Wednesday, 19 September 2007
โฆษณาขนมเด็กกับเรทรายการ
สังเกตไหมครับ..ที่ผ่านมา มาตรการของรัฐ โดยเฉพาะการควบคุมสื่อทีวี จะเป็นลักษณะดับเบิลสแตนดาร์ด หรือ 2 มาตรฐาน
ถ้าไม่เชื่อลองย้อนข้อมูลระหว่างมาตรการ “โฆษณาขนมเด็ก” กับ “เรทรายการ” ดูก็ได้
“เรทรายการ” แม้จะผ่านออกมาเป็นมติคณะรัฐมนตรี แต่รัฐบาล โดยเฉพาะ”คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯก็ไม่ได้หักด้ามพร้าด้วยเข่า ด้วยการประกาศบังคับใช้ทันที
ยังมีการเรียกผู้บริหารสถานี รวมทั้งผู้จัดรายการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว ตั้งวงเจรจาสัมมนากับหลายรอบ ก่อนจะ “ทดลองใช้” ตั้งแต่วันที่ 1 กันยาฯไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาฯ คือ 4 เดือน แล้วมาประเมินผลกันอีกที
แต่ “โฆษณาขนมเด็ก” ทำกันแบบฟ้าผ่าทีวีกันเลยทีเดียว สำคัญถึงขนาดที่ประกาศใช้อย่างปัจจุบันทันด่วน ทั้งๆที่ไม่ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เหมือน “เรทรายการ”
นี่คือความต่างของ 2 มาตรการ อย่างแรก เป็นมติของรัฐบาลให้บังคับใช้ แต่ก็มีการอลุ่มอล่วย พูดคุยกับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ แล้วจึงทดลองใช้
อย่างหลัง เป็นมาตรการที่มี “คำประกาศ” ของกฎกระทรวงเท่านั้น แต่ก็ทำเหมือนจะเป็นจะตาย คือ ประกาศ “ทดลองใช้”ทันที ตั้งแต่ 1 กันยาฯถึงสิ้นเดือนพฤษจิกายน คือ 3 เดือน หลังจากนั้นก็จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ผู้บริหารสถานี หรือ ผู้จัดรายการเด็ก รวมทั้งเอเจนซี ได้แต่ทำหน้าเจื่อนๆ ไม่นึกว่าจะถูก “หักคอ”กันขนาดนี้ บางคนบอกผมว่า ทำกันยิ่งกว่า “เผด็จการ” เสียอีก
รัฐธรรมนูญยังเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ก่อนจะมาทำประชามติ..แต่ “โฆษณาขนมเด็ก” แค่จะเรียกผู้บริหาร ผู้จัดรายการทีวี และ เอเจนซีมาพูดคุยทำความเข้าใจกัน อะไรที่เสนอแนะและปรับปรุงได้ เพื่อไม่ให้ “เสียหลักการ” ก็ไม่น่าจะเสียหาย
ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีสาระหลักๆ คือกำหนดให้มีการโฆษณาสินค้าที่ส่งกระทบต่อเด็กในรายการ “ป” “ด” และ “ท” มีระยะเวลาโฆษณา 10 นาทีต่อ 1 ชั่วโมง
โดยอีก 2 นาที ให้จัดทำโฆษณาส่งเสริมการบริโภคที่มีประโยชน์ต่อเด็ก รวมทั้งห้ามโฆษณาแฝง ชิงโชค ของแถม ห้ามพรีเซ็นเตอร์คนดัง เด็ก และคาแรคเตอร์การ์ตูนที่เป็นที่รู้จัก
ผมขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า “โฆษณาขนมเด็ก” ไม่ได้กระทบแค่รายการอักษร “ป” หรือรายการสำหรับเด็กปฐมวัย และรายการอักษร “ด” รายการสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ยังลามถึงรายการอักษร”ท”หรือรายการทั่วไป ที่เข้าข่ายว่าเป็นรายการเด็ก
แล้วทีนี้ใครจะเป็นคนชี้ว่ารายการ “ท”รูปแบบไหนจะเป็นรายการสำหรับเด็ก ที่เข้าข่ายมาตรการที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายกำหนดออกมา
แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็วุ่นอิ๊บหาย..มาเจอเวลาโฆษณา ที่บอกว่า 1 ชั่วโมง ให้โฆษณาได้ 10 นาที อีก 2 นาทีเป็นเรื่องวิชาการ..จากเดิมที่โฆษณาได้ 12 นาที และไม่มีข้อห้ามยุบยับ
ประเด็นนี้ “ผู้จัดรายการเด็ก” กระทบโดยตรง ถึงขนาดซึมกะทือ เพราะมองเห็นคำว่า “ขาดทุน”ยืนจ่อประตูหน้าบ้าน
“ซุป-วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ” เจ้าของบริษัทซูเปอร์จิ๋ว เจ้าของรายการ “ซูเปอร์จิ๋ว” ที่ออกอากาศทางช่อง 9 ยังต้องส่ายหน้า
“น้าซุป”ของเด็กๆทั้งหลายบอกว่า..”ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีรายได้จากโฆษณาลดลง 2 นาที ซึ่งเป็นรายได้มากพอสมควรที่จะทำให้ประสบปัญหาขาดทุนได้
แม้ช่อง 9 จะลดราคาค่าเช่าเวลาให้ 50% แล้วก็ตาม แต่รายการเด็กที่ดำเนินการอยู่มีต้นทุนค่าผลิตสูงมากตอนละ 4 แสนบาท
ที่ผ่านมาได้พยายามเลี่ยงหลักเกณฑ์ ด้วยการปรับเนื้อหาจากรายการเรทติ้ง “ด” ไปเป็น “ท” แต่หลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ก็ครอบคลุมรายการ “ท” ด้วย หากดูตามสถานการณ์แล้ว รายการคงอยู่ไม่ได้ และยังไม่มีทางออก แต่คงต้องทำรายการต่อไป”
ความเห็นของ “ซุป วิวัฒน์” คงไม่ต่างจากผู้บริหารสถานี และ ผู้จัดรายการเด็กอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพจ่อมจมกับสิ่งที่รัฐยัดเยียดให้ โดยที่ตัวเองไม่ได้ออกความเห็นอะไรซักแอะ
การสร้างผลงานที่ยืนอยู่บนซากศพคนอื่น.. ภูมิใจกันนักหรือ?
ถ้าไม่เชื่อลองย้อนข้อมูลระหว่างมาตรการ “โฆษณาขนมเด็ก” กับ “เรทรายการ” ดูก็ได้
“เรทรายการ” แม้จะผ่านออกมาเป็นมติคณะรัฐมนตรี แต่รัฐบาล โดยเฉพาะ”คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯก็ไม่ได้หักด้ามพร้าด้วยเข่า ด้วยการประกาศบังคับใช้ทันที
ยังมีการเรียกผู้บริหารสถานี รวมทั้งผู้จัดรายการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว ตั้งวงเจรจาสัมมนากับหลายรอบ ก่อนจะ “ทดลองใช้” ตั้งแต่วันที่ 1 กันยาฯไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาฯ คือ 4 เดือน แล้วมาประเมินผลกันอีกที
แต่ “โฆษณาขนมเด็ก” ทำกันแบบฟ้าผ่าทีวีกันเลยทีเดียว สำคัญถึงขนาดที่ประกาศใช้อย่างปัจจุบันทันด่วน ทั้งๆที่ไม่ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เหมือน “เรทรายการ”
นี่คือความต่างของ 2 มาตรการ อย่างแรก เป็นมติของรัฐบาลให้บังคับใช้ แต่ก็มีการอลุ่มอล่วย พูดคุยกับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ แล้วจึงทดลองใช้
อย่างหลัง เป็นมาตรการที่มี “คำประกาศ” ของกฎกระทรวงเท่านั้น แต่ก็ทำเหมือนจะเป็นจะตาย คือ ประกาศ “ทดลองใช้”ทันที ตั้งแต่ 1 กันยาฯถึงสิ้นเดือนพฤษจิกายน คือ 3 เดือน หลังจากนั้นก็จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ผู้บริหารสถานี หรือ ผู้จัดรายการเด็ก รวมทั้งเอเจนซี ได้แต่ทำหน้าเจื่อนๆ ไม่นึกว่าจะถูก “หักคอ”กันขนาดนี้ บางคนบอกผมว่า ทำกันยิ่งกว่า “เผด็จการ” เสียอีก
รัฐธรรมนูญยังเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ก่อนจะมาทำประชามติ..แต่ “โฆษณาขนมเด็ก” แค่จะเรียกผู้บริหาร ผู้จัดรายการทีวี และ เอเจนซีมาพูดคุยทำความเข้าใจกัน อะไรที่เสนอแนะและปรับปรุงได้ เพื่อไม่ให้ “เสียหลักการ” ก็ไม่น่าจะเสียหาย
ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีสาระหลักๆ คือกำหนดให้มีการโฆษณาสินค้าที่ส่งกระทบต่อเด็กในรายการ “ป” “ด” และ “ท” มีระยะเวลาโฆษณา 10 นาทีต่อ 1 ชั่วโมง
โดยอีก 2 นาที ให้จัดทำโฆษณาส่งเสริมการบริโภคที่มีประโยชน์ต่อเด็ก รวมทั้งห้ามโฆษณาแฝง ชิงโชค ของแถม ห้ามพรีเซ็นเตอร์คนดัง เด็ก และคาแรคเตอร์การ์ตูนที่เป็นที่รู้จัก
ผมขอย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า “โฆษณาขนมเด็ก” ไม่ได้กระทบแค่รายการอักษร “ป” หรือรายการสำหรับเด็กปฐมวัย และรายการอักษร “ด” รายการสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ยังลามถึงรายการอักษร”ท”หรือรายการทั่วไป ที่เข้าข่ายว่าเป็นรายการเด็ก
แล้วทีนี้ใครจะเป็นคนชี้ว่ารายการ “ท”รูปแบบไหนจะเป็นรายการสำหรับเด็ก ที่เข้าข่ายมาตรการที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายกำหนดออกมา
แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็วุ่นอิ๊บหาย..มาเจอเวลาโฆษณา ที่บอกว่า 1 ชั่วโมง ให้โฆษณาได้ 10 นาที อีก 2 นาทีเป็นเรื่องวิชาการ..จากเดิมที่โฆษณาได้ 12 นาที และไม่มีข้อห้ามยุบยับ
ประเด็นนี้ “ผู้จัดรายการเด็ก” กระทบโดยตรง ถึงขนาดซึมกะทือ เพราะมองเห็นคำว่า “ขาดทุน”ยืนจ่อประตูหน้าบ้าน
“ซุป-วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ” เจ้าของบริษัทซูเปอร์จิ๋ว เจ้าของรายการ “ซูเปอร์จิ๋ว” ที่ออกอากาศทางช่อง 9 ยังต้องส่ายหน้า
“น้าซุป”ของเด็กๆทั้งหลายบอกว่า..”ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีรายได้จากโฆษณาลดลง 2 นาที ซึ่งเป็นรายได้มากพอสมควรที่จะทำให้ประสบปัญหาขาดทุนได้
แม้ช่อง 9 จะลดราคาค่าเช่าเวลาให้ 50% แล้วก็ตาม แต่รายการเด็กที่ดำเนินการอยู่มีต้นทุนค่าผลิตสูงมากตอนละ 4 แสนบาท
ที่ผ่านมาได้พยายามเลี่ยงหลักเกณฑ์ ด้วยการปรับเนื้อหาจากรายการเรทติ้ง “ด” ไปเป็น “ท” แต่หลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ก็ครอบคลุมรายการ “ท” ด้วย หากดูตามสถานการณ์แล้ว รายการคงอยู่ไม่ได้ และยังไม่มีทางออก แต่คงต้องทำรายการต่อไป”
ความเห็นของ “ซุป วิวัฒน์” คงไม่ต่างจากผู้บริหารสถานี และ ผู้จัดรายการเด็กอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพจ่อมจมกับสิ่งที่รัฐยัดเยียดให้ โดยที่ตัวเองไม่ได้ออกความเห็นอะไรซักแอะ
การสร้างผลงานที่ยืนอยู่บนซากศพคนอื่น.. ภูมิใจกันนักหรือ?