Sunday 5 August 2007

เวที "แอดเฟส" ความสำเร็จ "เอเยนซี่ไทย"

เวที "แอดเฟส" ความสำเร็จ "เอเยนซี่ไทย"คอลัมน์ จับกระแสตลาดว่ากันว่า เวทีประกวดโฆษณาภาคพื้นเอเชีย -แปซิฟิก (แอดเฟส) ในวันนี้กลายเป็นงานพลาดไม่ได้เสียแล้วสำหรับคนวงการโฆษณาในเอเชียแปซิฟิกสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นชัดก็คือ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ มีถึง 4,027 ชิ้นงาน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 20% เช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมงานก็ถือว่าเพิ่มขึ้นกว่า 20% เช่นกัน นอกจากนี้ งานนี้ยังได้การเพิ่มรางวัลโฆษณาสำหรับไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้ง อินเตอร์แอ็กทีฟ ซึ่งเป็นงานรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรางวัลสำหรับงาน Craft ซึ่งเป็นผลงานที่มอบให้กับโปรดักต์เฮาส์ที่มีผลงานดีเด่นในด้านเทคนิคการผลิตภาพยนตร์โฆษณา จากเดิมที่มีรางวัลสำหรับงานพริ้นต์แอด เอาต์ดอร์ และภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อทีวีเท่านั้นหนังโฆษณาไทยโดดเด่นที่สุดหากดูเฉพาะหนังโฆษณาทางสื่อทีวีจะพบว่า ผลงานของเอเยนซี่ไทยและญี่ปุ่นมีความโดดเด่นมากที่สุด โดยเฉพาะของไทยดูจะโดดเด่นเป็นพิเศษ คนที่เข้ามาดูงานมักจะบอกว่าอยากมาดูผลงานของไทย หากดูสื่อสิ่งพิมพ์ก็ต้องเป็นผลงานจากสิงคโปร์ และฮ่องกง"สุทธิศักดิ์ สุจริตานนท์" ประธานกรรมการ บริหารฝ่ายสร้างสรรค์ บีบีดีโอ กรุงเทพ ประธานคณะกรรมการตัดสิน TVC บอกว่า จากผลงานหนังโฆษณาทีวีที่ส่งเข้าประกวด 1,007 ชิ้น ผลงานของไทยและญี่ปุ่นโดดเด่นมาก "ปีนี้มีผลงานส่งเข้ามาเยอะมาก แต่มีผลงานที่ดูเข้าท่าอยู่เพียงแค่ 10-15% และมีผลงานของไทยได้รางวัลมากที่สุดถึง 70-80% ตามด้วยญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าบ้านเรามีหนังโฆษณาเยอะมาก เอเยนซี่ขนาดใหญ่ทุกรายทำหนังโฆษณาปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง ทำให้ครีเอทีฟและผู้กำกับฯของเราได้สัมผัสงานในปริมาณที่มากทำให้วงการเราพัฒนาได้เร็ว"ทั้งนี้ จากจำนวนชิ้นงานที่เข้ารอบสุดท้าย 59 ชิ้นงาน มีผลงานที่ได้รางวัลโกลด์ 8 ผลงาน ในจำนวนนี้เป็นผลงานจากประเทศไทยถึง 6 ผลงาน ประกอบด้วย โฆษณายาสีฟันดอกบัวคู่ เรื่อง Balloon ของออนโกอิ้ง โฆษณาฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ่นแค็ป เรื่อง King Kong ของเจดับบลิวที โฆษณาบ้านโนเบิล เรื่อง Elvis และชุด Jackie/Michael/Elvis ของโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ โฆษณาสมุดหน้าเหลืองไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส ชุด Dad และชุด Police ของครีเอทีฟ จูซ\จีวันขณะที่มีผลงานที่ได้ซิลเวอร์จำนวน 20 ผลงาน และในจำนวนนี้เอเยนซี่ไทยกวาดมาได้ถึง 13 รางวัลและเอเยนซี่ที่ได้รับรางวัลสูงสุดก็คือ ครีเอทีฟ จูซ\จีวัน เอเยนซี่ของไทยนี่เองหนังแนว "ตลก" ยังแรง"สุทธิศักดิ์" บอกด้วยว่า หนังโฆษณาของไทยนั้นจะมีความโดดเด่นตรงที่มีความเป็นไทยสูง ที่สำคัญสิ่งที่นำเสนอนั้นแม้ว่าจะเป็นมุกแบบไทยๆ แต่ก็มีความเป็นสากลอยู่ในตัว