Friday 18 January 2013

ที่มาของแซ่ นามสกุลคนจีน






ที่มาของแซ่ นามสกุลคนจีน

คนไทยเรานั้น นอกจาก “ชื่อ” แล้ว ยังต้องมี “นามสกุล” กำกับอยู่ด้วยเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า ตนถือกำเนิดขึ้นในตระกูลใด คนจีนก็เช่นเดียวกัน คือต้องมี “แซ่” หรือนามสกุล ซึ่งเริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อน ตามพระบัญชาของจักรพรรดิ จึงถือว่าเป็นชนชาติแรกที่มีนามสกุลใช้กันอย่างเป็นทางการ
แต่เดิมคนจีนมีเพียงชื่อที่ใช้เรียกเพื่อบ่งบอกตัวบุคคล ต่อมาเมื่อสังคมจีนขยายตัว จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชื่อที่ใช้เรียกตัวบุคคลจึงซ้ำไปซ้ำมาเป็นจำนวนมาก จนเกิดความสับสนในการระบุตัวบุคคล ประกอบกับบรรดาขุนศึก ขุนนาง และชนชั้นสูงในสังคมจีนยุคจ้านกว๋อ หรือยุคเลียดก๊ก (พ.ศ.66 - 321) ต้องการสะสมกำลังคนเพื่อสร้างฐานอำนาจให้กับตนเอง จึงตั้งชื่อตระกูลหรือ “แซ่” ขึ้น แล้วรวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่ในแซ่เดียวกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นกว่าการเป็นนายและบ่าวแบบเดิม

จากนั้นก็เริ่มมีการใช้แซ่กันอย่างแพร่หลายขึ้น จนกระทั่งในรัชสมัย “สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู” (พ.ศ.337 - 348) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนาง พ่อค้า ไปจนถึงไพร่สามัญชน โดยให้แซ่ถ่ายทอดจากฝ่ายบิดาลงมาสู่บุตร ตั้งแต่นั้นประเทศจีนจึงมีการใช้แซ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

แม้คนจีนทุกคนจะมีแซ่ใช้กันอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แต่จำนวนแซ่กลับมีอยู่ไม่มาก เพราะไม่ตั้งกันขึ้นมาอย่างพร่ำเพรื่อ แต่ใช้การสืบทอดต่อๆ กันมานานนับพันปี จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์พบว่าในอดีตเคยมีแซ่อยู่ประมาณ 24,000 แซ่ แต่ปัจจุบันหายสาบสูญไปมาก เหลือที่ใช้กันจริงอยู่ประมาณ 5,000 แซ่ แต่แซ่ที่พบเห็นได้บ่อยๆ มีอยู่เพียงประมาณ 2,000 แซ่เท่านั้น ในขณะที่คนจีนมีอยู่มากถึง 1 ใน 4 ของประชากรโลก ทำให้หนึ่งแซ่หรือหนึ่งตระกูลของคนจีนมีจำนวนสมาชิกอยู่มากมายมหาศาล

เมื่อปี พ.ศ.2550 รัฐบาลจีนได้ทำสำรวจแซ่ตระกูลจีนที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุ บัน พบว่า แซ่ที่มีการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศจีนคือ แซ่หวัง (เฮ้ง), หลี่ (หลี) และจาง (เตีย) ซึ่งมีผู้ใช้รวมกันเกือบ 300 ล้านคน หรือประมาณแซ่ละ 100 ล้านคน ซึ่งเพียงแค่แซ่เดียวก็มากเกือบเป็นสองเท่าของประชากรไทยทั้งประเทศแล้ว

10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศจีน ได้แก่
ส่วนคนจีนในประเทศไทยหรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงใช้แซ่ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อปี พ.ศ.2535 มีการสำรวจพบว่า แซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศไทยคือ แซ่เฉิน (ตั้ง), หลิน (ลิ้ม) ประมาณแซ่ละ 80,000 คน และแซ่หลี่ (หลี) ประมาณ 50,000 คน ส่วนอันดับต่อมาอีก 7 อันดับ มีผู้ใช้อยู่ในหลักหมื่นคน
10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่
นอกจากนั้นยังใช้การแปลความหมาย ของแซ่เป็นภาษาไทย แล้วตั้งเป็นนามสกุลใหม่ เช่น “บรรหาร ศิลปอาชา” แซ่เดิมคือ “หม่า” (เบ๊) ที่แปลว่าม้า (อาชา) จึงแปลงเป็นนามสกุลไทยว่า “ศิลปอาชา” หรือนามสกุล “อัศวเหม” ที่แปลว่าม้าทองคำ ก็มาจากแซ่ “หม่า” (เบ๊) เช่นเดียวกัน

เฉิน (ตั้ง) 陈
หลิน (ลิ้ม) 林
หลี่ (หลี) 李
หวง (อึ๊ง) 黄
อู๋ (โง้ว) 吴
สวี่ (โึค้ว) 徐
จาง (เตีย) 张
เจิ้ง (แต้) 郑
หลิว (เล่า) 刘
หวัง (เฮ้ง) 王

ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากได้แปลงแซ่มาเป็นนามสกุลตามภาษาไทย เพื่อให้กลมกลืนกับคนไทยมากขึ้น แต่บางนามสกุลก็ยังพอที่จะสืบไปถึงแซ่เดิมได้อยู่ เช่น “ป๋วย อึ๊งภากรณ์” มีแซ่เดิมคือ “หวง” (อึ๊ง) ก็ใช้การเติมคำไทยต่อท้ายแซ่ กลายเป็น “อึ๊งภากรณ์” หรือ “สนธิ ลิ้มทองกุล” มีแซ่เดิมคือ “หลิน” (ลิ้ม) ก็กลายเป็น “ลิ้มทองกุล”

หวัง (เฮ้ง) 王
หลี่ (หลี) 李
จาง (เตีย) 张
หลิว (เล่า) 刘
เฉิน (ตั้ง) 陈
หยาง (เอี๊ย) 杨
หวง (อึ๊ง) 黄
จ้าว (เตี๋ย) 赵
อู๋ (โง้ว) 吴
โจว (จิว) 周

โดยแต่ละแซ่มีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคน