Wednesday, 16 April 2008
Dreams : จบอินทีเรียแต่ทำไมไปทำหนัง
ไม่รู้ได้อ่านกันบ้างแล้วหรือยัง เลยเอามาให้อ่านกันครับ
ที่มาจาก
http://www.dec-d-sign.com/center/news_nolog_view.asp?ID=33
สวัสดีครับ มัณฑน TALK ครั้งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้กำกับหนุ่มไฟแรง มีผลงานทางจอเงินมาแล้วหลายเรื่อง อาทิเช่น มือปืน โลก พระ จันทร์ กุมภาพันธ์ บุปผาราตรี และสายล่อฟ้า "ยุทธเลิศ สิปปภาค" จบปริญญาตรีออกแบบตกแต่งภายใน รุ่น 32 แต่ผันตัวเองมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานในการกำกับมาก่อน
จบอินทีเรียแต่ทำไมไปทำหนัง
เป็นคนชอบดูหนัง ตอนที่เรียนปี 31-32 หนังไทยจัดได้ว่าไม่มีน่าตาที่น่าสนใจ เรียก "เชย" บางคนเรียกแรง "เสี่ยว" พวกที่อยู่ในวงการหนังไทยจะไม่ค่อยมีความภาคภูมิใจเท่าไหร่ ตัวหนังซึ่งทำออกมาคนดูส่วนใหญ่ดูถูก อาจเป็นด้วยตัวหนังมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะเราเป็นคนที่เคยดูหนังมาก่อน รสนิยมคนทำกับคนดูไม่ค่อยคล้องจองกันเท่าไหร่ ตอนนั้นจบศิลปากรพยายามจะไปเรียนต่อทางด้านภาพยนตร์ที่นิวยอร์ค แต่ว่าค่าเทอมที่โน้นแพงมาก เลยเลือกที่จะลงเรียน Printing ระหว่างนั้นเข้าไปศึกษาวิธีกาทำหนังหรือการเขียนบทในร้านหนังสือ เพราะร้านหนังสือที่นั่นมีหนังสือเกี่ยวกับภาพยนตร์มาก ซึ่งเมืองไทยปัญหาก็คือเราไม่มีข้อมูลพวกนี้ มหาวิทยาลัยศิลปะจะมีภาพยนตร์เป็นศิลปะเสมอ แต่ภาพยนตร์ของเมืองไทยเราจะไปอยู่ที่ธรรมศาสตร์หมด(ในขณะนั้น) กลายเป็นเด็กธรรมศาสตร์จะเชี่ยวชาญหนังมากกว่าศิลปากร เด็กศิลปากรพวกที่ออกไปทำต้องเลือกที่จะเรียนเองไม่มีหลักสูตรที่ชัดเจน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ต้องกลับมาทำความเข้าใจภาษาอังกฤษใหม่ ใช้เวลาอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเปิดดิกกว่าจะได้ทีละหน้านานมาก แต่ว่าการอ่านอย่างช้าๆ ช่วยให้เราเข้าใจเยอะขึ้น อ่านไปเกือบ 2 ปี จนคิดไปเองว่าตัวเองกำกับหนังได้ ก็เลยกลับมาทำหนังโดยเข้าไปคุยกับบริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ตอนนั้นหนังไทยหลังจาก "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว" เจ๊งๆๆ ตลอด ไม่มีหนังอะไรบิ๊ก ฮิตมาก่อน "2499..." ก่อน "นางนาค" ช่วงนั้นไม่มีใครอยากจะปล่อยเงินให้คนทำหนัง และก็เชื่อว่าผู้กำกับหน้าใหม่จะควบคุมโปรดักชั่นไม่ค่อยได้ เพราะว่าขนาดผู้กำกับใหญ่ๆ ยังทำงบบานตะไทไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้โอกาสจาก ไท เอนเตอร์เทนเมนท์ จน 3 ปี ผ่านไปถึงจะได้ทำ "มือปืน โลก พระ จันทร์"
แต่เรื่องแรกที่ทำคือ
เรื่องแรกที่เขียน กลับมาคุยกับไท เอนเตอร์เทนเมนท์ คุยไปคุยมาลักษณะว่า เราเข้าไปยังไม่มีประสบการณ์ อยากเป็นผู้กำกับ ไปเสนอความคิดอยากเป็นผู้กำกับ เขาก็เลยให้กลับมาเขียนเรื่อง เขาถามว่าไปทำอะไรมาก่อน ทำไมคิดว่าตัวเองทำหนังได้ เราบอกว่ามันมีลางสังหรณ์ เชื่อว่าจะทำได้ คนอื่นเขายังทำกันได้ เขาก็คงรับไม่ได้ ตักความรำคาญให้ไปเขียนเรื่องมา เป็ยครั้งแรกที่ยังไม่เคยเขียนเรื่อง เราก็ไปเขียมา 3 หน้า เป็นครั้งแรกที่พิมพ์ดีดทีละนิ้ว ส่วนใหญ่คนที่มาเป็นผู้กำกับจะเป็นผู้กำกับมิวสิควิดีโอ ทำโฆษณา เราเป็นคนชอบถ่ายรูป ถ้าเราจะทำหนังก็คงเป็นหนังที่ใกล้ตัว ก็เลยเลือกทำหนังเกี่ยวกับเพื่อนในคณะมัณฑนศิลป์ ก็เอารูปทั้งหมดที่มีมาร้อยเป็นเรื่องใส่เครื่องฉายสไลด์แล้วหอบไปฉายให้เขาดู โดยเปิดเพลงอัสนีย์-วสันต์ "รักเธอเสมอ" ณ จังหวะนั้นตอบหอบของไปขึ้นลิฟท์ทำท่าไม่ค่อยดี แต่ลิฟท์มันเปิดแล้วเราก็เลยจำใจต้องเข้า ตอนนั้นบริษัท ไท เอนเตอร์เทนเม้นท์มีอยู่ 2 คน เขาจะเลิกทำหนัง เราก็เริ่มริบหรี่แล้ว แต่ไหนๆ ก็มาแล้วก็ฉายหนังของตัวเอง ตอนฉายหนังให้ลงกับจังหวะเพลงต้องจำ ยากมาก... ภาพต้องประสานการลงกับเพลง เสร็จปุ๊บ เขาก็คุยว่าเราเป็นใครมาจากไหน