คนทั่วเอเชีย-แปซิฟิกก็ดูแล้วเข้าใจและหนังที่ทำให้คนสนใจส่วนใหญ่ก็ยังเป็นหนังในแนวตลก เช่นเดียว "วินิจ สุรพงษ์ชัย" ประธานกรรมการการจัดงานแอดเฟส ที่บอกว่า ถ้าถามว่าผลงานของไทยความโดดเด่นมันอยู่ตรงไหนบอกได้เลยว่าเราสามารถล้วงเข้าไปในวัฒนธรรมที่มีความเป็นอินเตอร์ที่มีกลิ่นของความเป็นไทยอยู่ "สังคมไทยเป็นอะไรที่ง่ายๆ และเบื่ออะไรง่าย ไม่มีอะไรที่ดีมากกว่าทำให้คนดูมีเสียงหัวเราะ บางทีลูกค้าก็เน้นสิ่งที่คนชอบ คนหัวเราะ คนจะได้ โดยที่ไม่สนกลยุทธ์ แต่โดยส่วนตัวแล้วก็เป็นห่วงนิดหน่อย เพราะถึงขั้นหนึ่ง มันจะมากไป ในที่สุดต่างคนต่างก็ไม่ตลก และบางครั้งบางคราวความตลกมันกลบตัวสินค้า ดังนั้นการใช้ความตลกก็ต้องผูกเรื่องให้คนจะแบรนด์สินค้าได้"ลูกค้าเริ่มเปิดใจกว้างผลงานโฆษณาที่ออกมาดีและมีไอเดียที่กล้าและโดดเด่นนั้นจะต้องเปิดใจให้กว้างกันทั้งฝ่ายของลูกค้าและครีเอทีฟที่สร้างสรรค์ผลงาน เพราะในอดีตที่ผ่านมาในฟากของครีเอทีฟเองก็มักมองว่าลูกค้าไม่ค่อยเปิดใจกว้างให้เขาคิดงานได้อย่างอิสระเสรี ขณะที่ฟากของลูกค้าก็มองว่าถ้าลงเงินไปแล้วเกิดยอดขายไม่กระเตื้องจะทำอย่างไร และมองครีเอทีฟว่าจ้องแต่จะทำงานเพื่อเอารางวัลที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของงานประกวดแอดเฟสครั้งนี้คือการจัดให้มีเซ็กชั่นของลูกค้า โดยมีตัวแทนจาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) ไฟแนนเชียล ไทมส์ และแมคโดนัลด์ มาร่วมแสดงความเห็นในหัวข้อ "Fear No Change, Fear No Client""นายโรฮินี มิกลานี" จากพีแอนด์จี ได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้พีแอนด์จีไม่ค่อยเข้าไปใกล้กับผู้บริโภคเท่าไหร่ และไม่ค่อยใช้ครีเอทีฟไอเดีย เพราะสินค้ามีอินโนเวชั่นใหม่ๆ ออกมาตลอด แต่ระยะหลังก็เริ่มเข้ามาในฝั่งของครีเอทีฟ เพราะครีเอทีฟได้ช่วยสร้างการเติบโตของแบรนด์และเชื่อมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคได้ และสิ่งหนึ่งที่พบก็คือ งานครีเอทีฟสามารถเพิ่มการเติบโตของยอดขายได้ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงอารมณ์ (emotional relationship) ทำให้พีแอนด์จีเปิดหาครีเอทีฟไอเดียเพิ่มมากขึ้น ด้าน "นายจิออร์จิโอ มินาร์ดี" จากแมคโดนัลด์บอกว่า แมคโดนัลด์ได้การปรับปรุงเพื่อสร้างแบรนด์ใหม่ทั่วโลก ด้วยการแคมเปญ I"m lovin"it เพื่อสร้างแบรนด์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเอากลยุทธ์หลักที่เป็นโกลบอลมาผสมผสานกับกลยุทธ์ท้องถิ่น โดยใช้ ดนตรี กีฬา บันเทิง และแฟชั่น มาช่วยสร้างให้แบรนด์แมคโดนัลด์ใกล้ชิดกับผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่งขณะที่ "นายปีเตอร์ บัคเคอร์" จากไฟแนนเชียล ไทมส์ บอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับเอเยนซี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เอเยนซี่ต้องเข้าหาลูกค้ามากขึ้น ต้องมีความเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่จะต้องเรียนรู้ลูกค้าถือเป็นแนวโน้มที่ดีที่จะเปิดโอกาสให้ครีเอทีฟมีโอกาสได้สร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี