Wednesday, 19 September 2007
“โศกนาฏกรรมทางอากาศ” หายนะสะเทือนขวัญ “คนเดินดิน”
ศูนย์ข่าวภาคใต้
โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เครื่องบิน เที่ยวบินที่ OG 269 ของสายการบิน วัน ทู โก เกิดเสียการทรงตัวขณะร่อนลงจอด ณ สนามบินนานาชาติ จ.ภูเก็ต จนไถลออกนอกรันเวย์ไปชนเข้ากับเนินดินเกิดไฟลุกท่วม เป็นเหตุให้มีผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เสียชีวิต 89 คน ได้รับบาดเจ็บ 41 คน นับเป็นอีกเหตุการณ์สะเทือนขวัญผู้นิยมอาศัย “เครื่องบิน” เป็นพาหนะในการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมา โศกนาฏกรรมทางอากาศ เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในประเทศไทย
เครื่อง 2 ใบพัดโหม่งทุ่งรังสิต ดับ 40 ศพ-พระเถระดังมรณภาพ 5 รูป
ย้อนกลับไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 เที่ยวบิน TG 231 อุดรธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเครื่องบิน 2 ใบพัด รุ่น HS-748 รหัส HS-THB บินออกจากท่าอากาศยานอุดรธานี จะไปลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายมีลมกระโชกแรง เกินที่นักบินจะควบคุมเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัย สุดท้ายเครื่องบินลำดังกล่าวได้เสียการควบคุมและตกลงมากระแทกกับพื้นดินบนท้องนา ทุ่งรังสิต บริเวณหมู่ที่ 4 ต.คลอง 4 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทำให้ผู้โดยสารบนเครื่อง จำนวน 53 คน เสียชีวิต 40 คน นอกจากนี้ พบว่า มีพระมหาเถระ ชั้นผู้ใหญ่ที่โดยสารมากับเครื่องลำดังกล่าว ถึงแก่มรณภาพ 5 รูปพร้อมกัน ประกอบด้วย
1.พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
2.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาละวัน บ้านโนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
3.พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย
4.พระอาจารย์วัน อุตตฺโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
5.พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
เหตุการณ์นี้จึงเป็นโศกนาฏกรรม ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับพุทธศาสนิกชนไทยทั้งประเทศ
“กรุงเทพฯ-อ่าวปอ” เที่ยวบินมรณะ
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2528 เครื่องบิน โบอิง 737-200 ของการบินไทย จากกรุงเทพไปยังภูเก็ต เกิดตกที่ภูเก็ตเนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้อง และเกิดไฟไหม้ท่วมลำ ทำให้พนักงาน 7 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต
อีก 2 ปี ต่อมา วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญขึ้นอีกครั้งเมื่อเครื่องบินโบอิง 737 ของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งขึ้นเหินเวหาจากท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปลงจอดส่งผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าอีกครั้งเพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอาศยานนานาชาติภูเก็ต แต่ระหว่างที่กำลังเหินฟ้าอยู่เหนือเกาะภูเก็ต เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินอีกลำหนึ่งของสายการบินดร้ากอน แอร์ไลน์ สายการบินสัญชาติฮ่องกง บินเข้ามาในเส้นทางดังกล่าวจนเกิดเฉี่ยวชนกันขึ้นเป็นเหตุให้โบอิง 737 ได้รับความเสียหาย สูญเสียการควบคุมแล้วดิ่งลงกระแทกผืนน้ำทะเลในอ่าวปอ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ทำให้ผู้โดยสารพร้อมลูกเรือ 84 คนเสียชีวิต (ไม่พบรายงานความเสียหายของดร้ากอนแอร์ไลน์)
“มันบินข้ามหัวป้าแล้วก็ตกลงทะเล ต่อหน้าต่อตาแม่ค้าอีกหลายคน ทุกคนตกใจกันมาก ไม่เคยเห็นมาก่อน” แม่ค้ารายหนึ่งที่ขายของริมอ่าวปอ ระบุ
โดยเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการค้นหาศพผู้เสียชีวิตหลายวัน จึงจะสามารถกู้ศพได้ครบ ขณะที่อาหารทะเลใน จ.ภูเก็ต มียอดขายตกเนื่องจากมีกระแสข่าวว่า ชาวบ้านพบนิ้วคนตายอยู่ในท้องของปลาทะเลตัวหนึ่ง
“เลาดาแอร์” บึ้มกลางเวหา คร่า 223 ชีวิต
ถัดจากนั้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2534 เครื่องบิน Boeing B-767-3Z9ER ทะเบียน OE-LAV ชื่อ Wolfgang Amadeus Mozart ซึ่งเป็นเครื่องบินของสายการบินเลาดาแอร์ ประเทศออสเตรีย เที่ยวบินที่ 004 (NG004) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ ที่ทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานไคตัก เกาะฮ่องกง สู่ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ และออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง มุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา มีผู้โดยสาร 213 คน และลูกเรือ 10 คน ภายใต้การควบคุมของกัปตัน Thomas J. Welch และผู้ช่วย Josef Thurner
จากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเว็บไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า เวลาประมาณ 23.22 น. Welch และ Thurner ได้รับสัญญาณภาพเตือน ว่า มีความผิดพลาดทางระบบที่อาจทำให้เกิด thrust reverser deployment ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ขณะบิน หลังจากได้ศึกษาคู่มือแล้ว ทั้ง 2 ลงความเห็นว่าสัญญาณเตือนนั้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป และไม่ได้จัดการใดๆ กับสัญญาณเตือน
จนกระทั่งเวลา 23.31 น. thrust reverser ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 เกิดการ deploy ระหว่างที่เครื่องบินอยู่เหนือป่าใกล้บ้านหนองร่อง จ.อุทัยธานี คำพูดสุดท้ายของ Thurner ที่บันทึกไว้ได้คือ “Reverser's deployed!” จากนั้นเครื่อง 767 ก็เกิดหยุดชะงักกลางอากาศและระเบิดขึ้นที่ระดับความสูง 1,200 เมตร ไม่มีผู้โดยสารและลูกเรือคนใดรอดชีวิต และอุบัติเหตุครั้งนี้ถือเป็นหายนะทางการเดินทางทางอากาศที่รุนแรงที่สุด ที่เกิดขึ้นในอาณาเขตของประเทศไทย
“ทีจี 261” ดิ่งลงบึงน้ำสุราษฎร์ฯ สังเวย 104 ศพ
ต่อมาอีก 7 ปี ในค่ำวันที่ 11 ธันวาคม 2541 เครื่องบินของการบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 261 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ในสภาพอากาศเลวร้ายอย่างหนัก มีฝนตกและลมกระโชกแรง
“เจมส์” เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องชื่อดังที่รอดชีวิตจากหายนะครั้งนี้ เล่าว่า ในวันเกิดเหตุกัปตันผู้ควบคุมเครื่องไม่สามารถนำเครื่องบินลงที่สนามบินสุราษฎร์ธานีได้ เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย โดยมีการแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารทราบพร้อมประกาศให้ทุกคนรัดเข็มขัดนิรภัย
ระหว่างนั้นเครื่องบินบินวนอยู่เหนือท้องฟ้าสุราษฎร์ธานี ประมาณ 2 รอบ กัปตันจึงประกาศขึ้นอีกครั้ง ว่า หากไม่สามารถนำเครื่องลงได้ก็จะต้องบินกลับไปที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้โดยสารในเครื่องใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างชุลมุน จนกระทั่งในการบินวนรอบที่ 3 เครื่องบินลำดังกล่าวก็ดิ่งหัวลงในบึงน้ำขนาดใหญ่ ผู้โดยสาร 146 คน เสียชีวิต 104 คน ที่เหลือบาดเจ็บสาหัส
วันทูโก “โศกนาฏกรรมราคาประหยัด”
ประชาชนคลายจากความตื่นตระหนก เมื่อเกาะภูเก็ตรอดพ้นจากการเกิดสึนามิ อันเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวเกือบ 8 ริกเตอร์ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน แต่แล้วเย็นวันที่ 16 กันยายน 2550 อาการช็อกก็มาเยือนคนภูเก็ตและคนไทยทั้งประเทศจนได้ เมื่อเครื่องบินสายการบินวันทูโก เที่ยวบินที่ OG 269 ทะยานจากท่าอากาศยานดอนเมือง ในเวลา 14.30 น.บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 130 คน มุ่งหน้าสู่สนามบินนานาชาติภูเก็ตเพื่อจะลงจอดในเวลา 15.45 น.ในสภาพมรสุมกระหน่ำภาคใต้ฝั่งอันดามัน สภาพอากาศมีฝนตกลงมาอย่างหนัก และลมกระโชกแรง
