Wednesday 10 April 2013

"โรคของหนี้สาธารณะสูง.....เป็นโรคที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวที่สุด" มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล

 







 "โรคของหนี้สาธารณะสูง.....เป็นโรคที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวที่สุด" มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล
 
 
มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล
"โรคของหนี้สาธารณะสูง.....เป็นโรคที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวที่สุด"



 
วันที่ 8 พฤศจิกายน ม.ร.ว.ปรีดิ ยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "เหลียวหลังแลหน้ามหาอุทกภัย 2554" ภายในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ครั้งที่ 35 ที่จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ. ท่าพระจันทร์
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ขึ้นเวที โดยเริ่มกล่าวถึงการเหลียวหลังเรื่องมหาอุทกภัยว่า...

ผม คงจะเหลียวหลังกลับไปเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผมอยากจะแลไปข้างหน้า ด้วยเห็นว่าเรื่องน้ำท่วมจะเป็นเรื่องเล็กน้อยทันที เมื่อกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่งซึ่งใหญ่กว่ามากในอนาคตต่อจากนี้...

เหลียว หลังเรื่องมหาอุทกภัย ข้อเท็จจริงจากการติดตามและพูดคุยกับข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็พบว่า ต้นเหตุมีอยู่ไม่กี่ประการ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนมีมากจริง ขณะที่ผู้บริหารจัดการน้ำเองก็ไม่ได้ทำการพร่องน้ำ ไม่ลดปริมาณน้ำในเขื่อนมากพอที่จะเตรียมรองรับน้ำในปริมาณที่มากขนาดนั้น ผนวกกับที่คูคลองก็ตื้นเขิน การระบายไม่ทัน โดยที่ระบบคลองรังสิตระบายน้ำได้ดี แต่เนื่องจากเราอยู่ในสมัยประชาธิปไตยอิจฉา ไม่ยอมให้น้ำเข้าพื้นที่ตนเองและต้องให้พื้นที่อื่นท่วมไปด้วย โดยที่มี ส.ส.เข้าไปร่วมด้วย เพื่อหาคะแนนเสียงตนเอง เมื่อมีนักการเมืองในพื้นที่เข้ามาด้วยก็ยิ่งยุ่ง

แต่ ที่น่าตำหนิมากที่สุด คือการไม่พร่องน้ำในเขื่อนไว้เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้ ผมไม่ได้ตำหนิข้าราชการประจำที่เขารู้อยู่แล้วว่าจะมีไต้ฝุ่นเข้ามา เป็นข้อมูลที่เขาคาดการณ์ได้ แต่บังเอิญพื้นที่ใต้เขื่อนเป็นพื้นที่นา เป็นพื้นที่เลือกตั้งในอาณัติของนักการเมืองผู้มีอิทธิพลใหญ่เหนือรัฐมนตรี เจ้าสำนัก ที่ไม่ยอมให้พื้นที่นาของตนเองเสียหาย

"เป็น การคิดแบบไม่รู้จริง จึงอั้นน้ำในเขื่อนไว้ เมื่อฝนตกสถานการณ์ก็รุนแรง น้ำท่วมสูงกว่าธรรมชาติที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นเหตุผลที่น่าช้ำใจที่สุด ผมกล้าพูดเหตุผลนี้ได้เต็มปาก เพราะไม่ว่าจะถามข้าราชการคนไหนก็ตอบตรงกันเช่นนี้ เมื่อใดก็ตามที่นักการเมืองที่มีอำนาจมาก แต่ไม่รู้จริง เห็นแก่พวกพ้อง เข้าไปยุ่งในพื้นที่ ก็จะเกิดความเสียหายแก่สังคม"

