Monday 28 April 2008
บทบาทสงครามโฟตอน กับสงครามในอนาคต : น.ท.ศิลป์ พันธุรังษี
บทบาทสงครามโฟตอน กับสงครามในอนาคต ( ตอนที่ ๑ )
น.ท.ศิลป์ พันธุรังษี
1 2 3 4 5
หน้าที่ 4
สงครามข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจ (EIW : Economic Information Warfare)
ความเป็นอยู่ดีของสังคมต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร ขึ้นอยู่กับ e-commerce จึงจำเป็นต้อง ควบคุมเศรษฐกิจฝ่ายตรงข้ามมิให้ขยาย หรือใช้ประโยชน์ข้อมูล ในขณะเดียวก็ทำให้ฝ่ายเราได้ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยการข้อมูล ดังนั้นสงครามข้อมูลเศรษฐกิจจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับการ ควบคุมทะเลและเส้นทางคมนาคม ตามหลักของมาฮาน เพียงแต่แตกต่างกันที่ควบคุมเส้นทาง อินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งอินทราเน็ตของหน่วย ซึ่งปัจจุบัน และในอนาคตประเทศต่างๆ จำเป็น ต้องพึ่งพา e-commerce
การปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร (Information Blockade) จะทำให้สังคมที่ต้องพึ่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเศรษฐกิจ อันได้แก่ การขายข้อมูลเพลง หนัง หรือเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการโฆษณาสินค้า เปิดโฮมเพ็จ ขายสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ การไหลของข่าวสารจะกลายเป็นความจำเป็นในการ ดำรงชีวิต ดังนั้น การปิดกั้นข่าวสารก็จะนำมาซึ่งความพิการทางเศรษฐกิจ และอาจถึงการล่มสลาย ของชาติสำหรับการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารนั้นมีความเป็นไปได้หลายทาง อาทิเช่นปิดเฉพาะข้อมูล ข่าวสารหรือปิดทางกายภาพเช่นปิดการเชื่อมโยง แม้ฝ่ายตรงข้ามจะแก้ปัญหาด้วยการส่งข้อมูล ในรูปของ CD-ROM ก็จะไม่สามารถกระทำได้โดยสะดวก อย่างน้อยก็ใช้เวลานาน ในทางปฏิบัติ วิธีปิดกั้นจะมุ่งเป้าไปที่แหล่งข้อมูลข่าวสารปริมาณมาก ๆ เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งให้ บริการหลายรูปแบบ ตั้งแต่ขายข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพยนตร์ เพลง เป็นต้น ในอดีตก็เคย มีการปิดกันมาแล้ว ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๑ เช่น การตัดสายโทรศัพท์ทางไกล การตัดสายเคเบิล ข้ามทวีป การรบกวนการสื่อสาร HF ในอนาคตจะมีการปิดกั้นดาวเทียมสื่อสาร ด้วยการยิงเลเซอร์ หรือทำลายด้วยรังสีเอกซ์ การรบกวนคลื่นวิทยุ เพื่อปิดกั้นการติดต่อระหว่างบุคคลผ่านดาวเทียม สื่อสารโทรศัพท์มือถือ เช่น INMARSAT
จักรวรรดินิยมข้อมูลข่าวสาร (Information Imperialism) เป็นความเชื่อสมัยใหม่ที่เน้น ความสำคัญของการเป็นจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ ด้วยการค้าขายทางข้อมูล หรืออาศัยข้อมูล เพื่อการค้าขาย เช่น โฆษณาในลักษณะโฮมเพ็จทางอินเตอร์เน็ต ประเทศใดที่มีศักยภาพด้านนี้ จะครองเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระดับมหายุทธศาสตร์ การมีอาณานิคมจะต่างกับมุมมองของ มาฮานในการมีฐานทัพหน้าอยู่บ้าง สำหรับทางข้อมูลข่าวสารหากการสื่อสารเป็นแบบไร้พรมแดน แล้วไม่จำเป็นต้องมีฐานทัพหน้า เพียงให้แต่ละประเทศเข้ามาซื้อบริการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร ในประเทศ เช่น แผนที่ทางทะเล อิมเมจ หรือโฆษณาขายสินค้าอุตสาหกรรม จะสามารถบริหาร ได้ง่ายแต่อย่างไรก็ตามหากการสื่อสารเป็นอุปสรรค อาจจำเป็นต้องลงทุนในต่างประเทศในลักษณะ ฐานทัพหน้าอยู่