เมื่อเครื่องบินมาถึงที่หมาย กัปตันซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซีย พยายามนำเครื่องลงจอดท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้าย ทันทีที่แตะพื้นเครื่องก็ได้เสียการทรงตัว ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปชนกับเนินดิน จนเกิดระเบิดขึ้น 2 ครั้ง ตัวเครื่องหักเป็น 2 ท่อน และมีไฟลุกไหม้ตามมา ผู้โดยสารบางคนถูกอัดกอปปี้จนเสียชีวิตคาที่ หลายคนถูกไฟคลอก ขณะที่อีกหลายคนที่ยังมีสติพยายามดิ้นรนจนพ้นเงื้อมมือมัจจุราชเหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิต 89 คน บาดเจ็บ 41 คน นับเป็นหายนะครั้งร้ายแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับสายการบินแบบโลว์คอสต์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ในระหว่างสืบหาสาเหตุจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้
อุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีสาเหตุทั้งจากสภาพอากาศ ความบกพร่องของนักบิน และจากเหตุสุดวิสัยอื่นๆ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารและลูกเรือ
แม้ 2 พี่น้องตระกูลไรท์ ชาวอเมริกัน และเซอร์จอร์จ เคย์ลีย์ ชาวอังกฤษ จะสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้มนุษย์เหินเวหาได้อย่างนก สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการเดินทาง แต่มนุษย์ก็ยังมิสามารถเอาชนะธรรมชาติที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ รวมทั้งตราบใดที่ยังมีคนมักง่ายความเสียหายก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และตราบใดที่โลกยังมีแรงโน้มถ่วง วัตถุที่ลอยอยู่บนอากาศก็ย่อมมีวันจะตกลงมากระแทกพื้นได้เป็นธรรมดา
โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เครื่องบิน เที่ยวบินที่ OG 269 ของสายการบิน วัน ทู โก เกิดเสียการทรงตัวขณะร่อนลงจอด ณ สนามบินนานาชาติ จ.ภูเก็ต จนไถลออกนอกรันเวย์ไปชนเข้ากับเนินดินเกิดไฟลุกท่วม เป็นเหตุให้มีผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เสียชีวิต 89 คน ได้รับบาดเจ็บ 41 คน นับเป็นอีกเหตุการณ์สะเทือนขวัญผู้นิยมอาศัย “เครื่องบิน” เป็นพาหนะในการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมา โศกนาฏกรรมทางอากาศ เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในประเทศไทย
เครื่อง 2 ใบพัดโหม่งทุ่งรังสิต ดับ 40 ศพ-พระเถระดังมรณภาพ 5 รูป
ย้อนกลับไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 เที่ยวบิน TG 231 อุดรธานี-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเครื่องบิน 2 ใบพัด รุ่น HS-748 รหัส HS-THB บินออกจากท่าอากาศยานอุดรธานี จะไปลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายมีลมกระโชกแรง เกินที่นักบินจะควบคุมเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัย สุดท้ายเครื่องบินลำดังกล่าวได้เสียการควบคุมและตกลงมากระแทกกับพื้นดินบนท้องนา ทุ่งรังสิต บริเวณหมู่ที่ 4 ต.คลอง 4 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทำให้ผู้โดยสารบนเครื่อง จำนวน 53 คน เสียชีวิต 40 คน นอกจากนี้ พบว่า มีพระมหาเถระ ชั้นผู้ใหญ่ที่โดยสารมากับเครื่องลำดังกล่าว ถึงแก่มรณภาพ 5 รูปพร้อมกัน ประกอบด้วย
1.พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
2.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาละวัน บ้านโนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
3.พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย
4.พระอาจารย์วัน อุตตฺโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
5.พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
เหตุการณ์นี้จึงเป็นโศกนาฏกรรม ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับพุทธศาสนิกชนไทยทั้งประเทศ
“กรุงเทพฯ-อ่าวปอ” เที่ยวบินมรณะ
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2528 เครื่องบิน โบอิง 737-200 ของการบินไทย จากกรุงเทพไปยังภูเก็ต เกิดตกที่ภูเก็ตเนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้อง และเกิดไฟไหม้ท่วมลำ ทำให้พนักงาน 7 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต
อีก 2 ปี ต่อมา วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญขึ้นอีกครั้งเมื่อเครื่องบินโบอิง 737 ของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งขึ้นเหินเวหาจากท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปลงจอดส่งผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าอีกครั้งเพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอาศยานนานาชาติภูเก็ต แต่ระหว่างที่กำลังเหินฟ้าอยู่เหนือเกาะภูเก็ต เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินอีกลำหนึ่งของสายการบินดร้ากอน แอร์ไลน์ สายการบินสัญชาติฮ่องกง บินเข้ามาในเส้นทางดังกล่าวจนเกิดเฉี่ยวชนกันขึ้นเป็นเหตุให้โบอิง 737 ได้รับความเสียหาย สูญเสียการควบคุมแล้วดิ่งลงกระแทกผืนน้ำทะเลในอ่าวปอ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ทำให้ผู้โดยสารพร้อมลูกเรือ 84 คนเสียชีวิต (ไม่พบรายงานความเสียหายของดร้ากอนแอร์ไลน์)
“มันบินข้ามหัวป้าแล้วก็ตกลงทะเล ต่อหน้าต่อตาแม่ค้าอีกหลายคน ทุกคนตกใจกันมาก ไม่เคยเห็นมาก่อน” แม่ค้ารายหนึ่งที่ขายของริมอ่าวปอ ระบุ
โดยเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการค้นหาศพผู้เสียชีวิตหลายวัน จึงจะสามารถกู้ศพได้ครบ ขณะที่อาหารทะเลใน จ.ภูเก็ต มียอดขายตกเนื่องจากมีกระแสข่าวว่า ชาวบ้านพบนิ้วคนตายอยู่ในท้องของปลาทะเลตัวหนึ่ง
“เลาดาแอร์” บึ้มกลางเวหา คร่า 223 ชีวิต
ถัดจากนั้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2534 เครื่องบิน Boeing B-767-3Z9ER ทะเบียน OE-LAV ชื่อ Wolfgang Amadeus Mozart ซึ่งเป็นเครื่องบินของสายการบินเลาดาแอร์ ประเทศออสเตรีย เที่ยวบินที่ 004 (NG004) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ ที่ทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานไคตัก เกาะฮ่องกง สู่ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ และออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง มุ่งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา มีผู้โดยสาร 213 คน และลูกเรือ 10 คน ภายใต้การควบคุมของกัปตัน Thomas J. Welch และผู้ช่วย Josef Thurner
จากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเว็บไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า เวลาประมาณ 23.22 น. Welch และ Thurner ได้รับสัญญาณภาพเตือน ว่า มีความผิดพลาดทางระบบที่อาจทำให้เกิด thrust reverser deployment ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ขณะบิน หลังจากได้ศึกษาคู่มือแล้ว ทั้ง 2 ลงความเห็นว่าสัญญาณเตือนนั้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วไป และไม่ได้จัดการใดๆ กับสัญญาณเตือน
จนกระทั่งเวลา 23.31 น. thrust reverser ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 เกิดการ deploy ระหว่างที่เครื่องบินอยู่เหนือป่าใกล้บ้านหนองร่อง จ.อุทัยธานี คำพูดสุดท้ายของ Thurner ที่บันทึกไว้ได้คือ “Reverser's deployed!” จากนั้นเครื่อง 767 ก็เกิดหยุดชะงักกลางอากาศและระเบิดขึ้นที่ระดับความสูง 1,200 เมตร ไม่มีผู้โดยสารและลูกเรือคนใดรอดชีวิต และอุบัติเหตุครั้งนี้ถือเป็นหายนะทางการเดินทางทางอากาศที่รุนแรงที่สุด ที่เกิดขึ้นในอาณาเขตของประเทศไทย
“ทีจี 261” ดิ่งลงบึงน้ำสุราษฎร์ฯ สังเวย 104 ศพ
ต่อมาอีก 7 ปี ในค่ำวันที่ 11 ธันวาคม 2541 เครื่องบินของการบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 261 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ในสภาพอากาศเลวร้ายอย่างหนัก มีฝนตกและลมกระโชกแรง
“เจมส์” เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องชื่อดังที่รอดชีวิตจากหายนะครั้งนี้ เล่าว่า ในวันเกิดเหตุกัปตันผู้ควบคุมเครื่องไม่สามารถนำเครื่องบินลงที่สนามบินสุราษฎร์ธานีได้ เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย โดยมีการแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารทราบพร้อมประกาศให้ทุกคนรัดเข็มขัดนิรภัย
ระหว่างนั้นเครื่องบินบินวนอยู่เหนือท้องฟ้าสุราษฎร์ธานี ประมาณ 2 รอบ กัปตันจึงประกาศขึ้นอีกครั้ง ว่า หากไม่สามารถนำเครื่องลงได้ก็จะต้องบินกลับไปที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้โดยสารในเครื่องใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างชุลมุน จนกระทั่งในการบินวนรอบที่ 3 เครื่องบินลำดังกล่าวก็ดิ่งหัวลงในบึงน้ำขนาดใหญ่ ผู้โดยสาร 146 คน เสียชีวิต 104 คน ที่เหลือบาดเจ็บสาหัส
วันทูโก “โศกนาฏกรรมราคาประหยัด”
ประชาชนคลายจากความตื่นตระหนก เมื่อเกาะภูเก็ตรอดพ้นจากการเกิดสึนามิ อันเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวเกือบ 8 ริกเตอร์ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน แต่แล้วเย็นวันที่ 16 กันยายน 2550 อาการช็อกก็มาเยือนคนภูเก็ตและคนไทยทั้งประเทศจนได้ เมื่อเครื่องบินสายการบินวันทูโก เที่ยวบินที่ OG 269 ทะยานจากท่าอากาศยานดอนเมือง ในเวลา 14.30 น.บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 130 คน มุ่งหน้าสู่สนามบินนานาชาติภูเก็ตเพื่อจะลงจอดในเวลา 15.45 น.ในสภาพมรสุมกระหน่ำภาคใต้ฝั่งอันดามัน สภาพอากาศมีฝนตกลงมาอย่างหนัก และลมกระโชกแรง
เมื่อเครื่องบินมาถึงที่หมาย กัปตันซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซีย พยายามนำเครื่องลงจอดท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้าย ทันทีที่แตะพื้นเครื่องก็ได้เสียการทรงตัว ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปชนกับเนินดิน จนเกิดระเบิดขึ้น 2 ครั้ง ตัวเครื่องหักเป็น 2 ท่อน และมีไฟลุกไหม้ตามมา ผู้โดยสารบางคนถูกอัดกอปปี้จนเสียชีวิตคาที่ หลายคนถูกไฟคลอก ขณะที่อีกหลายคนที่ยังมีสติพยายามดิ้นรนจนพ้นเงื้อมมือมัจจุราชเหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิต 89 คน บาดเจ็บ 41 คน นับเป็นหายนะครั้งร้ายแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับสายการบินแบบโลว์คอสต์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ในระหว่างสืบหาสาเหตุจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้
อุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีสาเหตุทั้งจากสภาพอากาศ ความบกพร่องของนักบิน และจากเหตุสุดวิสัยอื่นๆ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารและลูกเรือ
แม้ 2 พี่น้องตระกูลไรท์ ชาวอเมริกัน และเซอร์จอร์จ เคย์ลีย์ ชาวอังกฤษ จะสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้มนุษย์เหินเวหาได้อย่างนก สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการเดินทาง แต่มนุษย์ก็ยังมิสามารถเอาชนะธรรมชาติที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ รวมทั้งตราบใดที่ยังมีคนมักง่ายความเสียหายก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และตราบใดที่โลกยังมีแรงโน้มถ่วง วัตถุที่ลอยอยู่บนอากาศก็ย่อมมีวันจะตกลงมากระแทกพื้นได้เป็นธรรมดา