Tuesday 29 April 2008

Things make people laugh first and make them thing later : siremorn

siremorn :
Things make people laugh first and make them thing later
Sep 21, '07 6:56 AM for everyone

Lovely Credit Link : siremorn

หลังจากได้อ่านหัวข้อข่าวที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง...เกี่ยวกับรางวัลทั่วโลกที่มอบให้โดยองค์กรต่างๆ...ทั้งรางวัลที่เกี่ยวกับการกีฬา...รางวัลด้านการบันเทิงจาก Cannes ทั้งรางวัลของคนโฆษณา...หรือรางวัลโนเบล...ซึ่งเป็นผู้รับส่วนใหญ่มักจะมาจากสาขาทางสายวิทยาศาสตร์....รางวัลต่างๆเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ฉันประหลาดใจนัก...คนยิ่งใหญ่ทั่วโลกได้รับรางวัลจากความพยายามก็ถูกต้องแล้ว....คนส่วนใหญ่ในวงการนั้นๆให้ความสำคัญ ทุกสายตาจับจ้อง...บางคนแม้หมดลมหายใจ...ชื่อของเขายังคงถูกพูดถึง ผ่านยุคสมัย...ไม่ได้สูญสลายตามร่างกายคนๆนั้นไปด้วย
ที่น่าสังเกตคือ...กว่ารางวัลเหล่านั้นจะตกถึงมือผู้ที่ทุ่มเท...คณะกรรมการส่วนใหญ่กลับมองอะไรให้ซับซ้อน..ตัดสินเชือดเฉือนแบบไม่ยุติธรรมบ้าง...และบ่อยครั้งพบข้อผิดพลาดจากการตัดสินในเวลาต่อมา...อะไรล่ะเป็นมาตรชี้วัด...และรางวัลสู่ความยิ่งใหญ่นั้นต้องแลกมาด้วยความซับซ้อนของกระบวนการคิดเท่านั้นหรือ....คนธรรมดาๆกับความบ้าบิ่นต่อเรื่องเล็กๆน้อยๆรอบตัวล่ะจะมีสิทธิ์ไหม?
แล้วสิ่งที่ฉันสงสัยก็ปรากฏชัดในหัวข้อข่าวที่อ่านด้วย...รางวัล IG NOBEL เป็นรางวัลที่ยอกย้อนรางวัล NOBEL มิใช่น้อย...รางวัลที่สนใจคนธรรมดากับเรื่องเล็กๆน้อยๆรอบตัว รางวัลที่จากคนไม่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก...และมอบให้กับคนธรรมดาที่บ้าทางความคิด
รางวัลที่บอกทุกๆคนว่าจะเคร่งเครียดกับชีวิตไปทำไม...ไม่ต้องยิ่งใหญ่นักหรอก...ถ้ายิ่งใหญ่แล้วมีแต่ขัดแย้ง...รางวัลที่บอกว่า The winners have all done things that first make people LAUGH, then make them THINK......IG NOBEL จัดขึ้นเมื่อปี 1991 โดยดร. มาร์ค อับราฮัม อับราฮัมจบทางคณิตศาสตร์ประยุกต์จากฮาร์วาร์ด เคยตั้งบริษัทรับเขียนโปรแกรมในปี 1990 แล้วไม่ประสบความสำเร็จ ในระหว่างนั้นก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับนิตยสารวิทยาศาสตร์ขำขัน ชื่อว่า The Journal of Irreproducible ต่อมาก็ทำนิตยสาร Annals of Improbable Research : AIR และอุทิศชีวิตให้กับความพิลึกต่างๆ ในวงการวิจัยมาเรื่อยๆ จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นกับการประกวดนางงาม นางงามจักรวาล คือรางวัลโนเบล ส่วนนางงามมิตรภาพคือรางวัลอิกโนเบล เพราะนางงามมิตรภาพจะสร้างรอยยิ้มให้เกิดกับคนทั่วไป ส่วนอิกโนเบลก็เช่นกัน ใครได้รับรู้ก็จะต้องยิ้ม หัวเราะ และงงงวย ว่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายคิดได้อย่างไรกับงานวิจัยเหล่านี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลอิกโนเบลจึงต้องมีงานที่ทำให้คนขำเมื่อแรกเห็นแล้วกลับมาคิด หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ ขำแล้วกลับมาคิด รางวัล IG NOBEL เคยตกเป็นของเด็กสาวนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เก็บสถิติเรื่อง อาหารตกบนพื้นหากเราหยิบมันขึ้นมาภายใน 5 วินาทีเราสามารถทานได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ...แน่นอนแม่สาวคนนี้ได้รางวัลในสาขาสาธารณสุข
