Friday, 31 May 2013

เมืองตะกั่วป่า สถานที่น่าถ่ายหนังมากๆ

เมืองตะกั่วป่า สถานที่น่าถ่ายหนังมากๆ



เมืองเก่าตะกั่วป่า ซึ่งเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่รู้จักของชนหลายเชื้อชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ ในชื่อเมืองตะโกลา (Takola) เนื่องจากเป็นเมืองท่าจอดเรือ เป็นศูนย์กลางการค้าขายและเป็นเส้นทางลัดขนสินค้าข้ามคาบมหาสมุทรมลายูจาก ฝั่ง ทะเลอันดามันไปยังอ่าวไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตะกั่วป่ายังคงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดตลอดมา สุดท้ายด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตะกั่วป่าจึงถูกลดฐานะจากจังหวัดตะกั่วป่าลงเป็นอำเภอหนึ่งและรวมเข้ากับ จังหวัดพังงาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน... ..........





ขอนำสายตาของท่านไปสัมผัส กับเมืองเก่าตะกั่วป่า ซึ่งเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่รู้จักของชนหลายเชื้อชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ ในชื่อเมืองตะโกลา (Takola) เนื่องจากเป็นเมืองท่าจอดเรือ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตะกั่วป่ายังคงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดตลอดมาสุดท้ายด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและการ เมืองและเป็นเส้นทางลัดขนสินค้าข้ามคาบสมุทรมลายูจากฝั่งทะเลอันดามันไปยัง อ่าวไทย ตะกั่วป่าจึงถูกลดฐานะจากจังหวัดตะกั่วป่าลงเป็นอำเภอหนึ่งและรวมเข้ากับ จังหวัดพังงาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน...... ......





เกริ่นนำด้วยข้อมูลจาก (วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี)แล้วจะเห็นว่าน่าสนใจมิใช่น้อยน่าเสียดายที่นักท่องเที่ยว น้อยคนนักที่จะแวะไป สัมพัส เรียนรู้ถึง อดีตที่ยิ่งใหญ่ของเมืองตะกั่วป่าแห่งนี้ เพราะส่วนใหญ่จุดมุ่งหมายการเดินทางจะไปจบอยู่ที่ รีสอร์ท ผับ ร้านอาหารชายทะเลเป็นสำคัญ เสียดาย เสียดาย .. ... คำว่าจับเส้มาจาก "ภาษาจีนฮกเกี้ยน" ซึ่งแปลว่า "เมืองท่าที่เก็บภาษี" แต่ทุกวันนี้แม่น้ำดังกล่าวตื้นเขินและเปลี่ยนเส้นทางจนกลายเป็นถนนอุดมธารา ไปแล้วจนแทบ ไม่เหลือร่องรอยเมืองท่าเก็บภาษีในอดีตไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากัน หลงเหลือก็เพียงบ้านเรือนโบราณในสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปตุกีส คือ ศิลปะแบบจีนผสมยุโรปโปรตุเกสใน "ตลาดเก่า"ของเมืองตะกั่วป่าที่พอจะเป็นร่องรอย ประวัติศาสตร์ที่ยังพอมีชีวิตอยู่... ...






ในอดีตเมืองตะกั่วป่าไม่มีเส้นทางคมนาคมโดยตรงที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ เพราะยังไม่มีถนนเพชรเกษมตัดมาจาก จ.ระนอง เหมือนทุกวันนี้ เส้นทางเดียวที่สะดวกสุดที่จะไปกรุงเทพฯ คือ ต้องลงเรือที่เมืองระนอง หรือเดินเท้าไปขึ้นรถไฟที่เมืองชุมพร ดังนั้นคนตะกั่วป่าในอดีตจึงนิยมลงเรือไปปีนังเพื่อเรียน หนังสือหรือค้าขายมากกว่าจะเข้ากรุงเทพฯ เพราะเดินทางด้วยเรือกลไฟจากตะกั่วป่าไปได้โดยตรงเลย... .. แต่ประมาณปี 2505 เริ่มมีถนนจากระนองทำให้การเดินทางมีความสะดวกสบายมากขึ้น ประกอบกับเป็นยุคเฟื่องฟูของแร่ดีบุกที่เคยมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 130 บาท ขณะที่ราคาข้าวสารในยุคนั้นไม่ถึง 20 บาท จึงทำให้ธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกรับทรัพย์กันแทบไม่ทัน... ...





ยุคดีบุกมีค่าดั่งทองทำให้เมืองตะกั่วป่าเต็มไปด้วยสถานเริงรมย์ ทั้งโรงหนัง โรงแรม โรงน้ำชา รวมทั้งหญิงบริการเดินกันขวักไขว่ แต่พอถึงประมาณปี 2520 ก็เข้ายุคเสื่อมค่าของดีบุก ประกอบกับมีถนนตัดเข้าภูเก็ตได้โดยตรงที่บ้านย่านยาวทำให้ถนนทุกสายมุ่งสู่ ภูเก็ตแทน ยุคอวสานแห่งความรุ่งโรจน์ของเมืองตะกั่วป่าจึงสิ้นสุดลง เหลือเพียงบ้านเรือนสไตล์ชิโนโปรตุกีสในตลาดเก่าที่เป็นประจักษ์พยานความ รุ่งเรืองในอดีต...