Monday 24 September 2007
แฉ“แม้ว”ฮั้วเทมาเส็ก-ฟอกเงินผ่านดีลชินฯ
หนังสือพิมพ์จีน แฉ “ทักษิณ” แหกตาคนทั้งโลก ตั้งข้อสังเกตเงินที่ซื้อ “ชินคอร์ป” อาจเป็นเงินที่มาจากในประเทศไทยโดยเทมาเส็กเป็นแค่ทางผ่านสำหรับฟอกเงิน “กอร์ปศักดิ์” ระบุมีโอกาสเป็นไปได้สูง ยันไม่เคยเชื่ออยู่แล้วว่าทักษิณขายชินคอร์ปให้สิงคโปร์จริง
หนังสือพิมพ์ซื่อเจี้ยยื่อเป้า (หนังสือพิมพ์สากล) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยฉบับวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 หน้า A2 ตีพิมพ์ข่าวระบุถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคดีการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยข่าวชิ้นดังกล่าวเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วมีข้อความพาดหัวดังนี้ว่า “ชี้ ‘หุ้นชิน’ ทักษิณอาจจะขายเอง-ซื้อเอง ‘ชาติศิริ’ แฉเงินซื้อหุ้นมาจากในประเทศ เช่น บริษัทกุหลาบแก้ว” ขณะที่เนื้อข่าวนั้นระบุว่า
เมื่อวันศุกร์ (20 ก.ค.) กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพนายชาติศิริ โสภณพนิช เข้าให้ข้อมูลกับอนุกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทำให้ทางอนุกรรมการเข้าใจได้ว่า ทักษิณ ชินวัตร อาจจะใช้ทุนในประเทศซื้อชินคอร์ป โดยไม่ได้ใช้เงินของกองทุนเทมาเส็กในการมาซื้อจริง ซึ่งนั่นจะหมายความว่าทักษิณ ยังคงเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปโดยใช้นอมินีในการมาถือหุ้นแทน
แม้หลังจากที่นายชาติศิริ ให้เข้าให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมการของคตส. โดยใช้เวลาร่วมกว่า 2 ชั่วโมง นายชาติศิริได้ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ทว่าสำนักข่าวในประเทศไทยได้อ้างแหล่งข่าวระบุว่า นายชาติศิริได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้ทางอนุกรรมการได้พบถึงเบาะแสของนอมินี อีกทั้งพบว่าทักษิณเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังชักใยการกระทำดังกล่าว
โดยแหล่งข่าวได้ระบุว่า นายชาติศิริได้ให้การถึงเรื่องที่ เมื่อ 2 ปีก่อน ธนาคารกรุงเทพฯได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง และบริษัทเอสแพน โฮลดิ้ง จำนวน 13,000 ล้านบาท มีดอกเบี้ยทั้งสิ้น 350 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาใช้คืนใน 2 ปี ทว่าปัจจุบัน บริษัททั้ง 2 ยังไม่ได้ทำการชดใช้
นอกจากนั้นบริษัททั้ง 2 ได้นำเงินกู้ที่ได้ไปร่วมหุ้นกับบริษัทกุหลาบแก้วในการซื้อหุ้นของชินคอร์ป ซึ่งนับว่าเป็นกรรมวิธีของการซื้อหุ้นชินคอร์ปภายใต้ชื่อของกองทุนเทมาเส็ก ซึ่งเข้าข่ายเป็นธุรกรรมอำพราง เพราะเม็ดเงินที่แท้จริงนั้นมาจากภายในประเทศ ไม่ใช่สิงคโปร์หรืออีกนัยคือการซื้อหุ้นชินคอร์ปนั้น เป็นการขายเอง-ซื้อเอง ทำให้ต้องมีการตรวจสอบว่าหลังจากได้ทำธุรกรรมดังกล่าวแล้วเงิน 73,000 ล้านที่ไหลเข้าบัญชีตระกูลชินวัตร มาจากแหล่งใดบ้าง นอกจากนั้น ทางอนุกรรมการยังเตรียมที่จะเชิญนายวิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มาให้ข้อมูลในเรื่องการปล่อยกู้เงินให้กับกุหลาบแก้วเพิ่มเติมในวันที่ 25 ก.ค.นี้ด้วย
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า ธุรกรรมดังกล่าวอาจเป็นการร่วมมือกันแหกตาระหว่างทักษิณกับนักการเมืองสิงคโปร์ เพราะสร้างธุรกรรมจอมปลอมขึ้น โดยมีทักษิณชักใยอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ธุรกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเพราะชินคอร์ปได้เป็นบริษัทที่ดำเนินการกิจการดาวเทียมของไทย ซึ่งอาจจะทำให้ความลับภายในประเทศรั่วไหลออกไปได้ ซึ่งทางคณะกรรมการเตรียมที่จะประชุมหารือแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับคดีนี้ต่อไป เนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนปฏิเสธในการให้ข้อมูล โดยเฉพาะคุณกาญจนา หงส์เหิน เลขานุการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของอดีตนายกฯทักษิณ ทำให้การสืบสวนเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะหากขาดซึ่งการให้ข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้ คตส.ต้องเสียเวลาในการสอบสวนคดีดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
สำหรับการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ประหว่างตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ และบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของรัฐบาลสิงคโปร์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 โดยบริษัทเอสแพน โฮลดิ้งและบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งซึ่งมีที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่สลับซับซ้อนคือ บริษัทกุหลาบแก้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทไซเพรส โฮลดิ้ง ทั้งนี้จากโครงสร้างของผู้ถือหุ้นชินคอร์ป หลังการซื้อขายดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากมายทั้งในเชิงกฎหมายและความมั่นคง โดยเฉพาะต่อปัญหาที่การซื้อขายดังกล่าวทำให้คนต่างด้าวสามารถเข้าครอบครองกิจการที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงและสัมปทานต่างๆ ของประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของ สายการบิน, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, สัมปทานดาวเทียม ฯลฯ
ทั้งนี้หลังการซื้อขายหุ้นดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่าเป็นเรื่องปกติในโลกของธุรกิจไร้พรมแดน และการที่มีเงินลงทุนไหลเข้าจากต่างประเทศดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสาเหตุของการขายหุ้นดังกล่าวด้วยว่าเนื่องจากบุตรทั้งหมดของตนต้องการให้ตนเองเล่นการเมืองอย่างเต็ม ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้นส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการกุศล
**กอร์ปศักดิ์ย้ำไม่เคยเชื่อแม้ว
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ผู้ที่ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้เปิดโปงกรณีการซุกหุ้นและความเคลื่อนไหวหลายๆ ครั้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัวกล่าวว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่ตนเคยพูดถึงมาแล้วหลายครั้งว่า ในการซื้อขายหุ้นเทมาเส็กเมื่อต้นปี 2549 นั้น อาจไม่ได้เป็นการขายหุ้นที่แท้จริง
“แต่ไหนแต่ไรมาผมไม่เคยคิดอยู่แล้วว่าคุณทักษิณขายหุ้นให้เทมาเส็ก คุณลองไปอ่านบทความเรื่องกุหลาบแก้วในเว็บไซต์ของผมได้” นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้บทความของนายกอร์ศักดิ์เรื่องกุหลาบแก้ว 2 ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.korbsak.com เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปของแหล่งเงินในธุรกรรมการซื้อขายหุ้นชินคอร์ประหว่างสมาชิกในครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และบริษัทเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยนายกอร์ปศักดิ์ได้ทำการตั้งข้อสังเกตในตอนท้ายบทความว่า
“เป็นไปได้ไหมครับว่าพวกเราถูกหลอก เป็นไปได้ไหมว่าจริงๆ แล้วผู้ขาย-ผู้ซื้อฝ่ายไทย เป็นคนกลุ่มเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่าจริงแล้วไม่ได้มีการซื้อขายหุ้น จำตอนที่คุณทักษิณแอบไปตั้งบริษัท Ample Rich ที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้นแล้วซื้อหุ้นของตัวเองถึง 329 ล้านหุ้น จำได้ไหมครับ แล้วทำไมครั้งนี้คนคนนี้จะทำเหมือนที่เคยได้ทำมาแล้วครั้งหนึ่งไม่ได้”
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า ตนอยากให้สื่อมวลชนไทยและคนไทยสังเกตด้วยว่า ในช่วงที่มีการซื้อขายหุ้นเทมาเส็กเมื่อต้นปี 2549 ทั้งๆ ที่ในการซื้อขายมีแนวโน้มว่าอาจมีเงินต่างประเทศไหลเข้ามาถึง 73,000 ล้านบาท แต่เพราะเหตุใดเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น ผิดกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมากจากเงินที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ยังเปิดเผยด้วยว่าตนกำลังจะเข้าพบกับ คตส.ในสัปดาห์หน้าเพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในคดีที่เกี่ยวกับบริษัทกุหลาบแก้ว ทั้งยังฝากให้สื่อมวลชนช่วยติดตามต่อในกรณีที่ธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับบริษัทกุหลาบแก้วในการซื้อหุ้นด้วย เนื่องจากตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วไม่น่าจะอนุญาตให้ทำได้.
