Wednesday, 19 September 2007
“เครื่องบิน” นั่งตรงไหนปลอดภัยที่สุด
เหตุการณ์อุบัติเหตุเครื่องบินแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะมีผู้รอดชีวิตมากน้อยแค่ไหน ก็ล้วนสะเทือนขวัญผู้คนไม่น้อย และทุกครั้งที่มีผู้รอดชีวิต ก็มักจะถามไถ่กันเสมอว่า นั่งตรงไหน รอดมาได้อย่างไร และส่วนไหนของเครื่องบินกันแน่ที่จะปลอดภัยที่สุด หากต้องเผชิญกับอุบัติภัยต่างๆ
“นั่งตรงไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น” หลายๆ ความเห็นอาจจะคิดเช่นนี้
หรือไม่ก็ “แล้วแต่ว่าอุบัติเหตุจะเกิดตรงไหน” นี่ก็พิจารณาตามสถานการณ์
นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ (The Popular Mechanics) เคยวิจัยโดยการวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่า ที่นั่งบนเครื่องบิน...นั่งด้านท้ายปลอดภัยกว่า
ทั้งนี้ จากการศึกษาสถิติจากอุบัติเหตุต่างๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใดก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน
นิตยสารดังกล่าวได้นำข้อมูลอุบัติเหตุของเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 20 ครั้ง จากสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสหรัฐฯ (NTSB) ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง ส.ค. 2550 อย่างละเอียด ที่มีทั้งผู้รอดชีวิตและเสียชีวิต พร้อมทั้งข้อมูลแผนผังที่นั่งของผู้โดยสารมาวิเคราะห์ว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผู้โดยสารในแต่ละที่นั่งมีสภาพเป็นอย่างไร
ทีมงานได้เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต โดยแบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า “ยิ่งใกล้หางยิ่งปลอดภัยกว่า”
อุบัติเหตุ 11 ใน 20 ครั้ง ผู้โดยสารที่นั่งแถวท้ายๆ ส่วนใหญ่ปลอดภัย หรือประสบเหตุเบากว่า โดยใน 7 กรณีของกลุ่มนี้ผู้โดยสารที่ปลอดภัยนั่งอยู่ในแถวท้ายๆ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุในปี 2525 กับสายการบินฟลอริดา (Air Florida) ที่เกิดขึ้นในวอชิงตันดีซี และปี 2515 กับอีสเทิร์น 727 (Eastern 727) ที่ท่าอากาศยานเคนนาดี ในนิวยอร์ก ซึ่งผู้โดยสารของทั้ง 2 กรณีที่รอดชีวิตล้วนนั่งอยู่บริเวณหางของเครื่องบิน
อีกทั้งยังมีกรณี ดีซี-8 ของสายการบินยูไนเต็ด (United DC-8) เกิดน้ำมันหมดกลางอากาศใกล้กับพอร์ตแลนด์ ในปี 2519 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดล้วนนั่งอยู่ใน 4 แถวแรก
นอกจากนี้ มีอุบัติเหตุเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่ผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าประสบเหตุเบากว่า ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 5 เกิดระหว่างปี 2531-2535 ส่วนใหญ่เพราะเหตุเกิดที่บริเวณปีก อย่างอุบัติเหตุในปี 2532 ที่ไอโอวากับสายการบินยูไนเต็ด มีผู้โดยสารรอดชีวิต 175 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องผู้โดยสารส่วนหน้าปีกและส่วนหัว
และอีก 3 ครั้งที่ทั้งผู้นั่งส่วนหัวและท้ายเครื่องมีโอกาสรอดชีวิตพอๆ กัน
ส่วนผู้ที่นั่งบริเวณหัวลำปลอดภัยนั้น มีเพียง 1 กรณีเท่านั้น ในปี 2532 เครื่องโบอิ้ง 737-400 ของสายการบินยูเอสแอร์ (USAir) เกิดอุบัติเหตุบนทางวิ่ง (รันเวย์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตเพียง 2 รายคือ ผู้ที่นั่งในแถวที่ 21 และ 25
เมื่อคำณวนตามอัตราการรอดชีวิตแล้ว นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ สรุปว่า ผู้ที่นั่งเคบินท้ายมีอัตราการรอดชีวิตถึง 69% หากเกิดอุบัติเหตุ และไล่ขึ้นมาในเคบินส่วนปีกโอกาสรอด 56% เสมอกับเคบินส่วนหน้าปีก
อย่างไรก็ดี เคบินที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำสุดคือเคบินแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ โดยมีอัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุเพียง 49%
