Tuesday, 30 October 2007
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทางเลือกสุดท้ายที่ต้องเลือก
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทางเลือกสุดท้ายที่ต้องเลือก [29 ต.ค. 50 - 20:20]
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทำสถิติใหม่ ขึ้นไปสูงสุดที่ 92.22 เหรียญต่อบาร์เรล หลังจากที่ขยับขึ้นขยับลงระหว่าง 85-90 เหรียญต่อบาร์เรลมาหลายวัน ตามทิศทางการสร้างราคาของนักปันราคาน้ำมันทั้งหลาย
ข้ออ้างของนักวิเคราะห์ระดับโลกทั้งหลายล้วนเป็นนิยายเรื่องเก่า เช่น เรื่องอิหร่านอิรัก การโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันของโจรสลัดในอ่าวไนจีเรีย ฤดูหนาวมาแล้วทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น และข้อสุดท้ายน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก
จากวันพุธถึงวันศุกร์สัปดาห์ที่แล้ว แค่ 3 วัน ราคาน้ำมันดิบขึ้นไปถึง 7 เหรียญ และอาจจะขึ้นไปถึง 96-101 เหรียญต่อบาร์เรล ภายในปีนี้หรือต้นปีหน้า จะขึ้นเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างราคาของพ่อค้าน้ำมันกลุ่มโอเปก และเฮดจ์ฟันด์ ที่หันมาปั่นราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากที่ขาดทุนยับเยินจากซับไพร์มไปหลายแสนล้านบาท
ไม่ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นไปบาร์เรลละ 100 เหรียญหรือมากกว่านั้น ชาวโลกก็ยังต้องใช้น้ำมันอยู่ดี เพราะน้ำมันดิบยังเป็นพลังงานหลักของโลกไออีเอ หรือสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศพยากรณ์ว่า อีก 25 ปีข้างหน้าในปี 2573 การใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ใช้ในปี 2548
สภาวิชาการระหว่างประเทศซึ่งประชุมกันที่กรุงปารีสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานว่า “ปัญหาพลังงานจะเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21” ประเทศต่างๆจะต้องจัดหาไฟฟ้าใช้ให้เพียงพอเพื่อสร้างเสถียรภาพทางพลังงานในอนาคต โดยไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น
ไม่น่าเชื่อว่า โลกวันนี้ยังมีคนอีกกว่า 1,600 ล้านคน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
แต่น้ำมันดิบไม่ว่าจะมีราคาแพงแค่ไหนในที่สุดก็มีวันหมดไปจากโลกเช่นเดียวกับ ก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยและพม่า สิ่งที่น่าห่วงสำหรับประเทศไทยในอนาคตก็คือ เราพึ่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป โดยใช้ก๊าซเป็นสัดส่วนสูงถึง 7-80 เปอร์เซ็นต์ในการผลิตไฟฟ้าทั้งมด ถ้าก๊าซหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า เมืองไทยมีหวังมืดกันค่อนประเทศ
พลังงานทางเลือกหลักที่ไทยใช้อยู่ก็คือ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ที่คนไทยกำลังต่อต้าน และคนทั้งโลกก็กำลังต่อต้าน เพราะเป็น “ต้นตอทำให้โลกร้อน” และเป็น “แหล่งผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ที่เป็นภัยต่อมนุษย์และโลก
ผมเห็นด้วยกับคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีพลังงาน ที่ออกมาฟันธงวันก่อนว่า “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือทางเลือกที่ดีที่สุด” เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าต่ำสุด เพียง 1.80 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติมีต้นทุน 2 บาทต่อหน่วย และน้ำมันเตามีต้นทุน 4 บาทต่อหน่วย
แต่ปัญหาของไทยวันนี้ก็คือ “อารมณ์วิตกจริต” ของคนไทยจากการปลุกปั่นของ “กลุ่มเอ็นจีโอ” ให้กลัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งๆที่โลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้กันมานานแล้วถึง 420 โรง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดอุบัติเหตุก็มีไม่กี่แห่งเท่านั้น
วันนี้ “เวียดนาม” เพื่อนบ้านของไทยที่กำลังจะแซงหน้าไทยทุกอย่าง เพราะผู้บริหารประเทศไทยโง่เขลากว่าผู้บริหารประเทศเวียด-นาม ก็กำลังจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกแล้ว อีก 10 ปีข้างหน้าก็สร้างเสร็จ
ถ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอันตรายมากมายอย่างที่กลัวกัน ไม่ว่าประเทศไทยจะมีหรือไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในที่สุดก็ต้องได้รับอันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไม่มีทางเลือก เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม มีผลกระทบถึงไทยแน่นอน
ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับรัฐมนตรีพลังงานว่าหากคนไทยจะอยู่ดีกินดีมีไฟฟ้าใช้ ไม่ขาดแคลนในอนาคต ต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่ต้องเลือก ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ กลัวหรือ ไม่กลัวก็ตาม.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทำสถิติใหม่ ขึ้นไปสูงสุดที่ 92.22 เหรียญต่อบาร์เรล หลังจากที่ขยับขึ้นขยับลงระหว่าง 85-90 เหรียญต่อบาร์เรลมาหลายวัน ตามทิศทางการสร้างราคาของนักปันราคาน้ำมันทั้งหลาย
ข้ออ้างของนักวิเคราะห์ระดับโลกทั้งหลายล้วนเป็นนิยายเรื่องเก่า เช่น เรื่องอิหร่านอิรัก การโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันของโจรสลัดในอ่าวไนจีเรีย ฤดูหนาวมาแล้วทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น และข้อสุดท้ายน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก
จากวันพุธถึงวันศุกร์สัปดาห์ที่แล้ว แค่ 3 วัน ราคาน้ำมันดิบขึ้นไปถึง 7 เหรียญ และอาจจะขึ้นไปถึง 96-101 เหรียญต่อบาร์เรล ภายในปีนี้หรือต้นปีหน้า จะขึ้นเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างราคาของพ่อค้าน้ำมันกลุ่มโอเปก และเฮดจ์ฟันด์ ที่หันมาปั่นราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากที่ขาดทุนยับเยินจากซับไพร์มไปหลายแสนล้านบาท
ไม่ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นไปบาร์เรลละ 100 เหรียญหรือมากกว่านั้น ชาวโลกก็ยังต้องใช้น้ำมันอยู่ดี เพราะน้ำมันดิบยังเป็นพลังงานหลักของโลกไออีเอ หรือสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศพยากรณ์ว่า อีก 25 ปีข้างหน้าในปี 2573 การใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ใช้ในปี 2548
สภาวิชาการระหว่างประเทศซึ่งประชุมกันที่กรุงปารีสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานว่า “ปัญหาพลังงานจะเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21” ประเทศต่างๆจะต้องจัดหาไฟฟ้าใช้ให้เพียงพอเพื่อสร้างเสถียรภาพทางพลังงานในอนาคต โดยไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น
ไม่น่าเชื่อว่า โลกวันนี้ยังมีคนอีกกว่า 1,600 ล้านคน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
แต่น้ำมันดิบไม่ว่าจะมีราคาแพงแค่ไหนในที่สุดก็มีวันหมดไปจากโลกเช่นเดียวกับ ก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยและพม่า สิ่งที่น่าห่วงสำหรับประเทศไทยในอนาคตก็คือ เราพึ่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป โดยใช้ก๊าซเป็นสัดส่วนสูงถึง 7-80 เปอร์เซ็นต์ในการผลิตไฟฟ้าทั้งมด ถ้าก๊าซหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า เมืองไทยมีหวังมืดกันค่อนประเทศ
พลังงานทางเลือกหลักที่ไทยใช้อยู่ก็คือ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ที่คนไทยกำลังต่อต้าน และคนทั้งโลกก็กำลังต่อต้าน เพราะเป็น “ต้นตอทำให้โลกร้อน” และเป็น “แหล่งผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ที่เป็นภัยต่อมนุษย์และโลก
ผมเห็นด้วยกับคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีพลังงาน ที่ออกมาฟันธงวันก่อนว่า “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือทางเลือกที่ดีที่สุด” เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าต่ำสุด เพียง 1.80 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติมีต้นทุน 2 บาทต่อหน่วย และน้ำมันเตามีต้นทุน 4 บาทต่อหน่วย
แต่ปัญหาของไทยวันนี้ก็คือ “อารมณ์วิตกจริต” ของคนไทยจากการปลุกปั่นของ “กลุ่มเอ็นจีโอ” ให้กลัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งๆที่โลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้กันมานานแล้วถึง 420 โรง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดอุบัติเหตุก็มีไม่กี่แห่งเท่านั้น
วันนี้ “เวียดนาม” เพื่อนบ้านของไทยที่กำลังจะแซงหน้าไทยทุกอย่าง เพราะผู้บริหารประเทศไทยโง่เขลากว่าผู้บริหารประเทศเวียด-นาม ก็กำลังจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกแล้ว อีก 10 ปีข้างหน้าก็สร้างเสร็จ
ถ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอันตรายมากมายอย่างที่กลัวกัน ไม่ว่าประเทศไทยจะมีหรือไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในที่สุดก็ต้องได้รับอันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไม่มีทางเลือก เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม มีผลกระทบถึงไทยแน่นอน
ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับรัฐมนตรีพลังงานว่าหากคนไทยจะอยู่ดีกินดีมีไฟฟ้าใช้ ไม่ขาดแคลนในอนาคต ต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่ต้องเลือก ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ กลัวหรือ ไม่กลัวก็ตาม.
“ลม เปลี่ยนทิศ”