*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*
หนังสือพิมพ์ซื่อเจี้ยยื่อเป้า (หนังสือพิมพ์สากล) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยฉบับวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 หน้า A2 ตีพิมพ์ข่าวระบุถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคดีการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยข่าวชิ้นดังกล่าวเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วมีข้อความพาดหัวดังนี้ว่า “ชี้ ‘หุ้นชิน’ ทักษิณอาจจะขายเอง-ซื้อเอง ‘ชาติศิริ’ แฉเงินซื้อหุ้นมาจากในประเทศ เช่น บริษัทกุหลาบแก้ว” ขณะที่เนื้อข่าวนั้นระบุว่า
เมื่อวันศุกร์ (20 ก.ค.) กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพนายชาติศิริ โสภณพนิช เข้าให้ข้อมูลกับอนุกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทำให้ทางอนุกรรมการเข้าใจได้ว่า ทักษิณ ชินวัตร อาจจะใช้ทุนในประเทศซื้อชินคอร์ป โดยไม่ได้ใช้เงินของกองทุนเทมาเส็กในการมาซื้อจริง ซึ่งนั่นจะหมายความว่าทักษิณ ยังคงเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปโดยใช้นอมินีในการมาถือหุ้นแทน
แม้หลังจากที่นายชาติศิริ ให้เข้าให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมการของคตส. โดยใช้เวลาร่วมกว่า 2 ชั่วโมง นายชาติศิริได้ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ทว่าสำนักข่าวในประเทศไทยได้อ้างแหล่งข่าวระบุว่า นายชาติศิริได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้ทางอนุกรรมการได้พบถึงเบาะแสของนอมินี อีกทั้งพบว่าทักษิณเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังชักใยการกระทำดังกล่าว
โดยแหล่งข่าวได้ระบุว่า นายชาติศิริได้ให้การถึงเรื่องที่ เมื่อ 2 ปีก่อน ธนาคารกรุงเทพฯได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้ง และบริษัทเอสแพน โฮลดิ้ง จำนวน 13,000 ล้านบาท มีดอกเบี้ยทั้งสิ้น 350 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาใช้คืนใน 2 ปี ทว่าปัจจุบัน บริษัททั้ง 2 ยังไม่ได้ทำการชดใช้
นอกจากนั้นบริษัททั้ง 2 ได้นำเงินกู้ที่ได้ไปร่วมหุ้นกับบริษัทกุหลาบแก้วในการซื้อหุ้นของชินคอร์ป ซึ่งนับว่าเป็นกรรมวิธีของการซื้อหุ้นชินคอร์ปภายใต้ชื่อของกองทุนเทมาเส็ก ซึ่งเข้าข่ายเป็นธุรกรรมอำพราง เพราะเม็ดเงินที่แท้จริงนั้นมาจากภายในประเทศ ไม่ใช่สิงคโปร์หรืออีกนัยคือการซื้อหุ้นชินคอร์ปนั้น เป็นการขายเอง-ซื้อเอง ทำให้ต้องมีการตรวจสอบว่าหลังจากได้ทำธุรกรรมดังกล่าวแล้วเงิน 73,000 ล้านที่ไหลเข้าบัญชีตระกูลชินวัตร มาจากแหล่งใดบ้าง นอกจากนั้น ทางอนุกรรมการยังเตรียมที่จะเชิญนายวิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มาให้ข้อมูลในเรื่องการปล่อยกู้เงินให้กับกุหลาบแก้วเพิ่มเติมในวันที่ 25 ก.ค.นี้ด้วย
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า ธุรกรรมดังกล่าวอาจเป็นการร่วมมือกันแหกตาระหว่างทักษิณกับนักการเมืองสิงคโปร์ เพราะสร้างธุรกรรมจอมปลอมขึ้น โดยมีทักษิณชักใยอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ธุรกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเพราะชินคอร์ปได้เป็นบริษัทที่ดำเนินการกิจการดาวเทียมของไทย ซึ่งอาจจะทำให้ความลับภายในประเทศรั่วไหลออกไปได้ ซึ่งทางคณะกรรมการเตรียมที่จะประชุมหารือแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับคดีนี้ต่อไป เนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนปฏิเสธในการให้ข้อมูล โดยเฉพาะคุณกาญจนา หงส์เหิน เลขานุการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของอดีตนายกฯทักษิณ ทำให้การสืบสวนเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะหากขาดซึ่งการให้ข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้ คตส.ต้องเสียเวลาในการสอบสวนคดีดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
สำหรับการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ประหว่างตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ และบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของรัฐบาลสิงคโปร์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 โดยบริษัทเอสแพน โฮลดิ้งและบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งซึ่งมีที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่สลับซับซ้อนคือ บริษัทกุหลาบแก้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทไซเพรส โฮลดิ้ง ทั้งนี้จากโครงสร้างของผู้ถือหุ้นชินคอร์ป หลังการซื้อขายดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากมายทั้งในเชิงกฎหมายและความมั่นคง โดยเฉพาะต่อปัญหาที่การซื้อขายดังกล่าวทำให้คนต่างด้าวสามารถเข้าครอบครองกิจการที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงและสัมปทานต่างๆ ของประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของ สายการบิน, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, สัมปทานดาวเทียม ฯลฯ
ทั้งนี้หลังการซื้อขายหุ้นดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่าเป็นเรื่องปกติในโลกของธุรกิจไร้พรมแดน และการที่มีเงินลงทุนไหลเข้าจากต่างประเทศดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสาเหตุของการขายหุ้นดังกล่าวด้วยว่าเนื่องจากบุตรทั้งหมดของตนต้องการให้ตนเองเล่นการเมืองอย่างเต็ม ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้นส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการกุศล
**กอร์ปศักดิ์ย้ำไม่เคยเชื่อแม้ว
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ผู้ที่ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้เปิดโปงกรณีการซุกหุ้นและความเคลื่อนไหวหลายๆ ครั้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัวกล่าวว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่ตนเคยพูดถึงมาแล้วหลายครั้งว่า ในการซื้อขายหุ้นเทมาเส็กเมื่อต้นปี 2549 นั้น อาจไม่ได้เป็นการขายหุ้นที่แท้จริง
“แต่ไหนแต่ไรมาผมไม่เคยคิดอยู่แล้วว่าคุณทักษิณขายหุ้นให้เทมาเส็ก คุณลองไปอ่านบทความเรื่องกุหลาบแก้วในเว็บไซต์ของผมได้” นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้บทความของนายกอร์ศักดิ์เรื่องกุหลาบแก้ว 2 ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.korbsak.com เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปของแหล่งเงินในธุรกรรมการซื้อขายหุ้นชินคอร์ประหว่างสมาชิกในครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และบริษัทเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยนายกอร์ปศักดิ์ได้ทำการตั้งข้อสังเกตในตอนท้ายบทความว่า
“เป็นไปได้ไหมครับว่าพวกเราถูกหลอก เป็นไปได้ไหมว่าจริงๆ แล้วผู้ขาย-ผู้ซื้อฝ่ายไทย เป็นคนกลุ่มเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่าจริงแล้วไม่ได้มีการซื้อขายหุ้น จำตอนที่คุณทักษิณแอบไปตั้งบริษัท Ample Rich ที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้นแล้วซื้อหุ้นของตัวเองถึง 329 ล้านหุ้น จำได้ไหมครับ แล้วทำไมครั้งนี้คนคนนี้จะทำเหมือนที่เคยได้ทำมาแล้วครั้งหนึ่งไม่ได้”
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า ตนอยากให้สื่อมวลชนไทยและคนไทยสังเกตด้วยว่า ในช่วงที่มีการซื้อขายหุ้นเทมาเส็กเมื่อต้นปี 2549 ทั้งๆ ที่ในการซื้อขายมีแนวโน้มว่าอาจมีเงินต่างประเทศไหลเข้ามาถึง 73,000 ล้านบาท แต่เพราะเหตุใดเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น ผิดกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมากจากเงินที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ยังเปิดเผยด้วยว่าตนกำลังจะเข้าพบกับ คตส.ในสัปดาห์หน้าเพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในคดีที่เกี่ยวกับบริษัทกุหลาบแก้ว ทั้งยังฝากให้สื่อมวลชนช่วยติดตามต่อในกรณีที่ธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับบริษัทกุหลาบแก้วในการซื้อหุ้นด้วย เนื่องจากตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วไม่น่าจะอนุญาตให้ทำได้.
*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*+*