Monday, 1 October 2007
เทคนิคการหางานทำ
สำหรับท่านที่ได้ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์ไปแล้ว ก็
เปรียบเสมือนนาทีทองของคุณได้จบไปแล้ว ในช่วงนี้จะ
เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยการตัดสินใจจากทางหน่วย
งานว่า เขาจะพิจารณาคัดเลือกคุณเข้าทำงานกับเขาหรือ
ไม่
ในช่วงแห่งการนั่งรอคอยนี้ คุณอาจจะอยากทราบว่านาย
จ้างเขาใช้มาตรการอะไรมาเป็นเครื่องตัดสินว่า ควรจะ
เลือกใครที่มีความเหมาะสมที่สุดเข้าทำงาน เพื่อประโยชน์
ในการปรับปรุงตัวของคุณให้เขากับความต้องการของเขา
มากขึ้น หัวข้อประเมินมีดังต่างๆ กัน ดังนี้
แนวทางประเมินผู้สมัครงาน
บริษัทแต่ละแห่งอาจมีวิธีประเมินผู้สมัครงานต่างกันออก
ไป บางหน่วยงานก็ประเมินผู้สมัครตามหัวข้อสั้นๆ ท่อท้าย
แบบฟอร์มการสมัครงาน โดยใช้วิธีให้คะแนนจาก 1 ถึง
10 (ให้ 10 แทนคะแนนความเห็นว่า "ดีเลิศ" และ 1
แทน "ไม่ดี") แต่บางบริษัทก็ให้คะแนนเป็น A B C D E
และมีช่องแสดงความคิดเห็นว่าควรจ้างหรือไม่
ในกรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคน ก็อาจจะใช้วิธีรวมคะแนน
จากผู้สัมภาษณ์ทุกๆ คนในแต่ละหัวข้อเป็นคะแนนรวมของ
ผู้สมัครแต่ละคน เพื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นได้
การประเมินความประทับใจ
นับตั้งแต่พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด และพฤติกรรมที่เป็นคำ
พูดในลักษณะต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่ควรหรือไม่ควรพูดในช่วง
การสัมภาษณ์ ซึ่งจะถูกสรุปรวมเข้าเป็นลักษณะทาง
บุคลิกภาพต่างๆ ของคุณ
ดังนั้น เมื่อสังเกตให้ดี คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทุก
บทที่เขียนมาตั้งแต่ต้น ได้พยายามเตรียมพร้อมให้คุณ
เพื่อให้ผ่านการสัมภาษณ์อย่างพร้อมที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
ทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ถ้าคุณทำ "การบ้าน" ทุกขั้น
ตอน คุณจะไม่ประสบความลำบากใจในการถูกประเมิน
จากผู้สัมภาษณ์เลย
อย่างไรก็ตาม ก็อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า เราคงไม่
สามารถรับประกันคุณได้ 100% ว่าถ้าทำตามทุกขั้นตอน
แล้วคุณจะได้งาน เพราะมีตัวแปรแทรกซ้อนมาเกี่ยวข้อง
ด้วยมากมายเหลือเกิน ตัวอย่างเช่น อคติจากผู้สัมภาษณ์
เอง
ในข้อนี้หมายความว่า คุณต้องเข้าใจว่าผู้สัมภาษณ์ก็ยัง
เป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีกิเลศ ตัณหา อุปาทาน ดังนั้น เมื่อ
เขาเห็นหน้าตาตื่นๆ และวิตกกังวลสูงของคุณ หรือเผอิญดู
หน้าตาของคุณแล้วเหมือนศัตรูคู่แค้นเก่าของเขา เขาก็
อาจจะเกิดความไม่ประทับใจขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ
อย่างนี้ทางจิตวิทยา เรียกว่า Halo Effect คือพอเห็นหน้า
ใคร เราก็อาจเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบขึ้นมาได้
โดยที่คนๆ คนนั้นยังไม่ทันได้พูดอะไรเลย เป็นต้น ซึ่งถ้า
เขาเกิดรู้สึกไม่ชอบคุณขึ้นมาเช่นนี้ ก็คงช่วยอะไรไม่ได้
ไม่ว่าคุณจะตอบอะไรให้มันเลิศลอยสักเพียงใดก็ตาม ถ้า
เป็นกรณีนี้ก็ถือเสียว่าเป็นกรรมเก่าก็แล้วกัน และตั้งหน้า
ตั้งตาหางานใหม่ต่อไป
สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ เขามีคนของเขาอยู่เรียบร้อย
แล้ว การสัมภาษณ์คุณหรือผู้สมัครคนอื่นๆ เป็นเพียงเกม
ชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เขาย่อมจะต้องให้
คะแนน "เด็ก" ของเขาสูงกว่าคุณยังค่ำ
การไม่ได้งานของคุณทั้ง 2 กรณีที่กล่าวมาแล้ว จึงไม่ใช้
เป็นความผิดพลาดอะไรจากตัวคุณเลย แต่เป็นเรื่อง
ของ "ฟ้าลิขิต" มากกว่า และคุณก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่
จะ "โวย" อะไรได้ด้วย จัดเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้จริงๆ
แต่ถ้าการไม่ได้งาน เกิดจากการตกสัมภาษณ์หรือมี
สาเหตุมาจากตัวคุณเอง อาจจะหมายความว่า คุณมี
ลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมาะสมที่จะรับตำแหน่งนั้นๆ ก็
ได้ ในช่วงนี้ จึงอยากขอให้คุณมาพิจารณาดูเหตุผลใน
การตกสัมภาษณ์ที่ผู้รู้ทั้งหลายได้รวบรวมไว้ ดังนี้
เหตุผลที่ตกสัมภาษณ์
1. พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด
1. แต่งกายสกปรก ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมและ
รกรุงรัง
2. หลุกหลิก ไม่มีสัมมาคารวะ
3. ท่าทางจะยืนนิ่ง ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล
ลุกลี้ลุกลน
4. ไม่กล้าสบสายตาผู้สัมภาษณ์ มือไม้สั่นไป
หมด
5. ดูห่อเหี่ยว เฉื่อยชา ขาดชีวิตจิตใจ เซื่องซึม
6. ระหว่างการสัมภาษณ์ แสดงกิริยาน่ารังเกียจ
เช่น ถ่มน้ำลาย สูบบุหรี่จัด
7. วางท่ามากเกินไป หรือดูคล้ายสำรวย
เหยียดผู้อื่น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคงจะเข้ากับเพื่อนร่วม
งานได้ลำบาก
2. พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
1. อ้ำอึ้ง ขาดการเตรียมตัว แม้กระทั่งเรื่องของ
ตัวเองก็ยังเล่าไม่ได้หรือเล่าสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก
2. ต่อปากต่อคำโต้แย้งกับผู้สัมภาษณ์ ขาด
เหตุผลและใช้อารมณ์
3. พูดมากไป พูดไม่หยุดเกี่ยวกับตนเอง และ
โอ้อวดเกินไป
4. ซักถามเรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งไม่
เกี่ยวกับงานเลย หรือสนใจถามเกี่ยวกับสวัสดิการมากว่า
เรื่องงาน
5. พูดไปหัวเราะไป เส้นตื้นทุกเรื่อง
6. ขาดจุดยืน ใครจะพูดอะไรก็เห็นด้วยกับเขา
