Thursday, 20 September 2007
ไม่มีคุณ, พรุ่งนี้ดวงอาทิตย์ก็ยังขึ้นอยู่ดี
เพื่อนผมคนนี้ปีนี้อายุ ๖๕ เป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย เคยผ่าตัดหัวใจมาแล้ว ๒ ครั้ง วันนี้หมอบอกว่าเส้นเลือดใกล้หัวใจอีกสองเส้นทำงานได้แค่ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ และถ้าปล่อยไปอย่างนี้, อีกสองปีก็จะตีบถึงร้อยละ ๙๐...ซึ่งก็แปลว่าจะต้องทำการผ่าตัดอีกหน...
วันที่ผมเจอเขาครั้งสุดท้าย, เพื่อนคนนี้วิ่งหอบขึ้นมาบนเครื่องบิน, บ่นเสียงดังว่าคิวที่สนามบินสุวรรณภูมิช่างเลวร้ายมากขึ้นทุกวัน, เขาเกือบจะตัดสินใจไม่ขึ้นเครื่อง, นั่งรถกลับบ้านให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที..
เสียงหายใจถี่และหนักของเขาทำให้ผมรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยเพื่อน...บอกให้เขานั่งลง, พูดคุยกันขณะที่เครื่องบินเตรียมบินขึ้นท้องฟ้าสู่เกาหลีใต้
เขากระซิบบอกผมว่าทุกวันนี้เขาต้องพกเข็มฉีดยาไปทุกแห่งเพราะเป็นเบาหวานขั้นแรง, ต้องคอยฉีดอินซูลีนเข้าเส้นเลือดด้วยตัวเองเพื่อประคองไม่ให้อาการทรุดหนักกว่าที่เป็นอยู่
“แล้วทำไมเดินทางไปไหนมาไหนทางไกลอย่างนี้คนเดียวล่ะ? ทำไมไม่ให้ผู้ช่วยหรือลูกหรือเมียร่วมเดินทางมาด้วย?” ผมถามเพื่อนด้วยความเห็นห่วงและไม่เข้าใจ
ไม่เข้าใจว่าทำไมอายุ ๖๕ แล้ว, ธุรกิจอยู่ตัวแล้ว, เงินทองก็มีมากมายจนเกิดมาอีกกี่ชาติก็ใช้ไม่หมดแล้ว, ยังต้องทำงานอย่างหนักหน่วงเหมือนคนอายุ ๓๐ ต้น ๆ ที่ยังค้นหาตัวเองไม่เจอ
เพื่อนถอนหายใจหนักและยาว “เฮ้อ...ยังหาคนมาทำงานแทนจริง ๆ ไม่ได้สักที...ลูกก็เพิ่งจะเข้ามาช่วยงาน...แต่เขาไม่ว่างที่จะมาด้วย”
เขาบอกว่าที่เดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้ (บินไปราว ๆ ๔ ชั่วโมงครึ่งและขากลับอีก ๕ ชั่วโมงครึ่ง) ค้างแค่คืนเดียวก็จะรีบบินกลับกรุงเทพฯ
อ้าวทำไมรีบร้อนอย่างนั้นเล่า? ผมถามด้วยความงุนงงสงสัยหนักขึ้นอีก
“ต้องรีบกลับมาประชุมงานของบริษัท” เขาตอบ, สีหน้าเหมือนไม่อยากทำแต่ต้องทำเพราะไม่มีทางเลือกทางอื่น
ไม่มีทางเลือกอื่นจริง ๆ หรือ? วิถีชีวิตของคนเราในสังคมธุรกิจอลเวงแบบไทย ๆ วันนี้ไม่อาจจะตอบคำถามตัวเองได้ว่า “ชีวิตนี้อยู่เพื่ออะไร?” ได้จริง ๆ หรือ?
หรือไม่กล้าถามตัวเองเพราะกลัวว่าจะรับคำตอบไม่ได้?
ผมไม่ได้ถามเพื่อนเขาอย่างนั้น, เพราะเกรงว่าเขาจะคิดว่าผมซ้ำเติมเขา...ทั้ง ๆ ที่เขาก็รู้ว่าพบกันครั้งใดผมก็จะยืนยันกับเขาว่าชีวิตของคนเราไม่ได้เกิดมาเป็นทาสของเงินหรือ “ความสำเร็จ” ที่สังคมกำหนดให้เรา
ท้ายสุดเราต้องกำหนดชีวิตของเราเอง...และ “ความพอเพียง” นั้นย่อมหมายถึงการที่สามารถจะรู้ว่าจะหยุดตัวเองเพื่อไม่ให้แสวงหาแต่ผลทางวัตถุ, ลาภยศสรรเสริญ, เท่านั้นให้ได้
คนอย่างเพื่อนเศรษฐีผมยังมีในสังคมไทยอีกมาก จะบอกว่ามีความโลภหรือ “รวยอย่างไรก็ไม่เข็ด” ก็เห็นจะไม่ใช่ เพราะนิสัยใจคอไม่ใช่คนประเภทที่ต้องการจะแสวงหาความร่ำรวยอย่างไร้ขีดจำกัด...มีโอกาสก็ยังทำบุญทำทานอย่างผู้ใจกว้างอีกเสียด้วย
แต่ปัญหาคือคนจำนวนมากในสังคมไทย “ตัดไม่ขาด, แยกไม่ออก” ว่าอะไรคือชีวิตและอะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “พอเป็นพอ” หรือ enough is enough สำหรับชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
เพราะเขาไม่ยอมสร้างคนขึ้นมาแทนเขาหรือ? เพราะเขากลัวคนอื่นเก่งกว่าเขาหรือ? เพราะเขาไม่มีความมั่นใจว่าคนอื่นจะทำได้ดีเท่าเขาหรือ?
