Friday, 8 August 2008
'ถ้าไม่เป็นจอมดาบอันดับหนึ่ง ก็ขอตายอย่างหมาข้างถนน'
หากจะนับประเทศไทยเป็นหนังยาวสักเรื่อง "สุวินัย ภรณวลัย" ก็คงไม่ต่างไปจากตัวละครตัวหนึ่งที่ถึงแม้ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพระเอก แต่บทบาทที่เขาแสดงออกมาต่อสาธารณะในห้วงเวลาต่างกรรมต่างวาระ บางครั้งก็โดดเด่นชนิดที่สังคมทั้งสังคมต้องเหลียวมอง
ไม่ใช่ "พระเอก" ของสังคม และไม่ใช่ "ผู้ร้าย" ในหนัง แล้วเขาเป็นอะไร? คงยากนิยามได้แจ่มชัด ยังมิต้องเอ่ยถึงความสนอกสนใจตลอดจนภูมิปัญญาของเขาที่กินเนื้อที่กว้างไกลตั้งแต่เรื่องชีวิตสามัญพื้นๆ ไปจนถึงมิติทางด้านจิตวิญญาณที่มุ่งสู่การหลุดพ้นจากโลกียวิสัย
ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษามักจดจำสุวินัยได้ในฐานะอาจารย์ ส่วนบางคนชื่นชอบตัวตนของเขาในภาคของการเป็นนักเขียน ขณะที่อีกหลายๆ คนยังคงหลงติดอยู่กับภาพของเขาในกรณี "เปรตกู้" เมื่อหลายปีก่อนและยังคิดว่าเขาเป็นแค่ "คนบ้าๆ" คนหนึ่ง
ไม่ว่าจะอย่างไรในหนังสือ "วันที่ถอดหมวก" เสกสรร ประเสริฐกุล ได้มีถ้อยคำพาดพิงถึงสุวินัยในบางย่อหน้า และเราเชื่อว่ามันสามารถอธิบายตัวตนบางด้านของเขาได้ดีพอสมควร...
"ผมกับสุวินัยนับถือชอบพอกันมานาน ผมชื่นชมเขาตรงที่มีความจริงใจและจริงจังในการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ อีกทั้งยังอุทิศพลังเพื่อผดุงความเป็นธรรมทางสังคมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งสองด้านนี้ผมเห็นว่าเป็นชีวิตที่น่าสรรเสริญ แม้ในก้าวย่างของรูปธรรมจะต้องล้มลุกคลุกคลานบ้างก็ตาม"
...ในห้วงยามหลังจากงานเขียนเล่มล่าสุดของเขา "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ของสนพ.บ้านพระอาทิตย์ วางแผงได้ไม่นาน ผู้จัดการรายสัปดาห์ได้มีโอกาสพบปะสนทนาอีกวาระกับ "อาจารย์สุวินัย" ในหลากเรื่องหลายประเด็น แน่นอน บางประเด็นไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นไรไปล่ะ ถ้าเรื่องราวดีๆ หรือความคิดดีๆ จะถูกบอกเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก จริงไหม?...
พูดถึงงานหลักๆ ในชีวิตของ อ. ช่วงนี้มีอะไรบ้าง?
มีแค่ 2 อย่าง โดยอย่างแรกเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนตนเอง ก็แล้วแต่ช่วง อย่าง 3-4 ปีมานี้ ผมให้ความสำคัญกับการฝึกสมาธิ ก่อนหน้านี้ก็หัดกู่เจิ้ง แล้วก็ฝึกเล่นหมากล้อม ส่วนนี้มันเกี่ยวข้องกับมโนภาพเกี่ยวกับชีวิตที่ผมอยากจะเป็น ชีวิตที่เราต้องเป็น หรือชีวิตที่เราสามารถได้เป็น แล้วการฝึกฝนตนเอง โดยมาตรฐานก็คือการแสวงหาความดี ความงาม และความจริง ซึ่งผมพยายามทำมาโดยตลอด และส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ข้างนอก" เป็นส่วนที่ผมมีเยื่อใยกับสังคม นั่นก็คือการเขียนหนังสือให้คนอ่าน
เท่าที่ติดตามอ่านงานเขียนส่วนใหญ่ของ อ.มักเกี่ยวข้องกับวิถีคิดหรือจิตวิญญาณ แม้แต่ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ที่รูปร่างหน้าตาค่อนข้างหนักไปทางการเมือง แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ผูกโยงกับแง่มุมด้านจิตวิญญาณ?
ผมเชื่อนะว่า ถ้าไม่เปลี่ยนสภาพจิตใจก่อน มันก็เปลี่ยนแปลงการเมืองไม่ได้หรอก การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมันก็สำคัญ แต่การเปลี่ยนแปลงข้างในต่างหากซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง หนังสือส่วนใหญ่ของผม พูดไปก็คล้ายๆ เป็นการสื่อสารกับปัจเจก อย่างคนอ่านบางคนที่อ่านหนังสือเรื่อง "ยอดคนมหาโยคะ" แล้ว ชีวิตเขาเปลี่ยนไป เขาก็มาขอบคุณผม เราก็มีความสุข ผมเขียนหนังสือคล้ายกับวาดภาพนะ เพียงแต่ว่าผมวาดออกมาเป็นตัวอักษร ผมไม่ได้หวังหรอกว่าผมจะเปลี่ยนแปลงคนได้มากมาย แค่เปลี่ยนคนได้บางคนก็พอแล้ว แต่เป็นการเปลี่ยนในระดับรากเหง้าเลย ในแง่นี้ก็เหมือนกับผลงานของศิลปินที่เปลี่ยนแปลงความคิดของผู้คน
จริงๆ พอผ่านมาพักใหญ่ ความสนใจของผมคล้ายๆ นิทเช่นะ (เฟดริช นิทเช่ เจ้าสำนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม) นิทเช่ในความหมายของคำว่า "เลิศมนุษย์" คือมนุษย์ผู้ประเสริฐ พูดง่ายๆ ว่าคนเราจะบรรลุศักยภาพในความประเสริฐของมนุษย์ได้อย่างไร โดยไม่ต้องบวช ทำได้ไหม ผมสนใจในแง่นี้มากกว่า คล้ายๆ กับสิทธารถะ ของเฮอร์มานน์ เฮสเส (นักเขียนชาวเยอรมนี)
อ.เคยพูดไว้ว่า "ถ้าไม่เป็นจอมดาบอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ก็ขอตายอย่างหมาข้างถนน" จริงๆแล้วคนเราต้องอะไรขนาดนั้นเลยหรือ?
ที่ผมพูดแบบนั้นมันเป็นเทคนิคของการ "บีบคั้นตัวเองให้เหลือทางเดียว" เพราะทำอย่างนี้ คุณจะประนีประนอมไม่ได้เลย การประนีประนอม บางครั้งมันเป็นความจอมปลอม ถ้าคุณไม่อยากเฟกหลอกตัวเองและคนอื่น คุณก็ต้องพูดแบบนี้ และคำพูดแบบนี้มันจะทำให้คุณไม่กลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับภารกิจแสวงหาความสมบูรณ์พร้อมนี่ คุณต้องขจัดความกลัวออกไปก่อน หรือถ้าคุณอยากเป็นศิลปิน แต่กลัวงานของตัวเองขายไม่ออก มันก็ลดพลังของตัวเองแล้วล่ะ คือถ้าเขียนหนังสือเพียงเพื่อจะขายได้ มันก็คือการหลอกตัวเองแล้ว มันเฟก แล้วงานพวกนี้มัน "ไม่อยู่" หรอก มันอาจจะดังหวือหวาอยู่พักหนึ่ง แต่ในที่สุดมันก็อยู่ไม่ได้ เพราะคุณไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง
เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ทำนองนั้นใช่ไหม?
เรียกว่าเป็นการค้นศักยภาพดีกว่า และต้องไม่มีทางถอยให้กับตัวเอง แต่จะทำอย่างนี้ได้ คุณต้องมีความมั่นใจในตัวเองระดับหนึ่งนะ แล้วมันจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่จะไม่มีวันมานั่งเสียใจในภายหลัง ในการ์ตูนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีประโยคหนึ่งซึ่งใช้กันบ่อยมากก็คือ ต้องไม่เสียใจในสิ่งที่กระทำลงไป คุณต้องแน่วแน่ อย่าลังเล
ตอนอายุ 19 อ.บอกว่าอยากเป็นนักปฏิวัติ?
ใช่แล้ว ตอนนั้นผมก็เข้าร่วมขบวนการปฏิวัตินะ แต่พอขบวนการมันล้มลงชีวิตก็ไม่รู้จะเอายังไงต่อไป มันคล้ายกับว่าเราเตรียมตัวมาทั้งชีวิตเพื่อเป็นนักปฏิวัติ แต่อยู่ดีๆมันก็มาหายไปเราก็เริ่มหาใหม่ แล้วบังเอิญผมได้ไปอ่านเรื่องมูซาชิ ผมก็เลยเลือกอันนี้เป็นที่พึ่งตั้งแต่นั้นมา
อาจารย์ชื่นชอบอะไรในตัวตนของมูซาชิ
ผมว่ามูซาชิเขาครบเครื่องรอบด้านนะเป็นคนที่เก่งแบบพหุปัญญา และผมว่ามันน่าเร้าใจดี ยิ่งยุคทุกวันนี้เป็นยุคของความหลากหลาย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันจะมาเจอกันในแบบคอนเวอร์เจนซ์ตามกฎเกณฑ์ของศตวรรษที่ 21 ผมสังเกตนะว่า คนที่จะ Success ได้ในทุกวันนี้ คุณต้องมีความสามารถอย่างน้อยๆ 2 อย่างผสมกัน หนึ่งอย่างมันก็เก่งได้นะ แต่ผมว่ามันไม่เต็ม มันเก่งแบบไม่เต็ม แต่นี่มันเป็นจริตผมนะ คนอื่นๆ อาจจะชอบแบบเก่งอย่างเดียวก็ได้ แต่ผมเชื่อว่ามนุษย์เรานี่มีปัญญาอยู่แปดด้านในตัวเอง บางด้านเกี่ยวกับตัวเลขคณิตศาสตร์ บางด้านเกี่ยวกับภาษา ศิลปะ ร่างกาย และในจินตภาพของผมนี่ คนเรามันต้องเก่งหลายๆด้านเพราะถ้าเก่งหลายๆด้านได้ก็เท่ากับว่าเรามี "หลายชีวิต" (พหุชีวิต) อยู่ในตัวเอง เป็นการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า
ยกตัวอย่างผม เกิดมามีชีวิตเดียว แต่พยายามใช้ชีวิตให้ได้ 4 แบบในคนคนเดียวกัน เป็นทั้งศิลปิน นักบวช นักปราชญ์ และนักรบ และที่สำคัญ ถ้าคนเราจะแสวงหาความเติมเต็มให้กับชีวิตในเรื่องความดี ความงาม ความจริง อย่างน้อยๆ มันต้องมี 3 ชีวิตนะ เพราะการจะหาความจริง คุณต้องใช้ชีวิตแบบนักวิทยาศาสตร์นักปราชญ์ จะหาความดีก็ต้องเป็นพระ จะหาความงามก็ต้องเป็นศิลปิน
อ.แสวงหาความดีโดยไม่ต้องบวชพระ นั่นก็แสดงว่า "รูปแบบ" ไม่ใช่เรื่องสำคัญ?
ผมว่ารูปแบบสำคัญอยู่นะ แต่คุณต้องมาตีความก่อนว่า รูปแบบคืออะไร เพราะถ้าจะวัดความเป็นพระกันแค่การโกนผมห่มผ้าเหลือง แค่นี้ยังไม่พอ ความเป็นพระที่แท้จริงก็คือสภาวธรรมด้านใน สภาวะจิตด้านใน เพียงแต่จะเป็นแบบนั้นได้มันก็ต้องมีกติกา ต้องซื่อสัตย์และที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือต้องมีวินัย อย่างถ้าคุณอยากเป็นนักกีฬา แต่คุณไม่เอ็กเซอร์ไซส์ก็ไม่ได้ผลดังหวัง
ถึงตอนนี้ อ.ยังอยากเป็นนักปฏิวัติอยู่หรือเปล่า?
ผมไม่ต้อง "อยาก" แล้ว และการที่ผมเขียนหนังสือออกมา ผมก็ไม่ได้เรียกร้องและคาดหวังอะไรจากใคร แต่ถ้างานเขียนของผมเกิดไปโดนใจใครเข้าแล้วเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึก ผมก็ถือว่าตัวเองเป็นนักปฏิวัติสำหรับคนคนนั้นแล้ว เรียกว่าเป็นการปฏิวัติทางจิตวิญาณ และผมก็เชื่อว่าการปฏิวัติที่แท้จริงคือการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในใจของแต่ละคน ส่วนการที่ผมไปช่วยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ไม่ใช่เพราะว่าผมอยากเป็นนักปฏิวัติอะไรนะ แค่คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องทำ มันเป็นหน้าที่
อ.มีส่วนร่วมยังไงบ้างในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร?
ไม่มีอะไรมากมาย ผมเข้าไปร่วมแค่ในฐานะของ "ผู้สังเกตการณ์" ผมไม่ได้คิดจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงใคร
แค่สังเกตการณ์เท่านั้นจริงๆหรือ?
คือสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เข้าไปช่วย แต่ผมไม่ได้เป็นลูกน้องใคร แล้วไม่ต้องตกปากรับคำสัญญากับมวลชนว่าผมจะรับใช้พ่อแม่พี่น้อง ผมไม่ต้องทำแบบนั้น และผมก็มั่นใจว่าสิ่งที่ผมทำมันดีที่สุดสำหรับตัวผมเอง เพียงแต่มันไม่มี "ความอยาก" อะไร
อ.คิดว่าตัวเองก้าวมาถึงจุดที่ไม่ยินดียินร้ายต่อโลกธรรมแล้วอย่างนั้นใช่ไหม?
ก็ไม่เชิงนะ ผมเพียงแค่เล่นกับมัน แต่ผมไม่ "อยาก" มันคล้ายๆกับว่าเป็นไฟในความเย็น ไม่รู้จะอธิบายยังไง เป็นความพลุ่งพล่านในความนิ่ง ตอนหนุ่มๆ เราก็พลุ่งพล่าน แต่พลุ่งพล่านแบบไม่นิ่ง ตอนนี้เราก็ยังมีไฟเหมือนกับวัยหนุ่ม แต่เราก็มีความนิ่งอยู่ด้วยในขณะเดียวกัน มันก็เลยกลายเป็นไฟในความเย็น ผมเลยไม่รู้จะเรียกว่ายังไง เหมือนมีภูเขาไฟลูกหนึ่งอยู่ในก้นทะเลท่ามกลางน้ำที่เย็นยะเยือก
ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่ง สิ่งที่ อ.ให้ความสำคัญตลอดมาคืออะไร?