ไปเสียหมด เหมือนเป็นคนไม่มีความคิดริเริ่มของตัวเอง
7. พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว ภาษาที่ใช้ไม่เหมาะ
สม พูดไปสบถไปหรือสลับด้วยการด่าทอเป็นระยะ
8. ตอบคำถามไม่กระจ่าง ไม่ตรงจุด และพูดไม่
รู้เรื่อง วกวน
9. เล่าแต่ปัญหาของตนเอง และขอความเห็นใจ
ในลักษณะต่างๆ
10. ขอค่าจ้างแพงลิ่ว
11. พูดคล้ายไม่ให้ความสำคัญในการสัมภาษณ์
งาน ประเภทมาลองดูเล่นๆ
12. ขาดไหวพริบ ปฏิภาณ ไม่รู้ว่าสิ่งใดควรหรือ
ไม่ควร เช่นไปบอกเขาว่า สมัครที่ไหนก็ตกสัมภาษณ์
ทุกที จะมาทำงานเพียงชั่วคราว หรือพ่อบังคับให้มาสมัคร
งานที่นี่
13. แสดงความคิดเห็นรุนแรง เช่น จะเปลี่ยน
หรือต่อต้านระบบเก่าๆ
3. ขาดความรู้ในด้านต่างๆ
1. ขาดความรู้เกี่ยวกับตัวเอง ไม่รู้จุดเด่น ความ
สามารถ ฯลฯ เขาถามอะไรก็ตอบไม่ถูก
2. ขาดจุดมุ่งหมายของชีวิตหรืออาชีพ แสดง
ลักษณะคล้ายปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม
3. ขาดความรู้เกี่ยวกับบริษัท ไม่รู้บริษัททำ
อะไร หรือต้องการสมัครตำแหน่งใด ปรัชญาหรือจุดยืน
ของบริษัทเป็นอย่างไร
4. ขาดความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่ควรรู้ หรือมี
ความรู้ไม่แน่นพอ เช่น จบบัญชี แต่พอเขาถามเกี่ยวกับ
บัญชีก็ตอบไม่ถูก
5. ขาดความเป็นผู้ใหญ่ หวั่นไหวง่าย กระทบ
อะไรนิดหน่อยก็ไม่ได้ พร้อมที่จะแตกสลายทุกเมื่อ ทำ
ให้เกิดความรู้สึกว่าจะรับเหตุการณ์กดดันอะไรจากหน้าที่
การงานลำบาก
4. ข้อปลีกย่อยอื่นๆ เช่น
1. นิสัย (ไม่ดี) บางประการ เช่น รักความสนุกสนาน
ไม่สู้งาน ชอบเที่ยวมากว่าทำงาน แสดงความเป็นคน
ฟุ่มเฟือย
2. พื้นฐานของครอบครัว มีปัญหามากกับทางบ้าน
3. ผลการเรียนอ่อนมาก ทำให้อาจมองไปได้ว่าไม่ฉลาด
นัก สอนงานคงลำบาก ฯลฯ
หลังจากอ่านจบแล้ว ถ้าคุณมีความรู้สึกหลายข้อเหลือ
เกิน ก็อย่าเพิ่งท้อใจ ได้บอกแล้วไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า คน
เรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์ ถ้าคุณมีทุกอย่างครบตามที่กล่าว
ถึง ก็คงไม่ต้องมาอ่านหนังสือเล่มนี้
การที่รู้ว่าตัวเองมีข้อบกพร่องอยู่นั้น นับเป็นสิ่งที่ดีเพราะ
คุณจะได้ขวนขวายปรับปรุงตัวเองเสียใหม่เพื่อให้สมบูรณ์
ขึ้นกว่าเดิม แทบทุกข้อที่ได้กล่าวถึง ล้วนเป็นสิ่งที่คุณ
แก้ไขได้เองทั้งสิ้น เช่น
- ถ้าขาดการเตรียมตัว ไม่รู้จักตัวเองหรือหน่วย
งาน คุณก็สามารถแก้ไขได้ (ขอให้กลับไปอ่านบทเก่าๆ
ที่ผ่านมา)
- กิริยามารยาทตั้งแต่เรื่องภาษา ร่างกาย การ
ใช้คำพูดก็ให้ระวังไว้ (โปรดอ่านในเรื่องการเตรียมตัวก่อน
สัมภาษณ์)
- ความรู้ด้านเนื้อหาวิชา หรือความรู้รอบตัวก็
ควรมีการเตรียมตัว ถ้าไม่รู้ก็ไปขวนขวายหามา ซึ่งไม่น่า
จะเหลือบ่ากว่าแรงคุณไม่ใช่ไหม?
- ถ้าใจจิตใจมีแต่ความประหม่ากลัวจะตอบผิด
ตอบถูก วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ลองให้เพื่อนหรือใครก็
ได้ที่รู้จัก ถามคุณด้วยคำถามที่ให้ในบทสัมภาษณ์ เพื่อ
ให้คุณเกิดความรู้สึกเคยชินกับการสัมภาษณ์มากขึ้น และ
เมื่อทำเสร็จแล้วลองให้เขาประเมินคุณดูว่า ในสายตาของ
เขานั้น คุณ "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" ในข้อใด เมื่อรู้แล้วก็
จะได้ปรับปรุงตัวเองในข้อนั้นให้ดียิ่งขึ้น
เท่าที่ได้กล่าวมาก็เป็นสิ่งที่คุณได้ทราบแล้วว่า บุคลิก
ลักษณะอย่างไรที่นายจ้างเขาไม่พึงปรารถนา และทำให้
คุณไม่ผ่านสัมภาษณ์ ต่อไปนี้คุณก็ควรจะรู้บ้างถึงลักษณะ
ของคนประเภทใดที่ทางหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทาง
ราชการ ธุรกิจเอกชนเขาปรารถนา
เปรียบเสมือนนาทีทองของคุณได้จบไปแล้ว ในช่วงนี้จะ
เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอยการตัดสินใจจากทางหน่วย
งานว่า เขาจะพิจารณาคัดเลือกคุณเข้าทำงานกับเขาหรือ
ไม่
ในช่วงแห่งการนั่งรอคอยนี้ คุณอาจจะอยากทราบว่านาย
จ้างเขาใช้มาตรการอะไรมาเป็นเครื่องตัดสินว่า ควรจะ
เลือกใครที่มีความเหมาะสมที่สุดเข้าทำงาน เพื่อประโยชน์
ในการปรับปรุงตัวของคุณให้เขากับความต้องการของเขา
มากขึ้น หัวข้อประเมินมีดังต่างๆ กัน ดังนี้
แนวทางประเมินผู้สมัครงาน
บริษัทแต่ละแห่งอาจมีวิธีประเมินผู้สมัครงานต่างกันออก
ไป บางหน่วยงานก็ประเมินผู้สมัครตามหัวข้อสั้นๆ ท่อท้าย
แบบฟอร์มการสมัครงาน โดยใช้วิธีให้คะแนนจาก 1 ถึง
10 (ให้ 10 แทนคะแนนความเห็นว่า "ดีเลิศ" และ 1
แทน "ไม่ดี") แต่บางบริษัทก็ให้คะแนนเป็น A B C D E
และมีช่องแสดงความคิดเห็นว่าควรจ้างหรือไม่
ในกรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคน ก็อาจจะใช้วิธีรวมคะแนน
จากผู้สัมภาษณ์ทุกๆ คนในแต่ละหัวข้อเป็นคะแนนรวมของ
ผู้สมัครแต่ละคน เพื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นได้
การประเมินความประทับใจ
นับตั้งแต่พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด และพฤติกรรมที่เป็นคำ
พูดในลักษณะต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่ควรหรือไม่ควรพูดในช่วง
การสัมภาษณ์ ซึ่งจะถูกสรุปรวมเข้าเป็นลักษณะทาง
บุคลิกภาพต่างๆ ของคุณ
ดังนั้น เมื่อสังเกตให้ดี คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทุก
บทที่เขียนมาตั้งแต่ต้น ได้พยายามเตรียมพร้อมให้คุณ
เพื่อให้ผ่านการสัมภาษณ์อย่างพร้อมที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
ทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ถ้าคุณทำ "การบ้าน" ทุกขั้น
ตอน คุณจะไม่ประสบความลำบากใจในการถูกประเมิน
จากผู้สัมภาษณ์เลย
อย่างไรก็ตาม ก็อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า เราคงไม่
สามารถรับประกันคุณได้ 100% ว่าถ้าทำตามทุกขั้นตอน
แล้วคุณจะได้งาน เพราะมีตัวแปรแทรกซ้อนมาเกี่ยวข้อง
ด้วยมากมายเหลือเกิน ตัวอย่างเช่น อคติจากผู้สัมภาษณ์
เอง
ในข้อนี้หมายความว่า คุณต้องเข้าใจว่าผู้สัมภาษณ์ก็ยัง
เป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีกิเลศ ตัณหา อุปาทาน ดังนั้น เมื่อ
เขาเห็นหน้าตาตื่นๆ และวิตกกังวลสูงของคุณ หรือเผอิญดู