อาจจะมีความรู้สึกเหล่านี้ผสมปนเปอยู่บ้างในหลาย ๆ ส่วน แต่ถ้าถามเขาเหล่านี้, คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นว่า “ยังปล่อยมือไม่ได้”
ทั้ง ๆ ที่ความหมายจริง ๆ อาจจะเป็นว่าเพราะเขาไม่ไว้ใจใครหรือเพราะเขาไม่เชื่อว่าใครจะทำได้ดีเท่าเขา
เขาบอกตัวเองว่าเขามี “ความสุข” กับการทำงาน...และใครบอกว่า “เขาบ้างาน” เขาอาจจะแอบดีใจด้วยซ้ำ
คนพูดจะตั้งใจชมหรือไม่ก็ตาม, เจ้าตัวจะคิดเข้าข้างตัวเองว่านั่นคือคำแสดงความชื่นชมที่หาได้ยากยิ่งในสังคมของการแข่งขันและแก่งแย่งทุกวันนี้
แต่ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน, คนที่ยังก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างไม่สนใจว่ากำลังทำร้ายตัวเองนั้นย่อมไม่ได้มีความสุขอย่างที่เขาคิด...ความจริง, ถ้าหากคนใกล้ชิดหรือรอบ ๆ ตัวจะรักเขาจริง, หรือถ้าเขารักครอบครัวและบริษัทเขาจริง, ก็จะต้องหยุดทำอะไรที่เสี่ยงกับการเกิด “เหตุฉับพลัน” กับเขาได้อย่างไม่รู้ตัว
คราวหน้าผมเจอเพื่อนที่ผมรักคนนี้, ผมจะถามเขาว่าเขาเตรียมงานศพของตัวเองแล้วหรือยัง?
โหดไปไหม?
แต่ผมได้ลองพูดทั้งตรง ๆ และอ้อม ๆ มานับครั้งไม่ถ้วนแล้วนี่นาว่า “ไม่มีเขา, พรุ่งนี้ดวงอาทิตย์ก็ยังขึ้นทางทิศตะวันออกอยู่ดี...”
แต่เขานึกว่าผมพูดเล่นทุกครั้งไป
วันที่ผมเจอเขาครั้งสุดท้าย, เพื่อนคนนี้วิ่งหอบขึ้นมาบนเครื่องบิน, บ่นเสียงดังว่าคิวที่สนามบินสุวรรณภูมิช่างเลวร้ายมากขึ้นทุกวัน, เขาเกือบจะตัดสินใจไม่ขึ้นเครื่อง, นั่งรถกลับบ้านให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที..
เสียงหายใจถี่และหนักของเขาทำให้ผมรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยเพื่อน...บอกให้เขานั่งลง, พูดคุยกันขณะที่เครื่องบินเตรียมบินขึ้นท้องฟ้าสู่เกาหลีใต้
เขากระซิบบอกผมว่าทุกวันนี้เขาต้องพกเข็มฉีดยาไปทุกแห่งเพราะเป็นเบาหวานขั้นแรง, ต้องคอยฉีดอินซูลีนเข้าเส้นเลือดด้วยตัวเองเพื่อประคองไม่ให้อาการทรุดหนักกว่าที่เป็นอยู่
“แล้วทำไมเดินทางไปไหนมาไหนทางไกลอย่างนี้คนเดียวล่ะ? ทำไมไม่ให้ผู้ช่วยหรือลูกหรือเมียร่วมเดินทางมาด้วย?” ผมถามเพื่อนด้วยความเห็นห่วงและไม่เข้าใจ
ไม่เข้าใจว่าทำไมอายุ ๖๕ แล้ว, ธุรกิจอยู่ตัวแล้ว, เงินทองก็มีมากมายจนเกิดมาอีกกี่ชาติก็ใช้ไม่หมดแล้ว, ยังต้องทำงานอย่างหนักหน่วงเหมือนคนอายุ ๓๐ ต้น ๆ ที่ยังค้นหาตัวเองไม่เจอ
เพื่อนถอนหายใจหนักและยาว “เฮ้อ...ยังหาคนมาทำงานแทนจริง ๆ ไม่ได้สักที...ลูกก็เพิ่งจะเข้ามาช่วยงาน...แต่เขาไม่ว่างที่จะมาด้วย”
เขาบอกว่าที่เดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้ (บินไปราว ๆ ๔ ชั่วโมงครึ่งและขากลับอีก ๕ ชั่วโมงครึ่ง) ค้างแค่คืนเดียวก็จะรีบบินกลับกรุงเทพฯ
อ้าวทำไมรีบร้อนอย่างนั้นเล่า? ผมถามด้วยความงุนงงสงสัยหนักขึ้นอีก
“ต้องรีบกลับมาประชุมงานของบริษัท” เขาตอบ, สีหน้าเหมือนไม่อยากทำแต่ต้องทำเพราะไม่มีทางเลือกทางอื่น
ไม่มีทางเลือกอื่นจริง ๆ หรือ? วิถีชีวิตของคนเราในสังคมธุรกิจอลเวงแบบไทย ๆ วันนี้ไม่อาจจะตอบคำถามตัวเองได้ว่า “ชีวิตนี้อยู่เพื่ออะไร?” ได้จริง ๆ หรือ?
หรือไม่กล้าถามตัวเองเพราะกลัวว่าจะรับคำตอบไม่ได้?
ผมไม่ได้ถามเพื่อนเขาอย่างนั้น, เพราะเกรงว่าเขาจะคิดว่าผมซ้ำเติมเขา...ทั้ง ๆ ที่เขาก็รู้ว่าพบกันครั้งใดผมก็จะยืนยันกับเขาว่าชีวิตของคนเราไม่ได้เกิดมาเป็นทาสของเงินหรือ “ความสำเร็จ” ที่สังคมกำหนดให้เรา
ท้ายสุดเราต้องกำหนดชีวิตของเราเอง...และ “ความพอเพียง” นั้นย่อมหมายถึงการที่สามารถจะรู้ว่าจะหยุดตัวเองเพื่อไม่ให้แสวงหาแต่ผลทางวัตถุ, ลาภยศสรรเสริญ, เท่านั้นให้ได้
คนอย่างเพื่อนเศรษฐีผมยังมีในสังคมไทยอีกมาก จะบอกว่ามีความโลภหรือ “รวยอย่างไรก็ไม่เข็ด” ก็เห็นจะไม่ใช่ เพราะนิสัยใจคอไม่ใช่คนประเภทที่ต้องการจะแสวงหาความร่ำรวยอย่างไร้ขีดจำกัด...มีโอกาสก็ยังทำบุญทำทานอย่างผู้ใจกว้างอีกเสียด้วย
แต่ปัญหาคือคนจำนวนมากในสังคมไทย “ตัดไม่ขาด, แยกไม่ออก” ว่าอะไรคือชีวิตและอะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “พอเป็นพอ” หรือ enough is enough สำหรับชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
เพราะเขาไม่ยอมสร้างคนขึ้นมาแทนเขาหรือ? เพราะเขากลัวคนอื่นเก่งกว่าเขาหรือ? เพราะเขาไม่มีความมั่นใจว่าคนอื่นจะทำได้ดีเท่าเขาหรือ?
อาจจะมีความรู้สึกเหล่านี้ผสมปนเปอยู่บ้างในหลาย ๆ ส่วน แต่ถ้าถามเขาเหล่านี้, คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นว่า “ยังปล่อยมือไม่ได้”
ทั้ง ๆ ที่ความหมายจริง ๆ อาจจะเป็นว่าเพราะเขาไม่ไว้ใจใครหรือเพราะเขาไม่เชื่อว่าใครจะทำได้ดีเท่าเขา
เขาบอกตัวเองว่าเขามี “ความสุข” กับการทำงาน...และใครบอกว่า “เขาบ้างาน” เขาอาจจะแอบดีใจด้วยซ้ำ
คนพูดจะตั้งใจชมหรือไม่ก็ตาม, เจ้าตัวจะคิดเข้าข้างตัวเองว่านั่นคือคำแสดงความชื่นชมที่หาได้ยากยิ่งในสังคมของการแข่งขันและแก่งแย่งทุกวันนี้
แต่ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน, คนที่ยังก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างไม่สนใจว่ากำลังทำร้ายตัวเองนั้นย่อมไม่ได้มีความสุขอย่างที่เขาคิด...ความจริง, ถ้าหากคนใกล้ชิดหรือรอบ ๆ ตัวจะรักเขาจริง, หรือถ้าเขารักครอบครัวและบริษัทเขาจริง, ก็จะต้องหยุดทำอะไรที่เสี่ยงกับการเกิด “เหตุฉับพลัน” กับเขาได้อย่างไม่รู้ตัว
คราวหน้าผมเจอเพื่อนที่ผมรักคนนี้, ผมจะถามเขาว่าเขาเตรียมงานศพของตัวเองแล้วหรือยัง?
โหดไปไหม?
แต่ผมได้ลองพูดทั้งตรง ๆ และอ้อม ๆ มานับครั้งไม่ถ้วนแล้วนี่นาว่า “ไม่มีเขา, พรุ่งนี้ดวงอาทิตย์ก็ยังขึ้นทางทิศตะวันออกอยู่ดี...”
แต่เขานึกว่าผมพูดเล่นทุกครั้งไป