อย่าใช้ชีวิตอย่างปานกลาง ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Mediocre อย่ายอมจำนนต่อความปานกลาง อย่ามีชีวิตอย่างต่ำต้อย อย่าดูแคลนตัวเอง และต้องแสวงหาความเป็นเลิศ พูดง่ายๆ ก็คือ อย่าใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ เพราะถ้าใช้ชีวิตธรรมดาๆ คุณก็จะกลายเป็นเบี้ยล่างคนเขาก็จะเหยียบย่ำคุณ คนเราไม่ควรถูกใครย่ำยี คุณต้องมีความองอาจสามารถเผชิญหน้ากับทุกสายตาได้ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใหญ่ขนาดไหน จะรวยขนาดไหน
อย่าไปนิยามตัวเองด้วยความต่ำต้อย มีจินตภาพเกี่ยวกับอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ต้องนิยามตัวเอง เมื่อนิยามแล้ว ก็ต้อง Do it Now ทำทันทีเลย เขาเรียกว่า "ล่าฝัน" คิดแล้วต้องทำ แสวงหาความเป็นเลิศด้วยวิธีการที่เป็นเลิศ
วิธีการที่เป็นเลิศ คือแบบไหน?
ไม่ยากเลย ถ้าคุณอยากเป็นนักฟุตบอลเก่งๆ คุณก็ต้องรู้ก่อนว่าบราซิลเขาเก่ง คุณก็ไปศึกษาดูสิว่าทำไมเขาเก่งขนาดนั้น ทำไมอาหารไทยอร่อย เราก็ต้องหาเอาสิ มันเป็นเรื่องขององค์ความรู้ ผมถึงบอกไงว่า มันต้องอ่านหนังสือ ทุกอย่างมันมีองค์ความรู้ทั้งนั้นแหละ
ที่ผ่านมา มนุษย์เราส่วนใหญ่นี่อยู่กันแบบ "ไม่ตื่น" แล้วก็รับความคิดตะวันตกเข้ามา พอรับเข้ามา มันก็เลยถูกครอบงำ คนที่ถูกครอบงำนี่ ไม่สามารถหาความเป็นเลิศได้ มันเป็นทาสที่ไม่ยอมปลดปล่อยตัวเอง ไม่รู้สึกสำนึก
จากประสบการณ์สอนหนังสือ ผมว่าเด็กรุ่นนี้เริ่มใจเสาะกันมากขึ้น รักสบาย แล้วไอ้ความสบายนี่มันมีราคาที่ต้องจ่าย คุณรู้มั้ย สุดท้ายมันก็ใจเสาะ ผมโตมาในยุคที่สังคมไทยมันไม่ได้มั่งคั่งขนาดนี้ ชีวิตมันดิ้นรนมากกว่า คือคุณจะล่าฝันยังไงก็ได้ แต่ไม่ใช่แค่ล่าฝันแบบอะคาเดมี่แฟนเทเชีย โลกมันมีอะไรมากกว่านั้น ผมยอมรับนะว่า โลกสมัยนี้มันเป็นโลกของการเปิดเผยตัวตน ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Self Expression บางคนแปลว่า ปัจเจกนิทัศน์ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับคำแปลนี้นะ โลกนี้ใครๆ เขาก็อยากเปิดเผยตัวตน
Self Expression นี่เหมือนกับวัฒนธรรม Somebody หรือเปล่า?
ไม่ใช่ๆ คำๆนี้ เขาหมายความว่า ทุกๆคนก็ล้วนอยากจะโชว์ออฟ อยากเป็นดารา ที่จริงผมไม่อยากใช้คำนี้ แต่ผู้คนยุคนี้ก็ดูเหมือนจะอยากเป็นดารากันหมด แล้วคนก็เข้าใจกันว่า ความสำเร็จของชีวิตคือคุณต้องเป็นดารา หรือซัมบอดี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องเหลวไหล พอคุณเชื่อแบบนี้ มันก็เลยเป็นที่มาของบริโภคนิยม คุณต้องแต่งตัวให้เริ่ด ใช้กระเป๋ายี่ห้อแพงๆ คุณรู้สึกว่าคุณต้องเป็นซัมบอดี้ คุณคิดว่าตัวเองมีตัวตนขึ้นมาจากการใช้สอยสิ่งเหล่านี้ คุณต้องรวย
จริงๆ แล้ว คำว่า Self Expression มีความหมายในเชิงลบใช่ไหม?
ไม่เชิงนะครับ คือชีวิตที่มีลีลา มีสีสัน มันก็เป็น Self Expression แต่มันควรจะเป็น Self Expression ที่ไม่หวังผลตอบแทน เพราะถ้าคุณทำไปแบบมีสิ่งตอบแทน มันก็ทำให้คุณกลายเป็นพวกคอมเมอร์เชียล (Commercial) พอเป็นคนคอมเมอร์เชียล มันก็มีความเฟกตามมา แล้วคุณก็ตกอยู่ในบริโภคนิยม คุณก็ขายวิญญาณให้กับมัน ผลสะเทือนจากการที่คุณขายวิญญาณหรือคุณเฟกนี่ มันมากมายมหาศาล
พูดง่ายๆ อย่างคุณทักษิณที่เขาพังอย่างทุกวันนี้ก็เพราะเขาอยากรวยกว่าบิล เกตส์ ผมว่าไม่จำเป็นต้องขนาดนั้นก็ได้นะ แค่มีสองหมื่นล้านนี่ผมว่ามันพอแล้วนะ คุณพอได้แล้ว อันนี้ก็เป็น Self Expression แบบคุณทักษิณ แต่มันผิดไง เพราะมันขาดซึ่งปัญญาและความรัก มันไม่ได้เอื้ออาทรต่อประชาชนโดยรวมจริงๆ คุณทักษิณน่ะดูถูกมวลชนอย่างถึงที่สุด ด้วยการที่คุณเอาเงินไปฟาดหัวเขาด้วยประชานิยม คุณไม่ได้รักพวกเขาจริงๆ หรอก คุณรักคะแนนของพวกเขา นี่ล่ะ ผมแตกหักกับคุณทักษิณมากที่สุดก็เพราะเรื่องนี้ มันเป็นการแตกหักเชิงโลกทัศน์หรือปรัชญาในระดับรากเหง้าเลย แล้วใครก็ตามที่ออกมาเรียกร้องปกป้องคุณทักษิณนี้มันเหลวไหลทั้งนั้น
โดยส่วนตัว อ.มองสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ยังไงบ้าง?
เราคงมิอาจไปตัดสินได้หรอก เพราะบางทีมันก็เหมือนกับหมากล้อมนั่นแหละ มันพลิกได้ตลอด ผมไม่ได้มองว่ามันจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือไม่ ผมมองดูแบบภาพรวม แล้วภาพรวมนี่ วิกฤตระดับโลกมันมาแน่ และมันก็เริ่มส่อเค้าให้เห็นกันบ้างแล้ว ทั้งเรื่องซับไพรม์ เรื่องวิกฤตน้ำมัน แล้วเราก็ยังมีวิกฤตข้างใน ใช่มั้ย วิกฤตแบบนี้มันเกิดจากคนชั้นนำที่อ่อนแอ เราต้องการคนชั้นนำแบบใหม่ และผมเข้าใจว่าคนแบบนี้จะมาจากกลุ่มพลังใหม่ ซึ่งก็หมายถึงพันธมิตรฯ เพราะฉะนั้น ถ้าพวกเขาชนะแล้วมันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเมืองแบบใหม่ได้นี่ มันคือชัยชนะของประเทศนี้ มันคืออนาคต แต่ถ้าเขาแพ้นะ เกิดความรุนแรง หรือครึ่งๆ กลางๆ มันก็คือชะตากรรมรวมหมู่ หรือโศกนาฏกรรมของบ้านเมืองนี้
และที่ต้องเตือนไว้ตรงนี้เลยก็คือ วิกฤตใหญ่กำลังจะมา อุปมาดั่งเราแล่นเรือไป เรือกำลังจะจมแล้ว ไต้ก๋งยังเดินเรือเร็วอีก หรือไม่ก็เอาแต่ทำครัว ไม่ได้สนใจที่จะเซฟเรือนี้เลย ผมมองไกลไปขนาดนั้นนะ ทุนนิยมก็อยู่ไม่ได้หรอก ถ้าน้ำมันขึ้นขนาดนี้ ถ้ามันขึ้นถึง 2-300 ร้อยบาทต่อลิตรล่ะ โอ้โหมันต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงแน่ๆ มันกระทบทั้งหมด แล้วถ้าเป็นแบบนั้น รูปแบบของเศรษฐกิจแบบใหม่มันก็ต้องเกิด ผมมองว่าระบบเศรษฐกิจแบบใหม่มันจะเป็นระบบแบบเครือข่าย เรามีพื้นฐานอยู่บนสิ่งแวดล้อมและมีชุมชนเป็นเสาหลัก
อ.มองว่าทุนนิยมจะล่มสลายในที่สุด?
มันอยู่ไม่ได้หรอก กลไกราคาแบบนี้มันพังพินาศแน่ๆ เอาง่ายๆ แค่น้ำมันขึ้นขนาดนี้ คุณก็แทบตายแล้ว ถ้าเกิดมันขึ้นมาเป็นสองร้อยบาทต่อลิตรล่ะ ถามว่ามีใครอยู่ได้บ้าง ล้มละลายหมด แล้วไม่ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้นะ ทุนนิยมเดี๋ยวนี้มันบิดเบือนไปแล้ว มันไม่ใช่ทุนนิยมสมัยมาร์ก (มาร์กซิสม์) มันกลายเป็นสิ่งที่ถูกครอบงำโดยซูเปอร์คลาส อภิชนชั้น มันอยู่ได้ด้วยการเก็งกำไร แล้วมันก็ปั่น เพราะน้ำมันนี่ไม่เกี่ยวกับเรื่องดีมานด์ซัปพลายแล้วนะ เศรษฐศาสตร์มันล่มสลายไปแล้ว คุณรู้ไหม มันเป็นเรื่องของการเก็งกำไรและปั่นราคาไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้น สุดท้าย ผมว่าคนจะตื่นตัว พอตื่นตัวมา มันก็ต้องล้มไอ้ซูเปอร์คลาสนี่ให้ได้ จะล้มไอ้ซูเปอร์คลาสนี่ได้ ก็ต้องถอดรื้อบริษัทข้ามชาติ ถอดรื้อตลาดเก็งกำไร คอมมูนิตี้นี้ทั้งหมด แล้วก็ตกลงกติกากันใหม่ว่า คุณจะทำเศรษฐกิจยังไงเพื่อให้ทุกคนอยู่กันได้ มีกินมีใช้ มันก็ต้องหันมาหาหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเราไม่กลับมาสู่เศรษฐกิจพอเพียงนะ มันกลียุคแน่นอน ทุกวันนี้มันก็เริ่มส่อเค้าให้เห็นบ้างแล้ว เพราะพอเราเห็นแบบนี้แล้ว "หมากตัวแรกที่เราต้องโค่นให้ได้ก่อนก็คือระบอบทักษิณ" หลังจากนั้นเราจะได้มีเวลาเต็มที่ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับพายุลูกใหญ่ที่ กำลังจะมาถึง
*** วิถีแห่ง 'จอมคนเหนือโลก' กับ 'จอมคนพิชิตแผ่นดิน' ***
นอกเหนือไปจากศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นที่รู้กันดีว่า อ.สุวินัยเป็นนักอ่านนิยายกำลังภายในตัวยงคนหนึ่ง และถ้าจะพูดให้ถูกยิ่งกว่าก็คือว่าเป็นนักอ่านในระดับขั้นที่ "ตกผลึก" ซึมลึกสู่เลือดเนื้อจิตวิญญาณ...
"ผมอ่านทั้งโกวเล้ง กิมย้ง แต่ที่ผมชื่นชอบที่สุดกลับเป็นหวงอี้ เพราะเขามีความแปลกใหม่ คือเขาเขียนในเชิงแอกชั่นเหมือนหนังแอกชั่น แต่ก็แฝงภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้เยอะมาก
งานของหวงอี้จะมีตัวละครหลักอยู่ 2 ประเภทคือ "จอมคนพิชิตแผ่นดิน" กับ "จอมคนเหนือโลก" แล้วนิสัยส่วนตัวของผมเองจะชอบคนแบบจอมคนเหนือโลก อย่างในมังกรคู่ ผมก็ชอบตัวละครแบบฉีจื่อหลิง เวลาผมมองคุณสนธิเป็นแบบโค่วจง คือเป็นจอมคนพิชิตแผ่นดิน แต่ก็ไม่มีอะไรเหนือกว่านะเพียงแต่จริตมันต่างกัน หรืออย่างในเรื่องเทพมารสะท้านภพ เราก็ชอบคนอย่าง "ล่างฟานหวิน" ถ้าเป็นจอมคนแผ่นดินเดือด ผมก็ชอบคนอย่าง "เอี้ยนเฟย" ซึ่งเป็นคนที่ไม่สนอำนาจ แต่ก็อยากเปลี่ยนแปลงสังคม แต่พอเปลี่ยนแปลงได้แล้วก็กลับสู่โลกของตัวเองแสวงหาความหลุดพ้น
จอมคนเหนือโลก คือ โลกุตตระ ลาภยศสรรเสริญ ไม่อาจครอบงำจิตใจได้ แต่จอมคนพิชิตแผ่นดินนี่ ในที่สุดจะกลายเป็นผู้ปกครอง ก็จะยังอยู่ในวงจรของอำนาจและโลกธรรม
แต่ตัวละครของโกวเล้งมันไม่มีมิติแบบนี้เลย มีแต่จอมคนที่เป็นขี้เหล้าเสเพล ทำให้คนอ่านสับสนในความเป็นตัวเอก มิติประวัติศาสตร์ก็มีน้อยมาก ในแง่ของความสร้างสรรค์ ผมว่าสู้หวงอี้ไม่ได้ รวมทั้งความเข้าอกเข้าใจในเรื่องสงครามด้วย
คนอย่างลี้คิมฮวง (ตัวละครเอกใน "ฤทธิ์มีดสั้น" วรรณกรรมมาสเตอร์พีชของโกวเล้ง) ก็เหนือโลกนะ แต่มันไม่สมจริง คือขี้เหล้าขนาดนั้นมันไม่ใช่ไง มันเหมือนกับคนที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ อารมณ์หดหู่ มันไม่ใช่จิตใจของคนที่อยู่เหนือโลก คนที่อยู่เหนือโลกมันต้องจิตกระจ่าง แต่ถึงอย่างไร คนอ่านส่วนใหญ่ก็ยังชอบลี้คิมฮวงนะ เพราะอย่างน้อยๆ จิตใจแบบลี้คิมฮวงก็เป็นจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนที่มากน้ำใจ เป็นคนที่มีจิตใจสูงส่ง ไม่ยึดติดกับลาภยศสรรเสริญ โอเค บุคลิกแบบนี้ผมก็ชอบ เพียงแต่ว่าผมอาจจะโตขึ้นแล้วก็ได้ ผมจึงหลุดจากวรรณกรรมโกวเล้ง"
(จาก นิตยสารผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 -27 ก.ค. 2551)
เรื่อง : อภินันท์ บุญเรืองพะเนา
ภาพ : นิรุจน์ ตฤษณานนท์
Credit Link: http://www.dragon-press.com/
ไม่ใช่ "พระเอก" ของสังคม และไม่ใช่ "ผู้ร้าย" ในหนัง แล้วเขาเป็นอะไร? คงยากนิยามได้แจ่มชัด ยังมิต้องเอ่ยถึงความสนอกสนใจตลอดจนภูมิปัญญาของเขาที่กินเนื้อที่กว้างไกลตั้งแต่เรื่องชีวิตสามัญพื้นๆ ไปจนถึงมิติทางด้านจิตวิญญาณที่มุ่งสู่การหลุดพ้นจากโลกียวิสัย
ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษามักจดจำสุวินัยได้ในฐานะอาจารย์ ส่วนบางคนชื่นชอบตัวตนของเขาในภาคของการเป็นนักเขียน ขณะที่อีกหลายๆ คนยังคงหลงติดอยู่กับภาพของเขาในกรณี "เปรตกู้" เมื่อหลายปีก่อนและยังคิดว่าเขาเป็นแค่ "คนบ้าๆ" คนหนึ่ง
ไม่ว่าจะอย่างไรในหนังสือ "วันที่ถอดหมวก" เสกสรร ประเสริฐกุล ได้มีถ้อยคำพาดพิงถึงสุวินัยในบางย่อหน้า และเราเชื่อว่ามันสามารถอธิบายตัวตนบางด้านของเขาได้ดีพอสมควร...
