Friday, 21 September 2007
อันตรายถึงชีวิตถ้าคิดบดยากิน
อันตรายถึงชีวิตถ้าคิดบดยากิน
วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการกินยาอีกครั้ง หลายคนคงเคยเจอปัญหาว่ายาเม็ดโตเกินไป จะเคี้ยวจะกลืนแต่
ละทีก็แสนลำบาก อย่ากระนั้นเลย บดเสียก่อนกินน่าจะสะดวก แต่หารู้ไม่ว่าความสะดวกนั้นอาจทำให้เป็น
อันตรายถึงชีวิตได้ เพราะมันมีผลต่อฤทธิ์ในการปล่อยยาสู่ร่างกาย
รายละเอียดของเรื่องนี้มาจากข่าวต่างประเทศที่ผู้เชี่ยวชาญในอังกฤษกล่าวเตือนว่า การบดยาเม็ดเพื่อ
ให้ทานง่ายขึ้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะไปทำลายสารเคลือบเม็ดยาที่มีผล
ต่อการปล่อยยาในร่างกาย เภสัชกรและทนายความที่โน่นเปิดเผยว่า คนชราร้อยละ 60 มีปัญหาในการ
กลืนยา และมีงานวิจัยพบว่า พยาบาลตามสถานพยาบาลถึงร้อยละ 80 ใช้วิธีบดเม็ดยาเพื่อช่วยให้คนชรา
กลืนยาง่ายขึ้น
แต่ละปีมียาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์และเกิดผลข้างเคียงทางลบประมาณ 75 ล้านชุด ยาที่ไม่ควรบด ได้แก่
ทาม็อกซิเฟน ที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีครรภ์ ในขณะที่ มอร์ฟีน ไม่ควรบด
เพราะอาจทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเร็วถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ส่วน ไน เฟดิพีน ที่ใช้รักษา
ความดันโลหิตสูงหากบดจะทำให้มึนงง ปวดศีรษะ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือ หลอดเลือดสมอง
นอกจากนี้ ยาเม็ดยังมีสารเคลือบพิเศษที่ช่วยให้ยาถูกดูดซึมในเวลาที่นานขึ้น ผู้ป่วยจึง กินยาเพียงวันละ
1 เม็ด ไม่ต้องกินวันละหลายครั้ง หากยาถูกบดก็จะถูกดูดซึมเร็วกว่าที่ต้องการ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนด้วย
ว่า แพทย์และพยาบาลจะถูกดำเนินคดีและตั้งข้อหาประมาทเลินเล่อหากแนะนำให้ผู้ป่วยบดเม็ดยาหรือแกะ
แคปซูลที่หุ้มยาไว้ พร้อมแนะนำว่าแพทย์ควรสอบถามผู้ป่วยก่อนสั่งจ่ายยาว่ามี ปัญหาในการกินยาเม็ดหรือ
ไม่ เพื่อสั่งจ่ายยาในรูปแบบอื่นแทน เช่น ยาน้ำ แผ่นแปะ หรือยาที่ใช้สูดดม สำหรับในเมืองไทยแม้ยังไม่
มีข้อกำหนดเรื่องการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบดเม็ดยาอย่างเมืองนอก ทางที่ดี ผู้ป่วยควรใช้ความระมัด
ระวัง อย่าเสี่ยงบดยากินเอง เป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุดต่อชีวิตเราเอง.
วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการกินยาอีกครั้ง หลายคนคงเคยเจอปัญหาว่ายาเม็ดโตเกินไป จะเคี้ยวจะกลืนแต่
ละทีก็แสนลำบาก อย่ากระนั้นเลย บดเสียก่อนกินน่าจะสะดวก แต่หารู้ไม่ว่าความสะดวกนั้นอาจทำให้เป็น
อันตรายถึงชีวิตได้ เพราะมันมีผลต่อฤทธิ์ในการปล่อยยาสู่ร่างกาย
รายละเอียดของเรื่องนี้มาจากข่าวต่างประเทศที่ผู้เชี่ยวชาญในอังกฤษกล่าวเตือนว่า การบดยาเม็ดเพื่อ
ให้ทานง่ายขึ้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะไปทำลายสารเคลือบเม็ดยาที่มีผล
ต่อการปล่อยยาในร่างกาย เภสัชกรและทนายความที่โน่นเปิดเผยว่า คนชราร้อยละ 60 มีปัญหาในการ
กลืนยา และมีงานวิจัยพบว่า พยาบาลตามสถานพยาบาลถึงร้อยละ 80 ใช้วิธีบดเม็ดยาเพื่อช่วยให้คนชรา
กลืนยาง่ายขึ้น
แต่ละปีมียาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์และเกิดผลข้างเคียงทางลบประมาณ 75 ล้านชุด ยาที่ไม่ควรบด ได้แก่
ทาม็อกซิเฟน ที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีครรภ์ ในขณะที่ มอร์ฟีน ไม่ควรบด
เพราะอาจทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเร็วถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ส่วน ไน เฟดิพีน ที่ใช้รักษา
ความดันโลหิตสูงหากบดจะทำให้มึนงง ปวดศีรษะ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือ หลอดเลือดสมอง
นอกจากนี้ ยาเม็ดยังมีสารเคลือบพิเศษที่ช่วยให้ยาถูกดูดซึมในเวลาที่นานขึ้น ผู้ป่วยจึง กินยาเพียงวันละ
1 เม็ด ไม่ต้องกินวันละหลายครั้ง หากยาถูกบดก็จะถูกดูดซึมเร็วกว่าที่ต้องการ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนด้วย
ว่า แพทย์และพยาบาลจะถูกดำเนินคดีและตั้งข้อหาประมาทเลินเล่อหากแนะนำให้ผู้ป่วยบดเม็ดยาหรือแกะ
แคปซูลที่หุ้มยาไว้ พร้อมแนะนำว่าแพทย์ควรสอบถามผู้ป่วยก่อนสั่งจ่ายยาว่ามี ปัญหาในการกินยาเม็ดหรือ
ไม่ เพื่อสั่งจ่ายยาในรูปแบบอื่นแทน เช่น ยาน้ำ แผ่นแปะ หรือยาที่ใช้สูดดม สำหรับในเมืองไทยแม้ยังไม่
มีข้อกำหนดเรื่องการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบดเม็ดยาอย่างเมืองนอก ทางที่ดี ผู้ป่วยควรใช้ความระมัด
ระวัง อย่าเสี่ยงบดยากินเอง เป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุดต่อชีวิตเราเอง.