เขาก็งงว่าอยากจะทำหนังแล้วไม่มีประสบการณ์ทำได้ไง... ผู้กำกับที่ชื่นชอบใคร เราบอกไม่มีครับ เขาก็เลยบอกเอางี้ไปเขียนเรื่องมาซิ เขาสนใจ เพราะมีแต่เรื่องรับน้งรับน้อง อีกอาทิตย์เขานัดมา เขาโยนพล็อต 3 หน้าใส่เรา แล้วบอกว่า เอาไปให้ไฟร์สตาร์เขาก็ไม่ทำ ให้ไปเขียนบทใหม่มาถ้าคุณคิดว่าคุณเจ๋ง เราก็ไม่รู้ว่าการเขียนบทเป็นยังไง เลยต้องกลับนิวยอร์คศึกษาการเขียนบท ส่งบทมาจากทางโน้นอาศัยว่าเราเป็นคนทำงานศิลปะ ก็เลยเขียนหนังเป็นสตอรี่บอร์ดให้เห็นว่าภาพมันจะออกมายังไง หนังเรื่องนั้นก็เป็นชื่อเรื่อง "โอเนฟกาทีฟ" ที่มีปัญหากันกับทางแกรมมี่ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล้าให้เราทำ เพราะเราว่าเราตอนนั้นเหมือนคนที่มีปัญหา หน้าตาไม่น่าไว้ใจแล้วยังไปทะเลาะกับบุคคลระดับผู้กำกับยอดเยี่ยมของเมืองไทย เอาบทไปเสนอที่ไหนก็ไม่มีใครเอา พอหนัง "โอเนฟกาทีฟ" ออกฉายแล้วได้รางวัล(แต่ผู้กำกับเป็นคนอื่น) คนก็เริ่มถามว่าใครเป็นคนเขียนบท จนราเชนทร์ ลิ้นตระกูล บริษัทอาวอง ซึ่งรู้จักกันมาก่อน เขาสนใจที่จะให้เราลองฝีมือ เอาบทมาให้เราแต่เรามองไม่เห็นภาพ เขาก็เลยถามเรามีโปรเจ็กไหม เราก็เลยหยิบโปรเจ็ก "มือปืน โลก พระ จันทร์" ขึ้นมา ก็กลายเป็นหนังเรื่องแรกที่ทำ
เรื่องแรกที่ทำ "มือปืน โลก พระ จันทร์" มีปัญหาอะไรไหม เพราะเราไม่ได้ผ่านโปรดักชั่นมา
วิธีการทำงานของอาวองคือ บุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำหนัง "มือปืน โลก พระ จันทร์" จะต้องมีอยู่คนเดียวแค่ผู้กำกับ นอกนั้นเขาจะตองหาคนมา นั่นคือสิ่งที่ถูก เราเป็นผู้กำกับ เรารู้ว่าจะเล่าเรื่องยังไง ทางไทฯ บอกว่าเป็นผู้กำกับหนังจะต้องมาเป็นผู้ช่วยก่อน เราคิดว่าการไม่เป็นผู้ช่วยก่อน แต่การมากำกับเลยมันก็น่าจะได้ เพราะมันคนละเรื่อง ผู้ช่วยกำกับการแสดงไม่ได้หมายความว่าเขาสามารถเป็นผู้กำกับการแสดงได้ เป็นแค่ผู้ช่วยในการทำงานทั้งหมด มันเป็นงานคนละศาสตร์ ผู้กำกับอาจจะเป็นผู้ช่วยไม่ได้เลยตลอดชีวิต แต่ผู้ช่วยสามารถขึ้นมาเป็นผู้กำกับได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้ช่วยแล้วเป็นผู้กำกับที่สามารถทำอะไรได้ดีได้ ทุกอย่างมันเป็นไปได้หมด แต่ว่าเราไม่มีเวลาไปฝึกงานแล้ว ต้องกำกับเลย ได้จบๆ กันไป ถ้ากำกับไม่ได้จะได้กลับไปนิวยอร์ค เพราะว่ามีงานมีการทำอยู่ที่นั่น
เรื่องแรกกดดันแค่ไหน ทุกคนมุ่งหวังที่จะดู
ไม่กดดัน เพราะว่าตั้งแต่เสียศูนย์จากโอเนฟกาทีฟ ไม่มีอะไรแย่ไปกว่านั้นแล้ว ถ้ามันจะล้มก็ไม่แปลก เพราะมันเคยล้มมาแล้วตั้งแต่ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำไป ไม่มีปัญหา แต่ว่าปัญหามันมาตอนที่ต้องทำงานร่วมกับทีมงานที่ไม่เชื่อถือเรา ตรงนั้นมันเป็นสิ่งที่ปวดประสาทมาก ถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาลไมเกรนกิน คือความเครียดมันค่อยๆ สะสม ทำงานกับคนที่ไม่เชื่อถือเรากับคนที่ใกล้ตัวคือตากล้อง เขาก็เถียง เราเขียนรูปให้ดูก็ยังนั่งเถียงกัน เราไม่รู้มันเป็นสิ่งที่เราเลือกทำงานกับคนผิด แทนที่เขาจะมีวิธีพูดที่ช่วยเหลือเราให้ดีเพราะเขาเป็นผู้ช่วย ทุกคนต้องมาช่วยเรา แต่ว่ามันหนักมาก ก็คือถ้าหนังไม่ได้ 100 ล้านก็ไม่หายเหนื่อย แต่พอหนังได้ 100 คือโล่งทุกอย่าง โยนทิ้งทุกอย่าง เรื่องที่ 2 เลยสบาย แต่เรื่องที่ 2 ก็เอาอีก ทำ "กุมภาพันธ์" ริอยากจะถ่ายเมืองนอก ทีมงานไทยช่วยเราตลอด เพราะเราเลือกเองทุกอย่าง คราวนี้ทีมงานไทยกับฝรั่งทะเลาะกัน เราอยู่ระหว่างศึกข้ามชาติ วันๆ ต้องนั่งเคลียปัญหานี้ ไมเกรากินอีกรอบ หลังจากนั้นเรื่องที่ 3 "บุปผาราตรี" โดยที่ว่าต่อไปนี้การทำงานจะต้อไม่มีคำว่าทุกข์ทรมาน การทำงานทุกข์ไปทำให้เสร็จๆ มันเป็นสิ่งที่เลวร้าย เหมือนวาดรูปไปแค่นให้มันเสร็จ คือมันเป็นสิ่งที่แย่มาก คือ บุปผาราตรีห้ามนายทุนยุ่ง ห้ามมีการตัดต่อ ห้ามทุกอย่าง
คิดว่าคนดูกลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลของรายได้
แต่ก่อนคิดว่าการทำหนัง วัยรุ่นจะเป็นกลุ่มเดียวที่อยู่ในตลาด เปล่า กลุ่มครอบครัวจะใหญ่ที่สุด ถ้าทำหนังอย่างกลุ่ม "เท่ง" กับกลุ่ม "แฟนฉัน" อาจจะไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน ถ้าทำหนังให้หลายกลุ่มมาดูกันได้ คือ "สุริโยทัย" ก็จะได้ประมาณ 200-300 ล้าน ถ้าทำหนังให้ทุกกลุ่มมาดูแสดงว่าเป้าหมายอยู่ที่ 200 ล้านขึ้นไปเป็นไปได้
ถ้าเฉพาะกลุ่ม กลุ่ม "เท่ง" ตลกอย่าง "แฟนฉัน" เขาอาจจะไม่ดู เหมือนตลกคาเฟ่กับตลกอุดมฯได้เงินเท่ากันแต่คนละกลุ่ม ถ้า 2 คนนี้เอาแสดงด้วยกันละก็จะได้เพิ่ม ก็จะแยกกลุ่มหนังดีไม่เกิน 30 ล้าน "The Letter" ถือว่าเป็นหนังดีที่ตอบโจทย์ชัดเจน ต้องร้องไห้ ได้ตังค์ไป 50 ล้าน ถ้าจะคลุมเคลือให้ข้อคิดต้องทำหนัง Art ไป เพราะ Art เปิดเผยโจ่งแจ้งไม่ได้ต้อให้คิด แต่บางคน...ไม่คิด จะดูชัดๆ จะดู "ดาวพระศุกร์" 10 รอบ ก็ยังอยากจะดู เพราะรู้ว่าจะต้องเป็นแบบนี้ ต้องการอิ่มเอิบกับ Detail ซึ่งควรจะใหม่หน่อย เหมือนเรารอ "หนังตลก" เรื่องนี้มีคนบอกฮาแน่ การตัดสินใจจะไปดูทันที อย่าง "เหมืองแร่" บอก ดีนะเว้ย แต่ลังเล หรืออย่าง "วันอลวน" มันมาสูตรเดียวกับ "แฟนฉัน" แต่แฟนฉันมันอิ่มกับเพลง หนังยาง เด็กๆใสๆ มันอินหมด ผู้ใหญ่เลยยพาเด็กไปดูได้เพราะเป็นหนังเด็ก แต่ "วันอลวน" มันเป็นวัยรุ่นแล้ว ไม่แน่ใจหรืออาจจะรอดูกระแส เด็กรุ่นใหม่พอเอ่ยชื่อ "ตั๊ม โอ๋" ใครวะ ไม่รู้จัก รายได้มันจะถูกตัดไปครึ่งนึง เป็นวันรุ่น รุ่นใหญ่ สมมุติว่ามี 100 คน รุ่นใหญ่มี 50 รายได้ก็จะหายจากแฟนฉันไปครึ่งนึง ซึ่งภาพที่ออกมาไม่ได้วัยรุ่นเท่าเด็กสยามเลย วัยรุ่นมันต้องทันสมัยใช่ไหม มันเหมือนวัยรุ่นทั่วไป เพราะตอนนี้มันไม่มีแฟชั่นที่แน่นอน แฟชั่นสมัยนั้นจะเป็นแฟชั่นพาเลส ยุคบูติก เด็กบลู มันแต่งตัวเหมือนกันทั้งประเทศ แต่รุ่นนี้มันถูกแบ่งแยกเป็นแนว แนวเฮฟวี่ แนวฟังค์ แนวมั่นๆ ก็มี แนวสวน แนวไฮโซ ตลาดจะถูกแบ่ง ถูกซอยเป็นกลุ่มๆ
พี่ก็เคยเข้ามาในวงการก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนั้นแสดงหนังวัยรุ่น
เราเลยรู้ว่าถ้าจะเป็นผู้กำกับหนังต้องทำยังไง เราต้องเป็นแสดง จะได้รู้ว่าหัวใจของนักแสดงเป็นอย่างไร ไปเล่นให้เขาเป็นตัวประกอบตามเรื่อง ก็จะได้รู้ว่าผู้กำกับทำแบบนี้ไม่ถูก แล้วการเป็นนักแสดงยากมาก คือการยืนต่อหน้ากล้องมันไม่ใช่หมูๆ มันต้องเป็นคนที่มีสมาธิ กว่าจะปรับ หนังถึงแข็งๆ การเลือกนักแสดงมันจะต้องละเอียดค่อนข้างสูง
เวลาเล่าเรื่องพี่คิดถึงคนดูว่าเขาอยากจะดูอะไร
อย่าไปสนใจว่าคนดูว่าเขาจะดูอะไร ถ้าเราคิดว่าเราอยากทำแบบนี้ คนดูนั่นเป็นโชคช่วย ผู้กำกับไม่ควรคิดถึงคนดู คิดถึงตัวเองก่อน ถ้าเราทำออกไปแล้วเราชอบมากแต่คนดูไม่ชอบ ถือว่าเราซวย ตกอยู่ในภาวะของอินดี้ เป็นผู้กำกับอินดี้
จำเป็นหรือเปล่าที่ผู้กำกับหนังจะต้องจบมาจากสถาบันสอนภาพยนตร์โดยเฉพาะ
โดยประสบการณ์จากตัวเอง ไม่จำเป็นต้องไปร่ำเรียน เพราะว่าอ่านเอาก็ได้ ถ้าจะไปเรียนแน่ใจหรือจากคนที่เขาสอนว่ามันชัวร์ งานของเรามันไม่เยอะที่จะการันตีได้ เอาแค่ผู้กำกับที่ดีที่เก่งในเมืองไทยยังนับยาก มีไม่กี่คนที่เราถูกใจ แต่พอเอาเขียนบทภาพยนตร์ก็นึกไม่ออก รู้ไหมว่าใครเป็นคนเขียนบทภาพยนตร์เก่งที่สุดในเมืองไทย "ไม่มี" ผู้กำกับก็เลยต้องเขียนเอง ทั้งๆ ที่เขียนได้ไม่ดีหรอกนะ แต่เพราะมันไม่มีให้เลือก เขียนเองถึงได้ถูกใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าดีหรอกนะ ถามว่าต้องเรียนที่ไหน ต้องการเรียนเป็นผู้กำกับหรือเป็นคนเขียนบท ถ้าต้องการเรียนเป็นผู้ช่วยต้องไปฝึกงาน ของพวกนี้เรียนรู้หน้ากอง แต่ต้องการเป็นคนเขียนบทต้องอ่านหนังสือ ต้องใช้ชีวิต ต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจคำว่า "พุทธศาสนา" เพราะมันคือหลักของชีวิต มันใช้ได้ทุกแนว ถ้าเรียนผู้กำกับมันต้องเหนือกว่านั้น ทุกคนต้องเรียนรู้เรื่องของการควบคุมคน คุณต้องรู้จักการเป็นนายคน การชี้นิ้วคน การสั่งงานคน การเลี้ยงคน การต่อรองกับนายทุน