...แต่ ความเศร้าใจของนักการเมืองยังมีอีกหลายเรื่อง เพราะตัวรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่ข้าราชการในกระทรวง ได้ อีกทั้งไม่มีอำนาจเหนือนักการเมืองในพื้นที่ และยังไม่ยืดอกสู้เพื่อให้ข้าราชการในกระทรวงทำงานอย่างถูกต้องก็คงเกิดความ เสียหายต่อสังคมไปเรื่อยๆ
"น้ำ ท่วมครั้งนี้รัฐบาลไม่ได้แสดงฝีมือ ในการแก้ปัญหาได้ประทับใจเท่ากับที่รัฐบาลไทยรักไทยกู้สถานการณ์ช่วงสึนามิ ขณะที่รัฐบาลชุดนี้แก้น้ำท่วมเท่าไหร่ก็ไม่ถูกจุด กระทั่งน้ำแห้งไปเอง"

อย่าง ไรก็ตามอุทกภัยครั้งนี้ ก็ช่วยรัฐบาลไปได้หลายเรื่อง เพราะในช่วงที่น้ำท่วมหนัก รัฐบาลก็เดินหน้านโยบายประชานิยมทุกเรื่อง ทั้งนโยบายรถคันแรก บ้านหลังแรก ที่ล้วนสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ เป็นประชานิยมที่แปลก ไม่ได้ช่วยเหลือฐานราก ทั้งที่นักวิชาการ สื่อมวลชนก็พยายามแนะนำและโจมตีว่าเป็นนโยบายที่ตื้น
อีก ทั้ง นโยบายรับจำนำข้าวที่ให้ราคาสูงผิดมนุษย์ เป็นนโยบายที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติมากมาย คาดการณ์ได้เลยว่า อย่างต่ำปีละกว่าแสนล้านบาท
ใน ช่วงที่น้ำท่วมรุนแรง ทำให้กระแสความสนใจในสังคมเบี่ยงไปจากนโยบายประชานิยม รัฐบาลรับจำนำข้าวได้ 6.9 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งน้อยกว่าที่รัฐบาลตั้งใจไว้ ซึ่งผมก็รู้สึกว่า 'โชคดี' ที่ประเทศชาติจะเสียเงินน้อยลง คิดว่าพระสยามเทวาธิราชย์จะช่วยประเทศไทย แต่พอน้ำลด รัฐบาลก็เดินหน้าโครงการต่อ...

"รัฐบาล ไม่มีวิธี และไม่คิดที่จะทำนโยบายเศรษฐกิจที่ดีกว่ารถคันแรก บ้านหลังแรกและรับจำนำข้าว อีกทั้ง ยังเพิ่มมารับจำนำมันสำปะหลังและยางพาราอีกด้วย ทั้งที่ยางพาราในราคา 60-80 บาทก็นับว่าสูงแล้ว กลายเป็นนโยบายหาเสียงไปหมด จำนำทุกอย่าง รัฐบาลนี้ไม่เข้าใจ ทำอย่างไรก็ไม่เข้าใจเรื่อง 'วินัยกาคลัง' ไม่สนใจวินัยของประเทศ ไม่สนใจว่าการคลังของประเทศจะเป็นอย่างไร และการรับจำนำของรัฐบาล คือ ใช้เงินรับซื้อ ผิดไปจากการความหมายและการรับจำนำที่เคยมีมา"
เรื่อง อื่นๆ จึงดูกลายเป็น 'เรื่องเล็ก' ขาดทุนแค่หลักพันล้าน แต่เรื่องที่ร้ายแรงที่สุด คือ จำนำข้าว ที่ตัวเลขขาดทุนขณะนี้ยังไม่นิ่ง...

จำนำ ข้าวในโครงการนาปรัง 2554/55 ปริมาณ 14.7 ล้านตัน ผมถามว่าข้าวมาจากไหนมากมาย ทั้งที่ เพิ่งประสบภัยน้ำท่วม รัฐบาลก็ให้เหตุผลว่า รับจำนำเพิ่ม 2 รอบในพื้นที่น้ำท่วม แต่นั่นก็ไม่ใช่จำนวนทั้งหมด คงปล่อยให้เป็นความลับต่อไปว่าข้าวที่มากมายมายนั้นมาจากไหน แต่เท่าที่ตามเช็คดูพบว่าเงินเข้าบัญชีครบหมดแล้ว
มติ ครม.15 ก.ย. 2555 อนุมัติรับจำนำข้าวนาปรังเพิ่ม 2.2 ล้านตัน และเงินเข้าบัญชีภายในวันเดียว เท่ากับว่าข้าวเหล่านั้นไปกองอยู่ในโรงสีแล้ว เท่าที่ผมเรียนมา แบบนี้เรียกว่า 'การสวมสิทธิ์'