หน้าตาของคุณแล้วเหมือนศัตรูคู่แค้นเก่าของเขา เขาก็
อาจจะเกิดความไม่ประทับใจขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ
อย่างนี้ทางจิตวิทยา เรียกว่า Halo Effect คือพอเห็นหน้า
ใคร เราก็อาจเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบขึ้นมาได้
โดยที่คนๆ คนนั้นยังไม่ทันได้พูดอะไรเลย เป็นต้น ซึ่งถ้า
เขาเกิดรู้สึกไม่ชอบคุณขึ้นมาเช่นนี้ ก็คงช่วยอะไรไม่ได้
ไม่ว่าคุณจะตอบอะไรให้มันเลิศลอยสักเพียงใดก็ตาม ถ้า
เป็นกรณีนี้ก็ถือเสียว่าเป็นกรรมเก่าก็แล้วกัน และตั้งหน้า
ตั้งตาหางานใหม่ต่อไป
สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ เขามีคนของเขาอยู่เรียบร้อย
แล้ว การสัมภาษณ์คุณหรือผู้สมัครคนอื่นๆ เป็นเพียงเกม
ชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เขาย่อมจะต้องให้
คะแนน "เด็ก" ของเขาสูงกว่าคุณยังค่ำ
การไม่ได้งานของคุณทั้ง 2 กรณีที่กล่าวมาแล้ว จึงไม่ใช้
เป็นความผิดพลาดอะไรจากตัวคุณเลย แต่เป็นเรื่อง
ของ "ฟ้าลิขิต" มากกว่า และคุณก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่
จะ "โวย" อะไรได้ด้วย จัดเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้จริงๆ
แต่ถ้าการไม่ได้งาน เกิดจากการตกสัมภาษณ์หรือมี
สาเหตุมาจากตัวคุณเอง อาจจะหมายความว่า คุณมี
ลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมาะสมที่จะรับตำแหน่งนั้นๆ ก็
ได้ ในช่วงนี้ จึงอยากขอให้คุณมาพิจารณาดูเหตุผลใน
การตกสัมภาษณ์ที่ผู้รู้ทั้งหลายได้รวบรวมไว้ ดังนี้
เหตุผลที่ตกสัมภาษณ์
1. พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด
1. แต่งกายสกปรก ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมและ
รกรุงรัง
2. หลุกหลิก ไม่มีสัมมาคารวะ
3. ท่าทางจะยืนนิ่ง ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล
ลุกลี้ลุกลน
4. ไม่กล้าสบสายตาผู้สัมภาษณ์ มือไม้สั่นไป
หมด
5. ดูห่อเหี่ยว เฉื่อยชา ขาดชีวิตจิตใจ เซื่องซึม
6. ระหว่างการสัมภาษณ์ แสดงกิริยาน่ารังเกียจ
เช่น ถ่มน้ำลาย สูบบุหรี่จัด
7. วางท่ามากเกินไป หรือดูคล้ายสำรวย
เหยียดผู้อื่น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคงจะเข้ากับเพื่อนร่วม
งานได้ลำบาก
2. พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
1. อ้ำอึ้ง ขาดการเตรียมตัว แม้กระทั่งเรื่องของ
ตัวเองก็ยังเล่าไม่ได้หรือเล่าสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก
2. ต่อปากต่อคำโต้แย้งกับผู้สัมภาษณ์ ขาด
เหตุผลและใช้อารมณ์
3. พูดมากไป พูดไม่หยุดเกี่ยวกับตนเอง และ
โอ้อวดเกินไป
4. ซักถามเรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งไม่
เกี่ยวกับงานเลย หรือสนใจถามเกี่ยวกับสวัสดิการมากว่า
เรื่องงาน
5. พูดไปหัวเราะไป เส้นตื้นทุกเรื่อง
6. ขาดจุดยืน ใครจะพูดอะไรก็เห็นด้วยกับเขา
ไปเสียหมด เหมือนเป็นคนไม่มีความคิดริเริ่มของตัวเอง
7. พูดจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว ภาษาที่ใช้ไม่เหมาะ
สม พูดไปสบถไปหรือสลับด้วยการด่าทอเป็นระยะ
8. ตอบคำถามไม่กระจ่าง ไม่ตรงจุด และพูดไม่
รู้เรื่อง วกวน
9. เล่าแต่ปัญหาของตนเอง และขอความเห็นใจ