สงครามไซเบอร์ (Cyber Warfare) คำว่า "ไซเบอร์" มาจากคำเต็มว่า CYBERNATICS หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสมองกลกับสมองมนุษย์ สงครามไซเบอร์ เป็นรูปแบบที่กว้างและฝันไกลที่สุดประกอบด้วย การก่อการร้ายทางข่าวสาร Information Terrorism) การโจมตีซีแมนติค (Semantic Attack) สงครามจำลองสถานการณ์ (Simula Warfare) และ สงครามกิ๊บสัน (Gibson Warfare) สงครามไซเบอร์ ค่อนข้างยากที่จะ ย้อนอดีต โครงสร้างพื้นฐานการข่าวสารระดับโลกได้พัฒนาจนมาถึงระดับที่สามารถ นำไปใช้ใน การรบได้แล้ว
การก่อการร้ายทางข่าวสาร (Information Terrorism) การก่อการร้าย จะหมายถึง การใช้ ความรุนแรงแบบสุ่มต่อเป้าหมายที่ปรากฏตามอำเภอใจ แต่เมื่อจะทำจริง ๆ กลับเป็นเป้าหมาย เฉพาะเจาะจง แต่การก่อการร้ายทางข่าวสาร ในที่นี้จะหมายถึง แขนงสาขาของการก่อกวนทาง คอมพิวเตอร์ (Computer Hacking) ที่เจตนาไม่ได้ต้องการถึงกับล้มล้างระบบ เพียงใช้ประโยชน์ จากการนี้โจมตีปัจเจกบุคคลเป็นราย ๆ ไป เป้าหมายของการก่อการร้ายนั้น คือ ไฟล์ข้อมูล ที่ผู้ ก่อกวนทราบสภาพล่วงหน้ามาแล้วบ้าง เป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อ ส่วนมากจะเชื่อมข่ายกับสาธารณะ หรือ กึ่งสาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ อย่างไม่ผิดกฎหมายหรือในทางที่ดีของกลุ่มชน
Credit Link: http://www.navy.mi.th/newwww/document/navic/860902d.html
น.ท.ศิลป์ พันธุรังษี
1 2 3 4 5
หน้าที่ 4
สงครามข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจ (EIW : Economic Information Warfare)
ความเป็นอยู่ดีของสังคมต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร ขึ้นอยู่กับ e-commerce จึงจำเป็นต้อง ควบคุมเศรษฐกิจฝ่ายตรงข้ามมิให้ขยาย หรือใช้ประโยชน์ข้อมูล ในขณะเดียวก็ทำให้ฝ่ายเราได้ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยการข้อมูล ดังนั้นสงครามข้อมูลเศรษฐกิจจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับการ ควบคุมทะเลและเส้นทางคมนาคม ตามหลักของมาฮาน เพียงแต่แตกต่างกันที่ควบคุมเส้นทาง อินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งอินทราเน็ตของหน่วย ซึ่งปัจจุบัน และในอนาคตประเทศต่างๆ จำเป็น ต้องพึ่งพา e-commerce
การปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร (Information Blockade) จะทำให้สังคมที่ต้องพึ่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเศรษฐกิจ อันได้แก่ การขายข้อมูลเพลง หนัง หรือเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการโฆษณาสินค้า เปิดโฮมเพ็จ ขายสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ การไหลของข่าวสารจะกลายเป็นความจำเป็นในการ ดำรงชีวิต ดังนั้น การปิดกั้นข่าวสารก็จะนำมาซึ่งความพิการทางเศรษฐกิจ และอาจถึงการล่มสลาย ของชาติสำหรับการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารนั้นมีความเป็นไปได้หลายทาง อาทิเช่นปิดเฉพาะข้อมูล