"ผมกับสุวินัยนับถือชอบพอกันมานาน ผมชื่นชมเขาตรงที่มีความจริงใจและจริงจังในการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ อีกทั้งยังอุทิศพลังเพื่อผดุงความเป็นธรรมทางสังคมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งสองด้านนี้ผมเห็นว่าเป็นชีวิตที่น่าสรรเสริญ แม้ในก้าวย่างของรูปธรรมจะต้องล้มลุกคลุกคลานบ้างก็ตาม"
...ในห้วงยามหลังจากงานเขียนเล่มล่าสุดของเขา "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ของสนพ.บ้านพระอาทิตย์ วางแผงได้ไม่นาน ผู้จัดการรายสัปดาห์ได้มีโอกาสพบปะสนทนาอีกวาระกับ "อาจารย์สุวินัย" ในหลากเรื่องหลายประเด็น แน่นอน บางประเด็นไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นไรไปล่ะ ถ้าเรื่องราวดีๆ หรือความคิดดีๆ จะถูกบอกเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก จริงไหม?...
พูดถึงงานหลักๆ ในชีวิตของ อ. ช่วงนี้มีอะไรบ้าง?
มีแค่ 2 อย่าง โดยอย่างแรกเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนตนเอง ก็แล้วแต่ช่วง อย่าง 3-4 ปีมานี้ ผมให้ความสำคัญกับการฝึกสมาธิ ก่อนหน้านี้ก็หัดกู่เจิ้ง แล้วก็ฝึกเล่นหมากล้อม ส่วนนี้มันเกี่ยวข้องกับมโนภาพเกี่ยวกับชีวิตที่ผมอยากจะเป็น ชีวิตที่เราต้องเป็น หรือชีวิตที่เราสามารถได้เป็น แล้วการฝึกฝนตนเอง โดยมาตรฐานก็คือการแสวงหาความดี ความงาม และความจริง ซึ่งผมพยายามทำมาโดยตลอด และส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ข้างนอก" เป็นส่วนที่ผมมีเยื่อใยกับสังคม นั่นก็คือการเขียนหนังสือให้คนอ่าน
เท่าที่ติดตามอ่านงานเขียนส่วนใหญ่ของ อ.มักเกี่ยวข้องกับวิถีคิดหรือจิตวิญญาณ แม้แต่ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ที่รูปร่างหน้าตาค่อนข้างหนักไปทางการเมือง แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ผูกโยงกับแง่มุมด้านจิตวิญญาณ?
ผมเชื่อนะว่า ถ้าไม่เปลี่ยนสภาพจิตใจก่อน มันก็เปลี่ยนแปลงการเมืองไม่ได้หรอก การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมันก็สำคัญ แต่การเปลี่ยนแปลงข้างในต่างหากซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง หนังสือส่วนใหญ่ของผม พูดไปก็คล้ายๆ เป็นการสื่อสารกับปัจเจก อย่างคนอ่านบางคนที่อ่านหนังสือเรื่อง "ยอดคนมหาโยคะ" แล้ว ชีวิตเขาเปลี่ยนไป เขาก็มาขอบคุณผม เราก็มีความสุข ผมเขียนหนังสือคล้ายกับวาดภาพนะ เพียงแต่ว่าผมวาดออกมาเป็นตัวอักษร ผมไม่ได้หวังหรอกว่าผมจะเปลี่ยนแปลงคนได้มากมาย แค่เปลี่ยนคนได้บางคนก็พอแล้ว แต่เป็นการเปลี่ยนในระดับรากเหง้าเลย ในแง่นี้ก็เหมือนกับผลงานของศิลปินที่เปลี่ยนแปลงความคิดของผู้คน
จริงๆ พอผ่านมาพักใหญ่ ความสนใจของผมคล้ายๆ นิทเช่นะ (เฟดริช นิทเช่ เจ้าสำนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม) นิทเช่ในความหมายของคำว่า "เลิศมนุษย์" คือมนุษย์ผู้ประเสริฐ พูดง่ายๆ ว่าคนเราจะบรรลุศักยภาพในความประเสริฐของมนุษย์ได้อย่างไร โดยไม่ต้องบวช ทำได้ไหม ผมสนใจในแง่นี้มากกว่า คล้ายๆ กับสิทธารถะ ของเฮอร์มานน์ เฮสเส (นักเขียนชาวเยอรมนี)
อ.เคยพูดไว้ว่า "ถ้าไม่เป็นจอมดาบอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ก็ขอตายอย่างหมาข้างถนน" จริงๆแล้วคนเราต้องอะไรขนาดนั้นเลยหรือ?
ที่ผมพูดแบบนั้นมันเป็นเทคนิคของการ "บีบคั้นตัวเองให้เหลือทางเดียว" เพราะทำอย่างนี้ คุณจะประนีประนอมไม่ได้เลย การประนีประนอม บางครั้งมันเป็นความจอมปลอม ถ้าคุณไม่อยากเฟกหลอกตัวเองและคนอื่น คุณก็ต้องพูดแบบนี้ และคำพูดแบบนี้มันจะทำให้คุณไม่กลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับภารกิจแสวงหาความสมบูรณ์พร้อมนี่ คุณต้องขจัดความกลัวออกไปก่อน หรือถ้าคุณอยากเป็นศิลปิน แต่กลัวงานของตัวเองขายไม่ออก มันก็ลดพลังของตัวเองแล้วล่ะ คือถ้าเขียนหนังสือเพียงเพื่อจะขายได้ มันก็คือการหลอกตัวเองแล้ว มันเฟก แล้วงานพวกนี้มัน "ไม่อยู่" หรอก มันอาจจะดังหวือหวาอยู่พักหนึ่ง แต่ในที่สุดมันก็อยู่ไม่ได้ เพราะคุณไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง
เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ทำนองนั้นใช่ไหม?
เรียกว่าเป็นการค้นศักยภาพดีกว่า และต้องไม่มีทางถอยให้กับตัวเอง แต่จะทำอย่างนี้ได้ คุณต้องมีความมั่นใจในตัวเองระดับหนึ่งนะ แล้วมันจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่จะไม่มีวันมานั่งเสียใจในภายหลัง ในการ์ตูนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีประโยคหนึ่งซึ่งใช้กันบ่อยมากก็คือ ต้องไม่เสียใจในสิ่งที่กระทำลงไป คุณต้องแน่วแน่ อย่าลังเล
ตอนอายุ 19 อ.บอกว่าอยากเป็นนักปฏิวัติ?
ใช่แล้ว ตอนนั้นผมก็เข้าร่วมขบวนการปฏิวัตินะ แต่พอขบวนการมันล้มลงชีวิตก็ไม่รู้จะเอายังไงต่อไป มันคล้ายกับว่าเราเตรียมตัวมาทั้งชีวิตเพื่อเป็นนักปฏิวัติ แต่อยู่ดีๆมันก็มาหายไปเราก็เริ่มหาใหม่ แล้วบังเอิญผมได้ไปอ่านเรื่องมูซาชิ ผมก็เลยเลือกอันนี้เป็นที่พึ่งตั้งแต่นั้นมา
อาจารย์ชื่นชอบอะไรในตัวตนของมูซาชิ
ผมว่ามูซาชิเขาครบเครื่องรอบด้านนะเป็นคนที่เก่งแบบพหุปัญญา และผมว่ามันน่าเร้าใจดี ยิ่งยุคทุกวันนี้เป็นยุคของความหลากหลาย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันจะมาเจอกันในแบบคอนเวอร์เจนซ์ตามกฎเกณฑ์ของศตวรรษที่ 21 ผมสังเกตนะว่า คนที่จะ Success ได้ในทุกวันนี้ คุณต้องมีความสามารถอย่างน้อยๆ 2 อย่างผสมกัน หนึ่งอย่างมันก็เก่งได้นะ แต่ผมว่ามันไม่เต็ม มันเก่งแบบไม่เต็ม แต่นี่มันเป็นจริตผมนะ คนอื่นๆ อาจจะชอบแบบเก่งอย่างเดียวก็ได้ แต่ผมเชื่อว่ามนุษย์เรานี่มีปัญญาอยู่แปดด้านในตัวเอง บางด้านเกี่ยวกับตัวเลขคณิตศาสตร์ บางด้านเกี่ยวกับภาษา ศิลปะ ร่างกาย และในจินตภาพของผมนี่ คนเรามันต้องเก่งหลายๆด้านเพราะถ้าเก่งหลายๆด้านได้ก็เท่ากับว่าเรามี "หลายชีวิต" (พหุชีวิต) อยู่ในตัวเอง เป็นการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า
ยกตัวอย่างผม เกิดมามีชีวิตเดียว แต่พยายามใช้ชีวิตให้ได้ 4 แบบในคนคนเดียวกัน เป็นทั้งศิลปิน นักบวช นักปราชญ์ และนักรบ และที่สำคัญ ถ้าคนเราจะแสวงหาความเติมเต็มให้กับชีวิตในเรื่องความดี ความงาม ความจริง อย่างน้อยๆ มันต้องมี 3 ชีวิตนะ เพราะการจะหาความจริง คุณต้องใช้ชีวิตแบบนักวิทยาศาสตร์นักปราชญ์ จะหาความดีก็ต้องเป็นพระ จะหาความงามก็ต้องเป็นศิลปิน
อ.แสวงหาความดีโดยไม่ต้องบวชพระ นั่นก็แสดงว่า "รูปแบบ" ไม่ใช่เรื่องสำคัญ?
ผมว่ารูปแบบสำคัญอยู่นะ แต่คุณต้องมาตีความก่อนว่า รูปแบบคืออะไร เพราะถ้าจะวัดความเป็นพระกันแค่การโกนผมห่มผ้าเหลือง แค่นี้ยังไม่พอ ความเป็นพระที่แท้จริงก็คือสภาวธรรมด้านใน สภาวะจิตด้านใน เพียงแต่จะเป็นแบบนั้นได้มันก็ต้องมีกติกา ต้องซื่อสัตย์และที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือต้องมีวินัย อย่างถ้าคุณอยากเป็นนักกีฬา แต่คุณไม่เอ็กเซอร์ไซส์ก็ไม่ได้ผลดังหวัง
ถึงตอนนี้ อ.ยังอยากเป็นนักปฏิวัติอยู่หรือเปล่า?
ผมไม่ต้อง "อยาก" แล้ว และการที่ผมเขียนหนังสือออกมา ผมก็ไม่ได้เรียกร้องและคาดหวังอะไรจากใคร แต่ถ้างานเขียนของผมเกิดไปโดนใจใครเข้าแล้วเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงลึก ผมก็ถือว่าตัวเองเป็นนักปฏิวัติสำหรับคนคนนั้นแล้ว เรียกว่าเป็นการปฏิวัติทางจิตวิญาณ และผมก็เชื่อว่าการปฏิวัติที่แท้จริงคือการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในใจของแต่ละคน ส่วนการที่ผมไปช่วยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ไม่ใช่เพราะว่าผมอยากเป็นนักปฏิวัติอะไรนะ แค่คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องทำ มันเป็นหน้าที่
อ.มีส่วนร่วมยังไงบ้างในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร?
ไม่มีอะไรมากมาย ผมเข้าไปร่วมแค่ในฐานะของ "ผู้สังเกตการณ์" ผมไม่ได้คิดจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงใคร
แค่สังเกตการณ์เท่านั้นจริงๆหรือ?
คือสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เข้าไปช่วย แต่ผมไม่ได้เป็นลูกน้องใคร แล้วไม่ต้องตกปากรับคำสัญญากับมวลชนว่าผมจะรับใช้พ่อแม่พี่น้อง ผมไม่ต้องทำแบบนั้น และผมก็มั่นใจว่าสิ่งที่ผมทำมันดีที่สุดสำหรับตัวผมเอง เพียงแต่มันไม่มี "ความอยาก" อะไร
อ.คิดว่าตัวเองก้าวมาถึงจุดที่ไม่ยินดียินร้ายต่อโลกธรรมแล้วอย่างนั้นใช่ไหม?
ก็ไม่เชิงนะ ผมเพียงแค่เล่นกับมัน แต่ผมไม่ "อยาก" มันคล้ายๆกับว่าเป็นไฟในความเย็น ไม่รู้จะอธิบายยังไง เป็นความพลุ่งพล่านในความนิ่ง ตอนหนุ่มๆ เราก็พลุ่งพล่าน แต่พลุ่งพล่านแบบไม่นิ่ง ตอนนี้เราก็ยังมีไฟเหมือนกับวัยหนุ่ม แต่เราก็มีความนิ่งอยู่ด้วยในขณะเดียวกัน มันก็เลยกลายเป็นไฟในความเย็น ผมเลยไม่รู้จะเรียกว่ายังไง เหมือนมีภูเขาไฟลูกหนึ่งอยู่ในก้นทะเลท่ามกลางน้ำที่เย็นยะเยือก
ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่ง สิ่งที่ อ.ให้ความสำคัญตลอดมาคืออะไร?
อย่าใช้ชีวิตอย่างปานกลาง ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Mediocre อย่ายอมจำนนต่อความปานกลาง อย่ามีชีวิตอย่างต่ำต้อย อย่าดูแคลนตัวเอง และต้องแสวงหาความเป็นเลิศ พูดง่ายๆ ก็คือ อย่าใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ เพราะถ้าใช้ชีวิตธรรมดาๆ คุณก็จะกลายเป็นเบี้ยล่างคนเขาก็จะเหยียบย่ำคุณ คนเราไม่ควรถูกใครย่ำยี คุณต้องมีความองอาจสามารถเผชิญหน้ากับทุกสายตาได้ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใหญ่ขนาดไหน จะรวยขนาดไหน
อย่าไปนิยามตัวเองด้วยความต่ำต้อย มีจินตภาพเกี่ยวกับอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ต้องนิยามตัวเอง เมื่อนิยามแล้ว ก็ต้อง Do it Now ทำทันทีเลย เขาเรียกว่า "ล่าฝัน" คิดแล้วต้องทำ แสวงหาความเป็นเลิศด้วยวิธีการที่เป็นเลิศ
วิธีการที่เป็นเลิศ คือแบบไหน?
ไม่ยากเลย ถ้าคุณอยากเป็นนักฟุตบอลเก่งๆ คุณก็ต้องรู้ก่อนว่าบราซิลเขาเก่ง คุณก็ไปศึกษาดูสิว่าทำไมเขาเก่งขนาดนั้น ทำไมอาหารไทยอร่อย เราก็ต้องหาเอาสิ มันเป็นเรื่องขององค์ความรู้ ผมถึงบอกไงว่า มันต้องอ่านหนังสือ ทุกอย่างมันมีองค์ความรู้ทั้งนั้นแหละ
ที่ผ่านมา มนุษย์เราส่วนใหญ่นี่อยู่กันแบบ "ไม่ตื่น" แล้วก็รับความคิดตะวันตกเข้ามา พอรับเข้ามา มันก็เลยถูกครอบงำ คนที่ถูกครอบงำนี่ ไม่สามารถหาความเป็นเลิศได้ มันเป็นทาสที่ไม่ยอมปลดปล่อยตัวเอง ไม่รู้สึกสำนึก
จากประสบการณ์สอนหนังสือ ผมว่าเด็กรุ่นนี้เริ่มใจเสาะกันมากขึ้น รักสบาย แล้วไอ้ความสบายนี่มันมีราคาที่ต้องจ่าย คุณรู้มั้ย สุดท้ายมันก็ใจเสาะ ผมโตมาในยุคที่สังคมไทยมันไม่ได้มั่งคั่งขนาดนี้ ชีวิตมันดิ้นรนมากกว่า คือคุณจะล่าฝันยังไงก็ได้ แต่ไม่ใช่แค่ล่าฝันแบบอะคาเดมี่แฟนเทเชีย โลกมันมีอะไรมากกว่านั้น ผมยอมรับนะว่า โลกสมัยนี้มันเป็นโลกของการเปิดเผยตัวตน ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Self Expression บางคนแปลว่า ปัจเจกนิทัศน์ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับคำแปลนี้นะ โลกนี้ใครๆ เขาก็อยากเปิดเผยตัวตน
Self Expression นี่เหมือนกับวัฒนธรรม Somebody หรือเปล่า?
ไม่ใช่ๆ คำๆนี้ เขาหมายความว่า ทุกๆคนก็ล้วนอยากจะโชว์ออฟ อยากเป็นดารา ที่จริงผมไม่อยากใช้คำนี้ แต่ผู้คนยุคนี้ก็ดูเหมือนจะอยากเป็นดารากันหมด แล้วคนก็เข้าใจกันว่า ความสำเร็จของชีวิตคือคุณต้องเป็นดารา หรือซัมบอดี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องเหลวไหล พอคุณเชื่อแบบนี้ มันก็เลยเป็นที่มาของบริโภคนิยม คุณต้องแต่งตัวให้เริ่ด ใช้กระเป๋ายี่ห้อแพงๆ คุณรู้สึกว่าคุณต้องเป็นซัมบอดี้ คุณคิดว่าตัวเองมีตัวตนขึ้นมาจากการใช้สอยสิ่งเหล่านี้ คุณต้องรวย
จริงๆ แล้ว คำว่า Self Expression มีความหมายในเชิงลบใช่ไหม?
ไม่เชิงนะครับ คือชีวิตที่มีลีลา มีสีสัน มันก็เป็น Self Expression แต่มันควรจะเป็น Self Expression ที่ไม่หวังผลตอบแทน เพราะถ้าคุณทำไปแบบมีสิ่งตอบแทน มันก็ทำให้คุณกลายเป็นพวกคอมเมอร์เชียล (Commercial) พอเป็นคนคอมเมอร์เชียล มันก็มีความเฟกตามมา แล้วคุณก็ตกอยู่ในบริโภคนิยม คุณก็ขายวิญญาณให้กับมัน ผลสะเทือนจากการที่คุณขายวิญญาณหรือคุณเฟกนี่ มันมากมายมหาศาล
พูดง่ายๆ อย่างคุณทักษิณที่เขาพังอย่างทุกวันนี้ก็เพราะเขาอยากรวยกว่าบิล เกตส์ ผมว่าไม่จำเป็นต้องขนาดนั้นก็ได้นะ แค่มีสองหมื่นล้านนี่ผมว่ามันพอแล้วนะ คุณพอได้แล้ว อันนี้ก็เป็น Self Expression แบบคุณทักษิณ แต่มันผิดไง เพราะมันขาดซึ่งปัญญาและความรัก มันไม่ได้เอื้ออาทรต่อประชาชนโดยรวมจริงๆ คุณทักษิณน่ะดูถูกมวลชนอย่างถึงที่สุด ด้วยการที่คุณเอาเงินไปฟาดหัวเขาด้วยประชานิยม คุณไม่ได้รักพวกเขาจริงๆ หรอก คุณรักคะแนนของพวกเขา นี่ล่ะ ผมแตกหักกับคุณทักษิณมากที่สุดก็เพราะเรื่องนี้ มันเป็นการแตกหักเชิงโลกทัศน์หรือปรัชญาในระดับรากเหง้าเลย แล้วใครก็ตามที่ออกมาเรียกร้องปกป้องคุณทักษิณนี้มันเหลวไหลทั้งนั้น
โดยส่วนตัว อ.มองสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ยังไงบ้าง?
เราคงมิอาจไปตัดสินได้หรอก เพราะบางทีมันก็เหมือนกับหมากล้อมนั่นแหละ มันพลิกได้ตลอด ผมไม่ได้มองว่ามันจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือไม่ ผมมองดูแบบภาพรวม แล้วภาพรวมนี่ วิกฤตระดับโลกมันมาแน่ และมันก็เริ่มส่อเค้าให้เห็นกันบ้างแล้ว ทั้งเรื่องซับไพรม์ เรื่องวิกฤตน้ำมัน แล้วเราก็ยังมีวิกฤตข้างใน ใช่มั้ย วิกฤตแบบนี้มันเกิดจากคนชั้นนำที่อ่อนแอ เราต้องการคนชั้นนำแบบใหม่ และผมเข้าใจว่าคนแบบนี้จะมาจากกลุ่มพลังใหม่ ซึ่งก็หมายถึงพันธมิตรฯ เพราะฉะนั้น ถ้าพวกเขาชนะแล้วมันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเมืองแบบใหม่ได้นี่ มันคือชัยชนะของประเทศนี้ มันคืออนาคต แต่ถ้าเขาแพ้นะ เกิดความรุนแรง หรือครึ่งๆ กลางๆ มันก็คือชะตากรรมรวมหมู่ หรือโศกนาฏกรรมของบ้านเมืองนี้
และที่ต้องเตือนไว้ตรงนี้เลยก็คือ วิกฤตใหญ่กำลังจะมา อุปมาดั่งเราแล่นเรือไป เรือกำลังจะจมแล้ว ไต้ก๋งยังเดินเรือเร็วอีก หรือไม่ก็เอาแต่ทำครัว ไม่ได้สนใจที่จะเซฟเรือนี้เลย ผมมองไกลไปขนาดนั้นนะ ทุนนิยมก็อยู่ไม่ได้หรอก ถ้าน้ำมันขึ้นขนาดนี้ ถ้ามันขึ้นถึง 2-300 ร้อยบาทต่อลิตรล่ะ โอ้โหมันต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงแน่ๆ มันกระทบทั้งหมด แล้วถ้าเป็นแบบนั้น รูปแบบของเศรษฐกิจแบบใหม่มันก็ต้องเกิด ผมมองว่าระบบเศรษฐกิจแบบใหม่มันจะเป็นระบบแบบเครือข่าย เรามีพื้นฐานอยู่บนสิ่งแวดล้อมและมีชุมชนเป็นเสาหลัก
อ.มองว่าทุนนิยมจะล่มสลายในที่สุด?
