Saturday, 6 October 2007
พจนานุกรมใหม่"คำสแลง-ศัพย์โจ๋"เพียบแพร่ผ่านเว็บใหญ่
พจนานุกรมใหม่"คำสแลง-ศัพย์โจ๋"เพียบแพร่ผ่านเว็บใหญ่
โดย คม ชัด ลึก วัน ศุกร์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:17 น.
ราชบัณฑิตฯ ทำ "พจนานุกรมคำใหม่" รวมกว่า 1,000 คำ ทั้งคำใหม่-คำสแลง-ศัพท์วัยโจ๋ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม สมเด็จพระเทพฯ" ทรงห่วงวรรณคดีไทยยุคสุโขทัย-รัชกาลที่ 5 สูญหาย
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ราชบัณฑิตยสถาน ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน แถลงข่าวจัดทำ "พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน" ร่วมกับ ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมภาษาไ ทยปัจจุบัน และนางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ว่า ราชบัณฑิตยสถานกำลังจัดทำ "พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราช บัณฑิตยสถาน" เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำที่ไม่ได้บรรจุไว้ในพจนานุก รม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งมีทั้งคำใหม่ คำสแลง หรือสำนวน ที่ใช้จนติดปาก ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งคำที่เคยบรรจุไว้ในพจนานุกร ฉบับมาตรฐานแล้ว แต่ปัจจุบันใช้ในความหมายที่แตกต่างออกไป จะนำมาบรรจุไว้ในพจนานุกรมคำใหม่ พร้อมให้ความหมายใหม่
ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่จัดทำพจนานุกรมคำใหม่ขึ้นมา เพราะภาษาไทยมีคำใหม่ วลีใหม่ เกิดขึ้นทุกวัน คำที่ใช้อยู่เป็นปกติอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ ขยายความหมาย หรือใช้ในความหมายที่ผิดแผกแตกต่างจากเดิม เช่น คำว่า "กระหึ่ม" เดิมมีความหมายแค่เสียงดัง ก็ขยายความหมายไปถึงชื่อเสียงโด่งดัง หรือคำที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น "เด็กซิ่ล" หรือ "เด็กซิ่ว" มีที่มาจากคำว่า fossil ในภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ การแก้ไขปรับปรุงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานยังไม่ส ามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงตั้งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมภาษาไ ทยปัจจุบันขึ้นเมื่อปี 2548 มี ศ.ดร.กาญจนา เป็นประธาน มาศึกษาเก็บคำที่เกิดใหม่ หรือคำที่เปลี่ยนแปลงความหมาย แล้วรวบรวมจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ขณะนี้คณะกรรมการได้รวบรวมคำใหม่ พร้อมให้ความหมาย และตัวอย่างการใช้คำ ที่มาของคำได้แล้วประมาณ 1,000 คำ เตรียมจัดพิมพ์เผยแพร่ในปลายปีนี้
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวว่า ขอบเขตการเก็บคำศัพท์ใหม่แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.คำที่เกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากปรากฏการณ์ใหม่ สิ่งที่เป็นที่รู้จักใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดนก อัลไซเมอร์ สึนามิ เด็กแว้นซ์ จอแบน หวยออนไลน์ เศรษฐกิจฟอง สบู่ การเมืองธนกิจ กาวใจ สปา องค์กรอิสระ
2.คำที่มีอยู่แล้วแต่มีการใช้ในความหมายใหม่ เช่น แห้ว กลับลำ ไขก๊อก จัดฉาก เหยี่ยวข่าว เว้นวรรค กระบอกเสียง ฟองสบู่แตก ใส่เกียร์ว่าง 3.คำที่มีการขยายคำใหม่ เช่น ขำ-ขำกลิ้ง ขำแตก เมา-เมาปลิ้น แหง-แหงแก๋ 4.คำที่พจนานุกรมเก็บไว้แล้ว แต่ขาดตัวอย่างการใช้ ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจนพอ เช่น หักคอ เพลียใจ