ณ โรงละครแซนเดอร์ส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University's Sanders Theater ) ในวันงานจะมีผู้เข้าร่วมโห่ฮาประมาณ 1,200 คน โดยผู้ชมต้องซื้อบัตรราคาตั้งแต่ $16-$25 ผู้อัญเชิญรางวัลหลายคนเป็นผู้ที่เคยได้รางวัลโนเบลมาแล้ว แต่ต่างกันที่รางวัลอิกโนเบลจะให้รางวัลที่ทำจากวัสดุราคาถูก ออกแบบมาให้พังภายในหนึ่งเดือน ตัวอย่างผู้ที่ได้รางวัลแต่ละสาขา....
สาขาวิศวกรรม ได้แก่จอห์น พอล สเตปป์ เอ็ดเวิร์ด เอ เมอร์ฟี จูเนียร์ ผู้ล่วงลับ และจอร์จ นิโคลส์ ( The late John Paul Stapp, the late Edward A. Murphy, Jr., and George Nichols) ซึ่งคิดค้นหลักการสุดเก๋าขึ้นมาเมื่อปี 1949 ว่า "ถ้ามีวิธีทำอะไรมากกว่าสองทางขึ้นไป และหนึ่งในนั้นเป็นหนทางไปสู่หายนะ ก็จะต้องมีใครสักคนที่เลือกทางนั้นเสมอ" หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ ถ้ามีอะไรผิดพลาดได้ มันก็จะผิดพลาด นายเมอร์ฟีเป็นนักวิทยาศาสตร์ขนส่งยานอวกาศ ความล้มเหลวหลายครั้งในการทดสอบตัวเซนเซอร์ ทำให้เขาตั้งข้อสังเกตและเพิ่มเติมข้อความในกฎของเมอร์ฟีภายหลังว่า "Anything that can go wrong will.สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ทีมนักวิจัยออสเตรเลีย ทำงานวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์แรงที่ต้องใช้ในการลากแกะไปบนพื้นผิวต่าง ๆ กัน"จอห์น เอฟ คูลวีนอร์ วิศวกร แสดงให้เห็นว่าผู้ตัดขนแกะจะไม่ทำให้แกะเจ็บหลังเมื่อต้องลากแกะเข้าไปที่แท่นตัดขนที่พื้นเป็นไม้และลาดเอียงพอเหมาะ
สาขาการแพทย์ ได้แก่เอเลนอร์ แมกไกวร์ (Eleanor Maguire) และนักศึกษา 6 คนจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่แสดงให้เห็นว่า "สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวพันกับการนำทาง ของคนขับรถแท็กซี่ในลอนดอน มีขนาดใหญ่กว่าสมองส่วนดังกล่าวของคนปกติ" โดยใช้เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอซึ่งชี้ให้เห็นว่าสมองของคนขับแท็กซี่ในลอนดอนมีสีเทาในส่วนฮิปโปแคมปัสมากกว่าคนทั่วไป
สาขาจิตวิทยา ได้แก่สองนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโรม และนักวิทยาศาสตร์จากสแตนฟอร์ดยูนิเวอร์ซิตี ซึ่งตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง "บุคลิกพื้น ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของนักการเมือง"สาขาเคมี ได้แก่ ยูคิโอะ ฮิโรเสะ (Yukio Hirose) อายุ 62 ปี ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยคานาซาวะ (Kanazawa University) ในญี่ปุ่น จากการศึกษาว่า ทำไมรูปหล่อสัมฤทธิ์บางชิ้นในเมืองที่เขาอยู่ ถึงไม่มีนกพิราบมาเกาะเหมือนรูปหล่ออื่น ๆ บ้าง รูปหล่อสัมฤทธิ์ที่ไม่ปกตินี้มีอายุ 123 ปี มีส่วนผสมของทองแดง และสารหนู เขาทำแผ่นโลหะจำลองขึ้นมาจากส่วนผสมดังกล่าว ปรากฎว่านกทั้งหลายแหล่ต่างหลบหลีก แม้ว่าจะมีอาหารกระจายอยู่บนแผ่นโลหะก็ตาม ศาสตราจารย์ฮิโรเสะกล่าวกับ เอเอฟพี ในวันอังคารที่ 30 กันยายนที่ผ่านมาว่า "เมื่อผมพูดถึงงานวิจัยผม ผู้ฟังก็จะขำกลิ้ง เขาก็ไม่เข้าใจว่ามันตลกอะไรนักหนากับการสำรวจนี้ ทั้งๆ ที่ผมก็จริงจังกับมันมากเลยนะ" สาขาชีววิทยา เจ้าของรางวัลคือ ดร.คีร์ ดับเบิลยู โมไลเกอร์ (Kees.W. Moeliker) หัวหน้าดูแลพิพิธภัณฑ์ จากพิพิธภัณฑ์ในร็อตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ทำการบันทึกทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเป็นครั้งแรก ของการร่วมเพศกับซากศพของเพศเดียวกันในเป็ดป่า บทคัดย่อของการศึกษาระบุว่า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ปี 1995 เป็นป่าเพศผู้ตัวหนึ่ง บินชนกระจกพิพิธภัณฑ์และเสียชีวิต แต่หลังจากที่เป็ดป่าอีกตัวมาพบ มันก็ทำการขืนใจศพเป็ดตัวแรกอยู่นานต่อเนื่องถึง 75 นาที และเมื่อผู้ทำงานวิจัยเดินไปดูใกล้ ๆ ด้วยความสงสัย เมื่อนำมาผ่าดูจึงพบว่าเหยื่อการกระทำชำเรานั้นเป็นเป็ดเพศผู้เหมือนกัน ดร.โมไลเกอร์กล่าวในตอนให้สัมภาษณ์ว่า "การข่มขืนในเป็ดเป็นเรื่องธรรมดา....เป็นที่รู้โดยทั่วกันถึงวิธีการสืบพันธุ์ว่าการรักร่วมเพศในเป็ดนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งไม่มีความแตกต่างใหญ่โตอะไรระหว่างมนุษย์และเป็ด แต่การข่มขืนศพนี่สิเป็นเรื่องใหม่ ผมพูดถึงเรื่องนี้กับนักปักษาวิทยาหลายคนแล้ว "
สาขาสันติภาพ ได้แก่ ลัล พิหารี (Lal Bihari) จากเมืองอามิลอน (Amilon) ประเทศอินเดีย ซึ่งมารูว่าลุงของตนซึ่งได้รับมรดกที่ดินต่อจากเขา ติดสินบนเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนเงิน 25 ดอลลาร์ เพื่อประกาศว่าเขาตายแล้ว เขากลับมาเมื่อ 18 ปี ให้หลังจากความเห็นใจจากศาล สำหรับความสำเร็จ 3 ประการคือ ประการแรก เขายังดำเนินชีวิตต่อไป หลังจากถูกทางการประกาศว่าตายแล้วตามกฎหมาย ข้อสอง เขาทำการรณรงค์หลังการตายอย่างแข็งขัน ด้วยการต่อต้านความเฉื่อยชาของระบบราชการ และฟาดฟันกับบรรดาญาติ ๆ งกสมบัติ ข้อสุดท้ายก็คือเขาเป็นผู้ก่อตั้ง "สมาคมคนตาย" สำหรับคนที่ถูกรัฐประกาศว่าตายไปแล้วทั้งที่ยังมีลมหายใจขึ้นมา นายพิหารี ไม่สามารถขอวีซ่าได้ทันเวลาเพื่อมาร่วมงานในปีนี้ เขาส่งเพียงคำพูดมาเขากล่าวว่า "ร้อยละ 75 ของผู้คนทั้งหมดเป็นพวกที่ไร้จิตวิญญาณ" (นายพิหารีไม่มีโทรศัพท์และพูดได้เพียงภาษาฮินดู ดังนั้นการแปลข้อความจึงค่อนข้างมีปัญหา)
บางรางวัลในสาขาสันติภาพ มอบให้ชาวญี่ปุ่นที่คิดคาราโอเกะ....ด้วยเกียรติคุณที่ว่าทำให้เรารู้จักเรียนรู้วิธีมีน้ำอดน้ำทนกับคนอื่น
ถึงตอนนี้..อาจจะยังนั่งขำ..ขำที่โลกหมุนไปไว..ใครบางคนคิดเรื่องไร้สาระได้เป็นสาระ...ในขณะที่ใครต่อใครยังเดินตามกันอยู่..และเราเองก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น
Prev: แนะนำเพื่อนๆจาก tag น้องณฐ
Next: เยี่ยม เยี่ยม มอง มอง

Special Thank For Lovely Credit Link : siremorn
http://siremorn.multiply.com/journal/item/63/Things_make_people_laugh_first_and_make_them_thing_later

เก๋มากครับ......