เมื่อ เร็วๆ นี้ คณะกรรมการประเมินความเสียหาย ได้ประเมินการรับจำนำข้าวในโครงการนาปี 6.9 ล้านตัน โดยประเมินจากต้นทุนที่จ่ายเข้าบัญชี รวมค่าจ้างสี ค่าแปรรูปข้าวสาร ค่าจ้างเก็บและค่าใช่จ่ายทุกอย่าง รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย ซึ่งราคาขายได้ตามตลาด เมื่อบวกลบกันแล้วในจำนวน 6.9 ล้านตันนั้นเสียหายไป 3 หมื่นกว่าล้านบาท
แต่ผมท้า ได้เลยว่ามากกว่านั้น... เพราะกว่าจะระบายข้าวหมด ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ซึ่งดอกเบี้ยจะเดินต่อไปเรื่อยๆ ที่สำคัญ คุณภาพข้าวเสื่อมลง น้ำหนักลดลง 3 ปีกว่า 10% รวมความเสียหายแล้วก็ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดเต็มจำนวนที่ 14.7 ล้านตันก็ 8 หมื่นล้านบาท เรื่องอันดับข้าวของโลกยิ่งไม่ต้องพูดถึง เราแพ้ไปแล้ว
เมื่อ ความเสียหายเกิดขึ้น นักวิชาการก็ออกมาแนะ มาพูด อย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ซึ่งเป็นที่ปรึกษาก็ยังไม่เอาด้วยแล้ว... รัฐบาลคิดแค่ว่าเมื่อดึงข้าวออกจากตลาดแล้วราคาจะขึ้น ด้วยเห็นว่าตนเองเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ แต่ที่จริงแล้วยอดส่งออกเรา ไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับข้าวในโลก ฉะนั้น การดึงข้าวออกนั้น ในตลาดโลกเทียบดูแล้วปริมาณเพียงนิดเดียวเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร ดังจะเห็นได้ว่าราคาข้าวไม่ได้ขึ้น แต่กลับลดลงด้วยซ้ำ

ใน ที่สุด 1 ฤดูกาลที่ผ่านมานอกจากราคาข้าวก็ไม่ขึ้นแล้ว การประมูลข้าวของกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ราคาต่ำกว่าตลาดทุกครั้ง ยิ่งขาดทุนมหาศาล ข้อเท็จจริงแบบนี้ ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะรู้สึกบ้างมั้ย??

คำตอบของรัฐบาล คือ มติ ครม.อนุมัติว่าในปีหน้าจะเดินหน้าโครงการต่ออีก 3.3 ล้านตัน ผมไม่เข้าใจว่าคนเราพอทำอะไรพลาด โดยเฉพาะทำให้ประเทศชาติเสียหายได้ขนาดนี้ ไม่อายบ้างหรือ??

"ใน อดีตไม่มีโครงการไหนของประเทศชาติเสียหายเท่าจำนำข้าว ตั้งแต่ปีก่อนๆ ที่ทำมาไม่ว่ารัฐบาลพรรคไหนก็เสียหาย ก็ขาดทุนทุกครั้ง ทำไมไม่รู้จักเข็ด ปีก่อนเสียหายปกติหลักหมื่นล้าน แต่ครั้งนี้หลักแสนล้าน ผมว่าน่ากลัวว่าเมื่อปีหน้าทำเพิ่มอีก 3.3 ล้านตัน จะขาดทุนอีก 2 แสนล้านบาท และข้าวกองใหญ่ เมื่อระบายไม่ออก จะเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ การเริ่มจำนำทุกเม็ดจะทำให้รัฐบาลหยุดไม่ได้ คงต้องเสียหายปีละกว่า 2 แสนล้านบาท"