แม้จะเห็นว่า อัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุบนเครื่องบินไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนของเครื่องก็ตาม เมื่อแน่ใจว่ารัดเข็มขัดแน่นแล้ว ก็ทำใจให้สบาย ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำกรณีฉุกเฉินต่างๆ และประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุ
“นั่งตรงไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น” หลายๆ ความเห็นอาจจะคิดเช่นนี้
หรือไม่ก็ “แล้วแต่ว่าอุบัติเหตุจะเกิดตรงไหน” นี่ก็พิจารณาตามสถานการณ์
นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ (The Popular Mechanics) เคยวิจัยโดยการวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่า ที่นั่งบนเครื่องบิน...นั่งด้านท้ายปลอดภัยกว่า
ทั้งนี้ จากการศึกษาสถิติจากอุบัติเหตุต่างๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใดก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน
นิตยสารดังกล่าวได้นำข้อมูลอุบัติเหตุของเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 20 ครั้ง จากสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสหรัฐฯ (NTSB) ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง ส.ค. 2550 อย่างละเอียด ที่มีทั้งผู้รอดชีวิตและเสียชีวิต พร้อมทั้งข้อมูลแผนผังที่นั่งของผู้โดยสารมาวิเคราะห์ว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผู้โดยสารในแต่ละที่นั่งมีสภาพเป็นอย่างไร
ทีมงานได้เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต โดยแบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า “ยิ่งใกล้หางยิ่งปลอดภัยกว่า”
อุบัติเหตุ 11 ใน 20 ครั้ง ผู้โดยสารที่นั่งแถวท้ายๆ ส่วนใหญ่ปลอดภัย หรือประสบเหตุเบากว่า โดยใน 7 กรณีของกลุ่มนี้ผู้โดยสารที่ปลอดภัยนั่งอยู่ในแถวท้ายๆ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุในปี 2525 กับสายการบินฟลอริดา (Air Florida) ที่เกิดขึ้นในวอชิงตันดีซี และปี 2515 กับอีสเทิร์น 727 (Eastern 727) ที่ท่าอากาศยานเคนนาดี ในนิวยอร์ก ซึ่งผู้โดยสารของทั้ง 2 กรณีที่รอดชีวิตล้วนนั่งอยู่บริเวณหางของเครื่องบิน
อีกทั้งยังมีกรณี ดีซี-8 ของสายการบินยูไนเต็ด (United DC-8) เกิดน้ำมันหมดกลางอากาศใกล้กับพอร์ตแลนด์ ในปี 2519 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดล้วนนั่งอยู่ใน 4 แถวแรก
นอกจากนี้ มีอุบัติเหตุเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่ผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าประสบเหตุเบากว่า ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 5 เกิดระหว่างปี 2531-2535 ส่วนใหญ่เพราะเหตุเกิดที่บริเวณปีก อย่างอุบัติเหตุในปี 2532 ที่ไอโอวากับสายการบินยูไนเต็ด มีผู้โดยสารรอดชีวิต 175 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องผู้โดยสารส่วนหน้าปีกและส่วนหัว
และอีก 3 ครั้งที่ทั้งผู้นั่งส่วนหัวและท้ายเครื่องมีโอกาสรอดชีวิตพอๆ กัน
ส่วนผู้ที่นั่งบริเวณหัวลำปลอดภัยนั้น มีเพียง 1 กรณีเท่านั้น ในปี 2532 เครื่องโบอิ้ง 737-400 ของสายการบินยูเอสแอร์ (USAir) เกิดอุบัติเหตุบนทางวิ่ง (รันเวย์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตเพียง 2 รายคือ ผู้ที่นั่งในแถวที่ 21 และ 25
เมื่อคำณวนตามอัตราการรอดชีวิตแล้ว นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ สรุปว่า ผู้ที่นั่งเคบินท้ายมีอัตราการรอดชีวิตถึง 69% หากเกิดอุบัติเหตุ และไล่ขึ้นมาในเคบินส่วนปีกโอกาสรอด 56% เสมอกับเคบินส่วนหน้าปีก
อย่างไรก็ดี เคบินที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำสุดคือเคบินแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ โดยมีอัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุเพียง 49%
แม้จะเห็นว่า อัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุบนเครื่องบินไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนของเครื่องก็ตาม เมื่อแน่ใจว่ารัดเข็มขัดแน่นแล้ว ก็ทำใจให้สบาย ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำกรณีฉุกเฉินต่างๆ และประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุ