Wednesday 23 April 2008

เหะหะพาที (เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง) โดย คุณซูม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

::: นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา "เพียงพออย่างพอเพียง" หลักคิดชีวิตทำงาน :::
ท่ามกลางความหลงใหลในวัตถุนิยมและความฟุ้งเฟ้อในค่านิยมของผู้คนในปัจจุบัน เมื่อเปิดทีวีมาดูรายการใดๆ ย่อมไม่พ้นต้องเห็นรายการที่มุ่งให้คนนิยมวัตถุ ฟุ้งเฟ้อ หรือแม้แต่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนติดเป็นทาส แต่ผู้กำกับภาพยนตร์และโฆษณาชื่อดัง ดาว-นิดา สุทัศน์กลับมุ่งมั่นทำงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสารคดีอันสูงค่า"ที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสครองราชย์ครบ ๖๐ ปี โดย กกต.

ช่วงชีวิตกว่า 20 ปี ที่คลุกคลีกับการทำภาพยนตร์และโฆษณาของผู้กำกับฝีมือดีคนนี้ มีผลงานภาพยนตร์โฆษณานับ 1000 เรื่อง โดยเฉพาะโฆษณาชีวาส ที่มีไมเคิล หว่อง เล่นเป็นโฆษณาที่มีความยาวที่สุดครั้งแรกในประเทศไทย ที่ใช้เวลากว่า 3 นาที ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้กับกำคนนี้มากที่สุด นอกจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องซีอุย ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเธอ ก็สร้างกระแสฮือฮาให้กับให้กับผู้ชมภาพยนตร์ชาวไทยมาแล้ว

นิดา จบการศึกษาจากมหาลัยธรรมศาสตร์ใช้ชีวิตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดานหนังสือมากโดยเคยทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหน้าวรรณกรรมให้กับหนังสือผู้จัดการ และหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่ม และแล้วเส้นทางเข้ามาสู้ผู้กำกับหนังก็เริ่มขึ้นเมื่อต้องเข้าไปเป็นผู้ช่วยผู้กำกับจำเป็นเมื่อ 20 ปี ก่อน”พอดีรู้จักกับพี่หง่าว-ยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับหนังที่ตอนนั้นกำกับหนังเรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 แต่ด้วยความ ที่พี่เขาใจร้ายกับกองถ่าย ผู้ช่วยก็ทิ้งกลางคัน เขาก็เลยมาชวนให้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับก็เข้าไปช่วยไม่ถึง 20 คิว ตอนนั้นเหมือนไปเริ่มต้นงานใหม่เพราะไม่ได้รู้เรื่องในกองถ่ายเลย แต่รู้ว่างานเละมากๆ ก็ไปเดาๆ เอาเสร็จแล้วก็ไปเข้าทำงานที่สยามสตูดิโอ”

หลังจากนั้นเธอก็ได้เข้าร่วมงานกับสตูดิโอตั่งแต่ครั้งยังมีพนักงาน 12 คน และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการสร้างสยามสตูดิโอให้รุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้ ด้วยจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นจนถึง 100 คน และกลายเป็น Production House ซึ่งออกเป็นบริษัทในเครือกว่า 10 บริษัท

นอกจากประสบความสำเร็จในแวดวงภาพยนตร์และโฆษณาแล้ว ผู้กำกับคนดังคนนี้ยังมีความสุขกับการทำธุรกิจร้านอาหาร To Die For และการเปิดบริษัท อินทีเรีย Star Light ด้วย

แม้จะทำอะไรหลายๆอย่าง แต่สิ่งที่นิดาชอบที่สุดคือการตัดต่อภาพยนตร์ “ตอนนี้คนทำหนังมีมุมมองใหม่ๆมามาก โดยเฉพาะยุคนี้มีคนทำหนังอินดี้เยอะขึ้น แค่พกกล้องวิดีโอเล็กๆ ก็เป็นหนังที่ดีได้ อย่างเรื่อง เด็กโต๋ ที่ “นก” ผู้กำกับเขาก็เอาชีวิตไปผังตัวอยู่ที่นั้น ก็เป็นการทำหนังแบบพอเพียง ”

เมื่อได้คลุกคลีอยู่กับวงการภาพยนตร์แล้ว ช่วงเวลาที่ประทับใจจากการทำงานในวงการนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ว่าจ้างให้บริษัทของเธอ ทำสารคดีเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มทำหนังโฆษณาแลองครบรอบ 50 ปีหลังจากนั้นก็มีหนังสารคดีที่ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของพระองค์มาตลอด ล่าสุดก็ได้ทำงานให้สารคดี “ชีวิตที่พอเพียง” ความยาว 2 นาที ของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินชีวิตจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10 ท่าน

