Saturday 6 October 2007

อีกนานกว่าประเทศจะพัฒนา

อีกนานกว่าประเทศจะพัฒนา
>
>
> สัปดาห์ที่ผ่านมาผมถูกรุ่นน้องขอร้องให้ไปบรรยายกะทันหันวันรุ่งขึ้นเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เบื้อง
> ต้นที่ศูนย์ฝึกอบรมของหน่วยราชการ
> เพราะวิทยากรซึ่งก็คือสามีของเธอป่วยกะทันหัน
>
> เธอให้ข้อมูลว่าผู้เข้ารับการอบรมชุดนี้เป็นข้าราชการที่ถูกบังคับให้มาอบรมเพราะไม่ผ่านการ
> ประเมินความรู้ด้านสารสนเทศ
> บางคน ซีแปด ซีเก้าแต่มีแนวคิดศักดินา
> เห็นเอกชนคนไม่มียศเป็นบริวารไปหมด ขอให้ผมอดทน
> บรรยายให้จบตามหัวข้อ อย่าโต้ตอบ
>
> ผมรับปากเมื่อไปถึงห้องบรรยายผมก็เริ่มเข้าใจคำพูดของรุ่นน้องแต่ละคนคุยกันอื้ออึงขณะผมแนะ
> นำตัว
>
> ชายคนหนึ่งพูดเสียงดังให้ผมสอนวิธีแชตหาคู่
> การดูคลิปวิดิโอและเว็บไซต์โป๊ หลายคนหัวเราะ
> สนับสนุน ผมต้องตะล่อมให้เข้าสู่บทเรียนว่า
> "ได้ครับ แต่ต้องหัดเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน จึงจะเข้าไปดูได้"
> ได้ผล ทุกคนเริ่มหาปุ่มเปิดเครื่อง และความโกลาหลก็เริ่ม
> เพราะวิธีเปิดปิดของเครื่องแต่ละรุ่น
> ไม่เหมือนกัน
> และที่น่าเวียนหัวที่สุดคือ ทำทุกอย่างแต่เครื่องไม่ทำงาน
> หาอยู่นานจึงพบว่าปลั๊กไม่ได้เสียบแค่
> เปิดครบทุกเครื่องก็ถึงเวลาพักทานกาแฟแล้วหลัง
> หมดเวลาพักผู้เข้าอบรมก็ยังยืนสูบบุหรี่หรือจับกลุ่มคุยกัน
> ผมต้องประกาศผ่านไมค์เชิญ­เข้าห้อง บางคนมองด้วยความไม่พอใจ
> ผมชี้แจงว่าต้องรีบสอน
> "เพราะยังมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้
> เช่น มอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ โมเด็ม ยูพีเอส..."
>
> คุณพี่ผู้ห ญ­ิงคนหนึ่งพูดแทรกขึ้นมาว่า
> " ขอโทษนะคะ ตามระเบียบสำนักนายกฯ เวลาพิมพ์เอกสารราชการต้องใช้ภาษาไทย
> ช่วยแปลไอ้เตอร์ๆ เด็มๆ อะไรของคุณให้เป็นคำไทยหน่อยได้ไหมคะ
> จะได้ก่อประโยชน์กับการ
> ทำงานบ้าง..."
> มีเสียงลอยมาตามลดให้ได้ยินจากท้ายห้องว่า
> เด็กสมัยนี้ ติดไทยคำฝรั่งคำอยากให้รู้ว่าจบนอกผมฉุนกึก สูดหายใจยาว
> "ได้ครับ งั้นเอาใหม่ เรารู้วิธีเปิดเครื่องคณิตกรณ์แล้ว
> บางเครื่องอาจเป็นคณิตกรณ์ส่วนบุคคล
> บางเครื่องเป็นคณิตกรณ์วางตัก แต่ไม่ว่าอย่างไรมันจะทำงานไม่ได้
> ถ้าขาดชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการและ ชุดคำสั่งประยุกต์อื่นๆ ประการต่อมา
> คณิตกรณ์จะต้องมีครุ
> ภัณฑ์ต่อพ่วง ซึ่งทำหน้าที่หลักสองรูปแบบ คือ
> นำเข้าข้อมูลไปส่งหน่วยประมวลผลกลาง
> กับนำข้อมูลที่ประมวลแล้วมาแสดงให้เราดู"ผมชี้ไปที่จอภาพ
> "นี่คือเครื่องเฝ้าสังเกตซึ่งอาจหนาเทอะทะแบบจอโทรทัศน์
> หรือเป็นจอภาพผลึกเหลวที่ให้ความคมชัดกว่า
> ส่วนครุภัณฑ์ต่อพ่วงที่นำเข้าข้อมูลไปให้หน่วยประมวลผลกลาง
> อาจอยู่ในรูปหน่วยขับ ก และหน่วย
> ขับ ข
> ซึ่งสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในแผ่นบันทึกชนิดอ่อนปวกเปียก (
> floppy ) หรือในจาน
> บันทึกแบบแข็งที่หน่วยขับ
> อุปกรณ์นำเข้าและส่งออกข้อมูล ยังมีในรูปแบบอืนๆอีก เช่น เครื่องกราดภาพ
> ตัวกล้ำและแยกสั
> ­­ญญาณ โทรภาพ แต่ที่ขาดไม่ได้เลย คือสิ่งนี้
> ผมยกคีย์บอร์ดขึ้นมา
> "แผงแป้นอักขระซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคั ­ที่สุดที่เราจะป้อนชุดคำสั่งเข้าสู่เครื่อง
> คณิตกรณ์
> จะเห็นว่าบนแผงแป้นอักขระจะมีกระดุมหรือ
> ปุ่มอักขระมากมายมีทั้งที่คุ้นเคยกันดี เช่น มหัพภาค
> อัฒภาค ทวิภาค วิภัชภาคยัติภังค์ ปรัศนี อัศเจรีย์
> เสมอภาค สั­ญประกาศ ทีฆสั­­ า กับที่ยังไม่ได้บั­­ัญญัติศัพท์ เช่น
> กระดุมสอดแทรก กระดุม
> เข้าไป กระดุมหลบหนี กระดุมอวกาศถอยหลัง หรือ backspace..."
>
> วันนั้นไม่มีใครได้ดูคลิปวิดีโอ
> ต่อมาผมได้รับผลการประเมินการสอนว่า
> "ไม่น่าพอใจ และพูดภาษาไทย แต่ไม่รู้เรื่อง"
>