ถ้าไปคิดตรงนี้อาจจะไม่อยากเป็นผู้กำกับ แต่ว่าจริงๆ ใครก็ทำได้ ใครก็เป็นผู้กำกับได้ ไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นสิ่งที่เรียนรู่ได้ง่ายๆ ถ้าเราใส่ใจอย่างเต็มที่ ต้องหนักหน่วง และบ้า คนส่วนใหญ่ที่มันไปไม่ถึงเพราะไม่ทุ่มเทอย่างสุดๆ คนอยากทำหนังได้ยินมาเยอะ พี่ผมอยากทำหนัง จนปัจจุบันมันยังอยากอยู่ ทุกอย่างเป็นไปได้หมด ผู้กำกับไม่ใช่อาชีพที่เลิศเลอ มันเรื่องของพรสวรรค์ เรื่องของจังหวะ ซึ่งไม่มีกฎตายตัวควบคุม มันคือนักเล่าเรื่อง บางคนกำกับไม่เก่งแต่มันพูดเก่ง มันยังไงก็อยู่เป็นผู้กำกับได้ ที่สำคัญต้องรู้จักการเล่าเรื่องที่ดี
ประสบการณ์ข้างนอกยังไม่ค่อยจำเป็น เราเรียนต้องอาศัยสัญชาติญาณความเป็นมนุษย์ให้เยอะ เพราะมันจะมีดี-ชั่วอยู่ในตัวเราเองเวลาเราทำผิด เราจะรู้ว่ามันชั่ว หลายคนไม่เชื่อมันด้วยความกลัว กลัวเพราะว่าไม่มีประสบการณ์ ก็เลยต้องการเรียนหนังสือเพื่อจะเสริมสร้างความมั่นใจ บางคนอย่างที่ผมคิดว่าเป็นเองโดยธรรมชาติก็อีกแบบหนึ่ง การทำหนังไม่มีอะไรเสียหายเลย หนังเจ๊งผู้กำกับไม่ไม่เดือดร้อน สิ่งที่ในเมืองไทยขาดคือ "เรื่องที่ดี" ใครมีเรื่องที่ดีก็เป็นผู้กำกับเลย
อย่างนี้เรื่องที่พี่ทำเป็นคนเลือกเองหรือเปล่า
ใช่เป็นคนเลือกเอง ไม่มีกระบวนการของนายทุนในการทำงานของพี่ พี่เลือกไปเสนอนายทุน เอาไม่เอา ไม่เอาแน่ใจนะ ไปทำที่อื่น คือเป็นการต่อรองกับนายทุน ไม่ยอมทำเป็นไง เขาได้ตังค์ไปแล้ว ถึงบอกว่าเป็นการวางตัว การอยู่ค่าย การไม่อยู่ค่าย มันต้องเสี่ยง ค่อยๆ บีบนายทุนจนกระทั่งว่า บทไม่ต้องอ่าน เงินต้องเข้าแบ๊งค์ก่อน มันแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง
อย่างบุปผาราตรี นายทุนเห็นว่าจะกำไรเลยให้ทำต่อภาค 2
เขาเห็นกำไรอยู่แล้ว เพราะภาคแรกไม่ได้ทำกำไรมาก แต่คนพูดถึง ตลาดมี VCD กระจาย เพราะคนไม่ได้ไปดูโรง ภาค 2 ทำยังไงก็ได้ตังค์ ตีลังกาเข้าไปก็ได้ตังค์ เขาเชื่ออย่างนั้น ทำเลย
แต่ละเรื่องเขียนบทนานไหม
บางเรื่องเดือนเดียว บางเรื่อง 2 เดือน
เขียนเป็นตัวหนังสือก่อนหรือเขียนเป็นภาพ
เขียนเป็นตัวหนังสือก่อน ต่อจากนั้นก็เขียนรูป และเดี๋ยวนี้พิมพ์ดีดได้คล่องมาก วางมือไม่ค่อถูกนะ แต่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน เริ่มเขียนตั้งแต่พิมพ์ดีดกด ต่อมาซื้อพิมพ์ดีดไฟฟ้า จนกระทั่งมาเป็นคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนทีละเรื่อง เพราะซื้อถูกมาก เขียนเรื่องเดียวก็พังๆๆ มันเห็นพัฒนาการ พี่ไม่ใช่คนที่มีความสามารถในเรื่องของภาษา แต่หนังมันยืนอยู่บนสายกลาง ธรรมชาติ "รัก โลภ โกรธ หลง" ในความเป็นมนุษย์ ไม่แตกต่างกันทุกชาติ มันอยู่แค่นี้ ผิดชอบชั่วดี
มีอะไรแนะนำบุคคลากรในคณะเรื่องของการทำหนัง
อย่างน้อยคนของเรา 3 คนที่เป็นตัวแสบอยู่ในวงการ (หมายถึงนนทรีย์ นิมิบุตร, วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง, ยุทธเลิศ สิปปภาค) แต่ละคนทำพฤติกรรมประหลาดๆ เสมอ ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำมาไกลแบบนี้ แสดงว่าบุคคลากรของเรามันมีของ แต่ว่าเรายังไม่มีสถานที่รองรับตรงนี้ ผมว่ามหาวิทยาลัยศิลปะน่าจะมีสอนภาพยนตร์เป็นเมเจอร์ ก็เราสอนในหลักสูตรของศิลปากร ไม่ว่าปริญญาโท ปริญญาตรี สอนในเรื่องของศิลปะบวกเข้าไปด้วย น่าจะเป็นหลักสูตรที่แข็งแรง และมันเป็นภาควิชาในอนาคต บุคคลากรของเรามันอาจจะยังไม่พอ ณ เวลานี้ แต่ว่ามันน่าจะมีไว้สำหรับรองรับ เพราะว่าม่ไม่งั้นก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เขามีเงินเขาก็จะเปิด จ้างใครมาสอนทำหลักสูตรก็ได้
และนี่คือมุมมองในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของ "ยุทธเลิศ สิปปภาค" ทุกคนต่างก็มีมุมมองตามสไตล์ของตัวเองในการทำงาน มุมมองของแต่ละคนก็จะปรากฎออกมาเป็นผลงาน แล้วแต่ความถนัด ความเชื่อมั่น ความศรัทธาของอาชีพที่ทำ
