Saturday 26 April 2008
ออกกำลังกาย : 1 ในหนังโฆษณา 8 เรื่อง 8 รส จาก 8 ผู้กำกับ
ออกกำลังกาย : 1 ในหนังโฆษณา 8 เรื่อง 8 รส จาก 8 ผู้กำกับ
คุณภาพชีวิต
“ออกกำลังกาย”
คนไทยออกกำลังกายเพียง 34% เทียบกับชาติอื่นๆแล้ว คนไทยออกกำลังกายกันน้อยมาก ข้ออ้างคือ ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่
กระแสบริโภคนิยมไหลบ่าจนเกิดธุรกิจใหม่ประเภทฟิตเนสออกกำลังกาย เป็นค่านิยมใหม่ว่าจะออกกำลังกายต้องไปฟิตเนส ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การออกกำลังกายทำได้ทุกสถานที่ ไม่มีข้อจำกัด
การที่ชีวิตจะมีความสุข ต้องประกอบด้วยความสุข ทั้งทางกายและทางใจ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแบบวิถีชีวิตพอเพียง ทำได้โดยการออกกำลังกายตามแบบที่ถนัดหรือที่สนใจ ที่ไหนก็ได้ที่ทำได้ ไม่ต้องเสียเงินฟุ่มเฟือย
คุณเชื่อหรือไม่ว่ารูปแบบใหม่ของการออกกำลังกายยุคนี้ ง่าย ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกกิจกรรมประจำวันของคุณ เพราะโอกาสออกกำลังกายมีเสมอ เพียงคุณขยับก็เท่ากับการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด ไม่ว่าคุณจะเดิน วิ่ง ล้างจาน ถูบ้าน เต้นรำหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น คุณก็ได้ออกกำลังกายแล้ว สิ่งสำคัญการขยับเคลื่อนไหวร่างกายของคุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งเท่ากับการใช้พลังงานไปถึง 150 แคลอรี่แล้ว และถ้าคุณเลือกเคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมเบาๆ ก็ต้องเพิ่มเวลาทำกิจกรรมให้นานขึ้นเท่านั้นเอง เช่น
• หากคุณเดินขึ้นบันได ใช้เวลาเพียง 15 นาที
• กระโดดเชือก ใช้เวลา 15 นาที
• เล่นบาสเกตบอล ใช้เวลา 15-20 นาที
• ว่ายน้ำ ใช้เวลา 20 นาที
• เต้นรำในจังหวัดเร็ว ใช้เวลา 30 นาที
• เดิน 2.8 กิโลเมตร ใช้เวลา 35 นาที
• ทำสวนขุดดิน ใช้เวลา 30-45 นาที
• ปั่นจักรยาน ใช้เวลา 30-40 นาที
• หากคุณล้างจานและเช็ดรถ ต้องใช้เวลานาน 45-60 นาที
เท่านี้ร่างกายของคุณก็สมบูรณ์แข็งแรงและลดอัตราเสี่ยงโรคต่างๆได้แล้ว
แนวคิดโฆษณารณรงค์ “ออกกำลังกาย” ต้องการสื่อสารในประเด็นการมองทุกสถานที่ให้เป็นที่ที่ออกกำลังกายได้โดยไม่มีข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ว่าไม่มีสถานที่จึงไม่ออกกำลังกาย โดยภาพยนตร์โฆษณาถ่ายทอดเรื่องราวผ่านชายหนุ่มที่ขยำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจนเป็นลูกบอล และนำมาเดาะเล่น ในท่าต่างๆด้วยความสนุกสนาน โดยเป็นการออกกำลังกายในออฟฟิศที่มีพื้นที่จำกัด
ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา : ชาญชัย ชวานนท์ Goodboyz
ติดต่อสอบถามข้อมูล : 02-2980500 www.porpeanglife.com
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
Link: http://www.thaihealth.or.th/node/2059
คุณภาพชีวิต
“ออกกำลังกาย”
คนไทยออกกำลังกายเพียง 34% เทียบกับชาติอื่นๆแล้ว คนไทยออกกำลังกายกันน้อยมาก ข้ออ้างคือ ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่
กระแสบริโภคนิยมไหลบ่าจนเกิดธุรกิจใหม่ประเภทฟิตเนสออกกำลังกาย เป็นค่านิยมใหม่ว่าจะออกกำลังกายต้องไปฟิตเนส ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การออกกำลังกายทำได้ทุกสถานที่ ไม่มีข้อจำกัด
การที่ชีวิตจะมีความสุข ต้องประกอบด้วยความสุข ทั้งทางกายและทางใจ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแบบวิถีชีวิตพอเพียง ทำได้โดยการออกกำลังกายตามแบบที่ถนัดหรือที่สนใจ ที่ไหนก็ได้ที่ทำได้ ไม่ต้องเสียเงินฟุ่มเฟือย
คุณเชื่อหรือไม่ว่ารูปแบบใหม่ของการออกกำลังกายยุคนี้ ง่าย ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกกิจกรรมประจำวันของคุณ เพราะโอกาสออกกำลังกายมีเสมอ เพียงคุณขยับก็เท่ากับการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด ไม่ว่าคุณจะเดิน วิ่ง ล้างจาน ถูบ้าน เต้นรำหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น คุณก็ได้ออกกำลังกายแล้ว สิ่งสำคัญการขยับเคลื่อนไหวร่างกายของคุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งเท่ากับการใช้พลังงานไปถึง 150 แคลอรี่แล้ว และถ้าคุณเลือกเคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมเบาๆ ก็ต้องเพิ่มเวลาทำกิจกรรมให้นานขึ้นเท่านั้นเอง เช่น
• หากคุณเดินขึ้นบันได ใช้เวลาเพียง 15 นาที
• กระโดดเชือก ใช้เวลา 15 นาที
• เล่นบาสเกตบอล ใช้เวลา 15-20 นาที
• ว่ายน้ำ ใช้เวลา 20 นาที
• เต้นรำในจังหวัดเร็ว ใช้เวลา 30 นาที
• เดิน 2.8 กิโลเมตร ใช้เวลา 35 นาที
• ทำสวนขุดดิน ใช้เวลา 30-45 นาที
• ปั่นจักรยาน ใช้เวลา 30-40 นาที
• หากคุณล้างจานและเช็ดรถ ต้องใช้เวลานาน 45-60 นาที
เท่านี้ร่างกายของคุณก็สมบูรณ์แข็งแรงและลดอัตราเสี่ยงโรคต่างๆได้แล้ว
แนวคิดโฆษณารณรงค์ “ออกกำลังกาย” ต้องการสื่อสารในประเด็นการมองทุกสถานที่ให้เป็นที่ที่ออกกำลังกายได้โดยไม่มีข้อจำกัด หรือ ข้ออ้าง ว่าไม่มีสถานที่จึงไม่ออกกำลังกาย โดยภาพยนตร์โฆษณาถ่ายทอดเรื่องราวผ่านชายหนุ่มที่ขยำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจนเป็นลูกบอล และนำมาเดาะเล่น ในท่าต่างๆด้วยความสนุกสนาน โดยเป็นการออกกำลังกายในออฟฟิศที่มีพื้นที่จำกัด
ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา : ชาญชัย ชวานนท์ Goodboyz
ติดต่อสอบถามข้อมูล : 02-2980500 www.porpeanglife.com
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
Link: http://www.thaihealth.or.th/node/2059