ข่าวสารหรือปิดทางกายภาพเช่นปิดการเชื่อมโยง แม้ฝ่ายตรงข้ามจะแก้ปัญหาด้วยการส่งข้อมูล ในรูปของ CD-ROM ก็จะไม่สามารถกระทำได้โดยสะดวก อย่างน้อยก็ใช้เวลานาน ในทางปฏิบัติ วิธีปิดกั้นจะมุ่งเป้าไปที่แหล่งข้อมูลข่าวสารปริมาณมาก ๆ เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งให้ บริการหลายรูปแบบ ตั้งแต่ขายข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพยนตร์ เพลง เป็นต้น ในอดีตก็เคย มีการปิดกันมาแล้ว ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๑ เช่น การตัดสายโทรศัพท์ทางไกล การตัดสายเคเบิล ข้ามทวีป การรบกวนการสื่อสาร HF ในอนาคตจะมีการปิดกั้นดาวเทียมสื่อสาร ด้วยการยิงเลเซอร์ หรือทำลายด้วยรังสีเอกซ์ การรบกวนคลื่นวิทยุ เพื่อปิดกั้นการติดต่อระหว่างบุคคลผ่านดาวเทียม สื่อสารโทรศัพท์มือถือ เช่น INMARSAT
จักรวรรดินิยมข้อมูลข่าวสาร (Information Imperialism) เป็นความเชื่อสมัยใหม่ที่เน้น ความสำคัญของการเป็นจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ ด้วยการค้าขายทางข้อมูล หรืออาศัยข้อมูล เพื่อการค้าขาย เช่น โฆษณาในลักษณะโฮมเพ็จทางอินเตอร์เน็ต ประเทศใดที่มีศักยภาพด้านนี้ จะครองเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระดับมหายุทธศาสตร์ การมีอาณานิคมจะต่างกับมุมมองของ มาฮานในการมีฐานทัพหน้าอยู่บ้าง สำหรับทางข้อมูลข่าวสารหากการสื่อสารเป็นแบบไร้พรมแดน แล้วไม่จำเป็นต้องมีฐานทัพหน้า เพียงให้แต่ละประเทศเข้ามาซื้อบริการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร ในประเทศ เช่น แผนที่ทางทะเล อิมเมจ หรือโฆษณาขายสินค้าอุตสาหกรรม จะสามารถบริหาร ได้ง่ายแต่อย่างไรก็ตามหากการสื่อสารเป็นอุปสรรค อาจจำเป็นต้องลงทุนในต่างประเทศในลักษณะ ฐานทัพหน้าอยู่
สงครามไซเบอร์ (Cyber Warfare) คำว่า "ไซเบอร์" มาจากคำเต็มว่า CYBERNATICS หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสมองกลกับสมองมนุษย์ สงครามไซเบอร์ เป็นรูปแบบที่กว้างและฝันไกลที่สุดประกอบด้วย การก่อการร้ายทางข่าวสาร Information Terrorism) การโจมตีซีแมนติค (Semantic Attack) สงครามจำลองสถานการณ์ (Simula Warfare) และ สงครามกิ๊บสัน (Gibson Warfare) สงครามไซเบอร์ ค่อนข้างยากที่จะ ย้อนอดีต โครงสร้างพื้นฐานการข่าวสารระดับโลกได้พัฒนาจนมาถึงระดับที่สามารถ นำไปใช้ใน การรบได้แล้ว
การก่อการร้ายทางข่าวสาร (Information Terrorism) การก่อการร้าย จะหมายถึง การใช้ ความรุนแรงแบบสุ่มต่อเป้าหมายที่ปรากฏตามอำเภอใจ แต่เมื่อจะทำจริง ๆ กลับเป็นเป้าหมาย เฉพาะเจาะจง แต่การก่อการร้ายทางข่าวสาร ในที่นี้จะหมายถึง แขนงสาขาของการก่อกวนทาง คอมพิวเตอร์ (Computer Hacking) ที่เจตนาไม่ได้ต้องการถึงกับล้มล้างระบบ เพียงใช้ประโยชน์ จากการนี้โจมตีปัจเจกบุคคลเป็นราย ๆ ไป เป้าหมายของการก่อการร้ายนั้น คือ ไฟล์ข้อมูล ที่ผู้ ก่อกวนทราบสภาพล่วงหน้ามาแล้วบ้าง เป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อ ส่วนมากจะเชื่อมข่ายกับสาธารณะ หรือ กึ่งสาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ อย่างไม่ผิดกฎหมายหรือในทางที่ดีของกลุ่มชน
Credit Link: http://www.navy.mi.th/newwww/document/navic/860902d.html