จากนี้ไป มัณฑน TALK จะไปพูดคุยกับศิษย์เก่าท่านใด มีมุมมองทรรศนคติอย่างไรในแวดวงงานศิลปะของพวกเขา โปรดติดตามเราต่อไป
ที่มาจาก
http://www.dec-d-sign.com/center/news_nolog_view.asp?ID=33
สวัสดีครับ มัณฑน TALK ครั้งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้กำกับหนุ่มไฟแรง มีผลงานทางจอเงินมาแล้วหลายเรื่อง อาทิเช่น มือปืน โลก พระ จันทร์ กุมภาพันธ์ บุปผาราตรี และสายล่อฟ้า "ยุทธเลิศ สิปปภาค" จบปริญญาตรีออกแบบตกแต่งภายใน รุ่น 32 แต่ผันตัวเองมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานในการกำกับมาก่อน
จบอินทีเรียแต่ทำไมไปทำหนัง
เป็นคนชอบดูหนัง ตอนที่เรียนปี 31-32 หนังไทยจัดได้ว่าไม่มีน่าตาที่น่าสนใจ เรียก "เชย" บางคนเรียกแรง "เสี่ยว" พวกที่อยู่ในวงการหนังไทยจะไม่ค่อยมีความภาคภูมิใจเท่าไหร่ ตัวหนังซึ่งทำออกมาคนดูส่วนใหญ่ดูถูก อาจเป็นด้วยตัวหนังมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะเราเป็นคนที่เคยดูหนังมาก่อน รสนิยมคนทำกับคนดูไม่ค่อยคล้องจองกันเท่าไหร่ ตอนนั้นจบศิลปากรพยายามจะไปเรียนต่อทางด้านภาพยนตร์ที่นิวยอร์ค แต่ว่าค่าเทอมที่โน้นแพงมาก เลยเลือกที่จะลงเรียน Printing ระหว่างนั้นเข้าไปศึกษาวิธีกาทำหนังหรือการเขียนบทในร้านหนังสือ เพราะร้านหนังสือที่นั่นมีหนังสือเกี่ยวกับภาพยนตร์มาก ซึ่งเมืองไทยปัญหาก็คือเราไม่มีข้อมูลพวกนี้ มหาวิทยาลัยศิลปะจะมีภาพยนตร์เป็นศิลปะเสมอ แต่ภาพยนตร์ของเมืองไทยเราจะไปอยู่ที่ธรรมศาสตร์หมด(ในขณะนั้น) กลายเป็นเด็กธรรมศาสตร์จะเชี่ยวชาญหนังมากกว่าศิลปากร เด็กศิลปากรพวกที่ออกไปทำต้องเลือกที่จะเรียนเองไม่มีหลักสูตรที่ชัดเจน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ต้องกลับมาทำความเข้าใจภาษาอังกฤษใหม่ ใช้เวลาอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเปิดดิกกว่าจะได้ทีละหน้านานมาก แต่ว่าการอ่านอย่างช้าๆ ช่วยให้เราเข้าใจเยอะขึ้น อ่านไปเกือบ 2 ปี จนคิดไปเองว่าตัวเองกำกับหนังได้ ก็เลยกลับมาทำหนังโดยเข้าไปคุยกับบริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ตอนนั้นหนังไทยหลังจาก "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว" เจ๊งๆๆ ตลอด ไม่มีหนังอะไรบิ๊ก ฮิตมาก่อน "2499..." ก่อน "นางนาค" ช่วงนั้นไม่มีใครอยากจะปล่อยเงินให้คนทำหนัง และก็เชื่อว่าผู้กำกับหน้าใหม่จะควบคุมโปรดักชั่นไม่ค่อยได้ เพราะว่าขนาดผู้กำกับใหญ่ๆ ยังทำงบบานตะไทไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้โอกาสจาก ไท เอนเตอร์เทนเมนท์ จน 3 ปี ผ่านไปถึงจะได้ทำ "มือปืน โลก พระ จันทร์"
แต่เรื่องแรกที่ทำคือ
เรื่องแรกที่เขียน กลับมาคุยกับไท เอนเตอร์เทนเมนท์ คุยไปคุยมาลักษณะว่า เราเข้าไปยังไม่มีประสบการณ์ อยากเป็นผู้กำกับ ไปเสนอความคิดอยากเป็นผู้กำกับ เขาก็เลยให้กลับมาเขียนเรื่อง เขาถามว่าไปทำอะไรมาก่อน ทำไมคิดว่าตัวเองทำหนังได้ เราบอกว่ามันมีลางสังหรณ์ เชื่อว่าจะทำได้ คนอื่นเขายังทำกันได้ เขาก็คงรับไม่ได้ ตักความรำคาญให้ไปเขียนเรื่องมา เป็ยครั้งแรกที่ยังไม่เคยเขียนเรื่อง เราก็ไปเขียมา 3 หน้า เป็นครั้งแรกที่พิมพ์ดีดทีละนิ้ว ส่วนใหญ่คนที่มาเป็นผู้กำกับจะเป็นผู้กำกับมิวสิควิดีโอ ทำโฆษณา เราเป็นคนชอบถ่ายรูป ถ้าเราจะทำหนังก็คงเป็นหนังที่ใกล้ตัว ก็เลยเลือกทำหนังเกี่ยวกับเพื่อนในคณะมัณฑนศิลป์ ก็เอารูปทั้งหมดที่มีมาร้อยเป็นเรื่องใส่เครื่องฉายสไลด์แล้วหอบไปฉายให้เขาดู โดยเปิดเพลงอัสนีย์-วสันต์ "รักเธอเสมอ" ณ จังหวะนั้นตอบหอบของไปขึ้นลิฟท์ทำท่าไม่ค่อยดี แต่ลิฟท์มันเปิดแล้วเราก็เลยจำใจต้องเข้า ตอนนั้นบริษัท ไท เอนเตอร์เทนเม้นท์มีอยู่ 2 คน เขาจะเลิกทำหนัง เราก็เริ่มริบหรี่แล้ว แต่ไหนๆ ก็มาแล้วก็ฉายหนังของตัวเอง ตอนฉายหนังให้ลงกับจังหวะเพลงต้องจำ ยากมาก... ภาพต้องประสานการลงกับเพลง เสร็จปุ๊บ เขาก็คุยว่าเราเป็นใครมาจากไหน เขาก็งงว่าอยากจะทำหนังแล้วไม่มีประสบการณ์ทำได้ไง... ผู้กำกับที่ชื่นชอบใคร