ในลักษณะต่างๆ
10. ขอค่าจ้างแพงลิ่ว
11. พูดคล้ายไม่ให้ความสำคัญในการสัมภาษณ์
งาน ประเภทมาลองดูเล่นๆ
12. ขาดไหวพริบ ปฏิภาณ ไม่รู้ว่าสิ่งใดควรหรือ
ไม่ควร เช่นไปบอกเขาว่า สมัครที่ไหนก็ตกสัมภาษณ์
ทุกที จะมาทำงานเพียงชั่วคราว หรือพ่อบังคับให้มาสมัคร
งานที่นี่
13. แสดงความคิดเห็นรุนแรง เช่น จะเปลี่ยน
หรือต่อต้านระบบเก่าๆ
3. ขาดความรู้ในด้านต่างๆ
1. ขาดความรู้เกี่ยวกับตัวเอง ไม่รู้จุดเด่น ความ
สามารถ ฯลฯ เขาถามอะไรก็ตอบไม่ถูก
2. ขาดจุดมุ่งหมายของชีวิตหรืออาชีพ แสดง
ลักษณะคล้ายปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม
3. ขาดความรู้เกี่ยวกับบริษัท ไม่รู้บริษัททำ
อะไร หรือต้องการสมัครตำแหน่งใด ปรัชญาหรือจุดยืน
ของบริษัทเป็นอย่างไร
4. ขาดความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่ควรรู้ หรือมี
ความรู้ไม่แน่นพอ เช่น จบบัญชี แต่พอเขาถามเกี่ยวกับ
บัญชีก็ตอบไม่ถูก
5. ขาดความเป็นผู้ใหญ่ หวั่นไหวง่าย กระทบ
อะไรนิดหน่อยก็ไม่ได้ พร้อมที่จะแตกสลายทุกเมื่อ ทำ
ให้เกิดความรู้สึกว่าจะรับเหตุการณ์กดดันอะไรจากหน้าที่
การงานลำบาก
4. ข้อปลีกย่อยอื่นๆ เช่น
1. นิสัย (ไม่ดี) บางประการ เช่น รักความสนุกสนาน
ไม่สู้งาน ชอบเที่ยวมากว่าทำงาน แสดงความเป็นคน
ฟุ่มเฟือย
2. พื้นฐานของครอบครัว มีปัญหามากกับทางบ้าน
3. ผลการเรียนอ่อนมาก ทำให้อาจมองไปได้ว่าไม่ฉลาด
นัก สอนงานคงลำบาก ฯลฯ
หลังจากอ่านจบแล้ว ถ้าคุณมีความรู้สึกหลายข้อเหลือ
เกิน ก็อย่าเพิ่งท้อใจ ได้บอกแล้วไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า คน
เรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์ ถ้าคุณมีทุกอย่างครบตามที่กล่าว
ถึง ก็คงไม่ต้องมาอ่านหนังสือเล่มนี้
การที่รู้ว่าตัวเองมีข้อบกพร่องอยู่นั้น นับเป็นสิ่งที่ดีเพราะ
คุณจะได้ขวนขวายปรับปรุงตัวเองเสียใหม่เพื่อให้สมบูรณ์
ขึ้นกว่าเดิม แทบทุกข้อที่ได้กล่าวถึง ล้วนเป็นสิ่งที่คุณ
แก้ไขได้เองทั้งสิ้น เช่น
- ถ้าขาดการเตรียมตัว ไม่รู้จักตัวเองหรือหน่วย
งาน คุณก็สามารถแก้ไขได้ (ขอให้กลับไปอ่านบทเก่าๆ
ที่ผ่านมา)
- กิริยามารยาทตั้งแต่เรื่องภาษา ร่างกาย การ
ใช้คำพูดก็ให้ระวังไว้ (โปรดอ่านในเรื่องการเตรียมตัวก่อน
สัมภาษณ์)
- ความรู้ด้านเนื้อหาวิชา หรือความรู้รอบตัวก็
ควรมีการเตรียมตัว ถ้าไม่รู้ก็ไปขวนขวายหามา ซึ่งไม่น่า
จะเหลือบ่ากว่าแรงคุณไม่ใช่ไหม?
- ถ้าใจจิตใจมีแต่ความประหม่ากลัวจะตอบผิด
ตอบถูก วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ลองให้เพื่อนหรือใครก็
ได้ที่รู้จัก ถามคุณด้วยคำถามที่ให้ในบทสัมภาษณ์ เพื่อ
ให้คุณเกิดความรู้สึกเคยชินกับการสัมภาษณ์มากขึ้น และ
เมื่อทำเสร็จแล้วลองให้เขาประเมินคุณดูว่า ในสายตาของ
เขานั้น คุณ "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" ในข้อใด เมื่อรู้แล้วก็
จะได้ปรับปรุงตัวเองในข้อนั้นให้ดียิ่งขึ้น
เท่าที่ได้กล่าวมาก็เป็นสิ่งที่คุณได้ทราบแล้วว่า บุคลิก
ลักษณะอย่างไรที่นายจ้างเขาไม่พึงปรารถนา และทำให้
คุณไม่ผ่านสัมภาษณ์ ต่อไปนี้คุณก็ควรจะรู้บ้างถึงลักษณะ
ของคนประเภทใดที่ทางหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทาง
ราชการ ธุรกิจเอกชนเขาปรารถนา