5.สำนวนหรือวิธีการเปรียบเทียบที่ยังไม่ได้เก็บไว้ใน พจนานุกรมฉบับ มาตรฐาน เช่น น้ำผึ้งพระจันทร์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้นานกว่า 10 ปีแล้ว ดาวค้างฟ้า กระทบไหล่ กรวดในรองเท้า กระโปรงบานขาสั้น ล้วงลูก สะกิดต่อมฮา ลมบ่จอย นกน้อยในไร่ส้ม 6.สำนวนที่มีความหมายใหม่ เช่น เล่นจ้ำจี้ จ้าวโลก เจ้าจำปี 7.คำเลียนเสียง คำแสดงท่าทาง หรืออารมณ์ เช่น หวือ หวา อึมครึม อึ้งกิมกี่ เสียว
8.คำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันมาก เช่น อัลบั้ม โกอินเตอร์ คาราโอเกะ โค้ช รับจ๊อบ ดีทอกซ์ เมาส์ จัมโบ้ และคำที่ยืมภาษาจีน เช่น โละ อั่งเปา ล่องจุ๊น 9. คำเก่า คำธรรมดา คำหลงที่ยังไม่ได้เก็บในพจนานุกรมฉบับ พ.ศ.2542 เช่น กันเหนียว ข้ามชาติ เสือปืนไว และ 10.คำวัยรุ่น คำภาษาปาก ซึ่งมีความหมายและมาจากที่ต่างๆ เช่น เฝ่ย นิ้ง ตึ๋งหนืด ตึ้บ ตุ๋ย ติงต๊อง
"พจนานุกรมคำใหม่แบ่ง 3 หมวดใหญ่ๆ คือ 1.คำที่มีอยู่แล้วในพจนานุกรมฉบับมาตรฐาน แต่ปัจจุบันเกิดความหมายใหม่เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้จะมีประมาณ 50% 2. คำหรือวลีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะศัพท์วัยรุ่น หรือศัพท์ตามกระแสใหม่ ประมาณ 30% อีก 20% ที่เหลือเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางส ังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือเทคโนโลยีใหม่" ศ.ดร.กาญจนา กล่าว
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวอีกว่า คำที่จะมาบรรจุในพจนานุกรมคำใหม่นั้น รวบรวมจากหลายแหล่ง รวมทั้งคำที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และรวบรวมคำที่นิยมใช้กันในหมู่วัยรุ่นด้วย แต่พจนานุกรมคำใหม่ฉบับแรกอาจไม่สมบูรณ์ เพราะภาษาไทยมีคำใหม่ หรือคำเปลี่ยนความหมายเกิดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากจัดพิมพ์ฉบับแรกไปแล้ว ทุกๆ 2 ปีจะชำระจัดพิมพ์ครั้งใหม่
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวด้วยว่า ส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการจัดทำพจนานุกรมคำใหม่ว่า คำสแลง คำที่มีความหมายโดยนัย ไม่ควรจัดทำเป็นพจนานุกรม เพราะไม่ใช่ภาษามาตรฐาน ใช้อย่างเป็นทางการนั้น เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะพจนานุกรมคือหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงตามต ัวอักษร เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้า หาความหมาย วิธีการใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ยังมีคำสแลงอยู่ประมาณ 400 คำ หากไม่รวบรวมคำที่ใช้กันติดปากในปัจจุบันไว้ ผ่านไป 30-40 ปี คำเหล่านี้อาจหายไปจากการใช้ คนรุ่นหลังจะอ่านเอกสารที่มีคำภาษาปากปะปนอยู่ไม่เข้ าใจ เพราะไม่รู้ความหมายของคำ และไม่มีพจนานุกรมให้ค้นคว้าหาความหมาย จึงต้องบันทึกคำและความหมายของคำทุกประเภทในแต่ละยุค ไว้
"ราชบัณฑิตยสถานยังจัดทำพจนานุกรมคำโบราณอีกฉบับหนึ่ง โดยแปลความหมายคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเก่า จะพิมพ์ภายในปีนี้ แต่ยังมีปัญหารวบรวมความหมายของคำที่ใช้ในวงการสื่อส ารมวลชน จึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยให้ที่มาของความหมาย เช่น คำว่า เต้าข่าว" ศ.ดร.กาญจนา กล่าว
นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานร่วมมือกับบริษัท สนุกออนไลน์ จำกัด ซึ่งจัดทำเวบไซต์ sanook.com จัดทำโครงการรู้รักภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ความหมายของคำ ศัพท์และการออกเสียงที่ถูกต้องผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยร่วมมือกับ www.sanook.com ซึ่งเป็นเวบไซต์เข้าถึงวัยรุ่นมากกว่าเวบไซต์ของราชบ ัณฑิตยสถาน www.royin.go.th
ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการรณรงค์อนุรักษ์ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคม ราชบัณฑิตยสถานเตรียมจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถ าน พ.ศ.2542 เป็นพจนานุกรมรูปแบบออนไลน์บรรจุคำศัพท์ที่ใช้เป็นทา งการกว่า 4 หมื่นคำ ผ่านเวบไซต์ www.sanook.com และเชื่อมโยงมาค้นคว้าที่เวบไซต์ราชบัณฑิตยสถาน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับกา รค้นหาความหมายของพจนานุกรมออนไลน์ และสารานุกรมออนไลน์ผ่าน www.royin.go.th และเร็วๆ นี้จะนำแนวคิดพัฒนาข้อมูลของพจนานุกรมฉบับต่างๆ ของราชบัณฑิตยสถานมาจัดทำเป็นพจนานุกรมออนไลน์ เช่น พจนานุกรมคำศัพท์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พจนานุกรมเศรษฐกิจ
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า การทำพจนานุกรมรวบรวมคำศัพท์ที่วัยรุ่นนิยมใช้กว่า 800 คำของราชบัณฑิตยสถานนั้น หากไม่ได้นำไปใช้อย่างแพร่หลายก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อเป็นหนังสืออ้างอิง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบโครงการรณรงค์ ปี 2550 เป็นปีภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ขอสนับสนุนให้ราชบัณฑิตยสถานรวบรวมคำศัพท์ในพจนานุกร มแต่ละฉบับที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำขึ้น มาดาวน์โหลดเป็นข้อมูลพจนานุกรมออนไลน์ผ่านเวบไซต์ และจัดทำเป็นแผ่นวีซีดีเผยแพร่ จะช่วยรณรงค์ให้นักเรียน นักศึกษาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
นายกิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ หรือ ครูลิลลี่ ซึ่งเป็นครูสอนภาษาไทยขวัญใจวัยรุ่น กล่าวว่า การที่ราชบัณฑิตยสถานจะนำข้อมูลคำศัพท์ทางการและวัยร ุ่นบรรจุลงอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมในกลุ ่มวัยรุ่นมากที่สุด ไม่อยากให้มองคำสแลงว่าเป็นภาษาที่ไม่ดี เพราะภาษาสแลงก็ใช้อยู่ในสังคมไทย
ทั้งนี้ คุณหญิงไขศรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนร าชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาภาษาและวรรณคดีไทย เนื่องจากวรรณคดีไทยถือเป็นสมบัติวัฒนธรรมทรงคุณค่าท ี่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกส ินทร์ ซึ่งพระองค์ทรงห่วงว่าคำภาษาและวรรณคดีโบราณที่มีมาต ั้งแต่สมัยสุโขทัยจะสูญหาย มูลนิธิสมเด็จพระเทพฯ จึงจัดทำโครงการนามานุกรมวรรณคดีไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา โดยพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดพิมพ์นามานุกรมวรรณคด ีไทยขึ้น 3 ชุด ได้แก่ 1.ชื่อวรรณคดี 2.ชื่อผู้แต่ง และ 3.ชื่อตัวละคร ชื่อสถานที่ และชื่อปกิณกะ
ทั้งนี้ มูลนิธิจัดพิมพ์หนังสือนามานุกรมวรรณคดีไทยชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี เสร็จแล้ว 5,000 เล่ม โดยได้รวบรวมชื่อวรรณคดีไทย ทั้งวรรณคดีราชสำนัก วรรณคดีท้องถิ่น ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กว่า 500 เรื่อง มาจัดทำคำอธิบายคำศัพท์เฉพาะวรรณคดีหายาก เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระอภัยมณี พระลอ กำสรวลสมุทร กากี แก้วหน้าม้า ขุนช้างขุนแผน เงาะป่า จันทะโครบ จินดามณี ไตรภูมิพระร่วง และมีเรื่องย่อไว้ด้วย แต่ไม่ได้รวมผลงานวรรณคดีในรัชกาลที่ 6 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบจัดพิมพ์จากบริษัท จีอี มันนี่ ประเทศไทย หาซื้อได้ที่กองงานในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำหน่ายเล่มละ 700 บาท หรือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และร้านหนังสือชั้นนำ
โดย คม ชัด ลึก วัน ศุกร์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:17 น.
ราชบัณฑิตฯ ทำ "พจนานุกรมคำใหม่" รวมกว่า 1,000 คำ ทั้งคำใหม่-คำสแลง-ศัพท์วัยโจ๋ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม สมเด็จพระเทพฯ" ทรงห่วงวรรณคดีไทยยุคสุโขทัย-รัชกาลที่ 5 สูญหาย
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ราชบัณฑิตยสถาน ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน แถลงข่าวจัดทำ "พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน" ร่วมกับ ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมภาษาไ ทยปัจจุบัน และนางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ว่า ราชบัณฑิตยสถานกำลังจัดทำ "พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราช บัณฑิตยสถาน" เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำที่ไม่ได้บรรจุไว้ในพจนานุก รม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งมีทั้งคำใหม่ คำสแลง หรือสำนวน ที่ใช้จนติดปาก ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งคำที่เคยบรรจุไว้ในพจนานุกร ฉบับมาตรฐานแล้ว แต่ปัจจุบันใช้ในความหมายที่แตกต่างออกไป จะนำมาบรรจุไว้ในพจนานุกรมคำใหม่ พร้อมให้ความหมายใหม่
ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่จัดทำพจนานุกรมคำใหม่ขึ้นมา เพราะภาษาไทยมีคำใหม่ วลีใหม่ เกิดขึ้นทุกวัน คำที่ใช้อยู่เป็นปกติอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ ขยายความหมาย หรือใช้ในความหมายที่ผิดแผกแตกต่างจากเดิม เช่น คำว่า "กระหึ่ม" เดิมมีความหมายแค่เสียงดัง ก็ขยายความหมายไปถึงชื่อเสียงโด่งดัง หรือคำที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น "เด็กซิ่ล" หรือ "เด็กซิ่ว" มีที่มาจากคำว่า fossil ในภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ การแก้ไขปรับปรุงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานยังไม่ส ามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงตั้งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมภาษาไ ทยปัจจุบันขึ้นเมื่อปี 2548 มี ศ.ดร.กาญจนา เป็นประธาน มาศึกษาเก็บคำที่เกิดใหม่ หรือคำที่เปลี่ยนแปลงความหมาย แล้วรวบรวมจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ขณะนี้คณะกรรมการได้รวบรวมคำใหม่ พร้อมให้ความหมาย และตัวอย่างการใช้คำ ที่มาของคำได้แล้วประมาณ 1,000 คำ เตรียมจัดพิมพ์เผยแพร่ในปลายปีนี้
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวว่า ขอบเขตการเก็บคำศัพท์ใหม่แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.คำที่เกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากปรากฏการณ์ใหม่ สิ่งที่เป็นที่รู้จักใหม่ๆ เช่น ไข้หวัดนก อัลไซเมอร์ สึนามิ เด็กแว้นซ์ จอแบน หวยออนไลน์ เศรษฐกิจฟอง สบู่ การเมืองธนกิจ กาวใจ สปา องค์กรอิสระ
2.คำที่มีอยู่แล้วแต่มีการใช้ในความหมายใหม่ เช่น แห้ว กลับลำ ไขก๊อก จัดฉาก เหยี่ยวข่าว เว้นวรรค กระบอกเสียง ฟองสบู่แตก ใส่เกียร์ว่าง 3.คำที่มีการขยายคำใหม่ เช่น ขำ-ขำกลิ้ง ขำแตก เมา-เมาปลิ้น แหง-แหงแก๋ 4.คำที่พจนานุกรมเก็บไว้แล้ว แต่ขาดตัวอย่างการใช้ ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจนพอ เช่น หักคอ เพลียใจ
5.สำนวนหรือวิธีการเปรียบเทียบที่ยังไม่ได้เก็บไว้ใน พจนานุกรมฉบับ มาตรฐาน เช่น น้ำผึ้งพระจันทร์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้นานกว่า 10 ปีแล้ว ดาวค้างฟ้า กระทบไหล่ กรวดในรองเท้า กระโปรงบานขาสั้น ล้วงลูก สะกิดต่อมฮา ลมบ่จอย นกน้อยในไร่ส้ม 6.สำนวนที่มีความหมายใหม่ เช่น เล่นจ้ำจี้ จ้าวโลก เจ้าจำปี 7.คำเลียนเสียง คำแสดงท่าทาง หรืออารมณ์ เช่น หวือ หวา อึมครึม อึ้งกิมกี่ เสียว