เราบอกไม่มีครับ เขาก็เลยบอกเอางี้ไปเขียนเรื่องมาซิ เขาสนใจ เพราะมีแต่เรื่องรับน้งรับน้อง อีกอาทิตย์เขานัดมา เขาโยนพล็อต 3 หน้าใส่เรา แล้วบอกว่า เอาไปให้ไฟร์สตาร์เขาก็ไม่ทำ ให้ไปเขียนบทใหม่มาถ้าคุณคิดว่าคุณเจ๋ง เราก็ไม่รู้ว่าการเขียนบทเป็นยังไง เลยต้องกลับนิวยอร์คศึกษาการเขียนบท ส่งบทมาจากทางโน้นอาศัยว่าเราเป็นคนทำงานศิลปะ ก็เลยเขียนหนังเป็นสตอรี่บอร์ดให้เห็นว่าภาพมันจะออกมายังไง หนังเรื่องนั้นก็เป็นชื่อเรื่อง "โอเนฟกาทีฟ" ที่มีปัญหากันกับทางแกรมมี่ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล้าให้เราทำ เพราะเราว่าเราตอนนั้นเหมือนคนที่มีปัญหา หน้าตาไม่น่าไว้ใจแล้วยังไปทะเลาะกับบุคคลระดับผู้กำกับยอดเยี่ยมของเมืองไทย เอาบทไปเสนอที่ไหนก็ไม่มีใครเอา พอหนัง "โอเนฟกาทีฟ" ออกฉายแล้วได้รางวัล(แต่ผู้กำกับเป็นคนอื่น) คนก็เริ่มถามว่าใครเป็นคนเขียนบท จนราเชนทร์ ลิ้นตระกูล บริษัทอาวอง ซึ่งรู้จักกันมาก่อน เขาสนใจที่จะให้เราลองฝีมือ เอาบทมาให้เราแต่เรามองไม่เห็นภาพ เขาก็เลยถามเรามีโปรเจ็กไหม เราก็เลยหยิบโปรเจ็ก "มือปืน โลก พระ จันทร์" ขึ้นมา ก็กลายเป็นหนังเรื่องแรกที่ทำ
เรื่องแรกที่ทำ "มือปืน โลก พระ จันทร์" มีปัญหาอะไรไหม เพราะเราไม่ได้ผ่านโปรดักชั่นมา
วิธีการทำงานของอาวองคือ บุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำหนัง "มือปืน โลก พระ จันทร์" จะต้องมีอยู่คนเดียวแค่ผู้กำกับ นอกนั้นเขาจะตองหาคนมา นั่นคือสิ่งที่ถูก เราเป็นผู้กำกับ เรารู้ว่าจะเล่าเรื่องยังไง ทางไทฯ บอกว่าเป็นผู้กำกับหนังจะต้องมาเป็นผู้ช่วยก่อน เราคิดว่าการไม่เป็นผู้ช่วยก่อน แต่การมากำกับเลยมันก็น่าจะได้ เพราะมันคนละเรื่อง ผู้ช่วยกำกับการแสดงไม่ได้หมายความว่าเขาสามารถเป็นผู้กำกับการแสดงได้ เป็นแค่ผู้ช่วยในการทำงานทั้งหมด มันเป็นงานคนละศาสตร์ ผู้กำกับอาจจะเป็นผู้ช่วยไม่ได้เลยตลอดชีวิต แต่ผู้ช่วยสามารถขึ้นมาเป็นผู้กำกับได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้ช่วยแล้วเป็นผู้กำกับที่สามารถทำอะไรได้ดีได้ ทุกอย่างมันเป็นไปได้หมด แต่ว่าเราไม่มีเวลาไปฝึกงานแล้ว ต้องกำกับเลย ได้จบๆ กันไป ถ้ากำกับไม่ได้จะได้กลับไปนิวยอร์ค เพราะว่ามีงานมีการทำอยู่ที่นั่น
เรื่องแรกกดดันแค่ไหน ทุกคนมุ่งหวังที่จะดู
ไม่กดดัน เพราะว่าตั้งแต่เสียศูนย์จากโอเนฟกาทีฟ ไม่มีอะไรแย่ไปกว่านั้นแล้ว ถ้ามันจะล้มก็ไม่แปลก เพราะมันเคยล้มมาแล้วตั้งแต่ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำไป ไม่มีปัญหา แต่ว่าปัญหามันมาตอนที่ต้องทำงานร่วมกับทีมงานที่ไม่เชื่อถือเรา ตรงนั้นมันเป็นสิ่งที่ปวดประสาทมาก ถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาลไมเกรนกิน คือความเครียดมันค่อยๆ สะสม ทำงานกับคนที่ไม่เชื่อถือเรากับคนที่ใกล้ตัวคือตากล้อง เขาก็เถียง เราเขียนรูปให้ดูก็ยังนั่งเถียงกัน เราไม่รู้มันเป็นสิ่งที่เราเลือกทำงานกับคนผิด แทนที่เขาจะมีวิธีพูดที่ช่วยเหลือเราให้ดีเพราะเขาเป็นผู้ช่วย ทุกคนต้องมาช่วยเรา แต่ว่ามันหนักมาก ก็คือถ้าหนังไม่ได้ 100 ล้านก็ไม่หายเหนื่อย แต่พอหนังได้ 100 คือโล่งทุกอย่าง โยนทิ้งทุกอย่าง เรื่องที่ 2 เลยสบาย แต่เรื่องที่ 2 ก็เอาอีก ทำ "กุมภาพันธ์" ริอยากจะถ่ายเมืองนอก ทีมงานไทยช่วยเราตลอด เพราะเราเลือกเองทุกอย่าง คราวนี้ทีมงานไทยกับฝรั่งทะเลาะกัน เราอยู่ระหว่างศึกข้ามชาติ วันๆ ต้องนั่งเคลียปัญหานี้ ไมเกรากินอีกรอบ หลังจากนั้นเรื่องที่ 3 "บุปผาราตรี" โดยที่ว่าต่อไปนี้การทำงานจะต้อไม่มีคำว่าทุกข์ทรมาน การทำงานทุกข์ไปทำให้เสร็จๆ มันเป็นสิ่งที่เลวร้าย เหมือนวาดรูปไปแค่นให้มันเสร็จ คือมันเป็นสิ่งที่แย่มาก คือ บุปผาราตรีห้ามนายทุนยุ่ง ห้ามมีการตัดต่อ ห้ามทุกอย่าง
คิดว่าคนดูกลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลของรายได้
