 4 ขั้นตอนของการทำ เริ่มต้นที่การรับ Brief จากลูกค้า ซึงต้องตอบโจทย์ทางการตลาดของสินค้าชนิดนั้น โดยมี 3 ส. คือ ส่งเสริมยอดขาย ส่งเสริมภาพพจน์ที่ดีของสินค้า และส่งเสริมสังคม ต่อด้วยการตอบโจทย์ทางดนตรี ซึ่งมีทั้งเรื่องของความยาวของเพลง โดยมีเวลามาตรฐานของการทำ Jingle อยู่ที่ 15-30-45-60-90 วินาที จากนั้นจึงกำหนดแนวเพลงและสไตล์การร้อง ทำเดโม แล้วจึงเสนอผลงานให้เจ้าของสินค้า พูดคุย แก้ไขจนเป็นที่พอใจ จึงเข้าสู่กระบวนการผลิตในห้องบันทึกเสียง
พี่เจและพี่เจมส์ทิ้งทายว่า พี่ ๆ เอาใจช่วยอยู่ห่าง ๆ “ รักจะทำเพลงโฆษณา ต้องเปิดใจให้กว้าง ฟังให้เยอะ และรู้จักเพลงทุกแนว ” แถมทีเด็ดเล็ก ๆ ว่า อย่าลืมพกปากกากระดาษติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง
“ เพราะไอเดียบรรเจิด มักเกิดขึ้นเวลาเราไม่ได้ตั้งใจ ปากกากระดาษจึงช่วยบันทึกได้ในทันทีทันใด ฉะนั้นถ้าไม่พกติดตัวไว้ ไอเดียลอยหายไปในอากาศ แล้วจะหาว่าพี่ไม่เตือน !”