Monday 28 April 2008
ประกาศกระโดดเข้ามาร่วมทำศึกในสนามรบหนังสือออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตเช่นกัน
หลังจาก "ไมโครซอฟท์" ยักษ์ใหญ่ธุรกิจซอฟต์แวร์ระดับโลก ปล่อยให้ "กูเกิ้ล" เว็บไซต์หมายเลข 1 ของโลกก้าวล้ำหน้าไปหลายช่วงตัวในเรื่องของธุรกิจการให้บริการค้นหา "หนังสือดิจิตอลออนไลน์"
ในที่สุด ไมโครซอฟท์ก็เริ่มขยับตัวอย่างเป็นทางการ ประกาศกระโดดเข้ามาร่วมทำศึกในสนามรบหนังสือออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตเช่นกัน
โดยขั้นแรก ไมโครซอฟท์จ่ายเงินให้ห้องสมุดอังกฤษ (บริติชไลบรารี่) ก้อนแรกไปแล้ว 100 ล้านบาท เพื่อนำ "หนังสือ" 100,000 เล่มในห้องสมุดแห่งนี้มา "สแกน" หน้าของหนังสือแต่ละเล่มเพื่อเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ "ดิจิตอล" และเปิดเว็บไซต์ให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดอ่านเนื้อหาในหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ต
"แดเนียล ไทด์" หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมเพื่อการค้นหาของไมโครซอฟท์ บอกว่า ไมโครซอฟท์รู้ซึ้งรสชาติดีจากการที่ซอฟต์แวร์ต่างๆ ของบริษัทถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น โครงการแปรรูปหนังสือเป็นไฟล์ดิจิตอลครั้งนี้จะพยายามติดต่อขออนุญาตจาก "เจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือ" ให้เรียบร้อยเสียก่อนจะนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อจะได้ไม่ต้องเจอกับปัญหาถูกฟ้องร้องเหมือนกับ "กูเกิ้ล"
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนังสือที่พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2466 นั้นตามกฎหมายสหรัฐถือว่าไม่ต้องขออนุญาต เพราะกลายเป็น "สมบัติของสาธารณะ" ไปแล้ว
แดเนียลประเมินว่า ลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการหนังสือดิจิตอลไม่น่าจะเป็นนักอ่านประเภทเอาเรื่องหรืออ่านวรรณกรรมอย่างจริงจัง แต่น่าจะเป็นกลุ่มที่ต้องการข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น คู่มือการทำอาหาร คู่มือท่องเที่ยว หรือตำราอ้างอิงข้อมูลต่างๆ
นอกเหนือจากไมโครซอฟท์กับกูเกิ้ล, เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์เบอร์ 1 ของโลกที่ชื่อ "อะเมซอน ดอท คอม" ก็เตรียมพร้อมลงสนามธุรกิจหนังสือดิจิตอลเหมือนกัน
โดยลูกเล่นใหม่ๆ ที่ทางอะเมซอนจะเปิดตัวก็คือ การขายหนังสือผ่านเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกพิมพ์เฉพาะหน้าและบทที่ต้องการ หรือจะพิมพ์ทั้งเล่มเลยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการเสียเวลารอรับหนังสือภายหลังจากสั่งซื้อไปแล้ว
นับเป็นความเคลื่อนไหวในโลกธุรกิจหนังสือที่ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และ "ผู้เล่น" คนอื่นๆ จะปรับตัวสู้กับการรุกคืบครั้งนี้ของยักษ์ใหญ่อินเตอร์เน็ตเหล่านี้ด้วยวิธีไหน
กราบขอบพระคุณมากเป็นอย่างสูง สำหรับ Link ที่มา : http://lib.edu.chula.ac.th/cuappl/libedu2007/lib_tech/aspboard_Question.asp?GID=11
ในที่สุด ไมโครซอฟท์ก็เริ่มขยับตัวอย่างเป็นทางการ ประกาศกระโดดเข้ามาร่วมทำศึกในสนามรบหนังสือออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตเช่นกัน
โดยขั้นแรก ไมโครซอฟท์จ่ายเงินให้ห้องสมุดอังกฤษ (บริติชไลบรารี่) ก้อนแรกไปแล้ว 100 ล้านบาท เพื่อนำ "หนังสือ" 100,000 เล่มในห้องสมุดแห่งนี้มา "สแกน" หน้าของหนังสือแต่ละเล่มเพื่อเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ "ดิจิตอล" และเปิดเว็บไซต์ให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดอ่านเนื้อหาในหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ต
"แดเนียล ไทด์" หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมเพื่อการค้นหาของไมโครซอฟท์ บอกว่า ไมโครซอฟท์รู้ซึ้งรสชาติดีจากการที่ซอฟต์แวร์ต่างๆ ของบริษัทถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น โครงการแปรรูปหนังสือเป็นไฟล์ดิจิตอลครั้งนี้จะพยายามติดต่อขออนุญาตจาก "เจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือ" ให้เรียบร้อยเสียก่อนจะนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อจะได้ไม่ต้องเจอกับปัญหาถูกฟ้องร้องเหมือนกับ "กูเกิ้ล"
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนังสือที่พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2466 นั้นตามกฎหมายสหรัฐถือว่าไม่ต้องขออนุญาต เพราะกลายเป็น "สมบัติของสาธารณะ" ไปแล้ว
แดเนียลประเมินว่า ลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการหนังสือดิจิตอลไม่น่าจะเป็นนักอ่านประเภทเอาเรื่องหรืออ่านวรรณกรรมอย่างจริงจัง แต่น่าจะเป็นกลุ่มที่ต้องการข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น คู่มือการทำอาหาร คู่มือท่องเที่ยว หรือตำราอ้างอิงข้อมูลต่างๆ
นอกเหนือจากไมโครซอฟท์กับกูเกิ้ล, เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์เบอร์ 1 ของโลกที่ชื่อ "อะเมซอน ดอท คอม" ก็เตรียมพร้อมลงสนามธุรกิจหนังสือดิจิตอลเหมือนกัน
โดยลูกเล่นใหม่ๆ ที่ทางอะเมซอนจะเปิดตัวก็คือ การขายหนังสือผ่านเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกพิมพ์เฉพาะหน้าและบทที่ต้องการ หรือจะพิมพ์ทั้งเล่มเลยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการเสียเวลารอรับหนังสือภายหลังจากสั่งซื้อไปแล้ว
นับเป็นความเคลื่อนไหวในโลกธุรกิจหนังสือที่ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และ "ผู้เล่น" คนอื่นๆ จะปรับตัวสู้กับการรุกคืบครั้งนี้ของยักษ์ใหญ่อินเตอร์เน็ตเหล่านี้ด้วยวิธีไหน
กราบขอบพระคุณมากเป็นอย่างสูง สำหรับ Link ที่มา : http://lib.edu.chula.ac.th/cuappl/libedu2007/lib_tech/aspboard_Question.asp?GID=11