8.คำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันมาก เช่น อัลบั้ม โกอินเตอร์ คาราโอเกะ โค้ช รับจ๊อบ ดีทอกซ์ เมาส์ จัมโบ้ และคำที่ยืมภาษาจีน เช่น โละ อั่งเปา ล่องจุ๊น 9. คำเก่า คำธรรมดา คำหลงที่ยังไม่ได้เก็บในพจนานุกรมฉบับ พ.ศ.2542 เช่น กันเหนียว ข้ามชาติ เสือปืนไว และ 10.คำวัยรุ่น คำภาษาปาก ซึ่งมีความหมายและมาจากที่ต่างๆ เช่น เฝ่ย นิ้ง ตึ๋งหนืด ตึ้บ ตุ๋ย ติงต๊อง
"พจนานุกรมคำใหม่แบ่ง 3 หมวดใหญ่ๆ คือ 1.คำที่มีอยู่แล้วในพจนานุกรมฉบับมาตรฐาน แต่ปัจจุบันเกิดความหมายใหม่เพิ่มขึ้น กลุ่มนี้จะมีประมาณ 50% 2. คำหรือวลีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะศัพท์วัยรุ่น หรือศัพท์ตามกระแสใหม่ ประมาณ 30% อีก 20% ที่เหลือเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางส ังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือเทคโนโลยีใหม่" ศ.ดร.กาญจนา กล่าว
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวอีกว่า คำที่จะมาบรรจุในพจนานุกรมคำใหม่นั้น รวบรวมจากหลายแหล่ง รวมทั้งคำที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และรวบรวมคำที่นิยมใช้กันในหมู่วัยรุ่นด้วย แต่พจนานุกรมคำใหม่ฉบับแรกอาจไม่สมบูรณ์ เพราะภาษาไทยมีคำใหม่ หรือคำเปลี่ยนความหมายเกิดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากจัดพิมพ์ฉบับแรกไปแล้ว ทุกๆ 2 ปีจะชำระจัดพิมพ์ครั้งใหม่
ศ.ดร.กาญจนา กล่าวด้วยว่า ส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการจัดทำพจนานุกรมคำใหม่ว่า คำสแลง คำที่มีความหมายโดยนัย ไม่ควรจัดทำเป็นพจนานุกรม เพราะไม่ใช่ภาษามาตรฐาน ใช้อย่างเป็นทางการนั้น เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะพจนานุกรมคือหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงตามต ัวอักษร เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้า หาความหมาย วิธีการใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ยังมีคำสแลงอยู่ประมาณ 400 คำ หากไม่รวบรวมคำที่ใช้กันติดปากในปัจจุบันไว้ ผ่านไป 30-40 ปี คำเหล่านี้อาจหายไปจากการใช้ คนรุ่นหลังจะอ่านเอกสารที่มีคำภาษาปากปะปนอยู่ไม่เข้ าใจ เพราะไม่รู้ความหมายของคำ และไม่มีพจนานุกรมให้ค้นคว้าหาความหมาย จึงต้องบันทึกคำและความหมายของคำทุกประเภทในแต่ละยุค ไว้
"ราชบัณฑิตยสถานยังจัดทำพจนานุกรมคำโบราณอีกฉบับหนึ่ง โดยแปลความหมายคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเก่า จะพิมพ์ภายในปีนี้ แต่ยังมีปัญหารวบรวมความหมายของคำที่ใช้ในวงการสื่อส ารมวลชน จึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยให้ที่มาของความหมาย เช่น คำว่า เต้าข่าว" ศ.ดร.กาญจนา กล่าว
นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานร่วมมือกับบริษัท สนุกออนไลน์ จำกัด ซึ่งจัดทำเวบไซต์ sanook.com จัดทำโครงการรู้รักภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ความหมายของคำ ศัพท์และการออกเสียงที่ถูกต้องผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยร่วมมือกับ www.sanook.com ซึ่งเป็นเวบไซต์เข้าถึงวัยรุ่นมากกว่าเวบไซต์ของราชบ ัณฑิตยสถาน www.royin.go.th
ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการรณรงค์อนุรักษ์ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคม ราชบัณฑิตยสถานเตรียมจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถ าน พ.ศ.2542 เป็นพจนานุกรมรูปแบบออนไลน์บรรจุคำศัพท์ที่ใช้เป็นทา งการกว่า 4 หมื่นคำ ผ่านเวบไซต์ www.sanook.com และเชื่อมโยงมาค้นคว้าที่เวบไซต์ราชบัณฑิตยสถาน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และกำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับกา รค้นหาความหมายของพจนานุกรมออนไลน์ และสารานุกรมออนไลน์ผ่าน www.royin.go.th และเร็วๆ นี้จะนำแนวคิดพัฒนาข้อมูลของพจนานุกรมฉบับต่างๆ ของราชบัณฑิตยสถานมาจัดทำเป็นพจนานุกรมออนไลน์ เช่น พจนานุกรมคำศัพท์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พจนานุกรมเศรษฐกิจ
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า การทำพจนานุกรมรวบรวมคำศัพท์ที่วัยรุ่นนิยมใช้กว่า 800 คำของราชบัณฑิตยสถานนั้น หากไม่ได้นำไปใช้อย่างแพร่หลายก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อเป็นหนังสืออ้างอิง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบโครงการรณรงค์ ปี 2550 เป็นปีภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ขอสนับสนุนให้ราชบัณฑิตยสถานรวบรวมคำศัพท์ในพจนานุกร มแต่ละฉบับที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำขึ้น มาดาวน์โหลดเป็นข้อมูลพจนานุกรมออนไลน์ผ่านเวบไซต์ และจัดทำเป็นแผ่นวีซีดีเผยแพร่ จะช่วยรณรงค์ให้นักเรียน นักศึกษาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
นายกิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ หรือ ครูลิลลี่ ซึ่งเป็นครูสอนภาษาไทยขวัญใจวัยรุ่น กล่าวว่า การที่ราชบัณฑิตยสถานจะนำข้อมูลคำศัพท์ทางการและวัยร ุ่นบรรจุลงอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมในกลุ ่มวัยรุ่นมากที่สุด ไม่อยากให้มองคำสแลงว่าเป็นภาษาที่ไม่ดี เพราะภาษาสแลงก็ใช้อยู่ในสังคมไทย
ทั้งนี้ คุณหญิงไขศรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนร าชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาภาษาและวรรณคดีไทย เนื่องจากวรรณคดีไทยถือเป็นสมบัติวัฒนธรรมทรงคุณค่าท ี่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกส ินทร์ ซึ่งพระองค์ทรงห่วงว่าคำภาษาและวรรณคดีโบราณที่มีมาต ั้งแต่สมัยสุโขทัยจะสูญหาย มูลนิธิสมเด็จพระเทพฯ จึงจัดทำโครงการนามานุกรมวรรณคดีไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา โดยพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดพิมพ์นามานุกรมวรรณคด ีไทยขึ้น 3 ชุด ได้แก่ 1.ชื่อวรรณคดี 2.ชื่อผู้แต่ง และ 3.ชื่อตัวละคร ชื่อสถานที่ และชื่อปกิณกะ
ทั้งนี้ มูลนิธิจัดพิมพ์หนังสือนามานุกรมวรรณคดีไทยชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี เสร็จแล้ว 5,000 เล่ม โดยได้รวบรวมชื่อวรรณคดีไทย ทั้งวรรณคดีราชสำนัก วรรณคดีท้องถิ่น ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กว่า 500 เรื่อง มาจัดทำคำอธิบายคำศัพท์เฉพาะวรรณคดีหายาก เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระอภัยมณี พระลอ กำสรวลสมุทร กากี แก้วหน้าม้า ขุนช้างขุนแผน เงาะป่า จันทะโครบ จินดามณี ไตรภูมิพระร่วง และมีเรื่องย่อไว้ด้วย แต่ไม่ได้รวมผลงานวรรณคดีในรัชกาลที่ 6 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบจัดพิมพ์จากบริษัท จีอี มันนี่ ประเทศไทย หาซื้อได้ที่กองงานในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำหน่ายเล่มละ 700 บาท หรือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และร้านหนังสือชั้นนำ