แต่ก่อนคิดว่าการทำหนัง วัยรุ่นจะเป็นกลุ่มเดียวที่อยู่ในตลาด เปล่า กลุ่มครอบครัวจะใหญ่ที่สุด ถ้าทำหนังอย่างกลุ่ม "เท่ง" กับกลุ่ม "แฟนฉัน" อาจจะไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน ถ้าทำหนังให้หลายกลุ่มมาดูกันได้ คือ "สุริโยทัย" ก็จะได้ประมาณ 200-300 ล้าน ถ้าทำหนังให้ทุกกลุ่มมาดูแสดงว่าเป้าหมายอยู่ที่ 200 ล้านขึ้นไปเป็นไปได้
ถ้าเฉพาะกลุ่ม กลุ่ม "เท่ง" ตลกอย่าง "แฟนฉัน" เขาอาจจะไม่ดู เหมือนตลกคาเฟ่กับตลกอุดมฯได้เงินเท่ากันแต่คนละกลุ่ม ถ้า 2 คนนี้เอาแสดงด้วยกันละก็จะได้เพิ่ม ก็จะแยกกลุ่มหนังดีไม่เกิน 30 ล้าน "The Letter" ถือว่าเป็นหนังดีที่ตอบโจทย์ชัดเจน ต้องร้องไห้ ได้ตังค์ไป 50 ล้าน ถ้าจะคลุมเคลือให้ข้อคิดต้องทำหนัง Art ไป เพราะ Art เปิดเผยโจ่งแจ้งไม่ได้ต้อให้คิด แต่บางคน...ไม่คิด จะดูชัดๆ จะดู "ดาวพระศุกร์" 10 รอบ ก็ยังอยากจะดู เพราะรู้ว่าจะต้องเป็นแบบนี้ ต้องการอิ่มเอิบกับ Detail ซึ่งควรจะใหม่หน่อย เหมือนเรารอ "หนังตลก" เรื่องนี้มีคนบอกฮาแน่ การตัดสินใจจะไปดูทันที อย่าง "เหมืองแร่" บอก ดีนะเว้ย แต่ลังเล หรืออย่าง "วันอลวน" มันมาสูตรเดียวกับ "แฟนฉัน" แต่แฟนฉันมันอิ่มกับเพลง หนังยาง เด็กๆใสๆ มันอินหมด ผู้ใหญ่เลยยพาเด็กไปดูได้เพราะเป็นหนังเด็ก แต่ "วันอลวน" มันเป็นวัยรุ่นแล้ว ไม่แน่ใจหรืออาจจะรอดูกระแส เด็กรุ่นใหม่พอเอ่ยชื่อ "ตั๊ม โอ๋" ใครวะ ไม่รู้จัก รายได้มันจะถูกตัดไปครึ่งนึง เป็นวันรุ่น รุ่นใหญ่ สมมุติว่ามี 100 คน รุ่นใหญ่มี 50 รายได้ก็จะหายจากแฟนฉันไปครึ่งนึง ซึ่งภาพที่ออกมาไม่ได้วัยรุ่นเท่าเด็กสยามเลย วัยรุ่นมันต้องทันสมัยใช่ไหม มันเหมือนวัยรุ่นทั่วไป เพราะตอนนี้มันไม่มีแฟชั่นที่แน่นอน แฟชั่นสมัยนั้นจะเป็นแฟชั่นพาเลส ยุคบูติก เด็กบลู มันแต่งตัวเหมือนกันทั้งประเทศ แต่รุ่นนี้มันถูกแบ่งแยกเป็นแนว แนวเฮฟวี่ แนวฟังค์ แนวมั่นๆ ก็มี แนวสวน แนวไฮโซ ตลาดจะถูกแบ่ง ถูกซอยเป็นกลุ่มๆ
พี่ก็เคยเข้ามาในวงการก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนั้นแสดงหนังวัยรุ่น
เราเลยรู้ว่าถ้าจะเป็นผู้กำกับหนังต้องทำยังไง เราต้องเป็นแสดง จะได้รู้ว่าหัวใจของนักแสดงเป็นอย่างไร ไปเล่นให้เขาเป็นตัวประกอบตามเรื่อง ก็จะได้รู้ว่าผู้กำกับทำแบบนี้ไม่ถูก แล้วการเป็นนักแสดงยากมาก คือการยืนต่อหน้ากล้องมันไม่ใช่หมูๆ มันต้องเป็นคนที่มีสมาธิ กว่าจะปรับ หนังถึงแข็งๆ การเลือกนักแสดงมันจะต้องละเอียดค่อนข้างสูง
เวลาเล่าเรื่องพี่คิดถึงคนดูว่าเขาอยากจะดูอะไร
อย่าไปสนใจว่าคนดูว่าเขาจะดูอะไร ถ้าเราคิดว่าเราอยากทำแบบนี้ คนดูนั่นเป็นโชคช่วย ผู้กำกับไม่ควรคิดถึงคนดู คิดถึงตัวเองก่อน ถ้าเราทำออกไปแล้วเราชอบมากแต่คนดูไม่ชอบ ถือว่าเราซวย ตกอยู่ในภาวะของอินดี้ เป็นผู้กำกับอินดี้
จำเป็นหรือเปล่าที่ผู้กำกับหนังจะต้องจบมาจากสถาบันสอนภาพยนตร์โดยเฉพาะ
โดยประสบการณ์จากตัวเอง ไม่จำเป็นต้องไปร่ำเรียน เพราะว่าอ่านเอาก็ได้ ถ้าจะไปเรียนแน่ใจหรือจากคนที่เขาสอนว่ามันชัวร์ งานของเรามันไม่เยอะที่จะการันตีได้ เอาแค่ผู้กำกับที่ดีที่เก่งในเมืองไทยยังนับยาก มีไม่กี่คนที่เราถูกใจ แต่พอเอาเขียนบทภาพยนตร์ก็นึกไม่ออก รู้ไหมว่าใครเป็นคนเขียนบทภาพยนตร์เก่งที่สุดในเมืองไทย "ไม่มี" ผู้กำกับก็เลยต้องเขียนเอง ทั้งๆ ที่เขียนได้ไม่ดีหรอกนะ แต่เพราะมันไม่มีให้เลือก เขียนเองถึงได้ถูกใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าดีหรอกนะ ถามว่าต้องเรียนที่ไหน ต้องการเรียนเป็นผู้กำกับหรือเป็นคนเขียนบท ถ้าต้องการเรียนเป็นผู้ช่วยต้องไปฝึกงาน ของพวกนี้เรียนรู้หน้ากอง แต่ต้องการเป็นคนเขียนบทต้องอ่านหนังสือ ต้องใช้ชีวิต ต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจคำว่า "พุทธศาสนา" เพราะมันคือหลักของชีวิต มันใช้ได้ทุกแนว ถ้าเรียนผู้กำกับมันต้องเหนือกว่านั้น ทุกคนต้องเรียนรู้เรื่องของการควบคุมคน คุณต้องรู้จักการเป็นนายคน การชี้นิ้วคน การสั่งงานคน การเลี้ยงคน การต่อรองกับนายทุน ถ้าไปคิดตรงนี้อาจจะไม่อยากเป็นผู้กำกับ แต่ว่าจริงๆ ใครก็ทำได้ ใครก็เป็นผู้กำกับได้ ไม่ใช่เรื่องยาก มันเป็นสิ่งที่เรียนรู่ได้ง่ายๆ ถ้าเราใส่ใจอย่างเต็มที่ ต้องหนักหน่วง และบ้า คนส่วนใหญ่ที่มันไปไม่ถึงเพราะไม่ทุ่มเทอย่างสุดๆ คนอยากทำหนังได้ยินมาเยอะ พี่ผมอยากทำหนัง จนปัจจุบันมันยังอยากอยู่ ทุกอย่างเป็นไปได้หมด ผู้กำกับไม่ใช่อาชีพที่เลิศเลอ มันเรื่องของพรสวรรค์ เรื่องของจังหวะ ซึ่งไม่มีกฎตายตัวควบคุม มันคือนักเล่าเรื่อง บางคนกำกับไม่เก่งแต่มันพูดเก่ง มันยังไงก็อยู่เป็นผู้กำกับได้ ที่สำคัญต้องรู้จักการเล่าเรื่องที่ดี
ประสบการณ์ข้างนอกยังไม่ค่อยจำเป็น เราเรียนต้องอาศัยสัญชาติญาณความเป็นมนุษย์ให้เยอะ เพราะมันจะมีดี-ชั่วอยู่ในตัวเราเองเวลาเราทำผิด เราจะรู้ว่ามันชั่ว หลายคนไม่เชื่อมันด้วยความกลัว กลัวเพราะว่าไม่มีประสบการณ์ ก็เลยต้องการเรียนหนังสือเพื่อจะเสริมสร้างความมั่นใจ บางคนอย่างที่ผมคิดว่าเป็นเองโดยธรรมชาติก็อีกแบบหนึ่ง การทำหนังไม่มีอะไรเสียหายเลย หนังเจ๊งผู้กำกับไม่ไม่เดือดร้อน สิ่งที่ในเมืองไทยขาดคือ "เรื่องที่ดี" ใครมีเรื่องที่ดีก็เป็นผู้กำกับเลย
อย่างนี้เรื่องที่พี่ทำเป็นคนเลือกเองหรือเปล่า
ใช่เป็นคนเลือกเอง ไม่มีกระบวนการของนายทุนในการทำงานของพี่ พี่เลือกไปเสนอนายทุน เอาไม่เอา ไม่เอาแน่ใจนะ ไปทำที่อื่น คือเป็นการต่อรองกับนายทุน ไม่ยอมทำเป็นไง เขาได้ตังค์ไปแล้ว ถึงบอกว่าเป็นการวางตัว การอยู่ค่าย การไม่อยู่ค่าย มันต้องเสี่ยง ค่อยๆ บีบนายทุนจนกระทั่งว่า บทไม่ต้องอ่าน เงินต้องเข้าแบ๊งค์ก่อน มันแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง
อย่างบุปผาราตรี นายทุนเห็นว่าจะกำไรเลยให้ทำต่อภาค 2
เขาเห็นกำไรอยู่แล้ว เพราะภาคแรกไม่ได้ทำกำไรมาก แต่คนพูดถึง ตลาดมี VCD กระจาย เพราะคนไม่ได้ไปดูโรง ภาค 2 ทำยังไงก็ได้ตังค์ ตีลังกาเข้าไปก็ได้ตังค์ เขาเชื่ออย่างนั้น ทำเลย
แต่ละเรื่องเขียนบทนานไหม
บางเรื่องเดือนเดียว บางเรื่อง 2 เดือน
เขียนเป็นตัวหนังสือก่อนหรือเขียนเป็นภาพ
เขียนเป็นตัวหนังสือก่อน ต่อจากนั้นก็เขียนรูป และเดี๋ยวนี้พิมพ์ดีดได้คล่องมาก วางมือไม่ค่อถูกนะ แต่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน เริ่มเขียนตั้งแต่พิมพ์ดีดกด ต่อมาซื้อพิมพ์ดีดไฟฟ้า จนกระทั่งมาเป็นคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนทีละเรื่อง เพราะซื้อถูกมาก เขียนเรื่องเดียวก็พังๆๆ มันเห็นพัฒนาการ พี่ไม่ใช่คนที่มีความสามารถในเรื่องของภาษา แต่หนังมันยืนอยู่บนสายกลาง ธรรมชาติ "รัก โลภ โกรธ หลง" ในความเป็นมนุษย์ ไม่แตกต่างกันทุกชาติ มันอยู่แค่นี้ ผิดชอบชั่วดี
มีอะไรแนะนำบุคคลากรในคณะเรื่องของการทำหนัง
อย่างน้อยคนของเรา 3 คนที่เป็นตัวแสบอยู่ในวงการ (หมายถึงนนทรีย์ นิมิบุตร, วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง, ยุทธเลิศ สิปปภาค) แต่ละคนทำพฤติกรรมประหลาดๆ เสมอ ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำมาไกลแบบนี้ แสดงว่าบุคคลากรของเรามันมีของ แต่ว่าเรายังไม่มีสถานที่รองรับตรงนี้ ผมว่ามหาวิทยาลัยศิลปะน่าจะมีสอนภาพยนตร์เป็นเมเจอร์ ก็เราสอนในหลักสูตรของศิลปากร ไม่ว่าปริญญาโท ปริญญาตรี สอนในเรื่องของศิลปะบวกเข้าไปด้วย น่าจะเป็นหลักสูตรที่แข็งแรง และมันเป็นภาควิชาในอนาคต บุคคลากรของเรามันอาจจะยังไม่พอ ณ เวลานี้ แต่ว่ามันน่าจะมีไว้สำหรับรองรับ เพราะว่าม่ไม่งั้นก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เขามีเงินเขาก็จะเปิด จ้างใครมาสอนทำหลักสูตรก็ได้
และนี่คือมุมมองในการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของ "ยุทธเลิศ สิปปภาค" ทุกคนต่างก็มีมุมมองตามสไตล์ของตัวเองในการทำงาน มุมมองของแต่ละคนก็จะปรากฎออกมาเป็นผลงาน แล้วแต่ความถนัด ความเชื่อมั่น ความศรัทธาของอาชีพที่ทำ
จากนี้ไป มัณฑน TALK จะไปพูดคุยกับศิษย์เก่าท่านใด มีมุมมองทรรศนคติอย่างไรในแวดวงงานศิลปะของพวกเขา โปรดติดตามเราต่อไป