ข้อมูลหนี้ สาธารณะของประเทศไทย ฐานะการเงินการคลังนับว่าดีกว่ายุโรป เริ่มต้นมีหนี้สาธารณะเทียบกับจีดีพี 42% ถือว่าปลอดภัย จากขีดเส้นที่อันตราย คือ 60% ของจีดีพี แต่เดินหน้าโครงการต่อไปเรื่อยๆ หนี้จะเลยไปมากขึ้นๆ หวั่นว่าจะซ้ำรอบกรีซ และอิตาลี ถึงวันนั้นต่างชาติจะเริ่มไม่เชื่อ เราจะกู้เงินไม่ได้และค่าเงินเราจะตก
ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เฉพาะหนี้สูงกว่า 47.8% ของจีดีพี แต่ยังไม่รวมภาระค้ำประกันหนี้ ธกส.อีกประมาณ 1.9 หมื่นล้าน และต้องเพิ่มทุนให้ ธกส. รัฐวิสาหกิจ ธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารอิสลาม ถ้ารวมแล้วจะมีหนี้เป็น 49.9% ของจีดีพี

ใน อนาคต แม้รัฐบาลตั้งใจจะทำงบประมาณให้เข้าดุล ไม่ขาดทุน โดยจะขอออกพันธบัตรงบประมาณ 3 รายการ ในกองทุนประกันภัย และโครงการบริหารจัดการน้ำนั้น ก็จะทำให้หนี้เพิ่มเป็น 53.7% ของจีดีพี เมื่อรวมผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวไปถึงปี 2562 จะกลายเป็น 59.7% เท่ากับว่าถึงขีด 60% จริงๆ
ถึง วันนั้น ใครจะเชื่อว่างบประมาณจะไม่ขาดดุล ประชานิยมเมื่อเริ่มแล้วเลิกไม่ได้ ไม่ว่าพรรคไหนเข้ามาก็ต้องใช้ประชานิยม จะเห็นได้ว่าหนี้ยิ่งมีแต่จะเพิ่ม และหากจีดีพีลดลง หนี้จะยิ่งเกินไปมาก...

ผม มาพูดวันนี้ ไม่ได้มาหาเรื่องรัฐบาล แค่จะบอกว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังเดินอยู่ ในที่สุดแล้วจะเกิดปัญหาใหม่ หนี้สาธารณะที่สูงอยู่แล้วจะสูงเกินไป และเกิน 60% ของจีดีพี และถ้างบประมาณขาดดุลอีกจะยิ่งหนัก

"โรค ของหนี้สาธารณะสูง เป็นโรคที่อันตรายที่สุด ถึงเวลานั้นแก้กลับได้อยาก จะกระทบค่าเงินและหลายๆ อย่างในประเทศ ถึงผมจะกลัว แต่ก็ไม่รู้จะร้องเรียนกลับใคร ไปบอก รมว.คลังก็ดูจะไม่เข้าใจและไม่แคร์วินัยการคลัง ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะอ้างว่าเป็นรัฐบาลแค่ 4 ปี ผมว่าก็ไม่แฟร์นัก ต่อให้ใครคนมาใหม่เข้ามาก็แก้ไม่ได้ เป็นโรคที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวที่สุด"

เรื่อง นี้ใหญ่มากต่อประเทศไทย... ผมว่าจากนี้ สังคมไทยควรพูดเรื่องหนี้สาธารณะกันให้มากขึ้น รวมทั้งออกมาช่วยกันเรียกร้องกับรัฐบาลว่า เลิกทำนโยบายแบบนี้ และหยุดสร้างหนี้ได้แล้ว เพื่อให้ประเทศไทยอยู่ต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ผมจะตามเรื่องจำนำข้าวต่อไป เพราะจากประวัติศาสตร์แล้ว เป็นนโยบายที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศสูงที่สุด.



ที่มา  สำนักข่าวอิศรา





--
Junpen Jirasavetakul