Wednesday, 9 April 2014
ทอท. เปิดเส้นทางจักรยานบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเปิดให้ทดลองใช้ช่วงแรกเวลา 06.00-18.00 น.
ทอท. เปิดเส้นทางจักรยานบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเปิดให้ทดลองใช้ช่วงแรกเวลา 06.00-18.00 น. เมื่อติดตั้งไฟทางเสร็จเรียบร้อยจึงจะมีการขยายเวลาออกไปอีก
สืบเนื่องจากกรณีที่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการแชร์ภาพเลนจักรยานสีเขียวสดใสในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีข่าวว่า เส้นทางดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่งผลให้นักปั่นจักรยานทั้งหลายต่างรอคอยเส้นทางจักรยานแห่งนี้กันอย่างใจจดใจจ่อนั้น ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (23 มีนาคม 2557)
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน (ทอท.) ได้เปิดเส้นทางจักรยานบริเวณโดยรอบเขื่อนดินที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทางกว่า 23.5 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 4.8 เมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายแห่งใหม่ของชาวกรุงเทพฯ และชุมชนโดยรอบที่นิยมปั่นจักรยาน โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพาที สารสิน ผู้บริหารสายการบินนกแอร์ และนักปั่นจักรยานกว่า 1,000 คน เข้าร่วมพิธีเปิดด้วย ทั้งนี้ นาวาอากาศตรี ศิวา ทิวารี ประธานกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานในพิธี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีนักปั่นจักรยานให้ความสนใจเข้ามาปั่นภายในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดทำเส้นทางจักรยานขึ้น ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นผิวถนนเดิมบริเวณแนวดินป้องกันน้ำท่วม ระยะทางกว่า 23 กิโลเมตร
ให้เป็นเส้นทางจักรยานเฉพาะ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเส้นทางปั่นจักรยานดังกล่าวเป็นเส้นทางจักรยานที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยจะเปิดให้ทดลองปั่นช่วงแรกในเวลา 06.00-18.00 น. จากนั้นเมื่อติดตั้งไฟทางเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะขยายเวลาในการปั่นจักรยานในเส้นทางดังกล่าวออกไปอีก และหวังว่าเส้นทางนี้จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการออกกำลังกาย
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) เผยว่า ปกติในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้สนใจมาออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ขี่จักรยานที่ปกติจะใช้เส้นทางภายในสนามบิน ทั้งในสุดของ East West แล้วก็ส่วนของ South Access Road (ถนนสุวรรณภูมิ 3) ที่ไปออกที่บางนา-ตราด โดยในหนึ่งวันจะพบผู้ขี่จักรยานในเส้นทางดังกล่าวถึง 200 คัน ดังนั้น นาวาอากาศตรี ศิวา ซึ่งชอบขี่จักรยานอยู่แล้ว มองว่าจักรยานจำนวนมากที่ไปปะปนกับรถชนิดอื่นอาจเกิดอันตราย จึงสั่งให้มีการปรับปรุงเส้นทางภายใน โดยได้เส้นทางที่เหมาะสมที่สุดคือถนนรอบเขื่อนดินล้อมรอบ ทสภ. ความยาว 23.5 กิโลเมตร
แม้ปกติจะใช้เส้นทางดังกล่าวเพื่อสำรวจความปลอดภัยของสนามบินสุวรรณภูมิ แต่เมื่อปรับปรุงเป็นเลนจักรยาน ถนนเส้นนี้จะได้ประโยชน์ 3 เรื่อง คือ
1. เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
2. การร่วมกันรักษาความปลอดภัย
3. การขับไล่นกบริเวณข้างทางที่มีแอ่งน้ำ
เลนจักรยานนี้มีความยาว 23.5 กิโลเมตร กว้าง 4.8 เมตร เป็นเส้นทางวันเวย์ ปรับปรุงโดยมาตรฐานจากออสเตรเลีย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30,495,000 บาท พื้นผิวถนนใช้การปรับปรุงโดยการฉาบหน้า เคลือบด้วยยางพารา เรียกว่า การฉาบผิวทางแบบสเลอรี่ซีล (SLURRY SEAL)
โดยใช้มวลรวมคือหินบาง ๆ เพื่อให้ได้ความฝืดที่เหมาะสม สามารถขับขี่ได้ทุกสภาวะ แม้ฝนจะตกก็ยังรักษาสภาพการขี่ได้ดี และทาสีเขียวเพื่อสามารถมองเห็นได้ในเวลาที่สภาพอากาศไม่ดีหรือในช่วงพลบค่ำ นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ กล่าวอีกว่า โครงการนี้เริ่มทำแบบเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม 2557 ซึ่งขณะนี้ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เบื้องต้นคาดว่าจะมีคนมาใช้บริการเยอะมาก อย่างไรก็ตาม นักปั่นต้องเคารพกติกามารยาท เช่น ขี่ช้าก็ชิดซ้าย ขี่เร็วก็แซงขวา แต่เรากำลังพิจารณาให้มือใหม่ที่ขี่ได้แค่ 5-10 กิโลเมตร มีพื้นที่วิ่งกลับได้
เพราะถ้าให้ขี่รถย้อนไป อาจเป็นอันตรายกับผู้ขี่ในเส้นทางตรงได้ นอกจากนี้ ทอท. ยังมีโครงการจะปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยขึ้น โดยในแผนจะมีศาลาแวะพักระหว่างทาง มีห้องน้ำ มีจุดจอดรถ มีที่ล็อกล้อ ซึ่งจะทยอยทำหลังจากนี้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนี้ยังมี club house ซึ่งสโมสรท่าอากาศยาน (สทย.) เปิดให้บริกาแล้ว โดยผู้ที่สนใจจะสมัครเป็นสมาชิก แต่อนาคตทางสโมสรท่าอากาศยานจะเป็นผู้ดำเนินงานต่อทั้งหมด
สืบเนื่องจากกรณีที่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการแชร์ภาพเลนจักรยานสีเขียวสดใสในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีข่าวว่า เส้นทางดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่งผลให้นักปั่นจักรยานทั้งหลายต่างรอคอยเส้นทางจักรยานแห่งนี้กันอย่างใจจดใจจ่อนั้น ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (23 มีนาคม 2557)
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน (ทอท.) ได้เปิดเส้นทางจักรยานบริเวณโดยรอบเขื่อนดินที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทางกว่า 23.5 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 4.8 เมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายแห่งใหม่ของชาวกรุงเทพฯ และชุมชนโดยรอบที่นิยมปั่นจักรยาน โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพาที สารสิน ผู้บริหารสายการบินนกแอร์ และนักปั่นจักรยานกว่า 1,000 คน เข้าร่วมพิธีเปิดด้วย ทั้งนี้ นาวาอากาศตรี ศิวา ทิวารี ประธานกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานในพิธี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีนักปั่นจักรยานให้ความสนใจเข้ามาปั่นภายในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดทำเส้นทางจักรยานขึ้น ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นผิวถนนเดิมบริเวณแนวดินป้องกันน้ำท่วม ระยะทางกว่า 23 กิโลเมตร
ให้เป็นเส้นทางจักรยานเฉพาะ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเส้นทางปั่นจักรยานดังกล่าวเป็นเส้นทางจักรยานที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยจะเปิดให้ทดลองปั่นช่วงแรกในเวลา 06.00-18.00 น. จากนั้นเมื่อติดตั้งไฟทางเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะขยายเวลาในการปั่นจักรยานในเส้นทางดังกล่าวออกไปอีก และหวังว่าเส้นทางนี้จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการออกกำลังกาย
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) เผยว่า ปกติในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้สนใจมาออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ขี่จักรยานที่ปกติจะใช้เส้นทางภายในสนามบิน ทั้งในสุดของ East West แล้วก็ส่วนของ South Access Road (ถนนสุวรรณภูมิ 3) ที่ไปออกที่บางนา-ตราด โดยในหนึ่งวันจะพบผู้ขี่จักรยานในเส้นทางดังกล่าวถึง 200 คัน ดังนั้น นาวาอากาศตรี ศิวา ซึ่งชอบขี่จักรยานอยู่แล้ว มองว่าจักรยานจำนวนมากที่ไปปะปนกับรถชนิดอื่นอาจเกิดอันตราย จึงสั่งให้มีการปรับปรุงเส้นทางภายใน โดยได้เส้นทางที่เหมาะสมที่สุดคือถนนรอบเขื่อนดินล้อมรอบ ทสภ. ความยาว 23.5 กิโลเมตร
แม้ปกติจะใช้เส้นทางดังกล่าวเพื่อสำรวจความปลอดภัยของสนามบินสุวรรณภูมิ แต่เมื่อปรับปรุงเป็นเลนจักรยาน ถนนเส้นนี้จะได้ประโยชน์ 3 เรื่อง คือ
1. เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
2. การร่วมกันรักษาความปลอดภัย
3. การขับไล่นกบริเวณข้างทางที่มีแอ่งน้ำ
เลนจักรยานนี้มีความยาว 23.5 กิโลเมตร กว้าง 4.8 เมตร เป็นเส้นทางวันเวย์ ปรับปรุงโดยมาตรฐานจากออสเตรเลีย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30,495,000 บาท พื้นผิวถนนใช้การปรับปรุงโดยการฉาบหน้า เคลือบด้วยยางพารา เรียกว่า การฉาบผิวทางแบบสเลอรี่ซีล (SLURRY SEAL)
โดยใช้มวลรวมคือหินบาง ๆ เพื่อให้ได้ความฝืดที่เหมาะสม สามารถขับขี่ได้ทุกสภาวะ แม้ฝนจะตกก็ยังรักษาสภาพการขี่ได้ดี และทาสีเขียวเพื่อสามารถมองเห็นได้ในเวลาที่สภาพอากาศไม่ดีหรือในช่วงพลบค่ำ นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ กล่าวอีกว่า โครงการนี้เริ่มทำแบบเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม 2557 ซึ่งขณะนี้ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เบื้องต้นคาดว่าจะมีคนมาใช้บริการเยอะมาก อย่างไรก็ตาม นักปั่นต้องเคารพกติกามารยาท เช่น ขี่ช้าก็ชิดซ้าย ขี่เร็วก็แซงขวา แต่เรากำลังพิจารณาให้มือใหม่ที่ขี่ได้แค่ 5-10 กิโลเมตร มีพื้นที่วิ่งกลับได้
เพราะถ้าให้ขี่รถย้อนไป อาจเป็นอันตรายกับผู้ขี่ในเส้นทางตรงได้ นอกจากนี้ ทอท. ยังมีโครงการจะปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยขึ้น โดยในแผนจะมีศาลาแวะพักระหว่างทาง มีห้องน้ำ มีจุดจอดรถ มีที่ล็อกล้อ ซึ่งจะทยอยทำหลังจากนี้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนี้ยังมี club house ซึ่งสโมสรท่าอากาศยาน (สทย.) เปิดให้บริกาแล้ว โดยผู้ที่สนใจจะสมัครเป็นสมาชิก แต่อนาคตทางสโมสรท่าอากาศยานจะเป็นผู้ดำเนินงานต่อทั้งหมด