“การทำงานสารคดีครั้งนี้รู้สึกภูมิใจมาก มีความรู้สึกใกล้ชิดพระองค์มากขึ้น เห็นพระราชกรณียกิจของพระองค์เมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว ก็ปลื้มใจ จึงได้ใช้การทำงานแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนช่วยกัน ดาวก็ไม่รับค่าตัว นักแสดงทุกคนก็ไม่รับค่าตัว ถือว่าเป็นการทำงานที่ช่วยกันจริงๆ” นิดากล่าว

เมื่อได้รับโจทย์จาก กกต. ผู้กำกับสาวและทีมงานก็รีบค้นหาผู้ที่ประสบผลสำเร็จจากแนวคิดนี้ ทุกอาชีพ ทั้งนักเขียน, แพทย์, คนทำเว็บไซต์ ฯลฯ

“ เราดูจากผู้ที่เคยถูกสัมภาษณ์มาแล้ว โดยยึดหลักความหลากหลาย มีความสนใจดูจากความพอใจและความเพียงพอของเขา หากถามว่าทุกคนประสบความสำเร็จหรือไม่ว่าทุกคนที่ยึดหลักนี้คงประสบความสำเร็จหรือไม่ก็คิดว่าทุกคนที่ยึดหลักนี้คงประสบความสำเร็จทุกคนเราดูถึงความพอใจในสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จนั้นๆด้วยว่า คืนอะไรต่อสังคมบ้าง”

แม้ผู้กำกับคนนี้จะควบคุมโปรเจกต์เฉยๆแต่การทำงานที่ต้องรวบรวมเรื่องราวที่เป็นไฮไลต์จากการถ่ายทำทั้งวัน ให้เหลือแค่ ๒ นาทีนั้น เป็นสิ่งที่ยากที่สุด “เราต้องดึงจุดที่สนใจของตนละคนออกมาให้ได้ เพราะบางคนก็พูดได้ใจความบางคนก็ยากมากกว่าจะพูดให้รู้เรื่องได้ กว่าจะเป็น ๒ นาทีได้ก็ยากพอสมควร เพราะเราบังคับให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนในภาพยนตร์ไม่ได้ ”

ความแตกต่างของการทำหนังสารคดีและหนังที่ใช้เอฟเฟกต์นั้น นอกจากความสนุกที่แตกต่างกันแล้ว การทำหนังสารคดีมันยังมีลุ้นว่า คนในเรื่องจะพูดได้ไหม จะเล่นได้ไหม พระอาทิตย์จะขึ้นไหม ฝนจะตกไหม กว่าจะเอามาตัดต่อได้ก็ใช้เวลานาน

นิดายอมรับว่า แม้หนังที่เน้นการทำง่ายๆ แต่นำเสนอความสมจริงจะได้รับความนิยม แต่หนังที่นิยมใช้เทคนิค หรือ เอฟเฟกต์เยอะๆ ก็ยังคงความนิยมอยู่เสมอ “ ทำงานตรงนี้มายอมรับว่า เกลียดเทคนิคมาก จริงๆและเมื่อก่อนเป็นคนชอบเทคนิคและชำนาญถึงขั้นสอนให้คนรุ่นหลังได้ แต่ที่ไม่ชอบคือมันมาล้มล้างความจริงใจของหนัง ที่ควรนำเสนอความเป็นธรรมชาติ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำหนังโดยไม่ใช้เทคนิคเพราะต้องใช้เวลานานในการแสดงอารมณ์ องค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด แต่การทำหนังมันมีเวลาที่กำหนด”

หากย้อนกลับมาดูผู้ที่ดำเนินชีวิตแบบพอเพียงแล้วตัวผู้กำกับคนนี้ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่ยึดการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วยเช่นกัน

“ ในความคิดของพี่ คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นอยู่ที่ใจอยู่ที่ว่าเราต้องทำอย่างไรให้เรามีความสุขกับชีวิต ณ ตรงนี้โดยที่ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะรู้จักพออย่างเดียว แต่เราต้องรู้จักเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ให้ความสุขกับคนรอบข้างด้วย”

นิดา ยกตัวอย่างของผู้ที่ถ่ายทำมา อย่าง นพ.สภา ลิมพาณิชย์การ ที่เปิดคลินิกรักษาโรคในราคาเพียง ๕ – ๗๐ บาท ว่า คุณหมอดูมีความสุขในการรักษาชาวบ้าน แม้ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลแค่ ๑๐ บาท แต่กลับมีความสุขกับการช่วยเหลือผู้คนมากกว่าที่จะฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยไปกับความสุขทางโลก

“ สำหรับตัวเองแล้ว การทำงานกับธุรกิจที่ต้องทุ่มเม็ดเงินมหาศาล อย่างการทำโฆษณาที่เจ้าของสินค้าต้องลงทุนมากเพื่อให้สินค้าติดตาผู้บริโภค ดังนั้น เมื่อเขาทุ่มเงินจ้างเราอย่างเช่น ค่าจ้างทำโฆษณา ๒ แสน ก็ใช่ว่าเราต้องไปบอกเขาว่าขอรับค่าตัวแค่แสนเดียว เพราะถ้านายทุนเขามีกำลังทุ่มให้เราเท่าไหร่ เราก็ต้องทำให้ได้ดีให้คุ้มกับที่เขาเชื่อในฝีมือเราเราต้องซื่อสัตย์ในการทำหน้าที่ของเราให้มากที่สุด”

เมื่อได้รับค่าตอบแทนมาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ได้จะเอาเงินไปทำอะไร ดาวยกตัวอย่างกรณีการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของตัวเองว่า “ เมื่อเราได้ค่าตอบแทนสูง ส่วนใหญ่ก็ให้โอกาสลูกน้องเปิดบริษัทที่เขาอยากทำ เพราะโดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพพอในการทำธุรกิจ ทำบริษัทที่ดีได้ ซึ่งบริษัทที่ดีในความคิดคือ ต้องเป็นบริษัทที่ไม่เอาเปรียบลูกน้อง ไม่เอาเปรียบลูกค้า ให้เงินเดือนตามสมควรและมีโบนัสเป็นรางวัลให้ลูกน้อง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และที่สำคัญก็ควรทำสิ่งแวดล้อมในบริษัทหรือที่ทำงานให้สวยงามด้วย”

นิยามคำว่าพอเพียงของผู้กำกับมือโปรคนนี้มีอยู่ว่า “ คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมันลวงตาเหมือนกัน แต่ในความคิดแล้วพอเพียงคือมีอย่างพอใจ ไม่ต้องมีเงินถึง ๒๐๐ หรือ ๓๐๐ ล้าน แต่เงินเพียงน้อยนิดหากเรารู้จักพอใจกับมัน รู้จักเอื้อเฟื้อให้กับคนอื่นด้วยแล้ว ใจของเรานี่เองที่จะบอกว่าเรามีความสุขที่สุด”

แล้วคุณล่ะ เริ่มเข้าใจคำว่า “ เศรษฐกิจแบบพอเพียงหรือยัง ?





( นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา "เพียงพออย่างพอเพียง" หลักคิดชีวิตทำงาน.หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน น.31, วันที่ 10 ก.พ. พ.ศ.49)





ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผ่านมา
พพ.809
กระทรวงศึกษาธิการเดินหน้าเปิดตัว หนังสือ E-Book ชุดหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
พิธีการรับมอบชุด E-book แนวทางการจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขอเชิญร่วมชมงานมหกรรมนักอ่าน นิทรรศการ “เมืองห้องสมุดสมัยใหม่”
“จิรายุ“ไขพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ
คนไทยร่วมมือฝังรากเศรษฐกิจพอเพียงสังคมไทยยั่งยืน
ดร.สุเมธชี้แนวดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
องคมนตรีแนะคนเชียงรายเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้อยู่อย่างมีความสุข
ยูเอ็นนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ 144 ประเทศทั่วโลก
“องคมนตรี”ระบุศก.พอเพียงไม่ได้ทำลายเศรษฐกิจประเทศอย่างบางคนกล่าวหา
"ดร.สุเมธ" สอนรัฐ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องเดินสายแจงต่างชาติ
องคมนตรีย้ำ ศก.พอเพียงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ครอบครัวยันประเทศ
ข้าวคุณธรรม...ตามแนวพอเพียง : คอลัมน์หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน (ไทยรัฐ)
องคมนตรีขอคนไทยช่วยกันเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง
เปิดตัวโครงการ "พ.ศ.พอเพียง" ขยายเครือข่ายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
นายกฯ เดินสายแจงนักลงทุน ย้ำปี 50 เร่งปฏิรูป ศก. -อ้าแขนรับต่างชาติ
“ดร.สุเมธ” แนะยึดทางสายกลางรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
องคมนตรีแนะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสร้างชีวิตมีสุข
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
สภาพัฒน์จัดเวทีระดับชาติสร้างความเข้าใจแนวทางการพัฒนาประเทศตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
วิชา สพ.700 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ปลุกมหาลัย "ไทยวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง"
ตามรอยพระยุคลบาท ด้วย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ยูเอ็น ทูลเกล้าฯถวาย รางวัลสุดยอดแห่งการพัฒนามนุษย์(HIGH-LEVEL PANEL ON HIS MAJESTY THE KING AND HUMAN DEVELOPMENT)
ต่อต้าน Fast Food ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
บทความพิเศษในมติชนสุดสัปดาห์ โดย ประสาร มฤคพิทักษ์
เหะหะพาที (เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง) โดย คุณซูม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