มันอยู่ไม่ได้หรอก กลไกราคาแบบนี้มันพังพินาศแน่ๆ เอาง่ายๆ แค่น้ำมันขึ้นขนาดนี้ คุณก็แทบตายแล้ว ถ้าเกิดมันขึ้นมาเป็นสองร้อยบาทต่อลิตรล่ะ ถามว่ามีใครอยู่ได้บ้าง ล้มละลายหมด แล้วไม่ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้นะ ทุนนิยมเดี๋ยวนี้มันบิดเบือนไปแล้ว มันไม่ใช่ทุนนิยมสมัยมาร์ก (มาร์กซิสม์) มันกลายเป็นสิ่งที่ถูกครอบงำโดยซูเปอร์คลาส อภิชนชั้น มันอยู่ได้ด้วยการเก็งกำไร แล้วมันก็ปั่น เพราะน้ำมันนี่ไม่เกี่ยวกับเรื่องดีมานด์ซัปพลายแล้วนะ เศรษฐศาสตร์มันล่มสลายไปแล้ว คุณรู้ไหม มันเป็นเรื่องของการเก็งกำไรและปั่นราคาไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้น สุดท้าย ผมว่าคนจะตื่นตัว พอตื่นตัวมา มันก็ต้องล้มไอ้ซูเปอร์คลาสนี่ให้ได้ จะล้มไอ้ซูเปอร์คลาสนี่ได้ ก็ต้องถอดรื้อบริษัทข้ามชาติ ถอดรื้อตลาดเก็งกำไร คอมมูนิตี้นี้ทั้งหมด แล้วก็ตกลงกติกากันใหม่ว่า คุณจะทำเศรษฐกิจยังไงเพื่อให้ทุกคนอยู่กันได้ มีกินมีใช้ มันก็ต้องหันมาหาหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเราไม่กลับมาสู่เศรษฐกิจพอเพียงนะ มันกลียุคแน่นอน ทุกวันนี้มันก็เริ่มส่อเค้าให้เห็นบ้างแล้ว เพราะพอเราเห็นแบบนี้แล้ว "หมากตัวแรกที่เราต้องโค่นให้ได้ก่อนก็คือระบอบทักษิณ" หลังจากนั้นเราจะได้มีเวลาเต็มที่ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับพายุลูกใหญ่ที่ กำลังจะมาถึง
*** วิถีแห่ง 'จอมคนเหนือโลก' กับ 'จอมคนพิชิตแผ่นดิน' ***
นอกเหนือไปจากศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นที่รู้กันดีว่า อ.สุวินัยเป็นนักอ่านนิยายกำลังภายในตัวยงคนหนึ่ง และถ้าจะพูดให้ถูกยิ่งกว่าก็คือว่าเป็นนักอ่านในระดับขั้นที่ "ตกผลึก" ซึมลึกสู่เลือดเนื้อจิตวิญญาณ...
"ผมอ่านทั้งโกวเล้ง กิมย้ง แต่ที่ผมชื่นชอบที่สุดกลับเป็นหวงอี้ เพราะเขามีความแปลกใหม่ คือเขาเขียนในเชิงแอกชั่นเหมือนหนังแอกชั่น แต่ก็แฝงภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้เยอะมาก
งานของหวงอี้จะมีตัวละครหลักอยู่ 2 ประเภทคือ "จอมคนพิชิตแผ่นดิน" กับ "จอมคนเหนือโลก" แล้วนิสัยส่วนตัวของผมเองจะชอบคนแบบจอมคนเหนือโลก อย่างในมังกรคู่ ผมก็ชอบตัวละครแบบฉีจื่อหลิง เวลาผมมองคุณสนธิเป็นแบบโค่วจง คือเป็นจอมคนพิชิตแผ่นดิน แต่ก็ไม่มีอะไรเหนือกว่านะเพียงแต่จริตมันต่างกัน หรืออย่างในเรื่องเทพมารสะท้านภพ เราก็ชอบคนอย่าง "ล่างฟานหวิน" ถ้าเป็นจอมคนแผ่นดินเดือด ผมก็ชอบคนอย่าง "เอี้ยนเฟย" ซึ่งเป็นคนที่ไม่สนอำนาจ แต่ก็อยากเปลี่ยนแปลงสังคม แต่พอเปลี่ยนแปลงได้แล้วก็กลับสู่โลกของตัวเองแสวงหาความหลุดพ้น
จอมคนเหนือโลก คือ โลกุตตระ ลาภยศสรรเสริญ ไม่อาจครอบงำจิตใจได้ แต่จอมคนพิชิตแผ่นดินนี่ ในที่สุดจะกลายเป็นผู้ปกครอง ก็จะยังอยู่ในวงจรของอำนาจและโลกธรรม
แต่ตัวละครของโกวเล้งมันไม่มีมิติแบบนี้เลย มีแต่จอมคนที่เป็นขี้เหล้าเสเพล ทำให้คนอ่านสับสนในความเป็นตัวเอก มิติประวัติศาสตร์ก็มีน้อยมาก ในแง่ของความสร้างสรรค์ ผมว่าสู้หวงอี้ไม่ได้ รวมทั้งความเข้าอกเข้าใจในเรื่องสงครามด้วย
คนอย่างลี้คิมฮวง (ตัวละครเอกใน "ฤทธิ์มีดสั้น" วรรณกรรมมาสเตอร์พีชของโกวเล้ง) ก็เหนือโลกนะ แต่มันไม่สมจริง คือขี้เหล้าขนาดนั้นมันไม่ใช่ไง มันเหมือนกับคนที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ อารมณ์หดหู่ มันไม่ใช่จิตใจของคนที่อยู่เหนือโลก คนที่อยู่เหนือโลกมันต้องจิตกระจ่าง แต่ถึงอย่างไร คนอ่านส่วนใหญ่ก็ยังชอบลี้คิมฮวงนะ เพราะอย่างน้อยๆ จิตใจแบบลี้คิมฮวงก็เป็นจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนที่มากน้ำใจ เป็นคนที่มีจิตใจสูงส่ง ไม่ยึดติดกับลาภยศสรรเสริญ โอเค บุคลิกแบบนี้ผมก็ชอบ เพียงแต่ว่าผมอาจจะโตขึ้นแล้วก็ได้ ผมจึงหลุดจากวรรณกรรมโกวเล้ง"
(จาก นิตยสารผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 -27 ก.ค. 2551)
เรื่อง : อภินันท์ บุญเรืองพะเนา
ภาพ : นิรุจน์ ตฤษณานนท์
Credit Link: http://www.dragon-press.com/