Wednesday, 19 September 2007
ความสำเร็จและล้มเหลวของการรัฐประหาร 19 กันยา (1)
การยึดอำนาจล้มระบอบทักษิณของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ผ่านไป 1 ปีเต็มแล้ว ในโอกาสที่ครบรอบ 1 ปีก็ได้มีการประเมินผลงานของ คมช. จากหลายภาคส่วน ในขณะที่ คมช. เองได้เลื่อนการแถลงผลงานออกไป
การประเมินจากภาคส่วนต่างๆ ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว จะไม่กล่าวซ้ำ ไม่ว่าในทางหนุนหรือทางแย้ง
แต่ทว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน นั้นเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ของประเทศเรา และมันเกิดขึ้นแล้ว มีผลปรากฏแล้ว สำหรับรอบ 1 ปี การประเมินผลงานและฐานะทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารดังกล่าว จึงควรต้องประเมินด้วยจิตใจและสายตาที่เป็นธรรม มิฉะนั้นความจริงทางประวัติศาสตร์นี้ก็จะบิดเบือนเบี่ยงเบนไป
ไม่ว่าจะบิดเบือนเบี่ยงเบนไปในทางดีหรือทางร้าย มันก็ไม่ใช่ความจริงทั้งนั้น เพราะเหตุนี้จึงสมควรประเมินฐานะและผลงานการรัฐประหารดังกล่าวให้ปรากฏไว้ในหมายเหตุนี้
ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงต้นเหตุ เพราะสรรพสิ่งย่อมมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เพราะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีเหตุหรือปัจจัย ดังคำสอนของพระพุทธองค์นั้น
ก่อนการรัฐประหาร มีความขัดแย้งและมีอันตรายเกิดขึ้นกับบ้านเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของชาติ ถึงขนาดที่องค์พระประมุขได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสว่าเป็นวิกฤตที่สุดในโลก นี่คือความจริงที่จะลืมเลือนหรือลืมเลยไปไม่ได้เป็นอันขาด
ในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น แทบทุกระบบของประเทศล้มหรือล่มสลายหรือไม่ก็เกือบล้มสลาย แม้สถาบันสำคัญของชาติก็ถูกคุกคามและตกเป็นเป้าหมายของการทำลาย
ในขณะที่มีการชุมนุมเดินขบวนนับแสนคนของผู้รักชาติรักประชาธิปไตยและเสียงร้องขอให้คณะทหารเข้ามาแก้ไขวิกฤต คณะทหารก็ยังคงสงบนิ่งด้วยหวังว่าเหตุการณ์จะผ่านไปด้วยดี ด้วยหวังว่าผู้มีอำนาจจะน้อมรับพระราชกระแสแล้วลาออกพร้อมคืนอำนาจแก่ประชาชน แต่ต้องผิดหวังกันทั้งบ้านทั้งเมือง
การตัดสินใจยึดอำนาจล้มระบอบทักษิณก็เพราะมีเหตุปัจจัยสองประการ คือ มีการเตรียมการรัฐประหารตัวเอง เพื่อหวังใช้อำนาจเผด็จการล้มล้างสถาบันต่างๆ อย่างหนึ่ง และมีการเตรียมการกวาดล้างสังหารประชาชนจำนวนมหาศาล ทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่ชาติบ้านเมืองโดยไม่อาจเรียกคืนได้อีกเลย
การตัดสินใจรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุก ไม่ใช่เตรียมการกันมานานถึง 6 เดือนดังที่คนบางคนอวดอ้าง และไม่ใช่เพราะการเตรียมการของคนสองคนดังที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พูดถึง
จุดเริ่มต้นอยู่ที่การผนึกกำลังกันของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน, พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร โดยมีกองทัพอากาศและกองทัพเรือสนับสนุนในเวลาต่อมา ในขณะที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้นเป็นฝ่ายระบอบทักษิณแต่ต้องถูกควบคุมตัวและ “เชิญ” ให้เข้าร่วมเพื่อภาพพจน์ในที่สุด
ดังนั้นการยึดอำนาจครั้งนี้จึงได้รับการแซ่ซ้องสดุดีจากประชาชนจนฝรั่งก็ต้องแปลกใจเพราะตามผลสำรวจนั้นได้รับความนิยมกว่า 90% นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว
คณะทหารยึดอำนาจไว้เพียง 11 วันคือตั้งแต่วันที่ 19-30 กันยายน 2549 ครั้นวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ก็มีการตั้งรัฐบาลโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในเวลาประมาณ 17.00 น.ของวันดังกล่าว
คมช. จึงใช้อำนาจปฏิวัติอยู่เพียง 11 วันเท่านั้น สามวันแรกเป็นการจัดการเรื่องความสงบเรียบร้อยเกือบทั้งหมด แล้วรีบทำให้กลไกประชาธิปไตยของประเทศฟื้นคืนอย่างรวดเร็วเป็นประวัติศาสตร์
หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2549 แล้ว การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเต่า จะชั่วจะดีจะล้มเหลวสำเร็จประการใดเป็นเรื่องที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ต้องรับผิดชอบเป็นคนที่ 1 แต่ประธาน คมช. ก็ต้องรับผิดชอบด้วย
แต่หลังจากวันดังกล่าวนั้น คมช. ยังมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่อีกสถานหนึ่งคือด้านความมั่นคง ซึ่งปัญหาภาคใต้กำลังทรุดหนัก และปัญหาการก่อกวนของอำนาจเก่ากำลังฮึกเหิมลำพอง
ดังนั้นเมื่อกระจ่างถึงเหตุปัจจัยที่ต้องยึดอำนาจแล้ว การประเมินผลงานและฐานะทางประวัติศาสตร์จึงต้องคำนึงถึงห้วงเวลาการใช้อำนาจ 11 วัน และความรับผิดชอบหลังจากจัดตั้งรัฐบาลแล้ว
เราเห็นว่าผลงานที่สำเร็จและล้มเหลวหลังการยึดอำนาจมีดังต่อไปนี้
ประการแรก ประสบความสำเร็จในการขับระบอบทักษิณออกจากอำนาจ พิทักษ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เอาไว้ได้ และรักษาชีวิตของคนไทยไม่ให้สูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล
ประการที่สอง ประสบความสำเร็จในการทำให้กลไกระบอบประชาธิปไตยฟื้นคืนในเวลาเพียง 11 วัน มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและตั้งรัฐบาลในวันเดียวกันคือวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ทำให้การปกครองประเทศดำเนินไปโดยกลไกประชาธิปไตย
ประการที่สาม ประสบความสำเร็จในการตั้ง สนช. ที่ประชาชนไว้ใจได้มากกว่ารัฐสภาชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นรัฐสภาควายหรือสภาทาส ตามที่ประชาชนได้ขนานนามเอาไว้ เพราะ สนช. ชุดนี้เป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสติปัญญา อะไรถูกก็ว่าถูก อะไรผิดก็ว่าผิด ทั้งสามารถรับมือกับอำนาจมืด อำนาจเถื่อน และแก๊งมาเฟียในสภาได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นกฎหมายบ้าๆ บอๆ หลายฉบับจึงถูกหยุดยั้งโดย สนช. และกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ก็ได้รับการสนับสนุนให้ผ่านการบังคับใช้อย่างรวดเร็ว โดยการพิจารณา 3 วาระรวด
เป็นสภาที่สมาชิกเสนอร่างกฎหมายเป็นจำนวนมาก แค่เวลาสั้นๆ สมาชิกได้เสนอกฎหมายเท่ากับหรือมากกว่ารัฐสภาชุดที่แล้ว
เป็นสภาที่ทำการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้น ถึงจะปรองดองกันได้ในบางเรื่องก็เป็นการปรองดองที่มีหลักการ เป็นความสามัคคีที่มีหลักการ ไม่ใช่ความสมานฉันท์ที่ไร้หลักการของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์.
การประเมินจากภาคส่วนต่างๆ ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว จะไม่กล่าวซ้ำ ไม่ว่าในทางหนุนหรือทางแย้ง
แต่ทว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน นั้นเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ของประเทศเรา และมันเกิดขึ้นแล้ว มีผลปรากฏแล้ว สำหรับรอบ 1 ปี การประเมินผลงานและฐานะทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารดังกล่าว จึงควรต้องประเมินด้วยจิตใจและสายตาที่เป็นธรรม มิฉะนั้นความจริงทางประวัติศาสตร์นี้ก็จะบิดเบือนเบี่ยงเบนไป
ไม่ว่าจะบิดเบือนเบี่ยงเบนไปในทางดีหรือทางร้าย มันก็ไม่ใช่ความจริงทั้งนั้น เพราะเหตุนี้จึงสมควรประเมินฐานะและผลงานการรัฐประหารดังกล่าวให้ปรากฏไว้ในหมายเหตุนี้
ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงต้นเหตุ เพราะสรรพสิ่งย่อมมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เพราะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีเหตุหรือปัจจัย ดังคำสอนของพระพุทธองค์นั้น
ก่อนการรัฐประหาร มีความขัดแย้งและมีอันตรายเกิดขึ้นกับบ้านเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของชาติ ถึงขนาดที่องค์พระประมุขได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสว่าเป็นวิกฤตที่สุดในโลก นี่คือความจริงที่จะลืมเลือนหรือลืมเลยไปไม่ได้เป็นอันขาด
ในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น แทบทุกระบบของประเทศล้มหรือล่มสลายหรือไม่ก็เกือบล้มสลาย แม้สถาบันสำคัญของชาติก็ถูกคุกคามและตกเป็นเป้าหมายของการทำลาย
ในขณะที่มีการชุมนุมเดินขบวนนับแสนคนของผู้รักชาติรักประชาธิปไตยและเสียงร้องขอให้คณะทหารเข้ามาแก้ไขวิกฤต คณะทหารก็ยังคงสงบนิ่งด้วยหวังว่าเหตุการณ์จะผ่านไปด้วยดี ด้วยหวังว่าผู้มีอำนาจจะน้อมรับพระราชกระแสแล้วลาออกพร้อมคืนอำนาจแก่ประชาชน แต่ต้องผิดหวังกันทั้งบ้านทั้งเมือง
การตัดสินใจยึดอำนาจล้มระบอบทักษิณก็เพราะมีเหตุปัจจัยสองประการ คือ มีการเตรียมการรัฐประหารตัวเอง เพื่อหวังใช้อำนาจเผด็จการล้มล้างสถาบันต่างๆ อย่างหนึ่ง และมีการเตรียมการกวาดล้างสังหารประชาชนจำนวนมหาศาล ทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่ชาติบ้านเมืองโดยไม่อาจเรียกคืนได้อีกเลย
การตัดสินใจรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุก ไม่ใช่เตรียมการกันมานานถึง 6 เดือนดังที่คนบางคนอวดอ้าง และไม่ใช่เพราะการเตรียมการของคนสองคนดังที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พูดถึง
จุดเริ่มต้นอยู่ที่การผนึกกำลังกันของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน, พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร โดยมีกองทัพอากาศและกองทัพเรือสนับสนุนในเวลาต่อมา ในขณะที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้นเป็นฝ่ายระบอบทักษิณแต่ต้องถูกควบคุมตัวและ “เชิญ” ให้เข้าร่วมเพื่อภาพพจน์ในที่สุด
ดังนั้นการยึดอำนาจครั้งนี้จึงได้รับการแซ่ซ้องสดุดีจากประชาชนจนฝรั่งก็ต้องแปลกใจเพราะตามผลสำรวจนั้นได้รับความนิยมกว่า 90% นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว
คณะทหารยึดอำนาจไว้เพียง 11 วันคือตั้งแต่วันที่ 19-30 กันยายน 2549 ครั้นวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ก็มีการตั้งรัฐบาลโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในเวลาประมาณ 17.00 น.ของวันดังกล่าว
คมช. จึงใช้อำนาจปฏิวัติอยู่เพียง 11 วันเท่านั้น สามวันแรกเป็นการจัดการเรื่องความสงบเรียบร้อยเกือบทั้งหมด แล้วรีบทำให้กลไกประชาธิปไตยของประเทศฟื้นคืนอย่างรวดเร็วเป็นประวัติศาสตร์
หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2549 แล้ว การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเต่า จะชั่วจะดีจะล้มเหลวสำเร็จประการใดเป็นเรื่องที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ต้องรับผิดชอบเป็นคนที่ 1 แต่ประธาน คมช. ก็ต้องรับผิดชอบด้วย
แต่หลังจากวันดังกล่าวนั้น คมช. ยังมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่อีกสถานหนึ่งคือด้านความมั่นคง ซึ่งปัญหาภาคใต้กำลังทรุดหนัก และปัญหาการก่อกวนของอำนาจเก่ากำลังฮึกเหิมลำพอง
ดังนั้นเมื่อกระจ่างถึงเหตุปัจจัยที่ต้องยึดอำนาจแล้ว การประเมินผลงานและฐานะทางประวัติศาสตร์จึงต้องคำนึงถึงห้วงเวลาการใช้อำนาจ 11 วัน และความรับผิดชอบหลังจากจัดตั้งรัฐบาลแล้ว
เราเห็นว่าผลงานที่สำเร็จและล้มเหลวหลังการยึดอำนาจมีดังต่อไปนี้
ประการแรก ประสบความสำเร็จในการขับระบอบทักษิณออกจากอำนาจ พิทักษ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เอาไว้ได้ และรักษาชีวิตของคนไทยไม่ให้สูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล
ประการที่สอง ประสบความสำเร็จในการทำให้กลไกระบอบประชาธิปไตยฟื้นคืนในเวลาเพียง 11 วัน มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและตั้งรัฐบาลในวันเดียวกันคือวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ทำให้การปกครองประเทศดำเนินไปโดยกลไกประชาธิปไตย
ประการที่สาม ประสบความสำเร็จในการตั้ง สนช. ที่ประชาชนไว้ใจได้มากกว่ารัฐสภาชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นรัฐสภาควายหรือสภาทาส ตามที่ประชาชนได้ขนานนามเอาไว้ เพราะ สนช. ชุดนี้เป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสติปัญญา อะไรถูกก็ว่าถูก อะไรผิดก็ว่าผิด ทั้งสามารถรับมือกับอำนาจมืด อำนาจเถื่อน และแก๊งมาเฟียในสภาได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นกฎหมายบ้าๆ บอๆ หลายฉบับจึงถูกหยุดยั้งโดย สนช. และกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ก็ได้รับการสนับสนุนให้ผ่านการบังคับใช้อย่างรวดเร็ว โดยการพิจารณา 3 วาระรวด
เป็นสภาที่สมาชิกเสนอร่างกฎหมายเป็นจำนวนมาก แค่เวลาสั้นๆ สมาชิกได้เสนอกฎหมายเท่ากับหรือมากกว่ารัฐสภาชุดที่แล้ว
เป็นสภาที่ทำการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้น ถึงจะปรองดองกันได้ในบางเรื่องก็เป็นการปรองดองที่มีหลักการ เป็นความสามัคคีที่มีหลักการ ไม่ใช่ความสมานฉันท์ที่ไร้หลักการของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์.